วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลวงพ่อตอบปัญหา : วิธีคัดเลือกคนมาเป็นหัวหน้าที่ดี

หลวงพ่อครับ ถ้าเราจะเลื่อนตำแหน่งลูกน้องขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน บุคคลผู้นั้นควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
การที่จะเลือกใครขึ้นมาเป็นหัวหน้างานนั้น ถ้าพูดโดยหลักการแล้วไม่ยาก ลองฟังหลักการดู มีอยู่ ๒ หัวข้อด้วยกัน คือ

                    ๑. ต้องเป็นคนที่ไม่ลำเอียง
เพราะถ้าเขาลำเอียงเสียแล้ว ถึงจะเก่งขนาดไหนก็ตาม ถ้าได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้า เดี๋ยวก็ทำหน่วยงานนั้นพังจนได้ เพราะฉะนั้น อย่าเลือกคนที่มีความลำเอียงขึ้นไปเป็นหัวหน้า เป็นอันขาด
สำหรับคนที่จะขึ้นเป็นหัวหน้า ที่ว่าต้อง ไม่ลำเอียงนั้นเป็นอย่างไร ความลำเอียงมีอยู่ ๔ ประการด้วยกัน ได้แก่

                                         ๑.๑ ลำเอียงเพราะรัก คือ เป็นคนประเภทชอบ เล่นพวกเล่นพ้อง พูดง่ายๆ ถ้าเอาคนที่ชอบเล่นพวกเล่นพ้องมาเป็น หัวหน้าหน่วยงาน ดูเผินๆ คนพวกนี้มีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่ว่าความจริงแล้ว ไม่ใช่ และยังจะทำให้มีคน ประจบสอพลอ หรือคนที่คุณภาพไม่ถึงมาอยู่เต็ม ไปหมด แล้วงานของคุณก็จะพัง

                                         ๑.๒ ลำเอียงเพราะชัง คือ ตัวเองนั้นมีฝีมือดี แต่ว่าถ้าลองได้ โกรธใครแล้วก็มักจะผูกอาฆาต ใครทำอะไร ให้ไม่ถูกใจสักหน่อย ก็จงเกลียดจงชัง ขังลืม เอาไว้ในใจตลอดชาติเลย อย่างนี้ก็ให้ไปเป็น หัวหน้าคนไม่ได้

                    
                    ๑.๓ ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะกลัวเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ คนพวกนี้พอมีลูกน้องหัวแข็งสักหน่อย ก็อาจจะไม่กล้าว่า ไม่กล้าเตือน อย่างนี้ถือว่าลำเอียง เพราะกลัว ถ้าได้คนอย่างนี้ขึ้นมาเป็นหัวหน้า หน่วยงานของเราก็อาจจะรวนได้

                                        ๑.๔ ลำเอียงเพราะโง่ การที่ใครคนใดคนหนึ่ง จะไม่ลำเอียงเพราะโง่ ตรงนี้ยากนะ เพราะว่าทุกคนในโลกนี้ไม่ได้เป็น สัพพัญญู คือ ไม่ได้รู้หมดทุกอย่าง เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะลำเอียงเพราะโง่เลยมีมาก
เพราะฉะนั้น การเลือกคนที่จะไม่ลำเอียง ขึ้นมาเป็นหัวหน้า มีหลักง่ายๆ ก็คือ

...ต้องดูให้ดี ถ้าพบว่า เขามีคุณสมบัติครบทั้ง ๔ ประการนี้ ก็ถือว่าเขามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่ถ้ามีไม่ครบคุณก็ช่วยให้เต็มที่ด้วย...


                          ๑) ดูว่าเขาเป็นคนที่ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

                          ๒) ดูว่าเขาไม่ใช่เป็นคนที่อาฆาตคน

                         ๓) ดูว่าเขาเป็นคนที่กล้าเตือนคน กล้าเตือน ลูกน้อง

                          ๔) ดูว่าเขาเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน รักการ ค้นคว้า รักความก้าวหน้า และใครๆ ก็สามารถจะเตือนเขาได้

                     คนอย่างนี้แหละ เป็นคนที่มีแววว่าจะไม่ ลำเอียง และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าคน
                    
                    ๒. ต้องเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี

                     การที่คุณจะเลือกใครขึ้นมา คุณก็คงจะมองว่า เขามีความสามารถในงานนั้น หรือถ้าไม่มีคุณก็คง ไม่คิดจะเอาเขาขึ้นไปเป็นหัวหน้า แต่ว่าตรงนี้ก็ต้อง ระมัดระวังอีกเหมือนกัน เพราะคนที่มีความสามารถ ในการทำงานมักจะขาดความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

                     ส่วนคนที่มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ เรื่องงานก็มักจะหย่อน ตรงนี้คุณต้องดูให้ดี สำหรับ พวกที่มีความสามารถในการทำงาน แต่ว่า มนุษยสัมพันธ์หย่อน คุณก็ต้องเข้าไปประกบ แล้วค่อยๆ สอนให้เขามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ตามที่ พระพุทธองค์ทรงให้หลักไว้ว่า


                         ๑) ทาน คือ รู้จักแบ่งปัน

                         ๒) ปิยวาจา คือ พูดจาไพเราะ พูดให้กำลังใจ คนเป็น

                         ๓) อัตถจริยา คือ พร้อมที่จะให้ความ ช่วยเหลือคนอื่นเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้ ความรู้เป็นทาน
                         
                          ๔) สมานัตตตา คือ มีความเสมอต้น เสมอปลาย ได้ดีก็ไม่ยโสโอหัง ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่ใช่ว่าพอได้ขึ้นไปเป็นหัวหน้า เลยดูถูกคนทั้งแผนก หรือว่าเวลาตกต่ำไปทำผิดทำพลาดเข้า ก็ไม่ใช่ เอาแต่เศร้าสร้อยหงอยเหงา
เพราะฉะนั้น คุณต้องดูให้ดี ถ้าพบว่าเขา มีคุณสมบัติครบทั้ง ๔ ประการนี้ ก็ถือว่าเขามี มนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่ถ้ายังมีไม่ครบคุณก็ช่วย เติมให้เต็มด้วย

                     และสิ่งที่จะต้องระมัดระวังอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั้น ส่วนมากฝีมือหรือความทุ่มเท ในการทำงานมักจะหย่อน ในขณะที่ผู้ที่ทุ่มเท กับการทำงานอย่าง ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันนั้น มนุษยสัมพันธ์มักจะหย่อน พูดง่ายๆ ถ้าดีในเรื่องงาน มนุษยสัมพันธ์ มักจะหย่อน ถ้าดีในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ งานก็มักจะหย่อน ตรงนี้เราต้องชั่งใจให้ดี ถ้าชั่งใจไม่ดีเดี๋ยวจะพลาดไป แน่นอนเราย่อมอยากได้คนที่มนุษยสัมพันธ์ ก็ดี การทุ่มเทกับงานก็ดี ถ้าได้อย่างนั้นก็วิเศษเลย แต่คนที่สมบูรณ์แบบอย่างนี้ หาได้ไม่ง่ายนัก

                     ก็มีหลักในการคัดเลือกง่ายๆ อย่างนี้ คือทั้ง ไม่ลำเอียง ทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ดี แล้วงานของคุณ จะเดินต่อไปโดยไม่มีปัญหา เพราะว่าเขาเหมาะสม ที่จะเป็นหัวหน้างานที่ดีนั่นเอง...

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ 54 เมษายน ปี 2550

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล