วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ บวชพระธรรมทายาทนานาชาติ รุ่นที่ ๑ ปี พ.ศ ๒๕๔๖

บวชพระธรรมทายาทนานาชาติ รุ่นที่ ๑ ปี พ.ศ ๒๕๔๖

 ในความเป็นจริงเป้าหมาย ของการเกิดมาเป็นมนุษย์  คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง  แต่เนื่องจากชีวิตฆราวาสหรือ ผู้ครองเรือนนั้น ยากที่จะปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุธรรมชั้นสูง เพราะ มีเครื่องกังวลทั้งจากคน สัตว์ สิ่งของ  ดังนั้น จึงเกิดวิถีชีวิตหนึ่ง ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม 
เพื่อให้หมดกิเลส เรียกว่า ชีวิตสมณะ

 

"สมณะ" แปลว่า ผู้สงบกิเลสแล้ว (โดยเฉพาะหมายถึงนักบวชในพระพุทธศาสนา) วิถีของ สมณะเป็นวิถีชีวิตที่ต่างจากผู้ครองเรือน ไม่ต้องทำมาหากิน ฝากเรื่องปากท้องไว้กับชาวบ้าน จึงมีเวลาว่างสำหรับมาศึกษาธรรมะและปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยตอบแทนคุณข้าวของชาวบ้าน ด้วยการนำธรรมะที่ศึกษาและฝึกฝนอบรมตนจนได้ผลไปสั่งสอนให้คนทั้งหลายรู้ตาม
      ชีวิตสมณะ หรือ ชีวิตพระ เป็นวิถีแห่งการแสวงหาโมกขธรรม จึงมักเห็นภาพของพระที่ แบกกลดพร้อมอัฐบริขาร เดินธุดงค์เข้าป่า เพื่อหาสถานที่อันเหมาะสม วิเวกจากผู้คน ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญตบะ และเจริญสมาธิภาวนา ต่างคนต่างทำ เพราะการบรรลุธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน เป็น "ปัจจัตตัง
"

พระธรรมทายาท นานาชาติ รุ่นที่๑ ปี พ.ศ.๒๕๔๖

 และในปีนี้ได้มีการจัดอบรมพิเศษในรุ่น "พระธรรมทายาทนานาชาติ" โดยมีทั้งหมด ๒๐ รูป จาก ๘ ชาติ ได้แก่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังหฤษ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ออสเตรเลีย เบลเยียม สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ โดยแยกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ภาษาจีน และกลุ่มใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
       นับเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการทำงานของวัดพระธรรมกาย ที่สามารถชักชวนผู้มีบุญจากต่างชาติต่างภาษา ให้ได้มาศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่มีกำแพงของภาษา ชาติพันธุ์ หรือภูมิภาคมาเป็นตัวกีดกัน

สัมภาษณ์ พระธรรมทายาท นานาชาติ รุ่นที่ ๑


๑.พระมารค์ เดวิท จอร์จ 
ฉายาขนฺติพโล 

จากประเทศสหรัฐอเมริกา

      การมาบวชครั้งนี้ต้องการ หาประสบการณ์การปฏิบัติธรรม และเพิ่มความรู้ด้านพระพุทธศาสนา รู้สึกตื่นเต้นมาก เมื่อ ทราบว่ามีโครงการบวชพระนานาชาติในไทย จึงเกิดแรงบันดาลใจมาบวชที่นี่ วัดพระ ธรรมกายเป็นวัดที่มีระบบ ระเบียบดีมาก สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับชาวต่างชาติ ในภาคภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี คิดว่านี่เป็นโอกาสที่ดี ของชาวต่างชาติที่ได้มาบวช และปรารถนาจะมีประสบการณ์ ภายในที่ดียิ่งขึ้น จะได้ศึกษา เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และเป็นการสั่งสมบุญให้กับตัวเอง และทุกคนในครอบครัว
๒.พระมิคาเอล วอน 
สเทนคิสเทอร์ 
ฉายาญาณวโร 

จากประเทศเบลเยียม
      การตัดสินใจมาบวชครั้งนี้ ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ชาวเอเชียเพิ่มเติม และต้องการมากลั่นกาย วาจา ใจให้สะอาด บริสุทธิ์ บางทีอาจสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมของชาวเอเชียไปใช้กับชาวตะวันตก ซึ่งอาจจะเกิด ประโยชน์บ้าง วัดพระธรรมกาย เป็นวัดที่มีระบบ ระเบียบมาก และมีพื้นฐานที่ดี เหมาะสำหรับทุกท่าน สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการ มาครั้งนี้คือ อยากมีความรู้ทาง ด้านพระพุทธศาสนาทางแถบ เอเชียตะวันออก เพื่อเผยแผ่ พระพุทธศาสนาไปทางตะวันตก ได้มากขึ้น
๓.พระภาสกร เป๋าอยู่สุข 
ฉายาเขมกาโร 

จากประเทศเบลเยียม

      นานมาแล้วผมเคยสัญญา กับคุณแม่ว่าจะมาบวชที่ประเทศ ไทย เนื่องจากว่าไม่มีวัดไทยที่ ประเทศเบลเยียม ดังนั้นผมจึง ตัดสินใจมาบวชที่นี่ 
      ที่เบลเยียมก็มีศูนย์สาขา ของวัดพระธรรมกาย คุณแม่จะ ไปที่ศูนย์ทุกๆ สัปดาห์ และเป็น เจ้าภาพถวายภัตตาหารทุกวันพุธสิ่งที่คาดว่าจะได้รับในการบวช ครั้งนี้คือ อยากเรียนรู้ชีวิตของ เพศสมณะว่าเป็นอย่างไร และจะนำความรู้จากการอบรมในครั้งนี้ ไปพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีของ สังคมและประเทศชาติ
๔.พระฮางกุย ออง 
ฉายาอคฺคธมฺโม 

จากสิงคโปร์ 
(พระหวังต้นตำหรับเทเหล้า คนแรกของโลก)

      เนื่องจากการอบรมครั้งนี้ มีการใช้ภาษาจีนกลาง จึงทำให้มี โอกาสได้มาบวช วัดพระธรรม กายเป็นที่ที่เหมาะสมในการที่ จะให้การอบรม เพราะมีบุคลากร ที่สามารถใช้ภาษาจีนเป็นสื่อ กลางในการเทศน์สอนและอบรม ทำให้ตนและเพื่อนชาวสิงคโปร์ สามารถรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่ ต้องการจะศึกษา ผลที่คาดว่า จะได้รับในการมาครั้งนี้คือ ได้ เรียนรู้วิถีชีวิตของเพศสมณะ และได้รับความรู้ในทางพระ-พุทธศาสนา เพื่อจะได้นำไป ถ่ายทอดให้แก่คนอื่นๆ ได้มี โอกาสรับรู้อีกด้วย
๕.พระซ่านฉิ้ง โย  
ฉายาฉนฺทธมฺโม  

จากสิงคโปร์ 

      เคยมาร่วมกิจกรรมงาน บุญใหญ่ที่วัดพระธรรมกาย มา เป็นเวลา ๒ ปีแล้ว ซึ่งแต่ละครั้ง ที่มานั้น ก็มีระยะเวลาเพียงน้อย นิด และรู้สึกว่าไม่จุใจ ครั้งนี้จึง อยากมาร่วมอบรมในหลักสูตร พระธรรมทายาทนานาชาติ ซึ่งมี ระยะเวลาถึง ๒๗ วัน และมี ความปรารถนาจะปฏิบัติธรรม ให้ได้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้

 

ประเพณีเข้าพรรษา
      เมื่อต่างแยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรม จึงต้องมีช่วงเวลาที่มาอยู่รวม กันเพื่อศึกษาธรรมะเพิ่มเติม และ เป็นโอกาสที่จะได้ซักถามข้อสงสัยจาก คณาจารย์และพระมหาเถระ ประเพณี การอยู่จำพรรษา ของพระภิกษุจึง เกิดขึ้น และปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ ครั้งพุทธกาล ด้วยเป็นพุทธบัญญัติ เพราะทรงเล็งเห็นประโยชน์ต่อตัว พระภิกษุเองและต่อคณะสงฆ์ โดย รวมด้วย
       ประเทศไทยของเรารับเอา พระพุทธศาสนาเข้ามา และได้ปฏิบัติ ประเพณีเข้าพรรษาด้วยเช่นกัน มี ข้อวัตรต่างๆ ทั้งประชุมสงฆ์ ให้โอวาทพระภิกษุ และบำเพ็ญเพียรภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
       นอกจากนี้ จึงเกิดประเพณีที่ดีงามประการหนึ่ง ด้วยคือ การอนุญาตให้กุลบุตรออกบวชในช่วงฤดูเข้าพรรษา เพราะเมื่อพระภิกษุรวมกันอยู่มากๆ ผู้บวชใหม่ ย่อมสามารถศึกษา สอบถามข้อข้องใจ และมีกำลังใจ ในการบวชให้ครบพรรษาได้
สมัยก่อนวิถีชีวิตคนไทยผูกพันกับการทำเกษตรกรรม จึงมีเวลาพักช่วงให้มาบวชได้นานถึง ๓ เดือน แต่ ณ ปัจจุบัน ผู้คนเบนเข็มสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม การที่จะมีเวลาว่างยาวถึง ๓ เดือน นั้นค่อนข้างยาก หรือ มิฉะนั้นต้องมีอายุการทำงานไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือมาก กว่านั้นในบางแห่ง ส่วนใหญ่อนุญาตพอเป็นธรรมเนียม ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง 
 

 

ผู้มีบุญจึงได้บวช
      ดังนั้น การที่กุลบุตรลูกหลานไทยคนใด ตัดสินใจบวชในช่วงเข้าพรรษา ต้องถือว่า เป็นผู้มีบุญมาแต่กาลก่อน (ปุ-พเพกตปุญญตา) สั่งสมเนกขัมมบารมี คุ้นเคยกับชีวิตนักบวช มาหลายภพหลายชาติ จึงมีกำลังใจ ฝ่ากระแสกิเลส ความสะดวกสบายทางโลก มาฝึกฝน อบรมตนเอง ผู้มีบุญจึงได้บวช น้อมนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่กายใจ เพื่อ พัฒนาจากภาวะของปุถุชนคนธรรมดา มาเป็น "บัณฑิต" ในทางธรรม หรือภาษาไทยเดิมๆ จะใช้ว่า พัฒนาจาก "คนดิบ" มาเป็น "คนสุก" ด้วยธรรมะที่กล่อมเกลาใจนั้นเอง
      ปีนี้ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกายยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พระ ภิกษุส่วนหนึ่งได้ออกไปบำเพ็ญสมณกิจตามวัดสาขาและศูนย์สาขาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จึงมีพระภิกษุ-สามเณรอยู่จำพรรษาเฉพาะที่วัดทั้งหมด ๙๗๒ รูป แบ่งเป็นพระภิกษุ ๖๘๘ รูป และสามเณร ๒๘๔ รูป ในจำนวนนี้เป็น ธรรมทายาทรุ่นเข้าพรรษาจำนวน ๘๕ รูป

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๐ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล