วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ วิธีแก้ไขความจนด้วยเครือข่ายคนดี

หลวงพ่อทัตตชีโว

วิธีแก้ไขความจนด้วยเครือข่ายคนดี
หลวงพ่อทัตตชีโว
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕

ความจนเป็นทุกข์ในโลก

         หลวงพ่อเห็นพวกเราช่วยกันสร้างบุญ ไปชักชวนคนมาทำบุญวันทอดกฐินกันมากขนาดนี้ ทำให้นึกถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธขึ้นมา วันนี้จึงเอาเรื่องนี้มาฝาก

         พระสัมมาส้มพุทธเจ้าตรัสถึงหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธว่า ห้ามจน แต่ไม่ห้ามรวย เหตุที่ตรัสอย่างนี้เพราะความจนเปีนทุกข์ในโลก เพราะความจนจึงต้องกู้หนื้ยืมสิน การกู้หนี้จึงเป็นทุกข์ในโลก 

          เพราะกู้หนี้จึงต้องเสียดอกเบี้ย การเสียดอกเบี้ยจึงเป็นทุกข์ในโลก 

          เมื่อไม่มีดอกเบี้ยจะใช้ จึงต้องขอผัดผ่อน การขอผัดผ่อนจึงเป็นทุกข์ในโลก 

          เมื่อผัดผ่อนไม่ไต้จึงต้องหนีหน้า การหนีหน้าจึงเป็นทุกข์ในโลก

          เมื่อหนีหน้า เจ้าหนี้ย่อมตามให้จับได้ การลูกจับได้จึงเป็นทุกข์ในโลก เพราะฉะนั้นบท สรุปข้อแรกของเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธคือ ห้ามจน


เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธแก้ความจน
          พระพุทธองค์ทรงให้คาถาห้ามจนหรือหัวใจเศรษฐี ที่มาแห่งความรํ่ารวยว่า 
          ๑. อุฎฐานสัมปทา ขยันหา หรือหาเป็น 
          ๒. อารักขสัมปทา เก็บรักษาเป็น 
          ๓. กัลยาณมิตตตา สร้างเครือข่ายคนดีเป็น 
          ๔. สมชีวิตา ใช้เลี้ยงชีวิตแต่พอควร


เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธสำเร็จได้เพราะสร้างเครือข่ายคนดี
        มีข้อที่น่าสังเกตว่า พระองค์สอนให้เราหาให้เป็น เก็บให้มากๆ แต่ทำไมเวลาใช้ จึงให้เราใช้แต่พอควร และต้องสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นเสียก่อนที่จะใช้ ตรงนี้เป็นจุดที่เราต้องหยุดพินิจพิจารณา ให้ถี่ถ้วน

          ช่วง ๒-๓ ปีนี้ ถ้าพวกเราไม่ได้ผ่านวิกฤติการณ์ของวัดกันมา เราคงมองไม่ออกว่าการสร้างเครือ ข่ายคนดีมีความจำเป็นแค่ไหน

       หรือช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเจอวิกฤติเศรษฐกิจ ถ้าใครเป็นประเภทตัวใครตัวมัน ไม่เคยเกื้อหนุนเจือจุนเพื่อนฝูงญาติมิตรกันมา ก็คงจะรู้ฤทธิ์ของการไม่สร้างเครือข่ายคนดี วันนี้คงเจ็บตัว และยังไม่ฟื้น แต่ใครที่ช่วยเหลือเพื่อนฝูงมาดีตลอด ผิดพลาดมาอย่างไรก็มีคนคอยช่วยเหลือ ถึงวันนี้ คงรอดตัวมาพอสมควร ไม่อย่างนั้นคงไม่ได้มาสร้างบุญกฐินเต็มที่อย่างนี้ นี่เป็นผลจากการสร้างเครือข่ายคนดี


วัดเจริญได้เพราะการสร้างเครือข่ายคนดี
       วัดพระธรรมกายได้พยายามสร้างเครือข่ายคนดีมาตลอด ตั้งแต่เริ่มสร้างวัด จนกระทั่งมาถึงงาน กฐินที่ผ่านมา เราได้สร้างบุญและชักชวนญาติมิตรมาวัด มาทำบุญอย่างเต็มที่ ทำให้การสร้างเครือข่าย คนดีของวัดขยายออกไปทั้งในและต่างประเทศ จนคนเหล่านั้นมาเป็นกำลังเป็นกำแพงให้กับวัด วัดจึงเจริญเติบโตก้าวหน้า จาก ๑๙๖ ไร่มาเป็น ๒,๐๐๐ ไร่ ธรรมกายเจดีย์ก็สร้างเสร็จ ทุกอย่างดีขึ้นมาตามลำดับ นี่คืออานิสงส์ของการที่เราชักชวนคนมาเข้าวัดจนเป็นเครือข่ายคนดี


งานต่อไปคือสร้างเครือข่ายคนดีให้กับตัวเองและบ้าน
        เมื่อเราได้สร้างเครือข่ายคนดีให้กับวัดแล้ว หลวงพ่ออยากให้พวกเราย้อนมาสร้างเครือข่ายคนดี ให้กับตัวเองบ้าง โดยเริ่มจากคนใกล้ตัว ตั้งแต่สามีภรรยา พ่อแม่ ปูย่า ตายาย พี่น้อง ลูกหลาน เป็นต้น ในการสร้างเครือข่ายคนดีให้กับคนที่บ้าน ถ้ามีความรู้สึกว่า คนในบ้านเรายังไม่เห็นด้วยกับการ เข้าวัดปฏิบัติธรรม หรือเห็นด้วยแล้ว แต่ยังไม่ทุ่มเทกับการทำบุญ อย่าไปมองว่าเขาดื้อไม่ยอมมา วัด เพราะจะทำให้เราเกิดความท้อและไม่อยากแก้ไข แต่ให้คิดว่าเรายังมีสติปัญญาไม่เพียงพอ ที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจได้ ไปนั่งสมาธิให้มากๆ จะได้เกิดปัญญาแก้ไขได้มากกว่านี้

        ลองสังเกตว่า เมื่อก่อนเรามีเชื้อดื้ออย่างนี้เหมือนกัน แล้วตอนนี้หายไปได้อย่างไร คนที่บ้านเรา เช่นกัน อยู่กันมานานถึงขนาดนี้แสดงว่าต้องมีนิสัยอะไรหลายอย่างที่คล้ายกันมาก คุณยาย หลวงพ่อ ธัมมชโยเคยใช้กุศโลบายอะไรแก่เรา แก้ไขเรา แล้วทำให้เรากลับมาเป็นคนดี ให้เราใช้กุศโลบายนั้นๆ กับญาติของเราเช่นกัน

         ยกตัวอย่าง การสร้างเครือข่ายคนดีของนางวิสาขา เมื่อแต่งงานมาอยู่ที่บ้านมิคารเศรษฐี ผู้เป็นพ่อสามีที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ นางพยายามทำหน้าที่กัลยาณมิตรออกอุบายต่างๆ เพื่อชักชวนท่านเศรษฐีให้มาทำบุญในพระพุทธศาสนา ในที่สุดนางสามารถชักชวนท่านมาฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สำเร็จ จนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

         แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นกัน เมื่อจะทรงเป็นกัลยาณมิตรให้กับพระญาติ ก็ยังต้องอาศัยเวลา ทั้งๆ ที่พระองค์ตรัสรู้แล้วก็ยังไม่เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ รอจนกระทั่งผ่านไป ๑ ปีจึงเสด็จไป เมื่อไปถึง แล้วพระญาติฝ่ายผู้ใหญ่ของพระองค์ก็ยังไม่ยอมรับ ต้องรอจนพระองค์แสดงฤทธิ้ให้เห็นหลายครั้ง จนประจักษ์แก่ใจว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ จึงยอมรับ

        แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือนางวิสาขาก็ยังต้องใช้เวลาในการสร้างเครือข่ายคนดี เรายังสร้าง ศวามดีไม่ได้เท่ากับท่านเหล่านี้ เพราะฉะนั้น การที่จะสร้างเครือข่ายคนดีในบ้าน ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะอยู่ใกล้ชิดกันอย่างมาก เรามีข้อบกพร่องอะไรเขาก็เคยเห็น เพราะฉะนั้น ต้องทำให้คนที่ เราต้องการแก้ไขเห็นว่า เมื่อเราเข้าวัดปฏิบัติธรรมแล้ว เราดีขึ้นมาจริงๆ ทำให้เขาเกิดศรัทธากับเราเสียก่อน ขนาดเปิดใจยอมรับล้านเปอร์เซ็นต์ทีเดียว


หลักการสร้างเครือข่ายคนดีให้กับคนที่บ้าน มีตังนี้
          ๑. เราต้องปิดช่องว่างรอยโหว่ข้อบกพร่องของเราให้หมด เพื่อคนที่บ้านจะยกมาเป็นข้อตำหนิ เราไม่ได้

          ๒. ทำความดีกับทุกคนในบ้านอย่างเต็มที่ ตั้งแต่พ่อแม่ พี่น้อง สามีภรรยา เป็นต้น จนเขาเกิด ความรู้สึกยอมรับว่า ไม่เคยมีใครดีกับเขาอย่างนี้มาก่อน

        ถ้าทำอย่างนี้หลวงพ่อมั่นใจว่า จะสามารถดึงให้เขามาสร้างความดีได้ไม่มากก็น้อย เมื่อคนในบ้านของเราแข็งแกร่งขึ้นมา จะเป็นการสร้างเครือข่ายคนดีให้กับคนในบ้าน ค่อย ๆ โตขึ้นเป็นเครือข่าย ของวงค์ตระกูล เครือข่ายของที่ทำงานได้ในที่สุด และนั่นคือการใช้เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธแก้ไขความยากจนในชาตินี้ และสั่งสมเสบียงป้องกันความยากจนในชาติเบื้องหน้า โดยวิธีการบริหารทรัพย์คือ หา เป็น เก็บเป็น ใช้แต่พอควร และสร้างเครือข่ายคนดีที่โลกต้องการ

         ในโลกนี้มีข้อคิดอยู่ว่า มีเงิน ๑ ล้าน ยังไม่แน่ว่าจะสร้างคนดีได้สักคน แต่ถ้าเราสร้างเครือข่าย คนดีเพิ่มขึ้นวันละคน เราก็เหมือนมีเงินเพิ่มขึ้นวันละ ๑ ล้าน ถ้าเราทำทุกวัน หรือสร้างคนดีเพิ่มขึ้นวัน ละหลาย ๆ คน ในที่สุดวันหนึ่งเราก็จะมีสมบัติตักไม่พร่อง เหลือกินเหลือใช้ เหลือไว้สร้างบารมีได้ไม่รู้ หมดสิ้น เพราะฉะนั้น ความปลื้มใจจากการมีเงินมีทรัพย์ ๑ ล้าน จึงเทียบไม่ได้กับความปลื้มใจที่ได้ จากการสร้างเครือข่ายคนดี เพราะทรัพย์ที่ให้ความปลื้มใจแก่มนุษย์ได้มากที่สุดในโลกนี้ไม่มีอะไรเกินกว่าการสร้างคนให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล