บทสวดธัมมนิยาม

วันที่ 11 เมย. พ.ศ.2559

 บทสวดธัมมนิยาม

บทสวดธัมมนิยาม

 

 

ปัพพะโตปะมะคาถา

        ยะถาปิ เสลา วิปุลา
 นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา
สะมันตา อะนุปะริเยยยุง
 นิปโปเถนตา จะตุททิสา
เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ
 อะธิวัตตันติ ปาณิโน
ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส
 สุทเท จัณฑาละปุกกุเส
นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ
 สัพพะเมวาภิมัททะติ
นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ
 นะ ระถานัง นะ ปัตติยา
นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ
 สักกา เชตุง ธะเนนะ วา
ตัส๎มา หิ ปัณฑิโต โปโส
 สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน
พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ
 ธีโร สัทธัง นิเวสะเย
โย ธัมมะจารี กาเยนะ
 วาจายะ อุทะ เจตะสา
อิเธวะ นัง ปะสังสันติ
 เปจจะ สัคเค ปะโมทะติ

 

อะริยะธะนะคาถา

        ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต
อะจะลา สุปะติฏฐิตา
สีลัญจะ ยัสสะ กัล๎ยาณัง
อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ
อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง
อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ
อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง
ตัส๎มา สัทธัญจะ สีลัญจะ
ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง
อะนุยุญเชถะ เมธาวี
สะรัง พุทธานะ สาสะนันติ

 

บทขัดธรรมนิยามะสูตร

      ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ         
ญาณัง ปุพเพ ปะวัตตะเต
ตัสเสวะ วิสะยีภูตา
ยายัง ธัมมะนิยามะตา
อะนิจจะตา ทุกขะตา จะ
สัพเพสังจะอะนัตตะตา
ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตัง
ยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง
สาธูนัง ญาณะจาเรนะ
ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง
โยนิโส ปะฏิปัต๎ยัตถง ตัง
ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส

 

ธัมมะนิยามะสุตตัง

        เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขูอามันเตสิภิกขะโวติฯ ภะทันเตติเต ภิกขูภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ(หยุด)

         อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา อาจิกขะติเทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติสัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ฯ

         อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานังฐิตาวะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา  ธัมมะนิยามะตา  สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ฯ

        อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิ ตะตา  ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา อาจิกขะติ เทเสติ ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ

 

117770658.jpg

คำแปล ความหมาย บทสวดธัมมนิยาม

ปัพพโตปมคาถา
(ชราและมรณะเปรียบประดุจภูเขาหินที่กลิ้งบดทับสัตว์ทั้งหลาย)

       ภูเขาทั้งหลาย เป็นหินล้วน ๆ สูงจรดฟ้า กลิ้งบดทับสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิส แม้ฉันใด ความแก่และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นคนยากจนเทหยากเยื่อก็ตาม ย่อมถูกความแก่และความตายครอบงำโดยไม่เว้นเลย ช้างศึกทั้งหลายไม่มีภูมิต้านทานในความแก่และความตายนั้น รถศึกทั้งหลาย และพลเดินเท้าทั้งหลาย ก็ไม่มีภูมิต้านทานในความแก่และความตายนั้น

      อนึ่งไม่ว่าจะเป็นการสู้รบ ไม่ว่าจะเป็นเวทมนต์ หรือทรัพย์ก็ตาม ไม่อาจทำให้ใคร ๆ เอาชนะความแก่และความตายนั้นได้เลย 

   เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมือ่เห็นประโยชน์ตน ผู้ที่มีปัญญา ควรจะปลูกฝังความเชื่อให้มีในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้ประพฤติธรรมด้วยกาย วาจา ใจ ในโลกนี้นั่นเทียว และผู้ประพฤติธรรมนั้นเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมมีความบันเทิงในสวรรค์แล ฯ

 

อริยธนาคาถา
(อริยทรัพย์อันประเสริฐ)

      ความเชื่อของบุคคลผู้ใด ตั้งมั่นคงไม่หวั่นไหวในพระตถาคตเจ้า อนึ่ง ศีลของบุคคลผู้ใดดีงาม เป็นที่ยินดีแห่งพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว 

       ความเลื่อมใสในพระอริยสงฆ์ มีอยู่แล้วในบุคคลใด และเมื่อความเห็นของบุคคลใด เป็นความเห็นคงที่เห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์

     เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญา เมื่อมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ก็ควรประกอบตนให้มีความเชื่อ ประกอบในศีล และให้มีความเลื่อมใส และประกอบใจให้มีความเห็นในธรรมไว้เนือง ๆ ดังนี้แล ฯ

 

ธัมมนิยามสุตตุง
(พระสูตรแสดงความแน่นอนแห่งสภาวะธรรมทั่วไป)

       ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารของท่าน อนาถปิณฑกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ฯ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์, ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลด้วยความเคารพพร้อมที่จะรับฟังแล้ว พระผู้มีพระภาคเข้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือว่าความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  สักแต่ว่าเป็นธาตุที่ตั้งอยู่กำหนดอยู่แล้วตามธรรมดา ว่าเป็นสังขารคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฯ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงเฉพาะอยู่, ส่วนธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งแล้ว เปิดเผยจำแนกทำความให้ตื้นขึ้นเป็นที่เข้าใจง่ายว่า สังขารคือรูปนามที่มีเหตุทั้งหลายมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่ไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวนไป แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ฯ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือว่าความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  สักแต่ว่าเป็นธาตุที่ตั้งอยู่ มีอยู่ กำหนดอยู่แล้วตามธรรมดา ว่าเป็นสังขารคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่เป็นทุกข์เหลือทน ทนต่อการถูกกระทบกระทั่งเบียดเบียนไม่ได้ ฯ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่, ส่วนธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวบัญญัติแต่งตั้งแล้ว เปิดเผยจำแนกทำความให้ตื้นเป็นที่เข้าใจง่ายว่า สังขารคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่เป็นทุกข์เหลือทน ทนต่อการถูกกระทบกระทั่งเบียดเบียนไม่ได้ ดังนี้ ฯ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือว่าความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย  สักแต่ว่าเป็นธาตุที่ตั้งอยู่ มีอยู่ กำหนดอยู่แล้วตามธรรมดา ว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง คือเป็นรูปธรรมที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปนาม ไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน มิใช่ของเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเรา ต้องสลายไป ฯ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่, ส่วนธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งแล้ว เปิดเผยจำแนกทำความให้ตื้นเป็นที่เข้าใจง่ายว่า ธรรมทั้งหลายคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่มิใช่รูปนาม ไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน มิใช่ของเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเรา ต้องสลายไป ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว ฯ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี เพลิดเพลินในพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้แล ฯ

 

 

 


** อ้างอิงจากหนังสือ มนต์วิธานและศาสนพิธี ** เหมาะสําหรับภิกษุผู้นวกะพระเถระและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป

** อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0053636829058329 Mins