ติลักขะณาทิคาถา
สัพเพ สังขาราอะนิจจาติ | ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ |
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข | เอสะ มัคโค วิสุทธิยา |
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ | ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ |
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข | เอสะ มัคโควิ สุทธิยา |
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ | ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ |
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข | เอสะ มัคโค วิสุทธิยา |
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ | เย ชะนา ปาระคามิโน |
อะถายัง อิตะรา ปะชา | ตีระเมวานุธาวะติ |
เย จะ โข สัมมะทักขาเต | ธัมเม ธัมมานุวัตติโน |
เต ชะนา ปาระเมสสันติ | มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง |
กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ | สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต |
โอกา อะโนกะมาคัมมะ | วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง |
ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ | หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน |
ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง | จิตตัก๎เลเสหิ ปัณฑิโต |
เยสัง สัมโพธิยังเคสุ | สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง |
อาทานะปะฏินิสสัคเค | อะนุปาทายะ เย ระตา |
ขีณาสะวา ชุติมันโต | เตโลเก ปะรินิพพุตาติ |
คำแปล ความหมาย ติลักขณาทิคาถา
(ธรรมทั้งหลายมีไตรลักษณ์เป็นต้น)
เมื่อใด บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ การเห็นและเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจด ฯ
เมื่อใด บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์, เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ การเห็นและเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจด ฯ
เมื่อใด บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา, เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ การเห็นและเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจด ฯ
ในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนผู้เข้าไปถึงฝั่ง คือพระนิพพาน มีประมาณน้อยมากทีเดียว, ส่วนหมู่สัตว์คือชนที่เหลือนอกจากนี้ ย่อมแล่นเลาะไปตามชายฝั่งเกาะสักกายทิฏฐิอยู่นั่นเทียว ฯ
สำหรับหมู่ชนที่มีปกติประพฤติตามธรรม ที่พระตถาคตเจ้าทรงกล่าวไว้แล้วโดยชอบ ก็จักถึงฝั่งคือพระนิพพาน ล่วงพ้นวัฏสงสารอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ คือกิเลสมาร ที่บุคคลข้ามได้ยากยิ่งนั้นไปได้ ฯ
บัณฑิตควรจะละธรรมอันดำเสีย แล้วพึงเจริญธรรมอันขาวให้มีขึ้น โดยอาศัยเอาจิตเกาะพระนิพพานแดนที่ไม่มีตัณหา ออกจากตัณหาอาลัย แล้วพึงละกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีความกังวล ยินดีในพระนิพพานอันสงัดที่ใคร ๆ ยินดีได้โดยยากนั้น, บัณฑิตควรทำจิตให้ผ่องแผ้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย,
** อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี