สวดแจง พระวินัย พระสูตร

วันที่ 11 เมย. พ.ศ.2559

สวดแจง

สวดแจง พระวินัย พระสูตร

 

พระวินัย

       ยันเตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ ปะฐะมัง ปาราชิกัง กัตถะ ปัญญัต-ตันติ ฯ เวสาลิยัง ปัญญัตตันติฯกังอารัพภาติฯ สุทินนังกะลันทะปุตตัง อารัพภาติฯ กัส๎มิง วัตถุส๎มินติฯ สุทินโน -กะลันทะปุตโต ปุราณะทุติยิกายะ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตัส๎มิง วัตถุส๎มินติฯ

       เตนะ สะมะเยนะ พุทโธ ภะคะวา เวรัญชายัง วิหะระตินะ เฬรุปุจิมันทะมูเล มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง -ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิฯ

        อัสโสสิโขเวรัญโช พราหมะโณ สะมะโณ ขะลุโภ โคตะโม สัก๎ยะปุตโต สัก๎ยะกุลา ปัพพะชิโต เวรัญชายัง วิหะระตินะ เฬรุปุจิมันทะมูเล มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ

         ตังโข ปะนะ ภะวันตัง โคตะมัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา-สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิสัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

        โส อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะ-ยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทติโส ธัมมัง เทเสติอาทิกัล๎ยาณัง มัชเฌกัล๎ยาณัง ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสติฯ

          สาธุโข ปะนะตะถารูปานังอะระหะตัง ทัสสะนัง โหตีติ

 

พระสูตร

          เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา อันตะรา จะ ราชะคะหังอันตะราจะ นาลันทังอัทธานะมัคคะปะฏิ-ปันโน โหติ มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิภิกขุสะเตหิฯ สุปปิโยปิโข ปะริพพาชะโกอันตะราจะราชะคะหังอันตะราจะ นาลันทัง อัทธานะมัคคะปะฏิปันโน โหติสัทธิง อันเตวาสินา พรัหมะทัตเตนะ มาณะเวนะฯตัต๎ระ สุทัง สุปปิโย ปะริพพาชะโก อะเนกะปะริยาเยนะ พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติธัมมัสสะ อะวัณณัง ภาสะ-ติสังฆัสะ อะวัณณัง ภาสะติฯ สุปปิยัสสะ ปะนะ ปะริพพาชะกัสสะ อันเตวาสีพรัหมะทัตโต มาณะโว อะเนกะปะริ-ยาเยนะ พุทธัสสะ วัณณัง ภาสะติธัมมัสสะ วัณณัง ภาสะติ สังฆัสสะ วัณณัง ภาสะติ ฯ อิติหะ เต อุโภ อาจะริยันเตวาสี อัญญะมัญญัสสะ อุชุวิปัจจะนิกะวาทา ภะคะวันตัง ปิฏฐิโต ปิฏฐิโตอะนุพันธาโหนติภิกขุสังฆัญจะ 

 

 

คำแปล ความหมาย 

พระวินัย

      ในการทำสังคายนา ครั้งที่ ๑ พระมหากัสสปเถระผู้เป็นประธานได้สอบถามพระอุบาลีผู้มีหน้าที่วิสัชชาพระวินัย ดังนี้.-

พระมหากัสสปะ ถามว่า    - พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติพระวินัยว่าด้วยอาบัติปาราชิก                                        สิกชาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน?

พระอุบาลี ตอบว่า            - พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยว่าด้วยอาบัติปาราชิกสิกชาบทที่ ๑ ณ กรุงไพสาลี ฯ

พระมหากัสสปะ ถามว่า     - พระองค์ทรงปรารภถึงใคร?

พระอุบาลี ตอบว่า             - พระองค์ทรงปรารภถึง พระสุทิน ผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ กลันทะ ฯ

พระมหากัสสปะ ถามว่า     - ทรงปรารภถึงพระสุทิน ผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ กลันทะ ในเพราะเรื่องอะไร?

พระอุบาลี ตอบว่า             - ในเพราะเรื่อวที่พระสุทิน ผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ กลันทะ ได้ร่วมประเวณีกับ                                              ภรรยาเก่า (ภรรยาสมัยเป็นฆราวาส)

       สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่โคมต้นสะเดา ซึ่งเป็นที่อยู่ของยักษ์ชื่อ นเฬรุ พร้อมด้วยหมู่ภิกษุจำนวนมากประมาณ ๕๐๐ รูป

      ก็แล พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า เวรัญชะ ได้ยินเสียงเล่าลืมมาอย่างนี้ว่า "ข่าวว่าพระสมณโคดมศากยบุตรผู้เจริญได้เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่โคมต้นสะเดา ซึ่งเป็นที่อยู่ของยักษ์ชื่อ   นเฬรุ พร้อมด้วยหมู่ภิกษุจำนวนมากประมาณ ๕๐๐ รูป"

      ก็เสียงยกย่องสรรเสริญคุณงามความดีของพระโคดมผู้เจริญ ได้ฟุ้งขจรขจายไปอย่างนี้ว่า "มีเสียงยกย่องสรรเสริญอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้ควรกราบไหว้บูชา เป็นผูัตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้ และความประพฤติปฏิบัติอันงาม เป็นผู้เสด็จไปสู่ที่ดีงามคือพระนิพพาน เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมไม่มีผู้อื่นเทียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเบิกบานแล้ว และเป็นผูสามารถจำแนกธรรมสอนหมู่สัตว์ได้ถูกต้องตามอัธยาศัยฯ"

        พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำพระนิพพานให้แจ้งเองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง แล้วทรงสอนโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตามพระองค์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น คือศีล ธรรมอันงามในท่ามกลาง คือสมาธิ และธรรมอันงามในที่สุด คือปัญญา ทรงประกาศแสดงถึงการปฏิบัติให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ พร้อมทั้งอธิบายความละเอียดและข้อปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐนั้นอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยไม่ให้มีข้อสงสัย ฯ

           ก็การได้เห็นหมู่พระอรหันต์ผู้งามเห็นปานนั้น เป็นการดียิ่งแล ฯ

 

พระสูตร

           พระอานนทเถรพุทธอุฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้.-

     ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จดำเนินไปในหนทางไกล ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยหมู่ภิกษุจำนวนมากประมาณ ๕๐๐ รูป 

     ก็ในคราวนั้นมีปริพาชกผู้หนึ่งชื่อว่า สุปิยะ พร้อมด้วยลูกศิษย์ซึ่งเป็นเด๋กหนุ่มชื่อว่า พรหมทัต ก็ได้เดินทางไปในหนทางไกล ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทานั้นด้วย

     ทราบว่าในระหว่างเดินทางนั้น สุปิยปริพาชก ผู้อาจารย์ได้กล่าวโทษพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันมาก

     แต่ว่าพรหมทัต มานพผู้เป็นลูกศิษย์ ของสุปิยปริพาชกนั้น  ได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันมาก

      อาจารย์กับลูกศิษย์ทั้งสองคน ได้กล่าวถ้อยคำที่ขัดกันแบบตรงกันข้าม พร้อม ๆ กับเดินตามหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าและหมู่ภิกษุไปด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

 

 


** อ้างอิงจากหนังสือ มนต์วิธานและศาสนพิธี ** เหมาะสําหรับภิกษุผู้นวกะพระเถระและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031231514612834 Mins