องค์ประกอบของชีวิต

วันที่ 26 สค. พ.ศ.2559

องค์ประกอบของชีวิต

องค์ประกอบของชีวิต , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , ขันธ์ 5

     องค์ประกอบของชีวิตในที่นี้จะกล่าวถึง 4 ประเด็นคือ ขันธ์ 5,สัณฐานที่ตั้งและธรรมชาติของจิต, ขันธ์ส่วนละเอียด และขันธ์ตามทัศนะของพระมงคลเทพมุนี

1. ขันธ์ 5
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในภารสูตรว่า มนุษย์แต่ละคนประกอบด้วยขันธ์ 5 ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

      ขันธ์ แปลว่า หมู่ พวก หมวด หรือ กอง ดังบทว่า "ขนฺธโลเก ได้แก่ ขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้นนั่นแลชื่อว่าโลก ด้วยอรรถว่าเป็นกอง"

       ขันธ์ 5 นี้อาจแบ่งออกเป็น 2 กองก็ได้คือ รูปขันธ์ 1 และ นามขันธ์ 4 ได้แก่ เวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

     รูปขันธ์ หมายถึงสรีระ หรือ ร่างกาย ดังบทว่า รูป ได้แก่ สรีระ หรือ บทว่า รูป ได้แก่ ร่างกายจริงอยู่แม้ร่างกายก็เรียกว่ารูป

      ในเมื่อ รูปขันธ์ หมายถึง "สรีระ" นามขันธ์ จึงหมายถึง "อสรีระ" คือไม่ใช่ร่างกาย ก็คือ จิตนั่นเอง  ดังที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า "ทูรงฺคม เอกจร อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา"

      บทว่า อสรีรํ นี้บางท่านแปลไว้ว่า ไม่มีสรีระ คือ ไม่มีรูปร่าง ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง เหมือนกับคำว่าอมนุษย์ หมายถึง ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ได้หมายถึง ไม่มีมนุษย์

      จิตมีรูปร่างคือเป็น "ดวงกลมใส" แต่เนื่องจากเป็นธาตุละเอียดมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ผู้แปลความหมายของจิตดังกล่าวจึงเข้าใจว่าจิตไม่มีรูปร่าง

          จิต มีชื่อเรียกหลายอย่างอาจจะเรียกว่า ใจ ก็ได้ หรือ มีชื่ออื่น ๆ อีกดังนี้

       "คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณ ขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น"

        ดังนั้นตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหากกล่าวถึงจิต, ใจ, มโน หรือ มานัส เป็นต้น ก็ให้ทราบว่าเป็นอย่างเดียวกัน

       สรุปมนุษย์ประกอบขึ้นจากขันธ์ 5 โดยย่อแบ่งเป็น 2 กองคือ รูปขันธ์ หมายถึง ร่างกาย และนามขันธ์ หมายถึง จิต หรือ ใจ และใจนั้นไม่ได้เป็นอย่างเดียวกับ มองอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เพราะมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายส่วนใจเป็นอีกอย่างหนึ่งคนละส่วนกัน


ลำดับต่อไปจะได้อธิบายขยายความองค์ประกอบของรูปขันธ์และนามขันธ์ดังนี้
1) รูปขันธ์
        คำว่า รูป แปลว่าสิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่าง ๆ อันขัดแย้งในเกวัฏฏสูตรและอรรถกถาติตถายตนสูตรกล่าวไว้ว่า "รูป" ประกอบด้วย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ และอากา ธาตุ

           ธาตุ แปลว่า ทรงไว้ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

          ปฐวีธาตุ หมายถึง ธาตุดิน ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ฯลฯ

        อาโปธาตุ หมายถึง ธาตุน้ำ ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อมันข้นน้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ฯลฯ

           เตโชธาตุ หมายถึง ธาตุไฟ ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้
อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กินย่อยไปด้วยดี ฯลฯ

         วาโยธาตุ หมายถึง ธาตุลม ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้องลมในลำไส้ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้าออก ฯลฯ

        อากาสธาตุ หมายถึง ช่องว่าง ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กินที่ดื่ม เป็นที่ตั้งของที่กิน และเป็นทางระบายของที่กิน ฯลฯ

2) นามขันธ์
      คำว่า นาม แปลว่า "น้อมไป หมายถึง ความน้อมไปมุ่งต่ออารมณ์" อารมณ์ ในที่นี้คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ ที่น้อมเข้ามาสู่ใจ

         นามขันธ์มี 4 ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

         เวทนา แปลว่า ความรู้สึก ได้แก่ รู้สึกว่าเป็นสุข ก็คือ ความ บายกายสบายใจ หรือรู้สึกว่า เป็นทุกข์ ก็คือ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือว่าเฉย ๆ คือทั้งไม่สุขไม่ทุกข์

       สัญญา แปลว่า จำได้หมายรู้ หรือ ระลึกถึง ได้แก่ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำสัมผัส ทางกาย และก็จำอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ

          สังขาร แปลว่า ความคิดปรุงแต่ง ได้แก่ คิดจะยืน คิดจะเดิน คิดจะนั่ง คิดจะพูด ซึ่งแบ่งได้  3  ประเภทคือ คิดดี เรียกว่า กุศล, คิดชั่ว เรียกว่า อกุศล, คิดไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า อัพยากฤต

        วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ รู้รูปที่เห็นทางตา รู้เสียงที่ได้ยินทางหู รู้กลิ่นที่ได้สูดทางจมูก รู้รส ที่ได้ลิ้มทางลิ้น รู้สัมผั ที่ได้แตะต้องทางกาย และรู้อารมณ์ที่นึกด้วยใจ

 

2. สัณฐานที่ตั้งและธรรมชาติของจิต
        จิตมีสัณฐานเป็น "ดวง" ดังพุทธดำรัสว่า "จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละเป็นความเกิดของสัตว์นั้น" ข้อมูลเรื่องจิตยังมีอีกมากซึ่งนักศึกษาสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในพระอภิธรรมปิฎก

       สถานที่ตั้งของจิตนั้นอยู่ใน "หทัยวัตถุ" หรือ "หัวใจ" ดังที่กล่าวไว้ในหาลิททกานิสูตรว่า "...จิตที่ อาศัยหทัยวัตถุ เป็นมโนวิญญาณธาตุ" หรือ "จิตเหมือนแมงมุมนอนในท่ามกลาง... การที่จิตอาศัยหทัยวัตถุเป็นไป เหมือนแมงมุมกลับมานอนในท่ามกลางใยอีก" ธรรมชาติของจิตเท่าที่ค้นพบในพระไตรปิฎกนั้นมีอยู่อย่างน้อย 5 ประการคือ

1) จิตนั้นดิ้นรนกลับกลอกรักษายาก
2) จิตนั้นข่มยากมีธรรมชาติเร็ว แต่สามารถฝึกได้
3) จิตเป็นธาตุละเอียดเห็นได้แสนยาก
4) จิตไม่ใช่ร่างกาย แต่อาศัยอยู่ในถ้ำคือร่างกาย
5) ปกติจิตนั้นผุดผ่อง แต่เศร้าหมองเพราะกิเลส

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในคาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ 3 และในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกายปณิหิตอัจฉวรรคที่ 3 ความว่า

         ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุ  กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอก โมกตอุพฺภโต ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ

           ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตสุขาวหํ ฯ

            สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตสุขาวหํ ฯ

            ทรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ อพลสฺสํว สีฆสฺโ หิตฺวา ยาติสุเมธโ ฯ
            ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐนฺติ ฯ

แต่ละประโยคนั้นแปลได้ดังนี้
        1) ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยากห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้นฯ

        2) การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่เป็นการดี จิตที่ฝึกแล้วย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้

       3) ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้

      4) ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่ใช่สรีระหรือไม่ใช่ร่างกาย มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร คำว่าถ้ำในที่นี้คือร่างกาย ดังที่บันทึกไว้พระไตรปิฎกว่า "คำว่า กายก็ดี ถ้ำก็ดี ร่างกายก็ดี ... เรือก็ดี รถก็ดี ... จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี กระท่อมก็ดี... หม้อก็ดี เป็นชื่อของกาย"

      5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมอง ด้วยอุปกิเล ที่จรมาจากข้อ 3) ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก..." คำว่า จิตที่เห็นได้แสนยากนั้น เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า จิตมีรูปร่าง หากไม่มีรูปร่างก็ไม่อาจเห็นได้แต่จิตเห็นได้ยากเพราะเป็นสิ่งที่ละเอียดยิ่งนักนั่นเอง

 

3. ขันธ์ส่วนละเอียด
        ขันธ์ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตนั้นนอกจากจะมีส่วนหยาบแล้วยังมีส่วนละเอียดอีกด้วยดังพุทธดำรัส ว่า "สาวกของเราในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี..."

       ในมหาปุณณมสูตรพระพุทธองค์ยังตรัสไว้อีกว่า ดูก่อนภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็น รูปขันธ์

     เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นเวทนาขันธ์

   สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นสัญญาขันธ์

   สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นสังขารขันธ์

      วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม... นี่เป็นวิญญาณขันธ์.

      จากพุทธดำรัสข้างต้นมีข้อสังเกตว่า ขันธ์ 5 นั้นไม่ได้มีเฉพาะส่วนหยาบอย่างเดียวแต่มีส่วนละเอียดด้วย และขันธ์ 5 ไม่ได้มีแต่ภายนอกอย่างเดียว แต่ยังมีขันธ์ 5 ภายในด้วยเช่นกัน

         รูปขันธ์คือร่างกายส่วนนามขันธ์คือใจ ดังนั้น นอกจากจะมีกายและใจภายนอกแล้วยังมีกายและใจภายในด้วย ดังที่พระนันทาเถรีกล่าวไว้ว่า "...เมื่อข้าพเจ้านั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ได้เห็นกายทั้งภายในและภายนอก ตามความเป็นจริง ทีนั้นข้าพเจ้าจึงเบื่อหน่ายในกาย และคลายกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว" หรือดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ... เวทนาในเวทนา... จิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรม พระดำรัสนี้ก็บ่งชี้ว่ามีขันธ์ 5 อยู่ภายในกายของเราด้วย


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0078543663024902 Mins