วิธีการศึกษาพระพุทธศาสนา

วันที่ 26 สค. พ.ศ.2559

วิธีการศึกษาพระพุทธศาสนา
 

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในนิพเพธิกปัญญสูตรว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลสธรรม 4 ประการนี้คือ
         1) สัปปุริสังเสวะ การคบสัตบุรุษ
         2) สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน
         3) โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ
         4) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"

         หลักธรรม 4 ประการนี้ชาวพุทธรู้จักกันในนามวุิธรรม หมายถึง ธรรมให้ถึงความเจริญ กล่าวคือ เมื่อปฏิบัติตามธรรมทั้ง 4 ประการนี้จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม

 

1. สัปปุริสังเสวะ  การคบสัตบุรุษ
         สัตบุรุษ แปลว่า คนสงบ คนดี คนมีศีลมีธรรม คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันได้แก่ คำว่า กัลยาณมิตรหรือ มิตรดี และคำว่า บัณฑิต หมายถึง คนที่มีจิตใจผ่องใสเป็นปกติ เป็นผู้ที่คิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ ซึ่งตรงข้ามกับคนพาล คือ คนไม่ดีซึ่งมีจิตใจที่ขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นคนที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วเป็นปกติคำว่าสัตบุรุษนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้แปลเอาไว้ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า "ครูดี" กล่าวคือ การจะศึกษาพระพุทธศาสนาก็ดี หรือ การจะศึกษาวิชาความรู้ใด ๆ ก็แล้วแต่เบื้องต้นจะต้อง "หาครูดีให้พบ" ก่อน คือ ต้องตั้งคำถามว่า "ใคร" หรือ "Who" ที่จะเป็นครูให้เราได้

       เนื่องจากมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ จึงต้องอาศัยครูผู้ลืมตาขึ้นมาเรียนรู้โลกก่อนเป็นผู้สอนให้การเรียนรู้ ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ศึกษาได้รวดเร็วกว่าการเรียนด้วยตนเอง เปรียบเสมือนการเดินทางไปในที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่เราไม่เคยไปด้วยลำพังตัวเองนั้น ยากที่เราจะคลำทางไปได้ถูกต้อง แม้จะมีแผนที่หรือตำรานำทางก็ยังยาก แต่หากมีคนที่จัดเจนเส้นทางนำเราไปจะง่ายกว่ามาก นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบกฎธรรมชาติใหม่ ๆ จนนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในทางโลกนั้น ก็ไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองทุกอย่าง แต่เป็นการศึกษาของเก่าแล้วต่อยอดความรู้ออกไปทั้งสิ้น ไอน์สไตน์เคยเล่าไว้ว่า เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี ได้เรียนวิชาเรขาคณิตจากตำราของยูคลิดเขาตื่นเต้นและพอใจมาก ถึงกับกล่าวออกมาว่า "ในวัยเด็กผู้ใดไม่เคยเรียนตำราเล่มนี้ ไม่มีทางที่จะเป็นนักสร้างทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ได้"

       สำหรับวิชาชีวิตคือพระพุทธศาสนานั้นก็ต้องอาศัยครูเหมือนกัน แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเอง ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็ต้องมีครูด้วย เท่าที่ปรากฏอยู่ในพุทธวงศ์พระโพธิสัตว์ของเราได้ออกบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ 8 พระองค์ ล่าสุดคือใน สมัยของพระกัสปพุทธเจ้า ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "ครั้งนั้น เราเป็นมาณพปรากฏชื่อว่า โชติปาละ... ท่านฆฏิการอุบาสกพาเราเข้าเฝ้าพระกัสปชินพุทธเจ้า เราฟังธรรมแล้วก็บวชในสำนักของพระองค์... เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ พุทธวจนะตลอดทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งามแล้ว" หรือ พระศรีอริยเมตไตรย์โพธิสัตว์ ก็ได้ออกบวชอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราด้วยเช่นกันมีนามว่า "อชิตภิกษุ" การตรัสรู้ด้วยพระองค์เองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นหมายเอาชาติสุดท้ายส่วนในเส้นทางการสร้างบารมีนั้นต้องอาศัยครูนำทางมาเป็นระยะ ๆ การเลือกครูต้องพิจารณา 2 เรื่องใหญ่คือ ต้องพิจารณาจากการมีความรู้จริง และการมีนิสัยดีจริง เราจึงจะแน่ใจได้ว่า ท่านสามารถสอนเราได้จริงทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพราะว่าการที่ท่านมีนิสัยดีจริงนั้น ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่า เรื่องที่ท่านกำลังสอนอยู่นั้นท่านปฏิบัติได้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ครูที่ดีจะต้องทั้งแนะและนำเราในทางที่ถูกต้องและดีได้ "แนะ" คือให้ความรู้ที่ถูกต้องส่วน "นำ" คือ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เราได้ทั้งในเรื่องงานและเรื่องการดำเนินชีวิต

        คำว่าครูนั้นหมายเอาบุคคลเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามสิ่งอื่น ๆ ก็สามารถเป็นครูเราได้เช่นกันโดยเฉพาะ สื่อที่ให้ความรู้ต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต นิตยสาร หนังสือเรียน หนังสือธรรมะหนังสือพิมพ์ และอื่น ๆ เพราะ สื่อเหล่านี้ได้นำคนและสิ่งแทนของคนออกเผยแพร่สู่สายตาของสาธารณชนจำนวนมาก ปัจจุบันคนแต่ละคนไม่จำเป็นต้องพบกันโดยตรงก็สามารถ สื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกผ่าน สื่อที่ทัน สมัย คนได้ลงไปอยู่ใน สื่อต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีไปสู่ชาวโลกอย่างกว้างขวาง และยากต่อการควบคุม

        ปัจจุบันชาวโลกตระหนักดีว่า สื่อมีอิทธิพลต่อการให้ความรู้ และการเป็นแบบอย่างทั้งด้านดีและไม่ดีเพื่อให้คนเลียนแบบอย่างมาก เช่น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้นำ หรัฐอเมริกา เจอการประท้วงที่คาดไม่ถึงจากนักข่าวอิรักรายหนึ่งโดยขว้างรองเท้าใส่ท่าน หลังจากนั้นไม่นานได้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ขึ้นอีกอย่างน้อย 2 ครั้งคือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 หนุ่มนักสิทธิมนุษยชนในอังกฤษถอดรองเท้าปาใส่นายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนที่อยู่ระหว่างการเยือนอังกฤษ และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 นักข่าวในอินเดียได้ปารองเท้าเฉี่ยวหน้ารัฐมนตรีมหาดไทย
กลางงานแถลงข่าวในกรุงนิวเดลี

        เหตุการณ์ปารองเท้าในประเทศอังกฤษและในอินเดียอาจจะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีภาพข่าวการปารองเท้าเข้าใส่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในประเทศอิรัก เผยแพร่ไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ สื่อจึงมีผลต่อพฤติกรรมของคนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนด้วยแล้ว มีตัวอย่างให้เห็นจำนวนมากในปัจจุบัน ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงมีอยู่ 2 ประการคือ สื่อมวลชนควรเสนอข่าวดี ๆ ข่าวสร้าง สรรค์เป็นหลักและผู้เสพ สื่อก็ควรเลือกเสพ สีขาวเป็นหลักสำหรับเหตุการณ์หรือสิ่งที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นนั้นก็ให้ช่วยกันจัดการแก้ไขไม่ใช่ปล่อยไว้เฉย ๆ

 

2. สัทธรรมสวนะ  ฟังคำสั่งสอนของท่าน
         สัทธรรมสวนะ หมายถึง ฟังคำสอนของท่าน ในหัวข้อนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกล่าวไว้ว่าเมื่อเราได้พบครูดีแล้วสิ่งสำคัญอันดับสองก็คือ "ต้องฟังคำครูให้ชัด" อย่าได้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพี้ยนความหมาย เพราะถ้าฟังไม่ชัด แล้วจำไปทำผิดๆ ก็จะก่อปัญหาให้มากมายในภายหลัง

        การฟังครูให้ชัด คือ ฟังแล้วอย่าฟังผ่าน ๆ ฟังแล้วจะต้อง "จับประเด็นได้" และ จะต้องได้ " คำจำกัดความ" ของเรื่องนั้น ๆ ออกมาอย่างชัดเจนการจับประเด็น ได้แก่ การตั้งคำถามว่า "what" กล่าวคือ ครูพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ประเด็นใหญ่คืออะไร ประเด็นย่อย มีอะไรบ้าง หรือหากเป็นการอ่านหนังสือ ก็ต้องจับประเด็นให้ได้ว่า หนังสือที่อ่านกล่าวถึงเรื่องอะไร หากไม่รู้จักจับประเด็น เราจะได้ประโยชน์จากการฟังหรือการอ่านน้อยมาก เพราะเมื่อฟังหรืออ่านหนังสือจบแล้ว จะจำอะไรแทบไม่ได้เลย แต่ถ้าจับประเด็นได้ อย่างน้อย ๆ เราจะจำประเด็นได้เมื่อจำประเด็นได้จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่รายละเอียดได

       เมื่อจับประเด็นได้แล้วขั้นต่อไปก็ต้องได้ "คำจำกัดความ" ของประเด็นนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ อย่างถูกต้อง คำจำกัดความ คือ การกำหนดความหมายที่ถูกต้องและชัดเจน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพื่อให้ครูและนักเรียน เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ในเรื่องความหมาย หลักการปฏิบัติ ทิศทางการปฏิบัติ และผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ

     การศึกษาเรื่องใดก็ตามถ้าผู้สอนไม่ให้คำจำกัดความแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน ก็เท่ากับตกม้าตายตั้งแต่ต้นทันที เพราะเมื่อคำจำกัดความไม่ชัดแล้ว ผู้เรียนจะมีโอกาสเข้าใจผิดได้ส่งผลให้การคิด การพูด และการปฏิบัติย่อมเกิดผิดพลาดตามไปด้วย ผลลัพธ์ที่ออกมาย่อมทำให้เกิดปัญหาเดือดร้อนยุ่งยากตามมาทันที

      เพราะฉะนั้น ใครที่เป็นครูสอนเรื่องอะไร หรือใครที่ศึกษาเรื่องอะไร เพื่อป้องกันความผิดพลาดต้องเอาความจำกัดความในเรื่องที่เรียนนั้นออกมาให้ได้ ถ้าครูไม่ได้ให้มา ก็ต้องซักถามกับครูให้เป็น ถ้าครูตอบแล้วยังเข้าใจไม่ชัดเจน ก็ต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมเอง

       วิธีการหาคำจำกัดความแบบง่าย ๆ ก็คือ การตั้งคำถามในเรื่องที่เรียนด้วยคำว่า "อะไร" หรือทีภาษาอังกฤษเรียกว่า "what" แล้วเดี๋ยวเราก็จะได้คำจำกัดความออกมา

           ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เราฟังหลวงพ่อเทศน์เรื่องบุญ ดังนั้นประเด็นก็คือ "เรื่องบุญ" เมื่อจับประเด็นได้แล้วต่อไปก็เป็นเรื่องคำจำกัดความของคำว่า "บุญ" โดยการถามว่า บุญคืออะไร ก็ต้องตอบว่าบุญ คือ "ธาตุบริสุทธิ์และละเอียด มีลักษณะเป็นดวง กลมรอบตัว ใสสว่าง เกิดขึ้นจากการทำความดี ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ฯลฯ บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะค่อยๆ ชำระล้างใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสไปเรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด และบุญนั้นจะบันดาลความสุขความสำเร็จให้เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ"

      การจะให้คำจำกัดความเรื่องอะไรก็ตามเราจะต้องศึกษาเรื่องนั้น ๆ ให้กว้างขวางและลึกซึ้งเสียก่อนจึงจะสามารถให้คำจำกัดความที่ถูกต้อง กระชับ และชัดเจนได้ หากศึกษาไม่ครบถ้วนและไม่ละเอียดพอจะมีโอกาสให้คำจำกัดความผิดพลาดได้ อุปมาเหมือนคนตาบอดหลายคนคลำช้างคนละส่วนกัน แต่ละคนไม่ได้ศึกษาช้างทั้งตัว จึงทำให้มโนภาพในใจเกี่ยวกับช้างของแต่ละคนไม่ถูกต้องและไม่เหมือนกัน หรือดังเรื่องที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาแต่โบราณว่า เด็กคนหนึ่งไปฟังพระเทศน์ ขณะฟังนั้นหลับบ้างตื่นบ้าง ได้ยินพระท่านเทศน์ว่า "การนอนตื่นสายก็ดี การเกียจคร้านทำการงานก็ดี" จับใจความได้เท่านี้ที่เหลือหลับจึงไม่ได้ยินว่าพระท่านเทศน์อะไรอีกบ้าง เมื่อกลับไปบ้านจึงทำตามที่พระท่านเทศน์คือ นอนตื่นสายและไม่ช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ดี

 

3. โยนิโสมนสิการ  กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ
      โยนิโสมนสิการ หมายถึง กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ในหัวข้อนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกล่าวไว้ว่า เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว ได้ฟังคำครูชัดเจนแล้ว แต่จะเข้าใจความรู้ของครูได้ลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่การนำความรู้กลับมาไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง เพราะยิ่งมีความลึกซึ้งมากเท่าไร่ การคิด การพูด การกระทำย่อมได้ผลมากยิ่งขึ้นเท่านั้นด้วย

         การตรองคำครูให้ลึกคือ การไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวัตถุประสงค์ของธรรมะในเรื่องนั้น ๆ

       วิธีการค้นหาวัตถุประสงค์ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไม หรือ ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "why" ถามคำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ทำไม ๆ ๆ ๆ ไปสัก 2030 คำถาม เดี๋ยวก็สามารถมองเห็นชัดถึงวัตถุประสงค์ของธรรมะเรื่องนั้น ๆ

        ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราศึกษาเรื่องบุญ เราต้องตอบให้ได้ก่อนว่า บุญคืออะไร เมื่อเราตอบได้แล้วคำถามต่อไปที่ต้องถามก็คือ ทำไมต้องสร้างบุญ พอเราถามอย่างนี้แล้ว การค้นคว้าแบบเจาะลึกไปให้ถึงวัตถุประสงค์นั้น ๆ ก็จะเกิดขึ้น แล้วเราก็จะพบคำตอบมากมาย เช่น

        1) บุญสามารถกลั่นกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ทำให้เรามีความสุขใจทุกครั้งที่ได้ทำบุญส่งผลให้มีบุคลิกภาพดี มีอารมณ์ดี ใบหน้ายิ้มแย้มเบิกบาน มีใจผ่องใสเป็นปกติ ทำให้เป็นที่รักของคนหมู่มาก

     2) บุญสามารถสั่งสมไว้ในใจได้ไม่จำกัด ยิ่งมีมากเท่าไร่ ยิ่งนำความสุขและความเจริญทั้งมนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ บริวารสมบัติ และนิพพานสมบัติมาให้แก่เราได้มากเท่านั้น

     3) บุญสามารถนำติดตัวเป็นเสบียงข้ามภพชาติไปได้ จึงมีอานุภาพในการดลบันดาลให้ไปเกิดในภพภูมิ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การทำความดี และเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติคุณสมบัติ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสุขและความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

        4) บุญสามารถใช้ในการออกแบบชีวิตได้ เราอยากมีความสุขและความเจริญในชีวิตแบบใดเราก็ต้องสร้างบุญที่มีอานิสงส์อย่างนั้น คนที่มีบุญมากก็จะประสบความสุขมาก คนที่มีบุญน้อยก็จะประสบความสำเร็จน้อย

    เมื่อเราลองตอบคำถามนี้ในแง่มุมอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไปอีกสัก 4050 ครั้ง เดี๋ยวก็เจาะลึกเข้าไปถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ชัดเจน และเราก็จะเห็นภาพรวมที่สรุปใจความสำคัญได้ว่า

       วัตถุประสงค์หลักของการทำบุญ ก็คือ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดจากวิบากกรรมในอดีต เพื่อสั่งสมความสุขและความเจริญในปัจจุบัน และเพื่อการขจัดอาสวะกิเล อันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งมวลให้หมดสิ้นไป

      นี้เป็นตัวอย่างของวิธีการตรองคำครูให้ลึก ที่ทำให้เรามีความเข้าใจถูกในเรื่องครูสอนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ลึกซึ้ง ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และนั่นคือทางมาแห่งปัญญาที่จะคิดถูก พูดถูก และทำถูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป

       นักเรียนที่หมั่นไตร่ตรองคำสอนของครูจนเข้าใจอย่างลึกซึ้งอยู่เป็นนิตย์ จะทำให้มองอะไรได้ลึกกว่าคนอื่น ๆ แม้ว่าจะเรียนจบหลักสูตรมาเหมือนกัน แต่ความรู้ความสามารถในการมองโลกจะไม่เท่ากันดังเรื่องเล่าที่ว่า มีชาย 3 คนเพิ่งเรียนจบหลักสูตรมาจากสำนักอาจารย์เดียวกัน และได้เดินทางกลับบ้านพร้อมกัน ระหว่างทางเดินไปเจอกองอุจจาระกองใหญ่ ชายคนแรกบอกว่าเป็น "อุจจาระของช้าง" ชายคนที่สองเห็นอะไรที่ลึกกว่านั้นคือเขาบอกว่า "ช้างตัวนี้เป็นช้างตัวเมีย" เพราะสังเกตเห็นกองปัสสาวะเป็นกองกลมๆ อยู่ข้างๆอุจจาระ หากเป็นช้างตัวผู้ลักษณะของปัสาวะที่ปรากฏจะไม่เป็นกองกลม ๆ แต่จะพุ่งเป็นเรียว ๆ ไปข้างหน้าส่วนชายคนที่สาม มองได้ลึกไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่งคือ เขาบอกว่าช้างตัวนี้นอกจากจะเป็นตัวเมียแล้ว ยังเป็นช้างที่ตาบอดข้างหนึ่งด้วย เพราะสังเกตเห็นร่องรอยของกิ่งไม้ที่ช้างกินระหว่างทางพบว่า ช้างกินฝังเดียวอีกฝังหนึ่งไม่ได้กิน จึงสรุปว่าช้างตัวนี้ตาบอดข้างหนึ่ง

      ชายคนแรกเห็นแค่ไหนก็รู้แค่นั้นโดยไม่ได้ตั้งคำถามต่อว่า ทำไมกองปัสสาวะที่กองอยู่ใกล้ ๆ อุจจาระจึงเป็นกองกลม ๆ ไม่มีลักษณะเป็นเรียว ๆ พุ่งไปข้างหน้า จึงไม่รู้ว่าช้างตัวนี้เป็นตัวเมียเหมือนชายคนที่สองส่วนชายคนที่สามถือว่าเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนที่สุด รู้จักสังเกตและตั้งคำถามว่า ทำไมกิ่งไม้ข้างทางจึงหักฝังเดียว อีกฝังหนึ่งไม่หักทั้ง ๆ ที่อยู่ในระยะที่ช้างกินได้ทั้งสองฝัง เขาจึงสรุปว่า ช้างตัวนี้ต้องเป็นช้างตาบอด 1 ข้างแน่นอน


4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
        ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ปฏิบัติธรรม มควรแก่ธรรม ในหัวข้อนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกล่าวไว้ว่า เมื่อเราหาครูดีพบแล้ว ฟังคำครูชัดแล้ว ตรองคำครูลึกแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องปฏิบัติจริงให้ได้เหมือนครู คือต้อง "ทำตามครูให้ครบ" มิฉะนั้น เราจะเป็นคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ นั้นคือ เก่งทฤษฎี แต่สอบตกปฏิบัติ ชีวิตนี้จึงยากจะประสบความสำเร็จได้ทั้ง ๆ ที่เขาก็ไม่ใช่เป็นคนโง่

          พระอานนทเถระกล่าวไว้ว่า "ผู้ใดเล่าเรียนมามาก แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติตามที่เล่าเรียนมา ย่อมปรากฏแก่เราเหมือนคนตาบอดถือดวงไฟไปฉะนั้น" กล่าวคือ คนตาบอดแม้จะมีดวงไฟถืออยู่ในมือ แต่ดวงไฟนั้นก็ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่เขาเลย เพราะถึงอย่างไรเขาก็มองไม่เห็นอยู่ดี คนที่มีวิชาความรู้มากมายแต่ไม่ได้นำความรู้นั้นมาปฏิบัติ ความรู้ที่มีอยู่จึงไม่ได้เกิดประโยชน์แก่เขาเลย หรือคล้าย ๆ กับคนเลี้ยงโคให้คนอื่นแต่ตัวเองไม่ได้กินน้ำนมโคนั้น

         การลงมือปฏิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์นั้นสิ่งที่เราจะต้องทำลำดับแรกคือ ต้องสรุปคำสอนที่ได้เรียนได้ฟัง และไตร่ตรองจนเข้าใจ แล้วลงเป็นหลักปฏิบัติอย่างชัดเจนได้ โดยตั้งคำถามว่า "อย่างไร" หรือ "How" คือ มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรจึงจะทำได้อย่างที่ครูสอน เช่น เมื่อรู้แล้วว่า บุญคืออะไร และเข้าใจแล้วว่าทำไมจึงต้องสร้างบุญ ต่อไปก็ต้องถามต่อว่า แล้ววิธีการทำบุญนั้นต้องทำอย่างไรก็จะได้คำตอบว่าการทำบุญนั้นทำได้อย่างน้อย 3 วิธีคือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนาหลังจากนั้นก็ให้ลงรายละเอียดถึงวิธีการทำบุญแต่ละอย่างไปอีกว่า การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาต้องทำอย่างไร

        ในการปฏิบัติธรรมหรือลงมือทำงาน ๆ ใดก็ตาม การที่จะให้เกิดผลดีดังใจเราปรารถนานั้นอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการคือต้องให้ ถูกดี ถึงดี และ พอดี

      ถูกดี คือมีปัญญาสามารถทำถูกวิธีตามที่ครูสอนได้ อุปมาเหมือนการเดินทางหากเลือกเส้นทางผิดก็ไม่มีทางที่จะไปถึงเป้าหมายได้

      ถึงดี คือมีความพยายามที่จะปฏิบัติธรรมหรือทำงานต่าง ๆ จนเต็มตามความสามารถ การทำแบบเหยาะแหยะแต่หวังผลเลอเลิศนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได

     พอดี คือมี ติดี ไม่ทำจนเลยเถิดไปจนเกิดความเสียหาย การรู้จักความพอดีนั้นสำคัญ แม้แต่รับประทานอาหารหากกินมากจนเกินความพอดีก็จะอึดอัดทุกข์ทรมาน ไม่สบาย การปฏิบัติธรรมหรือทำงานต่าง ๆ ก็เช่นกัน หากหักโหมเกินไปก็จะเกิดความเหนื่อยล้าไม่เป็นผลดี จะเข้าข่ายอัตตกิลมถานุโยคคือ ปฏิบัติลำบากหรือการทรมานตนไป แต่ถ้าหย่อนยานจนเกินไป ก็จะเข้าข่ายกามสุขัลลิกานุโยค คือ ปล่อยไปตามกิเลสกาม ก็ไม่ได้ผลเช่นกัน ดังนั้นต้องยึดเอาความพอดีเป็นหลัก หรือที่เรียกว่าทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทา

    โดยสรุปวิธีการศึกษาพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นมี 4 ประการคือสัปปุริสังเสวะ คือ หาครูดีให้พบ (Who),สัทธรรมสวนะ คือ ฟังคำครูให้ชัด (What), โยนิโสมนสิการ คือ ตรองคำครูให้ลึก (How) และธัมมานุธัมมปฏิปัตติ คือ ทำตามครูให้ครบ (ฯ).

        นอกจากในพระพุทธศาสนาแล้ว What, Why   และ How  ก็เป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์มักใช้ถามตัวเองเวลาศึกษาทางวัตถุ โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ ทั้งหลาย แม้แต่สตีเฟน ฮอว์กิ้ง (Stephen) ที่ถือกันว่าเป็นนักทฤษฎีฟิสิกส์ที่ฉลาดที่สุดในปัจจุบัน

       สตีเฟน ฮอว์กิ้ง กล่าวไว้ว่า "เป้าหมายของผมคือ การค้นหาคำตอบที่ชัดเจนแจ่มแจ้งว่า เอกภพคืออะไร และทำไมต้องมีเอกภพ" และเคยกล่าวไว้ว่า "เด็กทุกคนมักตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นอยู่รอบ ๆ ตัว ถามว่ามันคืออะไร (What) ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น (Why) มันเกิดขึ้นได้อย่างไร (How) แต่เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นกลับถูกสั่ง อนว่า คำถามเหล่านี้เป็นเรื่องโง่เขลาหรือไม่พวกเขาก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนตัวผมเองเป็นแค่เด็กที่ไม่ยอมโต ผมยังคงตั้งคำถามอยู่เสมอว่า ทำไม และ อย่างไร ซึ่งบางครั้งทำให้ผมพบคำตอบที่ชัดเจน"

          แต่ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ขาดหลักปฏิบัติที่สำคัญคือ การนั่งสมาธิเจริญภาวนาจึงไม่อาจเข้าถึงความจริงของโลกและชีวิตได้อย่างแจ่มแจ้งเหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย

 

 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022650603453318 Mins