คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
1. พระธรรมคืออะไร
หากกล่าวถึงพระรัตนตรัยภายใน พระธรรมจะหมายถึง ธรรมรัตนะ อันเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายระดับต่างๆ ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าเป็นพระรัตนตรัยภายนอก พระธรรมจะหมายถึงคำ อนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งหลั่งออกมาจากพระรัตนตรัยในตัว
พระธรรมที่กล่าวถึงในบทนี้คือพระธรรมภายนอก ได้แก่ เรื่อง "อริยสัจ" อันเป็นความจริงของชีวิตและแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง สำหรับหัวข้อนี้จะกล่าวถึงพระธรรมอีกนัยหนึ่งซึ่งความจริงก็เป็นอันเดียวกันกับอริยสัจ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ธรรมวินัย"
คำว่า ธรรม ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงพุทธวจนะทั้งหมด แต่หมายเอาเฉพาะคำสอนที่ไม่เกี่ยวกับพระวินัย แต่ถ้ากล่าวถึงพระธรรมในความหมายที่เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยภายนอกแล้วจะหมายถึงพุทธวจนะทั้งหมด
คำว่า วินัย หมายถึง ศีลของพระภิกษุภิกษุณีรวมทั้งศีลของสามเณรและศีลของฆราวา ได้แก่ ศีล 5 ศีล 8 หรือ อุโบสถศีล
เมื่อจะกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอาจจะเรียกว่า ธรรม เป็น "คำสอน"ส่วน วินัย เป็น "คำสั่ง" ก็ได้ดังนั้น ธรรมวินัยก็คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแต่ "คำสอน" คือ "ธรรม" ได้แก่ โอวาทปาฏิโมกข์ ฯลฯ ยังไม่ได้บัญญัติ "คำสั่ง" คือ "วินัย" ต่อมาเมื่อมีภิกษุมากขึ้น ผู้บวชมาจากตระกูลต่างกัน มีอัธยาศัยและความมุ่งหมายต่างกัน และเมื่อมีลาภสักการะเกิดมากขึ้น ทำให้พระภิกษุบางรูปมีความประพฤติไม่เรียบร้อยสร้างความเสียหายจนเกิดคำติฉินจากชาวบ้าน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงบัญญัติวินัยขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อห้ามภิกษุประพฤติเช่นนั้นอีก
ในสมัยพุทธกาลคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาจึงมีเพียง 2ส่วนนี้คือ ธรรมกับวินัยดังพระดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า "ธรรมก็ดีวินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"
ในเมื่อพุทธวจนะมีเพียง 2 ส่วนหรือ 2 ปิฎกดังกล่าว แล้วคำว่าพระไตรปิฎกที่ชาวพุทธรู้จักกันในปัจจุบันมาจากไหน
หลังพุทธปรินิพพานชาวพุทธได้ถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สืบต่อกันเรื่อยมาแต่เนื่องจากพระธรรมวินัยดังกล่าวยังไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษาที่ดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีคำสั่งสอนบางส่วนสูญหายไป ด้วยเหตุนี้การสังคายนาจึงเกิดขึ้น
คำว่าสังคายนา แปลว่า การซักซ้อม, การสวดพร้อมกัน, การร้อยกรอง หมายถึง การที่พระสงฆ์ประชุมกันแล้วสอบทานชำระสะสางและซักซ้อมทำความเข้าใจพระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อรักษาความถูกต้องไว้แล้วจัดเป็นหมวดหมู่พร้อมทั้งจดจำสาธยายกันไว
การสังคายนาพระธรรมวินัยมีขึ้นหลายครั้ง แต่ที่ทุกฝ่ายทุกประเทศยอมรับ คือ การสังคายนา 3 ครั้งแรกในประเทศอินเดีย
การสังคายนาครั้งที่ 1 จัดขึ้นใกล้กรุงราชคฤห์ภายหลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 องค์ พระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอุบาลีตอบข้อซักถามเกี่ยวกับพระวินัย พระอานนท์ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับพระธรรม คำตอบของพระอานนท์เริ่มต้นด้วยประโยคว่า "เอวัมเม สุตัง ข้าพเจ้าได้ ดับมาอย่างนี้" หมายถึง ได้สดับมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ได้สดับมาจากพระสาวกเช่นพระสารีบุตร เป็นต้น
การสังคายนาครั้งที่ 2 จัดขึ้นใน พ.ศ.100 ครั้งนี้ก็ยังไม่มีการแบ่งพุทธวจนะเป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดพระธรรมวินัยเป็นรูปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนาครั้งที่ 3 พ.ศ. 236 ณ กรุง ปาฏลีบุตรแห่งอินเดีย ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ไตรปิฎก มาจากคำบาลีว่า ติปิฎก ประกอบด้วย วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก
คำว่า "ปิฎก" แปลว่า "ตะกร้า" หมายถึง ภาชนะสำหรับใส่สิ่งของ คำว่าปิฎกนี้ได้นำมาใช้เป็นชื่อหมวดหมู่พระธรรมวินัยคือ แยกออกเป็นสามตะกร้า หรือ 3 หมวดใหญ่ ๆ นั่นเอง โดยวินัยคือคำสั่งนั้นแยกไว้หมวดหนึ่งเรียกว่า พระวินัยปิฎกส่วนธรรมคือคำสอนแยกออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก หรือ หมวดพระสูตร คือคำสอนที่ทรงแสดงแก่บุคคลต่าง ๆ ในแต่ละโอกาสส่วนคำสอนที่แสดงแต่ข้อธรรมไม่กล่าวว่าแสดงแก่ใคร ที่ไหน ได้แก่ เรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน อันนี้เรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก
ทั้งนี้พระสูตรและพระอภิธรรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่มมาภายหลัง แต่เป็นพุทธพจน์ดั้งเดิมดังที่บันทึกไว้ในเรื่องการจัดเสนาสนะของพระทัพพมัลลบุตรว่า "ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระสูตร ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้ซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระวินัย ท่านก็จัดเสนา นะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้วินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรมท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้สนทนาพระอภิธรรมกัน"
ในสมัยนั้นยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยความจำเป็นหลัก โดยอาจารย์จะท่องจำแล้วบอกปากเปล่าแก่ศิษย์ผู้จะต้องรับภาระท่องจำกันต่อ ๆ ไป และเมื่อท่องจำได้ก็มาสวดซักซ้อมพร้อมกัน เพื่อตรวจเช็คความถูกต้องระหว่างกันและเพื่อตอกย้ำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นทำให้เกิดประเพณีสวดมนต์ การท่องจำ และการบอกเล่าต่อ ๆ กันเรื่อยมา เรียกว่าการศึกษาระบบนี้ว่า "มุขปาฐะ" คือ การเรียนจากคำบอกเล่าจากปากของอาจารย์
พระไตรปิฎกถูกเก็บรักษาและถ่ายทอดมาด้วยมุขปาฐะนี้จนกระทั่งมีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลานครั้งแรกในการสังคายนาครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาใน พ.ศ.433 ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยจารึกด้วยภาษามคธดังหลักฐานว่า "ในพุทธศตวรรษที่ 5 พระสงฆ์ในศรีลังกาได้ปรารภกันว่า ความทรงจำของบุคคลได้เสื่อมลง การที่จะทำให้จำพระธรรมวินัยได้หมดเป็นเรื่องยาก จึงได้มีการประชุมสังคายนาครั้งที่ 5 ขึ้น แล้วจารึกพระไตรปิฎกเป็นตัวอักษรโดยใช้ภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอน"
ภาษามคธนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บาลี" แปลว่า "เป็นต้นแบบ" หรือ เป็นแบบอย่าง คำนี้ใช้เรียกเป็นชื่อคันนา ซึ่งเป็นแนวบอกเขตของนา เป็นเครื่องกั้นน้ำหรือขังน้ำสำหรับใช้ในนา จึงนำคำนี้มาใช้เรียกพระไตรปิฎกที่จารึกไว้เป็นต้นแบบนั้นว่า บาลี คือ เป็นแนวเขตสำหรับที่จะแ สดงว่านี้เป็นพุทธวจนะและในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้สัทธรรมปฏิรูป คือ คำ สอนที่เป็นของแปลกปลอมเข้ามา คือว่า ถ้านอกจากนี้แล้วไม่ใช่ ถ้าเป็นในนี้แล้วจึงใช่ แต่ก็พึงทราบว่า ภาษาบาลี นั้นไม่ได้เป็นชื่อของภาษาโดยตรง ชื่อของภาษาโดยตรงคือภาษามคธ หรือ มาคธี คือ ภาษาของชาวมคธ
แต่ทั้งนี้คำว่า ภาษาบาลี เป็นคำที่บุคคลทั่วไปคุ้นเคยมากกว่า คำว่า ภาษามคธ ดังนั้นเมื่อจะกล่าวถึงภาษาที่บันทึกพระไตรปิฎกก็จะใช้คำว่า ภาษาบาลี เป็นหลัก
ธรรมเนียมของสงฆ์นั้นถือกันว่าสังฆกรรมทั้งปวงให้ใช้ภาษาบาลี เช่น การอุปสมบท หรือ บทสวดมนต์ทั้งหลาย ภาษาไทยของเราก็นำเอาภาษาบาลีมาใช้จำนวนมาก เช่น คำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เป็นภาษาบาลีทั้งนั้น เอามาใช้เป็นคำไทย เพราะว่าการจะเอาคำไทยแท้ๆ มาใช้นั้นเป็นเรื่องยากมากหรือว่าหาไม่ได้ ที่จะให้มีความหมายครอบคลุมคำเดิมได้ เช่น คำว่า พระพุทธ จะใช้คำไทยว่าอะไรจึงจะให้ความหมายครอบคลุมทั้งหมด เป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้นจึงต้องนำภาษาบาลีมาใช้
ในการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานครั้งแรกนั้น ท่านใช้อักษรสิงหลเขียนภาษาบาลี เพราะบาลีที่เก็บพุทธวจนะไว้นั้นเป็นเพียงเสียงสวดมนต์ที่ท่อง สืบต่อกันมา ต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ได้จารึกภาษาบาลีลงใบลานโดยใช้อักษรของประเทศนั้น ๆ ในปัจจุบันเมื่อมีการพิมพ์หนังสือเจริญขึ้น ทำให้มีพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่าง ๆ เช่น ฉบับอักษรสิงหลของลักกา ฉบับอักษรเทวนาครีของอินเดีย ฉบับอักษรขอม ฉบับอักษรพม่า ฉบับอักษรไทย และฉบับอักษรโรมันของ มาคมบาลีปกรณ์แห่งอังกฤษ
พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยมีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 คือในระหว่าง พ.ศ. 2431 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้คัดลอกพระไตรปิฎกอักษรขอมในใบลานออกมาเป็นอักษรไทยแล้วชำระแก้ไขและจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือได้ 39 เล่ม นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นรูปเล่มหนังสือด้วยอักษรไทย
ในระหว่าง พ.ศ. 2468 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงให้ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือได้ 45 เล่ม เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับ สยามรัฐ พิมพ์ที่มหามกุฎราชวิทยาลัย ต่อมามหามกุฎราชวิทยาลัยได้แปลอรรถากถาผนวกรวมเข้าไปในพระไตรปิฎกจึงรวมกันเป็น 91 เล่มอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ต่อมายังมีพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วยฉบับล่าสุดจัดพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2539
อรรถกถานั้นเป็นคัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก ซึ่งแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 956 และยังมีคัมภีร์อื่น ๆ อีก เช่น ฎีกา และ อนุฎีกา ฎีกาเป็นคัมภีร์อธิบายอรรถกถา แต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1587ส่วนอนุฎีกาเป็นคัมภีร์อธิบายฎีกา ทั้ง 4 คัมภีร์ที่กล่าวมาข้างต้นคือ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา เป็นคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนา โดยพระไตรปิฎกมีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นพุทธพจน์โดยตรงส่วนอรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกาก็มีความสำคัญลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่น ๆ อีกมากแต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี
2. พระธรรมคุณ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระธรรมคุณไว้ในวัตถูปมสูตรว่า " สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญญฺูหีติ ฯ" จากพระดำรัสดังกล่าวสามารถสรุปพระธรรมคุณได้ 6 ประการ ซึ่งมีคำอธิบายดังนี้
1) อธิบายธรรมคุณบทว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม แปลว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว 3 บทว่า สฺวากฺขาโต แปลว่า ตรัสไว้ดีแล้ว ธรรมที่พระองค์ตรัสอนนั้นล้วนแต่จะเป็นผลส่งให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั้งสิ้น และที่ว่าตรัสไว้ดีแล้ว ก็คือไม่มีเสีย คำสอนของพระองค์ไม่ให้ทุกข์แก่ผู้ปฏิบัติเลย มีแต่จะนำไปสู่สุขอย่างเดียว
ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ได้แก่ มีอริยมรรคองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ กล่าววาจาชอบ ประกอบการงานชอบ หาเลี้ยงชีพชอบ ทำความเพียรชอบ ตั้งสติไว้ชอบ และสมาธิชอบ เมื่อพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่า ธรรมเหล่านี้ ผู้ใดประพฤติได้จะให้ผลดีไม่เฉพาะแต่ทางธรรม แม้ในทางโลกก็อำนวยผลดีให้แก่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน
2) อธิบายธรรมคุณบทว่า สนฺทิฏฐิโก
สนฺทิฏฐิโก แปลว่า ผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เรื่องธรรมนั้นใครที่ปฏิบัติ คนนั้นจะเห็นได้เอง เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ทดลองเรื่องอะไร เขาก็เห็นได้ด้วยตัวเขาเอง เมื่อเราใช้กล้องจุลทรรศน์ดูเชื้อโรค เราก็เห็นได้ด้วยตาเราเอง คนที่ไม่ได้ดูก็ไม่อาจเห็นได้ แต่ สนฺทิฏฐิโก ในที่นี้หมายเอาการเห็นด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกายเป็นหลัก
3) อธิบายธรรมคุณบทว่า อกาลิโก
อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล ผู้ใดปฏิบัติ ผู้นั้นย่อมได้รับผลเสมอโดยไม่มีจำกัดเวลาว่ามีเขตเพียงนั้นเพียงนี้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แลพึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
นอกจากนี้พระธรรมนั้นเป็นสัจธรรมที่เป็นจริงทุกสมัยต่างกับความรู้ทางโลกที่มักเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เพราะเป็นความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ชาวโลกเคยเชื่อกันว่า ของเบาจะตกถึงพื้นช้ากว่าของหนักแต่เมื่อเห็นก้อนตะกั่วหนัก 20 ปอนด์ และ 10 ปอนด์ของกาลิเลโอตกถึงพื้นพร้อมกัน ณ หอเอนแห่งเมืองปิซา ความเชื่อเดิมจึงถูกยกเลิกไป เป็นต้น
4) อธิบายธรรมคุณบทว่า เอหิปสฺสิโก
เอหิปสฺสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู เพราะเหตุว่าเป็นของดี ของจริง เมื่อผู้ใดปฏิบัติได้แล้ว จึงเป็นเสมือนสิ่งของที่น่าจะเรียกบอกคนอื่นมาดูว่า นี่ดีจริงอย่างนี้
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า come and see พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บังคับหรือเรียกร้องให้ใครเชื่อในคำสอนของพระองค์ แต่ทรงใช้คำว่า ควรเรียกให้มาดู เท่ากับเป็นการให้มาทดลองพิสูจน์ดูด้วยตนเองว่าคำสอนนี้เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดีผู้ศึกษาเป็นฝ่ายตัดสินด้วยตัวเอง
5) อธิบายธรรมคุณบทว่า โอปนยิโก
โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา คือ น้อมเข้ามาไว้ในตน เพราะเหตุว่าการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์พบของดีของจริงดังกล่าวมาแล้วนั้น ควรจะน้อมนำเอาของดีจริงที่พบแล้วนั้นเข้ามาไว้ในตนคือยิ่งถือปฏิบัติเรื่อยไปไม่ละวางเสีย
6) อธิบายธรรมคุณบทว่า ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญญฺูหิ
ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญญฺูหิ แปลว่า อันวิญูพึงรู้เฉพาะตน คำว่า วิญูชน คือ ผู้รู้แจ้ง หมายถึงธรรมของพระองค์นั้นวิญูชนจะพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ข้อนี้คล้ายกับสันทิฏฐิโกที่กล่าวข้างต้น ต่างแต่ว่าข้อนั้นกล่าวถึงอาการเห็นส่วนข้อนี้กล่าวถึงอาการรู้ กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าธรรมนั้นดีจริงอย่างไร ผู้อื่นจะพลอยรู้ด้วยไม่ได้
เปรียบเหมือนกับที่เรารับประทานอาหาร เราอิ่มก็อิ่มด้วยตัวเราเอง คนอื่นที่ไม่ได้รับประทานจะอิ่มด้วยไม่ได้ คนที่ไม่เคยกิน "มะม่วงมัน" เลย ถามเพื่อนว่า มะม่วงมันแบบไหน เพื่อนบอกว่า มันแบบมะม่วงเขาถามต่อว่ามันแบบมะม่วงมันอย่างไร มันเหมือนมันแกวไหม เพื่อนบอกว่า ไม่เหมือน มันเหมือนกินถั่วไหมเพื่อนตอบว่าไม่เหมือน แล้วคนถามก็ถามว่า แล้วมันเหมือนอะไร คนที่เคยกินก็ตอบว่า มันเหมือนมะม่วงมันคนถามก็ถามอีกว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร คนที่เคยกินก็ตอบว่า ก็ต้องลองกินดูเอง
3. ภาพรวมพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพระองค์ทรงหยิบใบประดู่ลาย 23 ใบขึ้นมา แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ใบประดู่ลาย 23 ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน"
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย 23 ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกันเพราะเหตุไรเราจึงมิได้บอก
เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ... ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ... เราจึงมิได้บอกสิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราได้บอกว่า 'นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา'
เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์... เป็นไปเพื่อตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน... เราจึงบอก ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"
จากพระดำรัสนี้ทำให้เราทราบว่า "พระธรรมทั้งหมด" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ 'ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา' ทั้ง 4 ข้อนี้คือ อริยสัจ 4 นั่นเอง
สำหรับพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานนั้นพระองค์ตรัสถึง "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรคและข้อปฏิบัติอื่น ๆ" โดยอริยสัจ 4 นี้ก็คือพระธรรมส่วน มรรค และ ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ก็เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 ซึ่งก็คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรคมีองค์ 8 นั่นเอง
คำว่า "อริยสัจ" มาจากสองคำคือ อริย สัจ คำว่า อริย แปลว่า ประเสริฐ คำว่าสัจ แปลว่า ความจริง ดังนั้น อริยสัจ จึงหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ อริยสัจแต่ละประการมีความหมายและองค์ประกอบดังนี้
3.1 องค์ประกอบของอริยสัจ
อริยสัจมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ ทุกข์ คือ ความทุกข์, ทุกขสมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ทางดับทุกข์
1) ทุกขอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ทุกข์ แปลว่า ภาพที่ทนอยู่ได้ยาก ภาพที่ทนอยู่ไม่ได้เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลายเนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง
ทุกข์แบ่งออกเป็น 12 ประการคือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โ สกทุกข์ ปริเทวทุกข์ โทมนัสทุกข์ อุปายา ทุกข์ ทุกขทุกข์ อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ ทุกข์ทั้ง 12 ประการนี้สรุปรวมลงใน "อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์"
(1) ชาติทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะการเกิด
(2) ชราทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความแก่
(3) พยาธิทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความเจ็บป่วย
(4) มรณทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความตาย
(5) โสกทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความเศร้าใจ
(6) ปริเทวทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะตัดอาลัยไม่ขาด
(7) ทุกขทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความไม่ บายกาย
(8) โทมนัสทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความไม่สบายใจ
(9) อุปายาสทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะความแค้นใจ
(10) อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะประสบสิ่งที่เกลียด
(11) ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
(12) ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ หมายถึง ทุกข์เพราะผิดหวัง
ทุกข์ทั้ง 12 ประการที่กล่าวมานี้ รุปเหลือประการเดียวคือ "อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์" กล่าวคือ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณ ขันธ์ทั้ง 5 นี้ยังมีกิเลสอยู่จึงยัง "เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน" อุปาทาน แปลว่า "ถือมั่น" กล่าวคือ การถือมั่นว่าขันธ์ 5 นี้ "เป็นของเรา" จึงทำให้ความทุกข์ทั้ง 12 ประการเกิดขึ้น
หากเราไม่ถือมั่นว่าขันธ์ 5 ที่ประกอบขึ้นนี้ "เป็นตัวของเรา" แต่คิดว่าเป็นเพียงบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นกับขันธ์ 5 นี้ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา หรือแม้จะเกิดก็เกิดขึ้นน้อยกว่าเดิม เช่น เมื่อเรามองดูกระจกเห็นหน้าตาเหี่ยวเฉา เราก็จะไม่เป็นทุกข์หากเราคิดว่าร่างกายนี้ไม่ได้เป็นของเรา เราเพียงเข้ามาอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น บ้านคนอื่นจะเก่าผุพังอย่างไรเราก็ไม่ทุกข์ใจเพราะไม่ได้เป็นของเรา ฉันใด ขันธ์ 5 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมดาสามีภรรยาที่หย่าขาดกันแล้วย่อมไม่เดือดร้อนใจเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งไปแต่งงานใหม่ เพราะต่างคนก็คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่ง "ไม่ได้เป็นของเรา" แล้วดังนั้นสาเหตุแห่งความทุกข์ในเบื้องต้นคืออุปทานนั่นเองส่วนเหตุแห่งอุปาทานคือตัณหาซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
2) ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ในที่นี้คือ "ตัณหา" ซึ่งแปลว่า ความทะยานอยาก3 ตัณหาเป็นสาเหตุให้เกิดอุปาทานคือความยึดมั่นในขันธ์ 5 คือ ยึดมั่นว่าขันธ์ 5 นี้เป็นของเราและต้องการให้มันเป็นอย่างที่เราต้องการ เมื่อมันไม่เป็นอย่างใจจึงทำให้เกิดความทุกข์ตามมา
(1) ประเภทของตัณหา
ตัณหาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
กามตัณหา แปลว่า ความอยากในกาม นั่นคือ กามคุณ 5 อันเป็นความอยากของมนุษย์และสัตว์ที่อยู่กามภพ ได้แก่ ความอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เช่น อยากได้แฟนสวย ๆ หล่อ ๆ อยากฟังเพลงเพราะ ๆ อยากได้ยินแต่เสียงหวาน ๆ อยากดมกลิ่นหอม ๆ อยากรับประทานอาหารที่อร่อยถูกปากถูกใจ อยากได้บ้านที่สะดวกสบายมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน เป็นต้น
ภวตัณหา คำว่า ภว มาจาก ภู ธาตุ ในภาษาบาลี แปลว่า ความมี ความเป็น ภวตัณหา จึงแปลว่า ความอยากในความมีความเป็น หมายถึง อยากให้สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่
นั้นคงอยู่ตลอดไป ภวตัณหาเกิด สืบต่อมาจากกามตัณหาคือ กามตัณหาเป็นความอยากได้สิ่งต่างๆ เช่น อยากได้ลูก อยากได้รถ อยากได้บ้าน ฯลฯ เมื่อได้มาแล้วเมื่อมีแล้วก็จะเกิดภวตัณหาคือ อยากให้สิ่งที่มีอยู่นั้นคงอยู่ตลอดไป
ภวตัณหา แปลอีกนัยหนึ่งว่า ความอยากในภพ หลวงปู่วัดปากน้ำอธิบายไว้ว่าภพในที่นี้ หมายถึง "รูปภพ" อันเป็นที่อยู่ของรูปพรหม 16 ชั้น รูปพรหมทั้งหลายนั้นมีความอยากในรูปฌาน มีความยินดีในรูปฌานในระดับต่าง ๆ ที่ตนได้ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เพราะเมื่อได้รูปฌานเหล่านี้แล้วเป็นสุข บายยิ่งกว่าความสุขในกามภพมากนัก ใจจึงจดจ่ออยู่กับฌานนั้น ๆ อย่างเหนียวแน่นยิ่งกว่าติดในกามอีก
วิภวตัณหา แปลว่า ความอยากในความไม่มีความไม่เป็น หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่เราไม่ปรารถนาจะมีจะเป็น ก็อยากให้ตัวเราหรือคนที่เรารักไม่มีหรือไม่เป็นสิ่งนั้น เช่น อยากที่จะไม่เป็นโรคเอดส์ อยากที่จะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นต้น
วิภวตัณหา แปลอีกนัยหนึ่งว่า ความอยากในวิภพ หลวงปู่วัดปากน้ำอธิบายไว้ว่าวิภพในที่นี้หมายถึง "อรูปภพ" อันเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม 4 ชั้น อรูปพรหมทั้งหลายนั้นมีความอยากในอรูปฌานมีความยินดีในอรูปฌานในระดับต่าง ๆ ที่ตนได้เช่นเดียวกับรูปพรหม แต่ความสุขในอรูปฌานมีความละเอียดประณีตมากกว่ารูปฌานมาก
เหล่ารูปพรหมและอรูปพรหมทั้งหลายต่างคิดว่าตนพ้นทุกข์แล้วและเข้าใจผิดว่าพรหมสถานนั้นคืออายตนะนิพพาน ทำให้ติดอยู่แค่นั้นไม่ไปสูงกว่านั้น
(2) ความสัมพันธ์ของกิเลสอื่นกับตัณหา
ตัณหาเป็นกิเลสตระกูลโลภะ "โลภะนั้นเรียกว่า 'ตัณหา' ด้วยอำนาจความอยาก เรียกว่า 'ราคะ' ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า 'นันทิ' ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน"ส่วนอวิชชาหรือโมหะคือความไม่รู้หรือความหลงนั้นเป็นรากเหง้าของตัณหา
สำหรับโทสะเป็นกิเลสที่เกิดต่อจากตัณหา เช่น อยากได้แล้วไม่ได้ดังใจหวังก็จะเกิดโทสะเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจขึ้นมา หรืออยากให้แฟนของเรารักเราคนเดียว อยากให้เขาอยู่กับเราตลอดไปแต่ยามใดก็ตามที่ทราบว่าแฟนปันใจให้คนอื่น ยามนั้นโทสะจะแ ดงผลทันที และจะเกิดโทษต่าง ๆ ตามมามากมาย บ่อยครั้งที่ถึงขนาดฆ่ากันตาย ทั้งฆ่าแฟน ฆ่าใครต่อใครรวมทั้งฆ่าตัวตายเพื่อหลีกหนีความช้ำใจนี้คือตัวอย่างของโทสะที่เกิดจากตัณหา
(3) ธรรมชาติของตัณหา
ตัณหาทำให้มนุษย์ทั้งหลายไม่รู้จักคำว่าพอ พยายามแสวงหากามสุขมาบำรุงบำเรอตนเรื่อยไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ภูเขาทองคำล้วน มี สีสุกปลั่ง ถึงสองเท่า ก็ยังไม่พอแก่บุคคลคนหนึ่ง" ตัณหาจึงเปรียบเสมือนทะเลเพราะให้เต็มได้ยาก
เรามักถูกสอนให้มองด้านดีว่า แก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้วนั้น มีน้ำเหลือตั้งครึ่งแก้ว มากกว่าที่มองว่าน้ำหายไปครึ่งแก้ว แต่จะมองด้านไหนก็ตาม ก็ทำให้เราคิดว่า ยังขาด ยังพร่อง ยังต้องการน้ำมาเติมให้เต็ม
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราจะรู้สึกว่า เรายังมีไม่พอ ต้องมีนั่น มีนี่เสียก่อน แล้วเราจะอิ่มจะเต็มสิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยถูกสอนก็คือ ไม่ว่าเราจะพันาความสามารถในการหาเงิน หาของ หาความรักได้มากสักเท่าไรก็ตาม น้ำในแก้วไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจเราไม่เคยหยุด แก้วของเราจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เคยพอ
3) ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ "ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา" คำว่า นิโรธ แปลว่า ดับทุกขนิโรธอริยสัจ จึงมีความหมายว่า "ความจริงอันประเสริฐเรื่องการดับทุกข์"
นิโรธเป็นไวพจน์ของ "พระนิพพาน" กล่าวคือ เป็นคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันดังอรรถกถาที่ว่า "อเสวิราคนิโรโธ ความดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือเป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพาน ตัณหามาถึงพระนิพพานย่อมคลาย ดับไม่เหลือ พระนิพพานจึงเรียกว่า ความดับ ด้วยคลายไม่เหลือแห่งตัณหานั้น อนึ่ง ตัณหามาถึงพระนิพพาน ย่อมละ ละคืน ปล่อย ไม่ติด พระนิพพานจึงเรียกว่าเป็นที่ละ ละ ปล่อย ไม่ติด แท้จริง พระนิพพานก็มีอย่างเดียวเท่านั้นแต่ชื่อของพระนิพพานนั้นมีมาก..."
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแบ่งนิพพานออกเป็น 2 ประการ คือ อุปาทิเสนิพพาน และอนุปาทิเสนิพพาน
(1) อุปาทิเสนิพพาน หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เป็นผู้มีราคะ โทสะ และโมหะสูญสิ้นแล้ว แต่ยังเป็นผู้เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ 5 ยังไม่บุบสลาย
พระเดชพระคุณภาวนาวิริยคุณ อธิบาย อุปาทิเสนิพพานไว้ว่า เป็นพระนิพพานในตัวบางครั้งก็เรียกว่า "นิพพานเป็น" หมายความว่า ในขณะที่อาสวะกิเลสูญสิ้นไปหมดแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่ยังมีขันธ์ 5 อยู่ มีธรรมกายปรากฏอยู่ในตัว ทำให้รู้สึกเป็นสุขเหมือนอยู่ในอายตนนิพพานอย่างแท้จริงเพียงแต่ยังอาศัยกายมนุษย์อยู่เท่านั้น
(2) อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้วหลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้ของภิกษุนั้นเป็น ภาพที่กิเล สมีตัณหา เป็นต้น ครอบงำไม่ได้อีก
พระเดชพระคุณภาวนาวิริยคุณ อธิบายอนุปาทิเสสนิพพานไว้ว่า เป็นนิพพานที่อยู่นอกตัวบางครั้งก็เรียกว่า "นิพพานตาย" หมายความว่าเมื่อขันธ์ 5 แตกดับสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษแล้ว ธรรมกายที่อยู่ใน อุปาทิเสสนิพพานจึงตกศูนย์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ จุดนี้เองที่เรียกว่า "อายตนนิพพาน" ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งจิตปรารถนาจะไปถึง
4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
คำว่า ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน ความประพฤติ หรือ ข้อปฏิบัติ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ จึงแปลได้ว่า "ข้อปฏิบัติอันประเสริฐให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์"นั่นคือ "อริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ"
คำว่า อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็น "มัชฌิมาปฏิปทา" คือ "ทางสายกลาง" เป็นทางที่ไม่เข้าใกล้ปฏิปทา 2 อย่างซึ่งไม่ใช่ทางตรัสรู้คือ กามสุขัลลิกายุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
กามสุขัลลิกายุโยค หมายถึง การประพฤติตนให้พัวพันด้วยกามสุข เช่น ปุถุชนทั่ว ๆ ไปอัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทรมานตนเพื่อหวังเผากิเลสของนักบวชบางลัทธิ เช่น การอดอาหาร การนอนบนหนาม การกลั้นลมหายใจ การไม่นุ่งห่มผ้า เป็นต้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า " ...ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้นนั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน"
มรรคมีองค์ 8 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทโลกิยะหรือโลกิยมรรค และประเภทโลกุตระหรือโลกุตรมสรรค ดังพุทธดำรัสที่ตรัสถึงสัมมาทิฏฐิว่า "เรากล่าวสัมมาทิฏฐิไว้ 2 อย่าง คือสัมมาทิฏฐิที่
ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อย่างหนึ่งสัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง" คำว่า "สา วะ" เป็นชื่อของกิเลส
(1) โลกิยมรรคคือมรรคฝ่ายโลกิยะ
สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นชอบ มี 10 ประการคือ "ทานที่ให้แล้วมีผล, ยัญที่บูชาแล้วมีผล, การเซ่น รวงที่เซ่น รวงแล้วมีผล, ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, มารดามีคุณ, บิดามีคุณ,สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก"
สัมมาทิฏฐิทั้ง 10 ประการดังกล่าวได้อธิบายปูพื้นมาเป็นลำดับ ๆ แล้ว โดยเนื้อหาแทรกอยู่ในบทที่ 2, 3, 4 และ 5 ในที่นี้ถือเป็นการสรุปใจความโดยย่อดังนี้
-ทานที่ให้แล้วมีผล หมายถึง อานิสงส์ของการให้ทานมีจริง เช่น ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก และผู้ให้จะได้กุศลผลบุญติดตัวไปซึ่งจะบันดาลความสุขความสำเร็จให้เกิดขึ้นอีกด้วย
-ยัญที่บูชาแล้วมีผล คำว่า "ยัญ" ในที่นี้คือ การสงเคราะห์ด้วยการให้ทาน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือสังคมสงเคราะห์ คือ ให้ทานแก่บุคคลทั่วไป และ ศาสนสงเคราะห์ คือ ให้ทานแก่นักบวช ได้แก่ ภิกษุ สามเณร
การสงเคราะห์ต่างจากการให้ทานในข้อแรกคือ ทานในข้อแรกให้เพื่อแสดงน้ำใจไมตรีต่อกัน เช่น ให้ของขวัญวันเกิด เป็นต้นส่วนการสงเคราะห์เป็นการช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน เช่น คนประสบภัยธรรมชาติต่าง ๆ หรือ ปกตินักบวชเป็นผู้ขาดแคลนปัจจัย 4 เพราะท่านไม่ได้ทำมาหากินอย่างคนทั่วไป หากไม่ให้ทานแก่ท่าน ๆ ก็ไม่อาจดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้
การสงเคราะห์ด้วยการให้ทานนี้ก็มีผลคือได้บุญโดยเฉพาะการสงเคราะห์แก่นักบวชผู้มีศีลจะส่งผลให้ผู้ทำการ สงเคราะห์ได้บุญมาก บุญนี้จะทำให้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นต้น
-การเซ่น รวงที่เซ่น รวงแล้วมีผล คำว่า "เซ่น รวง" ในที่นี้หมายถึง การบูชา ได้แก่ การบูชาบุคคลหรือสิ่งของที่ควรบูชา เช่น พระรัตนตรัย เป็นต้น การบูชาโดยเฉพาะการบูชาพระรัตนตรัยนี้มีผลคือ ได้บุญกุศลที่จะทำให้ผู้บูชามีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
- ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี หมายถึง กฎแห่งกรรมมีจริง ทำดีได้ดีจริง ทำชั่วได้ชั่วจริง การกระทำมีผล ไม่สูญเปล่า
- โลกนี้มี หมายถึง โลกนี้มีสำหรับคนที่อยู่โลกอื่น หมายความว่า การที่มนุษย์แต่ละคนมาเกิดในโลกนี้ได้เพราะผลกรรมที่ทำจากโลกอื่นหรืออดีตชาตินั่นเอง และการที่แต่ละคนแตกต่างกันเพราะกรรมที่ประกอบมาไม่เหมือนกัน
- โลกหน้ามี หมายถึง โลกอื่นมีสำหรับคนที่อยู่โลกนี้ หมายความว่า ตายแล้วไม่สูญ โลกหน้ามีอยู่สำหรับรองรับคนที่ตายจากโลกนี้แล้ว
- มารดามีคุณและบิดามีคุณ หมายถึง คุณของบิดามารดามีจริง และ "การที่ลูกปฏิบัติดีหรือไม่ดีต่อมารดาและบิดาก็มีผล" คือ หากปฏิบัติดีก็ได้บุญและมีความสุขความเจริญ แต่ถ้าปฏิบัติไม่ดีก็จะเป็นบาปและจะทำให้ชีวิตตกต่ำ
- สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี หมายถึง ผู้ที่ตายแล้วผุดเกิดโตทันทีโดยไม่ต้องค่อย ๆ เจริญจากในครรภ์มีจริง ได้แก่ เทวดา เปรตสัตว์นรก เป็นต้น บุคคลที่ละโลกไปเกิดเป็นเทวดาจะโตทันที่หากเป็นเทพบุตรก็จะมีวัยประมาณ 20 ปีส่วนเทพธิดาก็จะมีวัยประมาณ 18 ปี
- สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง พระอรหันต์มีจริง
สัมมาสังกัปปะ แปลว่า ความดำริชอบ หรือ ความคิดชอบ ได้แก่ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน
สัมมาวาจา แปลว่า วาจาชอบ หมายถึง การกล่าววาจาที่ดี งดเว้นจากวาจาที่ไม่ดีทั้งปวงได้แก่ งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ และ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ แปลว่า การงานชอบ หมายถึง ความประพฤติที่เป็นกุศลงดเว้นจากบาปได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ แปลว่า อาชีพชอบ หมายถึง การงดเว้นจากอาชีพที่ผิดศีลผิดธรรมและประกอบอาชีพที่เป็นกุศล ได้แก่ การงดเว้นจากมิจฉาวณิชชา 5 คือ การค้าขายอาวุธ การค้าขายมนุษย์การฆ่าสัตว์แล้วขาย การค้าขายของมึนเมา และการค้าขายยาพิษ ในปัจจุบันหมายรวมถึงยาเสพติดด้วย
ในปัจจุบันมีอาชีพที่เข้าข่ายมิจฉาวณิชชาอีกมาก หลักในการเลือกอาชีพคือ จะต้องไม่ผิดศีลผิดธรรม ไม่ทำให้คนและสัตว์เดือดร้อน ไม่เป็นบาปอกุศล
สัมมาวายามะ แปลว่า ความเพียรชอบสัมมาวายามะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสัมมัปปธาน แปลว่า ความเพียรในการบำเพ็ญกุศล 4 ประการดังนี้
- ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น ระวังไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
- ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
- ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
- ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อทำให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
สัมมาสติ แปลว่า ระลึกชอบ ได้แก่ ติปัฏฐาน 4 คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนั ในโลกเสีย การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...การพิจารณาเห็นจิตในจิต... การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
คำว่า อภิชฌา แปลว่า ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาสิ่งของของคนอื่น
สัมมาสมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ หมายถึง การที่ใจเป็นสมาธิหยุดนิ่งไปตามลำดับตั้งแต่ เบื้องต้นไปจนถึงได้ฌานระดับต่าง ๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นเข้าสู่ระดับโลกุตรภูมิ ได้แก่ ความเป็นพระโสดาบัน เป็นต้นสัมมาสมาธิต่างจากมิจฉาสมาธิตรงที่เวลาฝึกต้องวางใจไว้ในตัว ซึ่งหลวงปู่วัดปากน้ำแนะนำว่า จะต้องวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมืออันเป็นตำแหน่งที่จะนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ส่วนการวางใจนอกตัวถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิผู้ฝึกวิธีนี้ไม่อาจจะบรรลุมรรคผลนิพพานได
(2) โลกุตรมรรคคือมรรคฝ่ายโลกุตระ
โลกุตรมรรคเป็นมรรคที่เกิดจากการเข้าถึงโลกุตรภูมิตั้งแต่ภูมิของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ โดยสัมมาสมาธิจะเป็นศูนย์กลางขององค์มรรคทั้งปวงว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ 'สัมมาสมาธิ' ที่เป็นอริยะอันมีเหตุ มีองค์ประกอบคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ 7 เหล่านี้แล เรียกว่าสัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง"
3.2 ระดับของอริยสัจ
อริยสัจนั้นมี 2 ระดับคือ ระดับต้น และ ระดับสูง
1) ระดับต้น หมายถึง การที่เราได้ศึกษาพระธรรมคำสอนเรื่องอริยสัจดังกล่าวจนมีความรู้ว่าอริยสัจประกอบด้วย ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา ความดับทุกข์คือนิโรธ และทางดับทุกข์คือมรรคมีองค์ 8 การรู้นี้เป็นการรู้ด้วย "วิญญาณขันธ์" ของกายมนุษย์
เมื่อได้ศึกษาจนมีความรู้และนำมาพิจารณาไตร่ตรองรวมทั้งสังเกต ภาพชีวิตของตนและคนในโลกก็จะเข้าใจถึงทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดับทุกข์ได้ชัดเจนขึ้น
แต่ความรู้ดังกล่าวยังอยู่ในระดับต้นคือ ระดับรู้จำ และระดับรู้คิด อันเป็นความรู้ประเภทสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา ยังไม่ถึงขั้นภาวนามยปัญญา
2) ระดับสูง หมายถึง การนำความรู้ที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจนเกิดความรู้แจ้งด้วยการเห็นแจ้งกล่าวคือ การได้ปฏิบัติมรรคมีองค์แปดด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เมื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยแล้วจึงเห็นอริยสัจภายในได้ ดังพุทธดำรัสว่า "บุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ 4 (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความ งบแห่งทุกข์"
พุทธดำรัสที่ว่า "บุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง" หมายถึง "การเข้าถึง" พระรัตนตรัยภายในและยึดเอาพระรัตนตรัยดังกล่าวเป็นที่พึ่ง ไม่ได้หมายถึง "การขอถึง" ด้วยการกล่าวโดยวาจา
พุทธดำรัสที่ว่า "ย่อมเห็นอริยสัจ 4" หมายถึง การเห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุของพุทธรัตนะ หรือพระธรรมกายภายใน และเมื่อเห็นแจ้งแล้วก็จะรู้แจ้งได้ด้วย "ญาณทัสสนะ" ของพระธรรมกาย ซึ่งญาณทัสสนะนี้เป็น "ธรรมขันธ์" ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ของกายมนุษย์ ประเด็นนี้สอดคล้องกับคำกล่าวของพระสรภังคเถระที่ว่า
"พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกั สสปะได้ทรงดำเนินไปโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ทรงดำเนินโดยทางนั้น พระพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์ปราศจากตัณหาไม่ทรงยึดมั่น หยั่งถึงความดับ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ ได้ทรงแ ดงธรรมนี้คือ อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางที่ดำเนินไปให้ถึงความสิ้นทุกข์ด้วยทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์"
นั่นคือเมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ก็จะได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 เมื่อตรัสรู้แล้วก็แสดงอริยสัจ 4 ดังกล่าวโปรดชาวโลกต่อไป
อีกนัยหนึ่งที่กล่าวว่า "เมื่อบุคคลถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้วย่อมเห็นอริยสัจ 4 เป็นการเห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกายนั้น เพราะหากเป็นการรู้และเห็นแบบทั่ว ๆ ไป ไม่จำเป็นต้องถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก็รู้และเห็นทุกข์ได้ แม้คนต่างศา นาที่ไม่รู้จักพระรัตนตรัยก็รู้และเห็นได้ด้วยตามนุษย์ว่าชีวิตมีทุกข์ดังได้กล่าวแล้วในบทที่ 2 เรื่องพื้นฐานชีวิตของมนุษย์
หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา