การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันที่ 08 ตค. พ.ศ.2559

การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือใคร , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

1. ความหมายและประเภทของพระโพธิสัตว์

      คำว่า "พระโพธิสัตว์" มาจากคำในภาษาบาลีว่า "โพธิสตฺโต" ได้แก่ "สัตว์ผู้จะตรัสรู้ คือสัตว์ผู้ควรบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ" หมายถึง ผู้ที่ตั้งความปรารถนาว่าจะสร้างบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต คำว่า "สัตว์" ในที่นี้เป็นความหมายโดยรวมอาจจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานก็ได้ ทั้งนี้เพราะมีบางชาติที่พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เป็นช้าง ม้า วัว พญานาค
นก เป็นต้นส่วนคำว่า "สัมมาสัมโพธิญาณ" หมายถึงญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ คือ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยไม่มีใครสอน

      อีกนัยหนึ่งคำว่า "พระโพธิสัตว์" อาจหมายถึงผู้ที่ปรารถนา "พุทธภูมิ" ก็ได้ ที่ชื่อว่าพุทธภูมินั้นอรรถกถากล่าวไว้ว่า "เพราะเป็นภูมิคือเป็นสถานที่ประดิษฐานแห่งพระพุทธเจ้า" สถานที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้าในที่นี้คือ "ตำแหน่ง" พระโพธิสัตว์จึงหมายถึงผู้ที่ปรารถนาตำแหน่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง


พระโพธิสัตว์มี 2 ประเภทคือ อนิยตโพธิสัตว์ และ นิยตโพธิสัตว์

     1) อนิยตโพธิสัตว์ หมายถึง พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ เพราะบารมียังอ่อนอยู่ จึงยังไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งว่าจะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณในอนาคต

   2) นิยตโพธิสัตว์ หมายถึง พระโพธิสัตว์ที่มีความแน่นอนแล้วว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต เพราะบารมีที่สั่งสมมาแก่กล้าแล้ว เมื่อได้เจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็จะได้รับพยากรณ์จากพระพุทธองค์ว่า จะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตอย่างแน่นอน

     การพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์โดยตรวจดูบารมีที่พระโพธิสัตว์นั้น ๆ ได้สร้างมาว่า แก่กล้าพอที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตหรือไม่ หาก
ทรงเห็นว่าบารมีแก่กล้าแล้วจึงทรงพยากรณ์ แต่ถ้าทรงเห็นว่าบารมียังอ่อนอยู่ก็จะไม่ทรงพยากรณ์ ด้วยเหตุนี้พุทธพยากรณ์จึงเป็นเพียงการประกาศอย่างเป็นทางการว่า ผู้นี้จะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ปัจจัยหลักที่ทำให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้ยกฐานะของตนจากอนิยตโพธิสัตว์เป็นนิยตโพธิสัตว์จึงอยู่ที่บารมีที่ได้สั่งสมมาแต่ถึงกระนั้นผู้ที่จะเป็นนิยตโพธิสัตว์ได้จะต้องผ่านพุทธพยากรณ์ก่อนเพราะเป็นพุทธประเพณี

   ประเด็นนี้อาจเปรียบได้กับการเป็นครูในทางโลกคือ ผู้ที่จะเป็นครู อนหนังสือแก่นักเรียนในโรงเรียนได้ จำเป็นต้องได้รับใบประกาศนียบัตรและการบรรจุตำแหน่งเป็นครูสอนหนังสือก่อน เพราะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติ สืบต่อกันมา แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ครูแต่ละคนได้รับใบประกาศนียบัตรและการบรรจุตำแหน่งครูคือความรู้ที่ได้ศึกษามา หากบุคคลนั้น ๆ ไม่มีความรู้เพียงพอก็จะไม่ได้รับใบประกาศนียบัตรและการบรรจุตำแหน่งครูอย่างแน่นอน นอกจากจะใช้วิธีการทุจริตเท่านั้น


2. ปัจจัยสำคัญแห่งการกำเนิดพระโพธิสัตว์

     ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดพระโพธิสัตว์ขึ้นมีอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรกคือ การได้เห็นต้นแบบจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ประการที่สองคือ ตระหนักว่าชีวิตมีทุกข์และปรารถนาพ้นความทุกข์

1) การได้เห็นต้นแบบจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต
     โดยเฉพาะการได้เห็นปาฏิหาริย์เปิดโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ในสมัยของพระสมณโคดมพุทธเจ้านั้น ครั้งหนึ่งพระองค์เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ตรัสบอกแก่ท้าวสักกะว่า "มหาบพิตร อาตมภาพจักไปสู่ถิ่นของมนุษย์"

      ท้าวสักกะจึงทรงนิรมิตบันได 3 ชนิด เพื่อเป็นทางพุทธดำเนินลงจาก สวรรค์คือ บันไดทองคำ บันไดแก้วมณี และบันไดเงิน เชิงของบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่ ณ ประตูเมืองสังกัสสนคร หัวบันไดตั้งอยู่ที่ยอดเขาสิเนรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บันไดทั้ง 3 ตั้งเรียงกันดังนี้คือ บันไดทองอยู่ข้างขวาสำหรับพวกเทวดาที่ตามเสด็จ บันไดเงินอยู่ข้างซ้ายสำหรับมหาพรหมทั้งหลายส่วนบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับ
เป็นทางเสด็จของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จลงจากสวรรค์ ทรงประทับยืนอยู่บนยอดเขาสิเนรุแล้วแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเปิดโลกให้สรรพสัตว์แต่ละภพภูมิสามารถมองเห็นกันและกันได้คือ มนุษย์มองเห็นเทวดา เทวดามองเห็นมนุษย์ มนุษย์มองเห็นรูปพรหมและอรูปพรหมได้ด้วยตาเนื้อ มนุษย์เห็นสัตว์นรกสัตว์นรกเห็นมนุษย์รวมทั้งเปรตอสุรกายทั้งหลายก็มองเห็นกันและกันได้หมด

    ในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพุทธดำเนินลงด้วยบันไดแก้วมณีนั้น พระองค์ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีอันรุ่งเรืองเด่นสง่า แวดล้อมด้วยท้าวมหาพรหมกับเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่และเหล่าเทวดาทั้งปวงในทุกชั้นฟ้า ในวันนั้น ณ เมืองสังกัสสนครมีพุทธบริษัทและประชาชนพลเมืองมารอรับเสด็จจำนวนมากคือ ตลอดพื้นที่ 36 โยชน์โดยรอบเต็มไปด้วยผู้คน

    มหาชนเหล่านั้นได้เห็นเหตุอัศจรรย์จากการเปิดโลกของพระพุทธองค์ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างชัดเจน รู้ว่าตายแล้วไม่สูญ นรก สวรรค์มีจริง กล่าวคือมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐินั่นเองและเมื่อได้เห็นความงดงามเด่นสง่าของพระพุทธองค์ในขณะเสด็จลงจาก สรวงสวรรค์แล้ว จึงตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกันเป็นจำนวนมาก อรรถกถาบันทึกไว้ว่า "มนุษย์ในบริษัทซึ่งมีปริมณฑล 36 โยชน์ แม้คนหนึ่ง เมื่อแลดูสิริของพระพุทธเจ้าในวันนั้นแล้ว ชื่อว่าไม่ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า มิได้มีเลย"

 ในวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปิดโลกนั้นจึงมีพระโพธิสัตว์คือผู้ปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นจำนวนมาก มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า แม้แต่พญานาคตนหนึ่งที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ณ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งนำพรรคพวกบริวารพ่นบั้งไฟเป็นประจำทุกปี ก็ตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเพราะได้เห็นพุทธปาฏิหาริย์ในวันเปิดโลกนั้น และการพ่นบั้งไฟในแต่ละปีก็เกิดขึ้นจากการตั้งใจจำศีลในช่วงเข้าพรรษาของเหล่าพญานาค เมื่อออกพรรษาแล้ว ด้วยบุญจากการรักษาศีลและการนึกถึงพระพุทธองค์ในวันเปิดโลก ทำให้พญานาคสามารถพ่นดวงไฟหรือบั้งไฟออกมาเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

      ประเด็นนี้สรุปได้ว่า พระโพธิสัตว์เกิดขึ้นจากการได้เห็นต้นแบบที่ดีจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเองกล่าวอีกนัยหนึ่ง พุทธประเพณีเปิดโลกนั้นถือเป็นการสร้างหน่อเนื้อพุทธางกูรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็ว่าได้ พระโพธิสัตว์หรือผู้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ เมื่อตั้งใจมั่นแล้วก็เริ่มสั่งสมบารมีเรื่อยไป ถ้าไม่เปลี่ยนเป้าหมายกลางคัน ในที่สุดเมื่อบารมีเต็มเปียมก็จะตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

     มีข้อสังเกตว่าผู้ได้ตำแหน่งเอตทัคคะทุกท่านในพระพุทธศาสนาก็มีจุดเริ่มต้นจากการได้เห็นต้นแบบด้านนั้น ๆ ในอดีตเช่นกัน กล่าวคือ ในอดีตชาติท่านเหล่านั้นได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่งตั้งและยกย่องภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งว่า เป็นเอตทัคคะคือมีความรู้ความสามารถเป็นเลิศในด้านนั้น ๆ ท่ามกลางมหาสมาคม เมื่อได้เห็นดังนั้นจึงตั้งความปรารถนาบ้างว่า เราจะต้องเป็นเช่นภิกษุหรือภิกษุณีรูปนี้ในอนาคตเบื้องหน้า ตั้งแต่นั้นมาจึงสั่งสมบุญบารมีและอธิษฐานจิตทุกครั้งว่าขอให้ความปรารถนาที่ตั้งใจไว้สำเร็จสมประสงค์ เมื่อบุญบารมีเต็มเปียมแล้วจึงได้รับการแต่งตั้งจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในที่สุด


2) ตระหนักว่าชีวิตมีทุกข์และปรารถนาจะพ้นทุกข์
    ผลจากการที่ท่านเหล่านั้นเวียนว่ายตายเกิดมาหลายชาติ ทำให้เกิดปัญญาสั่งสมขึ้นในใจและตระหนักว่า ชีวิตมีทุกข์การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์และต้องการที่จะพ้นทุกข์ ประกอบกับการที่ได้เวียนว่ายตายเกิดมาหลายชาติจึงมีบางชาติที่ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือได้มีโอกาสพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงบ้าง ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่หลงผิดคิดหาที่พึ่งจากสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย นั่นคือ มีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ และที่สำคัญที่สุดคือ รู้ว่าหากต้องการจะพ้นทุกข์ด้วยตนเองและสามารถช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้นั้น จำเป็นต้องตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อสั่งสมบุญบารมีเรื่อยไปในที่สุดเมื่อบารมีเต็มเปียมแล้วก็จะได้ตรัสรู้ในที่สุด พระสมณโคดมพุทธเจ้าก็มีจุดเริ่มต้นมาอย่างนี้คือในชาติที่ปรารถนาพุทธภูมินั้น พระองค์ตระหนักว่าการเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ จึงปรารถนาจะพ้นทุกข์ด้วยตนเองและพามหาชนให้พ้นทุกข์ด้วย

    ในประเด็นนี้พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้กล่าวไว้ว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นเป็นผู้ที่มีใจกว้างและมีความมั่นใจในความดีกว่าคนทั่วไปคือ ไม่คิดเอาตัวรอดเพียงลำพัง เมื่อตนรอดแล้วก็หวังช่วยผู้อื่นให้รอดตามด้วย ไม่ว่าการช่วยผู้อื่นนั้นจะทำให้ตนต้องเสียเวลาไปมากกว่าเดิมอย่างมากก็ตามความใจกว้างและความมั่นใจนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์เหล่านั้นได้เกิดอยู่ในสิ่งแวดล้อมดีที่บ่มเพาะสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากคนเราที่เกิดมาในแต่ละชาติ ก็เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้สิ่งแวดล้อมที่ตนไปเกิดจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนิสัยและความเข้าใจถูกเกี่ยวกับโลกและชีวิตของคนเรา ซึ่งสิ่งแวดล้อมมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ บุคคล และ ธรรมชาติ

     สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคลคือ ต้องเป็นผู้ที่ได้เกิดอยู่ในสังคมที่มีคนดีอยู่มากมาย เมื่อถึงคราวที่ตนประสบทุกข์ ก็ได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณนี้ทำให้ตนคิดหาทางตอบแทนคุณให้สมกับที่เขาเหล่านั้นทำดีกับตน พูดง่ายคือ น้ำใจในยามยากที่เขาได้รับจากผู้คนรอบตัว คือสิ่งบ่มเพาะความกตัญูกตเวทีให้เกิดในตัวของเขา ทำให้เขาคอยหาโอกาสตอบแทนคุณ ดังนั้น นิสัยกตัญูกตเวที คือ ที่มา
ของความมีน้ำใจกรุณาต่อคนทั้งโลก

   ส่วนสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาตินั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านเหล่านั้นจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ทำลายความมั่นใจในตนเอง คือ ไม่เกิดอยู่ในถิ่นที่เต็มไปด้วยความแร้นแค้นจนสิ้นไร้หนทาง เช่น ถิ่นที่ฝนฟ้าไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล แม้ขยันมากแต่ผลตอบแทนที่ได้รับ กลับไม่ขึ้นอยู่กับความขยันและความดีที่ทุ่มเททำไป แต่ดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนของ ภาพอากาศ เมื่อเป็นเช่นนี้ความมั่นใจในตนเองก็จะหย่อนลงไป ความเชื่อที่เป็นเหตุเป็นผลก็จะเลือนลางไปด้วย และจะถูกแทนที่ด้วยการดูดวงชะตาราศี เซ่นไหว้เจ้าที่บนบานต่อสิ่งอื่นใดที่ไม่อาจช่วยให้พ้นทุกข์ได้เฉกเช่นชาวโลกทั่วไป

     เมื่อพระโพธิสัตว์ท่านนั้น ๆ ตั้งใจมั่นที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตแล้วธรรมสำคัญที่ต้องประพฤติเพื่อเป็นบันไดไปสู่ตำแหน่งอันเลิศนั้นคือ พุทธการกธรรม คือ ธรรมที่จะทำให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บารมี" ซึ่งคำนี้เป็นคำที่ชาวพุทธผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังรู้จักกันดี
 

3. ความหมายประเภทและระดับของบารมี
1) ความหมายของบารมี
     จากที่กล่าวแล้วในบทที่ 3 ว่า คำว่า "บารมี" มาจากคำว่า "ปรม" แปลว่า "อย่างยิ่ง" หมายความว่าดำเนินไปในทางที่ดียิ่งขึ้นไป บารมีนั้นก็คือบุญ แต่เป็นบุญที่เข้มข้นมาก เป็นบุญที่ควบแน่น กล่าวคือ บุญที่เราทำในแต่ละวัน ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น จะค่อย ๆ รวมตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลั่นตัวเป็นบารมี ซึ่งลักษณะของบารมีในทางธรรมปฏิบัตินั้น หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า "บารมีก็มีลักษณะเป็นดวงกลมรอบตัว ดวงบุญขนาด 1 คืบ เมื่อกลั่นเป็นดวงบารมีแล้ว จะเหลือขนาด 1 นิ้ว"

    การสร้างบุญเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดีหรือเพื่อเป็นพระอรหันตสาวกต่าง ๆ ก็ดีจะต้องทำกันอย่างเอาจริงเอาจัง หรือที่เรียกว่าทำโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันกันทีเดียว และจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจนติดเป็นนิสัย เป็นเสมือนโปรแกรมที่ฝังแน่นอยู่ในใจ และจะติดไปข้ามภพข้ามชาติจนกว่าจะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ หรือ จนกว่าจะได้เป็นพระอรหันต์ หากสร้างบุญแบบเช้าชามเย็นชาม ทำแบบไม่เต็มกำลังแล้ว ไม่มีทางที่จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เพราะกระแ กิเล นั้นเชี่ยวกรากยิ่งนัก มีหวังถูกพัดพาไปสู่อบายภูมิเสียก่อน

  การสร้างบุญโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนี้ส่งผลให้บุญที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเป็นบุญที่มีคุณภาพสูงมีความเข้มข้นมาก เมื่อกลั่นเป็นดวงบารมีแล้ว ก็จะได้ขนาดโตกว่าการสร้างบุญแบบปกติของชาวโลกทั่ว ๆ ไป และจะทำให้บารมีที่สั่งสมนั้นเต็มเปียมได้เร็วขึ้น ด้วยเหตุที่เวลาสร้างบุญแต่ละครั้งนั้น ทำแบบสุดชีวิต ทำโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนี้เอง จึงเรียกการสร้างบุญแบบนี้ว่า "เป็นการสร้างบารมี" เพราะว่าต่างจากการสร้างบุญแบบธรรมดา

    อีกนัยหนึ่งการสร้างบารมีคือการฝึกฝนอบรมตนเอง ขัดเกลาแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีออกไป หมั่นสั่งสมบุญทั้งทาน ศีล ภาวนา เพื่อขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ผลก็คือได้บารมีติดตัวไป

    สรุปบารมีคือ บุญที่มีความเข้มเข้นมากเพราะได้จากการกลั่นตัวของบุญปริมาณมาก และได้จากการสร้างบุญโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันจนติดเป็นนิสัย


2) ประเภทของบารมี
     ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีเท่าไรพระเจ้าข้า

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนสารีบุตร ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี 10 ประการแลธรรม 10 ประการคืออะไรบ้าง ดูก่อนสารีบุตร ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติสัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา เป็นธรรมทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรม 10 ประการเหล่านี้แล เป็นพุทธการกธรรม" พุทธการกธรรมหรือธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้า 10 ประการนี้ก็คือ บารมี 10 ประเภทนั่นเอง

    ทานบารมี คำว่า "ทาน" มาจากบทว่า "ทาน" ในภาษาบาลี แปลว่า "สิ่งที่พึ่งให้ ทานนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ อามิ ทาน ธรรมทาน และอภัยทาน"

      อามิสทาน คือ การบริจาควัตถุสิ่งของเป็นทาน ได้แก่ ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการบริจาคทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ให้แก่ผู้อื่น เช่น บริจาคแก่พระภิกษุ บริจาคแก่คนยากจน เป็นต้น

    ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทาน กล่าวคือ ให้ความรู้เรื่องความจริงของชีวิต เช่น เรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องบุญบาป เรื่องวิธีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น

      อภัยทาน คือ การยกโทษความผิดที่บุคคลอื่นกระทำต่อเรา ไม่เอาความ ละอารมณ์ขุ่นข้องหมองใจอันเกิดจากที่คนอื่นกระทำผิดต่อเราออกไป

     ทานบารมีนั้นเน้นเรื่องอามิสทานเป็นหลักส่วนธรรมทานถือว่าเป็นการสร้างปัญญาบารมีให้แก่ตนเอง เพราะผู้ที่จะได้ธรรมทานได้จำเป็นต้องศึกษาเรื่องนั้น ๆ จนแตกฉานก่อน การศึกษาจึงทำให้ตนเองมีปัญญาก่อน แล้วนำปัญญาคือความรู้ที่ได้ไป อนคนอื่นต่อไปสำหรับอภัยทานจัดเข้าในเมตตาบารมีได้ เพราะหากปราศจากความเมตตาแล้ว ก็ไม่อาจจะให้อภัยแก่ผู้ที่ทำความผิดต่อเราได

      ศีลบารมี คำว่า "ศีล" มาจากบทว่า " ศีล" ในภาษาบาลี ได้แก่ "การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ปาฏิโมกขสังวรศีล เป็นต้น" การไม่ล่วงละเมิดในที่นี้คือ การไม่ทำความผิด
ทางกายและวาจานั่นเอง

     ศีล 5 เป็นศีลของคฤหั ถ์ทั่ว ๆ ไป ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกามไม่พูดปด และไม่ดื่มสุรา

   ศีล 8 เป็นศีลของคฤหัสถ์ที่ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ งดเว้นเมถุนธรรม และสิ่งอื่นใดอันเป็นข้าศึกต่อการประพฤติพรหมจรรย์ ศีล 8 นั้นหาก มาทานในวันพระเรียกว่า อุโบสถศีล คำว่า มาทาน แปลว่า การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ

     ศีล 10 เป็นศีลของสามเณร
     ส่วนปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นศีลของพระภิกษุซึ่งมีทั้งหมด 227 ข้อ

    เนกขัมมบารมี คำว่า "เนกขัมมะ" มาจากบทว่า "เนกฺขมฺมํ" ในภาษาบาลี แปลว่า การสลัดออกจากกามทั้งหลาย คือการออกบวชนั่นเอง ดังบทว่า "เนกฺขมฺมํ อภินิกฺขมิ คือ ออกจากเรือนเพื่อเนกขัมมะ
ได้แก่ บวช" หากบวชเป็นสามเณรจะเรียกว่า บรรพชา หากบวชเป็นพระภิกษุจะเรียกว่า อุปสมบท แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุทุกรูปจะต้องผ่านขั้นตอนการบรรพชาเป็นสามเณรก่อน

     ปัญญาบารมี คำว่า "ปัญญา" มาจากบทว่า "ปญฺญา" ในภาษาบาลี ได้แก่ "เครื่องทำให้รู้ชัด"กล่าวคือ เป็นเครื่องทำอรรถะนั้น ๆ ให้ปรากฏ"

      คำว่า อรรถะ แปลว่า เนื้อความ หรือ ความหมายของข้อความหรือคำนั้น ๆ

     คำว่า ปัญญา ในความหมายทั่ว ๆ ไป แปลว่า "ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดอันเกิดจากการเรียนและการคิด"

      ปัญญาในพระพุทธศาสนามี 3 ประเภทคือ
      1) สุตมยปัญญา        ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง
      2) จินตามยปัญญา    ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด
      3) ภาวนามยปัญญา   ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม

     การอบรมในที่นี้คือ การทำสมาธินั่นเองดังในอรรถกถาที่ว่า "ธรรมชาติใด อันพระโยคีบุคคลอบรมอยู่ เจริญอยู่ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ภาวนา, ภาวนาคือสมาธิ ชื่อว่าสมาธิภาวนา"

    วิริยบารมี คำว่า "วิริยะ" มาจาก บทว่า "วิริย" ได้แก่ "ความเพียรทางกายและทางใจ"ความเพียรในที่นี้คือความเพียรในการสร้างบารมีทุกอย่าง ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี เป็นต้น ที่กล่าวว่าความเพียรทั้งทางกายและทางใจนั้นหมายความว่า การสร้างบารมีทุกอย่างเกิดขึ้นได้โดยอาศัย "ใจ" ในการคิด อาศัย "กาย" ในการปฏิบัติ

      คำว่า "วิริยะ" ยังแปลได้อีกหลายนัยดังบทว่า "วิริยพล ได้แก่ ภาวะของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะหรือกรรมของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถว่า พึงให้เคลื่อน, คือให้เป็นไป... วิริยะนั่นนั้น มีความค้ำจุนเป็นลักษณะ หรือมีความประคองเป็นลักษณะ... มีความสังเวชหรือเรื่องปรารภความเพียรเป็นปทัฏฐาน... ชื่อว่า วีริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน"

       คำว่า ปทัฏฐาน แปลว่า แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

    โดยสรุปคือ วิริยะ คือกล้าที่จะลงมือทำความดีหรือสร้างบารมีทุกรูปแบบ เมื่อเริ่มต้นสร้างบารมีแล้วก็จะส่งผลให้บารมีเพิ่มพูนขึ้นคือ มีความก้าวหน้าไป อีกทั้งวิริยะยังช่วยค้ำจุนคุณธรรมความดีที่มีอยู่ให้คงอยู่ ไม่ให้ตกต่ำลงกว่าเดิม กล่าวคือ ปกติใจมนุษย์จะไหลลงต่ำอยู่เสมอ หากอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ หรือคร้านไม่ทำอะไร ก็มีแต่จะถูกกระแสกิเลสพัดพาไปให้ทำชั่วส่งผลให้ชีวิตตกต่ำ แต่เมื่อมีความเพียรในการสร้างบารมีอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยประคองตนเองให้ตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางของการสร้างบารมีได

      ขันติบารมี คำว่า "ขันติ" มาจากบทว่า "ขนฺติ" ในภาษาบาลี ได้แก่ "ความอดทนด้วยความอดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่ปากร้าย ความแช่มชื่นแห่งจิต"

     ความหมายโดยรวมของขันติ คือ การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหวไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย หรือของหอมก็ตาม

     มีข้อสังเกตว่าความอดทนในพระพุทธศาสนานั้นประกอบด้วย "ความแช่มชื่นแห่งจิต" กล่าวคือไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นทั้งดีและไม่ดี จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็สามารถรักษาจิตให้แช่มชื่นหรือผ่องใสอยู่ได้ไม่ใช่เป็นความอดทนในลักษณะเก็บกด หน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัดกัดฟันกร๊อด ๆ อย่างที่เราเข้าใจกัน ความอดทนอันประกอบด้วยจิตที่แช่มชื่นนี้ จึงเป็นทางมาแห่งบุญบารมีที่บริสุทธิ์ส่วนการเก็บกด จิตจะเศร้าหมองไม่แช่มชื่นอันเป็นลักษณะของบาปอกุศลที่เกิดขึ้นในใจ ความอดทนชนิดนี้จึงไม่จัดเป็นขันติบารมี

    ชื่นอันเป็นลักษณะของบาปอกุศลที่เกิดขึ้นในใจ ความอดทนชนิดนี้จึงไม่จัดเป็นขันติบารมีสัจจบารมี คำว่า "สัจจะ" มาจาก บทว่า " สจฺจํ" คือ "จริง, เป็นเนื้อความอันจริง, แท้, ไม่ผิด,ไม่คลาดเคลื่อน"สัจจะในบางประเด็นคืออย่างเดียวกับศีล เช่น การไม่พูดเท็จ พูดแต่คำที่เป็นจริง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตนก็จะไม่พูดไม่คลาดเคลื่อนจากความจริง

    สัจจะยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงการที่ตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ก็ทำตามความตั้งใจนั้นจนสำเร็จไม่ว่าจะมีอุปสรรคมากมายเพียงใดก็พยายามทำจนสำเร็จ หรือพูดอย่างไรทำตามนั้น ทำอย่างไรพูดอย่างนั้นก็เรียกว่ามีสัจจะ หรือเคยสัญญาอะไรกับใครไว้ ก็ไม่ลืมสัญญา รักษาคำพูด รักษาสัญญา เมื่อถึงเวลา ก็ทำตามที่พูดไว้โดยไม่ขาดตกบกพร่อง นี้คือสัจจะ

     อธิษฐานบารมี คำว่า "อธิษฐาน" มาจากบทว่า อธิฏฐาน ในภาษาบาลี ได้แก่ "ความตั้งมั่นในการทำความดี ความตั้งใจ คือมีความตั้งมั่นในการทำกุศล"

  วิธีการอธิษฐานจะต้องยึดเอาบุญหรือบารมีที่สั่งสมในขณะนั้นหรือในอดีต มาเป็นฐานในการอธิษฐาน เช่น เมื่อได้ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญสมาธิภาวนา ก็ให้นึกในใจว่าด้วยบุญที่ได้ทำไว้ดีแล้วนี้รวมทั้งบุญและบารมีในอดีตที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด ขอให้ส่งผลดลบันดาลให้ข้าพเจ้าสมความปรารถนาในสิ่งที่ต้องการโดยเร็วพลันคือ หากปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้อธิษฐานทุกครั้งที่สั่งสมบุญว่าขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่ตั้งใจไวการอธิษฐานนั้นอาจจะเปล่งวาจาก็ได้หรือเพียงแต่นึกอธิษฐานในใจก็ได้

     เมตตาบารมี คำว่า "เมตตา" มาจากบทว่า "เมตฺตา" ในภาษาบาลี ชื่อว่า เมตตา "เพราะมีความเยื่อใย ... ชื่อว่าเมตตา เพราะมีความรัก หรือความเป็นไปแห่งความรัก กล่าวคือ มีความรักความเอ็นดู มีความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข

    นักศึกษาอาจจะคุ้นเคยกับหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาสำหรับเมตตาและอุเบกขาในบารมี 10 ทัศนั้นคือ อย่างเดียวกันกับหลักในพรหมวิหารซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เป็นพรหม กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักทั้ง 4 ประการนี้จนตลอดชีวิตแล้วได้ชื่อว่าประพฤติเยี่ยงพรหมเมื่อละโลกแล้วหากปรารถนาก็จะได้ไปเกิดยังพรหมโลก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นมักได้ไปเกิดในพรหมโลกอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะได้ประพฤติตามหลักพรหมวิหารดังกล่าวนี้จนตลอดชีวิต

     การเจริญเมตตานั้นสามารถทำได้ 2 ช่วงคือ เจริญเมตตาในช่วงท้ายก่อนเลิกนั่งสมาธิ ทุกครั้ง โดยการนึกถึงบุญที่ได้นั่งสมาธิในครั้งนั้น แล้วตั้งจิตแผ่บุญกุศลพร้อมทั้งความรักความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ หรืออาจจะเจริญเมตตาในอิริยาบถอื่น ๆ ตลอดเวลาระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยการตั้งจิตปรารถนาดีแผ่ความรักความห่วงใยไปยัง สรรพสัตว์ทั้งหลายเรื่อยไป

      อุเบกขาบารมี คำว่า "อุเบกขา" มาจากบทว่า อุเปกฺขา ในภาษาบาลี เป็นชื่อของมัชฌัตตภาวะคือ ความที่จิตเป็นกลาง อีกนัยหนึ่ง บทว่า อุเปกฺขา คือ ความวางเฉย

    ความที่จิตเป็นกลางและความวางเฉยในที่นี้คือ การไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ได้แก่ โลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญสุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ มีจิตใจที่หนักแน่นไม่ขึ้น ๆ ลง ๆ เปรียบประดุจแผ่นดินย่อมวางเฉยในของไม่สะอาดและของสะอาดที่คนทิ้งลง ปกติแผ่นดินย่อมเว้นจากความโกรธและความยินดีในสิ่งต่าง ๆ

     อุเบกขารวมถึงการมีจิตเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปตามความยินดียินร้ายหรือเกลียดชัง ไม่ลำเอียงด้วยอำนาจอคติต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของคนสัตว์ และสิ่งของ


3) ระดับของบารมี
     บารมีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ บารมีระดับต้นเรียกว่า บารมี บารมีระดับกลางเรียกว่าอุปบารมีและบารมีระดับสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถบารมี

        บารมีทั้งหมดจึงมี 30 ทัศ คือ บารมี 10 ทัศ, อุปบารมี 10 ทัศ และปรมัตถบารมี 10 ทัศ

   1) บารมีระดับต้น เรียกว่า "บารมี" เป็นการบำเพ็ญแบบปกติธรรมดา หากเป็นทานบารมี ได้แก่ การบริจาคทรัพย์เป็นทาน ไม่ว่าจะบริจาคมากน้อยเพียงใด ก็เป็นบารมีระดับต้นอยู่ บารมีประเภทอื่น ๆ ก็เช่นกัน คือ ยังไม่บำเพ็ญเข้มข้นถึงกับต้องแลกกับเลือดเนื้อของตน

    (2) บารมีระดับกลาง เรียกว่า "อุปบารมี" เป็นการบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่าบารมีระดับแรกได้แก่ การบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกายเป็นทาน เช่น บริจาคดวงตา บริจาคเลือด อันนี้เรียกว่าทานอุปบารมี หากเป็นศีลอุปบารมี ได้แก่ ยอมเสียเลือดเนื้อยอมเสียอวัยวะ แต่ไม่ยอมเสียศีล อุปบารมีประเภทอื่น ๆก็ทำนองเดียวกัน

    (3) บารมีระดับสูงสุด เรียกว่า "ปรมัตถบารมี" เป็นการบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่าบารมีระดับกลาง ได้แก่ การบริจาคชีวิตเป็นทาน เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี แม้ต้องเสียชีวิตก็ไม่ยอมเสียศีล นี้เรียกว่า ศีลปรมัตถบารมี แม้ต้องเสียชีวิตก็ไม่ยอมเสียสัจจะ นี้เรียกว่าสัจจปรมัตถบารมี ปรมัตถบารมีอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน

    อุปบารมีและปรมัตถบารมีนอกจากจะเกิดขึ้นด้วยการสละอวัยวะและสละชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งบารมีดังกล่าวแล้ว ยังเกิดขึ้นได้จากการกลั่นตัวของบุญและบารมีธรรมดาด้วย ดังที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้กล่าวไว้ว่า

    "ดวงบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญทานได้เป็นดวงบุญ ดวงบุญใหญ่โตเล็กเท่าไรไม่ว่าสร้างไปเถอะทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ บุญมีคืบหนึ่ง... เอามากลั่นเป็นบารมีได้นิ้วเดียวเท่านั้นเอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปอย่างนี้แหละทุกบารมี ไปจนกว่าบารมีนั้นจะเต็มส่วน แล้วก็บารมีที่จะเป็นอุปบารมีเอาบารมีนั้นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วน เอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียวแล้วเอาอุปบารมีนั้นแหละคืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว

    การกลั่นตัวของบุญเป็นบารมี การกลั่นตัวของบารมีเป็นอุปบารมี และการกลั่นตัวของอุปบารมีเป็นปรมัตถบารมีนั้น เป็นการกลั่นด้วยตัวของมันเอง กล่าวคือ เมื่อสั่ง สมบุญไปมาก ๆ บุญนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นบารมีเอง บารมีเมื่อมีมากเข้าก็จะกลั่นเป็นอุปบารมีเอง และอุปบารมีเมื่อมีมากเข้าก็จะกลั่นตัวเป็นปรมัตถบารมีเองเช่นกัน

      เมื่อบุญกลั่นตัวเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี ได้เต็มจำนวน (30 ทัศ) วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 1 คืบ เสมอกันหมดแล้วสำหรับผู้ที่ปรารถนาเพียงนิพพาน โดยการเป็นพระอริยสาวกองค์ใดองค์หนึ่งบารมีเพียงเท่านี้ก็จะทำให้บรรลุความเป็นปกติสาวกได้ส่วนผู้ที่ปรารถนาจะสร้างบารมีเป็นพระอสีติมหาสาวกพระอัครสาวก และพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ก็ต้องสร้างบารมีแต่ละบารมีให้มีส่วนโตกว่าจำพวกแรกนี้ขึ้นไปเป็นลำดับ"

 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018954197565715 Mins