รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก "เป้าหมายของการเมืองการปกครอง"

วันที่ 09 พค. พ.ศ.2560

รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
"เป้าหมายของการเมืองการปกครอง"

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก , รัฐศาสตร์ , การเมืองการปกครอง

        จากอัคคัญญสูตรจะเห็นว่า  เป้าหมายเบื้องต้นของการเมืองการปกครองนั้น  คือการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยธรรม ติเตียน ตักเตือน ลงโทษคนที่ประพฤติอกุศลธรรมอันเป็นเหตุให้คนในสังคมเดือดร้อน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อันนี้เป็นเป้าหมายหลักของการเมืองการปกครองยุคแรก

       อย่างไรก็ตาม เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในแต่ละยุค พระองค์ตรัสสอนเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ไว้ 3 ระดับ คือ เป้าหมายระดับต้น เป้าหมายระดับกลาง และเป้าหมายระดับสูงสุด โดยเป้าหมายระดับต้น คือ การสร้างตัวสร้างฐานะให้ได้ในปัจจุบันชาตินี้ บนพื้นฐานของศีลธรรม เป้าหมายระดับกลาง คือ การสั่งสมบุญเพื่อให้ได้ไปเกิดยังสุคติในภพชาติหน้าส่วนเป้าหมายระดับสูงสุด คือ การสร้างบารมีอย่างยิ่งยวดเพื่อละกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน

        เมื่อเป้าหมายของชีวิตมนุษย์มี 3 ระดับเช่นนี้ ดังนั้นเป้าหมายของการเมืองการปกครองในทางพระพุทธศาสนา จึงอยู่ที่การสร้างสภาพเอื้อให้มนุษย์ในสังคมสามารถประพฤติปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ระดับนี้ได้โดยง่าย ซึ่งแน่นอนเบื้องต้นต้องสร้างความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคมก่อน ด้วยการควบคุมคนพาลและอภิบาลคนดี จากนั้นจึงสร้างสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ให้แก่พลเมือง

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039791067441305 Mins