การโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธบริษัท

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

วาทศาสตร์ในพระไตรปิฎก 
การโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธบริษัท "


    การโต้วาทธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ในกรณีที่มีการจาบจ้วงคำสอนในพระพุทธศาสนาให้เสียหาย มีการกล่าวบิดเบือนไปจากความจริง การโต้วาทธรรมจะช่วย

  ปกป้องพุทธธรรมไม่ให้มัวหมองได้และป้องกันความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า ภารกิจสำคัญที่พระองค์จะต้องทำให้สำเร็จก่อนปรินิพพานมี 2 ประการ คือ

1) ต้องฝึกให้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาของพระองค์เป็นผู้เฉียบแหลม แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วสามารถบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรับปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้

2) ต้องเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวาง แพร่หลาย เป็นปึกแผ่น

     คำว่า "ปรับปวาท" อ่านว่า ปะรับปะวาด หมายถึง คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น ได้แก่ การกล่าวจาบจ้วงหรือโจมตีคำ อนในพระพุทธศาสนาโดยนักบวชต่างศาสนา เป็นต้น

   ภารกิจประการแรกนั้นโดยสรุปแล้วคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องฝึกพุทธบริษัททั้ง 4 ให้ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธนั่นเอง และขอย้ำว่าจะต้องถึงพร้อมทั้ง 3 อย่าง จะอาศัยเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ กล่าวคือ หากศึกษาเพียงปริยัติ แต่ไม่ปฏิบัติก็มีโอกาสเป็นปริยัติงูพิษ เพียงแต่รู้จำรู้คิดแต่ไม่รู้แจ้ง มีโอกาสตีความคำ อนผิดพลาดได้ส่วนการศึกษาปริยัติก็เป็นเหมือนแผนที่นำทางในการปฏิบัติธรรม และที่สำคัญหากผลการปฏิบัติธรรมของเรายังไม่ก้าวหน้าจนถึงระดับที่ค้นธรรมะภายในได้แล้ว ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาปริยัติ คือพระไตรปิฎกควบคู่ไปกับการปฏิบัติด้วย เราจะได้ใช้หลักธรรมในพระไตรปิฎกนำทางชีวิตไปก่อนจนกว่าจะเข้าถึงธรรมเหล่านั้นภายในตัวได้

     การที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้พุทธบริษัทศึกษาธรรมะให้แตกฉานนั้น พระองค์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พุทธบริษัทอวดภูมิรู้ภูมิธรรมด้วยการไปท้าผู้อื่นโต้วาทธรรมแข่งกันแต่พระองค์ต้องการให้พุทธบริษัทแตกฉานในธรรมะเพื่อสอนตัวเอง เพื่อโปรดชาวโลก และเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาเป็นหลัก

   ในประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์สำคัญเรื่องการโต้วาทธรรมของพุทธบริษัทเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนามากมาย ซึ่งจะเล่าย้อนตั้งแต่ยุคใกล้กับปัจจุบันไปจนถึงยุคพุทธกาลดังนี้

     สมัยพระคุณานันทเถระ แห่งประเทศศรีลังกา โดยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2048 - 2491เกาะศรีลังกาตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตกคือ อลันดา โปรตุเก และอังกฤษชาวพุทธถูกกดขี่ข่มเหงอย่างหนัก รัฐบาลสั่งห้ามชาวพุทธประชุมกันประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยเด็ดขาด ศาสนิกอื่นเขียนหนังสือและบทความโจมตีคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ภัยนี้คุกคามชาวพุทธอยู่นานหลายปีจนกระทั่งหนูน้อย "ไมเคิล" ถือกำเนิดขึ้นและได้ออกบวชเป็นพวกคุณานันทะศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนา ท่านได้อาสาเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนา ด้วยการโต้วาทะกับนักบวชจากศาสนาอื่นที่มาจาบจ้วงคำสอนในศาสนาพุทธจนได้รับชัยชนะ ท่านปราบนักบวชเหล่านั้นได้อย่างราบคาบและสามารถฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกาให้เจริญขึ้นอีกครั้ง

    เมื่อครั้งที่พระถังซัมจั๋งศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา มีนักปรัชญาลัทธิโลกายตะหรือลัทธิวัตถุนิยมมาท้าโต้วาทีกับคณาจารย์แห่งนาลันทา ทางมหาวิทยาลัยจึงส่งพระถังซัมจั๋งไปโต้ ปรากฏว่าได้รับชัยชนะ กลับใจนักปรัชญาผู้นั้นให้มานับถือพระพุทธศาสนาได้

     และที่สำคัญประมาณ พ.ศ. 1243 นักบวชินดูชื่อ ศังกระ ได้ประกาศโต้วาทะกับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แต่ว่ายุคนั้นพระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลงมาก พระภิกษุขาดการศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ไม่มีพระภิกษุรูปใดสามารถเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาได้ ในครั้งนั้นพระภิกษุในเบงกอลจำนวน 500 รูป ถึงกับเปลี่ยนศาสนาไปนับถือศาสนาฮินดู จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ชี้ให้เห็นว่า การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องฝึกพุทธบริษัทให้ถึงพร้อมด้วยปริยัติปฏิบัติและปฏิเวธนั้น ก็เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาจากการถูกเบียดเบียนหรือจาบจ้วงจากศาสนิกอื่น ซึ่งจะมีผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

     ในสมัยพระเจ้ามิลินท์ก็เช่นกัน มีบันทึกไว้ในคัมภีร์มิลินทปัญหาว่า หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วประมาณ 500 ปี มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์ปกครองเมืองสาคลนคร เป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความสามารถในการโต้วาทะหาบุคคลเทียบได้ยาก ท้าวเธอก็ได้เที่ยวไต่ถามปัญหากับพระภิกษุและนักบวชลัทธิต่างๆ ไม่เลือกหน้า พวกใดแก้ปัญหาไม่ได้ก็พากันหนีไป พวกที่ไม่หนีก็สู้ทนนิ่งอยู่ แต่โดยมากได้พากันหนีไปสู่ป่าหิมพานต์ เมืองสาคลนครเป็นเหมือนกับว่างจากนักบวชอยู่ถึง 12 ปี เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนายุคนั้นเสื่อมลงอย่างมาก จนกระทั่งมหาเสนเทพบุตรจุติจากเทวโลกมาเกิดในโลกมนุษย์ต่อได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีนามว่าพระนาคเสนเถระ ท่านสามารถปราบพระเจ้ามิลินท์ลงได้ โดยตอบคำถามทุกข้อของพระเจ้ามิลินท์ได้อย่างกระจ่างแจ้ง และได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่ ซึ่งต่อมาพระเจ้ามิลินท์ก็ออกบวชและบรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นกัน

    ในสมัยพุทธกาลก็มีปรากฏเรื่องการโต้วาทธรรมอยู่หลายครั้ง เช่น การโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับสัจจกนิครนถ์, การโต้วาทธรรมของพระกุมารกั ปะกับพระเจ้าปายาสิ และการโต้วาทธรรมของพระสารีบุตรกับนางปริพาชิกาซึ่งเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา เป็นต้น ในที่นี้จะยกตัวอย่างการโต้วาทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้

     ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลีสมัยนั้นสัจจกนิครนถ์ผู้มีปัญญามากได้กล่าวในท่ามกลางประชุมชนในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณพราหมณ์เหล่าใดที่เราโต้ตอบถ้อยคำด้วยแล้ว จะไม่ประหม่าตัวสั่นหวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้เลย แม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำกับเสาที่ไม่มีจิต แม้เสานั้นก็สะท้านหวั่นไหว จะกล่าวอะไรถึงมนุษย์เล่า

     สัจจกนิครนถ์คิดว่า ถ้าอย่างไรเราจะได้พบกับพระโคดม จะได้เจรจากันสักหน่อย และจะเปลื้องความเห็นเลวทรามของพระองค์เสีย จากนั้นสัจจกะจึงเข้าไปสู่ป่ามหาวันถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วทูลถามว่า พระโคดมสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร

    ภ.(พระผู้มีพระภาคเจ้า) เราสั่งสอนสาวกทั้งหลายว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยงสัญญาไม่เที่ยงสังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่ใช่ตัวสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เราสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้

   ส.(สัจจกนิครนถ์) พระโคดม พืชพันธุ์ไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ถึงความเจริญงอกงามพืชพันธุ์ไม้เหล่านั้นทั้งหมดต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงเจริญงอกงามได้ หรือการงานเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่บุคคลทำด้วยกำลังแขน การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงทำได้ฉันใด บุคคลมีรูปเป็นตัว มีเวทนาเป็นตัว มีสัญญาเป็นตัว มีสังขารเป็นตัว มีวิญญาณเป็นตัว และเวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณนั้นต้องตั้งอยู่ในรูป จึงสามารถเสวยผลแห่งบุญหรือไม่ใช่บุญได้ฉันนั้น

     ภ. ถ้าอย่างนั้น เราจักถามท่านว่า พระราชาทั้งหลายสามารถฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบสมบัติคนที่ควรต้องริบ ขับไล่คนที่ควรต้องขับไล่ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ได้มิใช่หรือ

      ส. อย่างนั้นท่านพระโคดม

    ภ. ข้อที่ท่านกล่าวว่า รูปเป็นตัวของเรา ท่านสามารถบังคับบัญชารูปของท่านว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิดอย่าได้เป็นอย่างนี้เลยได้หรือ กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดถูกพระราชาจับฆ่าก็สามารถบังคับรูปหรือร่างกายของเขาได้หรือว่า อย่าเจ็บ และ อย่าตาย เป็นต้น

   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้สัจจกะได้นิ่งอยู่ พระองค์ตรัสถามอย่างนี้ถึงครั้งที่สามสัจจกะจึงจำใจตอบว่า ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้นพระโคดม

    ภ. ท่านจงคิดให้ดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยกล่าวแก้ เพราะคำหลังของท่านไม่ตรงกับคำที่ท่านกล่าวไว้แต่ก่อน ไม่ อดคล้องกับคำที่ท่านกล่าวไว้แต่ก่อน

   ข้อที่ท่านกล่าวว่า เวทนาเป็นตัวของเราสัญญาเป็นตัวของเราสังขารเป็นตัวของเราวิญญาณเป็นตัวของเรา ท่านสามารถบังคับบัญชาเวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณให้เป็นไปตามที่ท่านต้องการหรือไม่

      ส. ไม่ได้ พระโคดม

      ภ. ด้วยเหตุนี้ รูป เวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง

      ส. ไม่เที่ยง พระโคดม

      ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นทุกข์หรือสุข

      ส.สิ่งนั้นทุกข์ พระโคดม

     ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่าสิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วนนั้นส่วนนั้นตัวของเรา

      ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดม

  จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอีกหลายประการ เมื่อทรงแสดงธรรมจบแล้วสัจจกะทูลว่า ข้าพเจ้าเป็นคนคะนองวาจา เพราะสำคัญตัวอาจจะโต้เถียงกับพระโคดมได้ บุรุษมาปะทะช้างอันซับมันเข้าก็ดี เจอะกองไฟอันกำลังลุกโชนก็ดี กระทบงูที่มีพิษร้ายก็ดี ยังมีเอาตัวรอดได้บ้าง แต่ใครที่มาพบพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีใครเอาตัวรอดได้เลย พระเจ้าข้า

    จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราจะเห็นได้ว่าหลักวาทศาสตร์ในพระพุทธศาสนามีความลุ่มลึกกว้างขวาง และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเราสามารถศึกษานำหลักวาทศาสตร์ในพระพุทธศาสนานี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขและความสำเร็จได้

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014201998710632 Mins