องค์แห่งธรรมกถึก : หลักพื้นฐานของการแสดงธรรม

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

วาทศาสตร์ในพระไตรปิฎก
" องค์แห่งธรรมกถึก : หลักพื้นฐานของการแสดงธรรม "

 

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , วาทศาสตร์ในพระไตรปิฎก , วาทศาสตร์ , หลักพื้นฐานของการแสดงธรรม ,  ธรรมกถึก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     องค์แห่งวาจาสุภาษิตทั้ง 5 ประการที่กล่าวมานั้น เป็นหลักพื้นฐานทั่วไปสำหรับใช้ในการพูดทุกกรณี แต่ในการเทศน์สอนนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ตรัสหลักการโดยเฉพาะไว้อีก 5 ประการ แต่หลักทั้ง 5 ประการนี้ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์แห่งวาจาสุภาษิตข้างต้น

   ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสกับพระอานนท์ว่า "อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการไว้ในตน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า

    1) เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ หมายถึง แสดงธรรมให้มีลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ เช่น แสดงเรื่องทานเป็นลำดับที่ 1 แ ดงเรื่องศีลเป็นลำดับที่ 2 แสดงเรื่องสวรรค์เป็นลำดับที่ 3 อีกนัยหนึ่ง หมายถึง แสดงธรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่ตั้งคาถาไว้

      2) เราจักแสดงอ้างเหตุผล

    3) เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู หมายถึง ต้องการอนุเคราะห์ด้วยคิดว่า จักเปลื้องเหล่าสัตว์ผู้มีความคับแค้นมากให้พ้นจากความคับแค้น

      4) เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม หมายถึง ไม่มุ่งหวังลาภ คือ ปัจจัย 4 เพื่อตน

      5) เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น หมายถึง ไม่แสดงธรรมยกตนข่มท่าน

    อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น"

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017551183700562 Mins