วาทศาสตร์ในพระไตรปิฎก
" หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล "
ประสิทธิภาพ (Efficiently) โดยทั่วไปหมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ทรัพยากรในที่นี้ คือ ทุน เวลา แรงงาน อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
ประสิทธิผล (Effrctively) หมายถึง การทำงานได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
หลักการแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยเฉพาะการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หมายถึง การแสดงธรรมให้สำเร็จผล คือผู้ฟังเข้าใจ เลื่อมใสศรัทธา หรือบรรลุธรรม โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดี กล่าวคือ ไม่มากไปและไม่น้อยไป ไม่ขาดและไม่เกิน ได้แก่ เนื้อหามีความพอดี เวลาที่ใช้ก็พอดี เป็นต้น ซึ่งความพอดีนั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟัง กล่าวคือ หากผู้ฟังมีปัญญามากเพียงแค่ได้ฟังธรรมโดยย่อก็เพียงพอแก่การบรรลุธรรมแล้ว หากผู้ฟังมีปัญญาน้อยก็ต้องฟังธรรมโดยพิสดารจึงจะเข้าใจธรรมนั้นได้ เป็นต้น
การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงธรรมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดังกล่าวมานี้ นอกเหนือจากอาศัยหลักการพื้นฐานคือวาจาสุภาษิตและองค์แห่งธรรมกถึกที่กล่าวมาแล้วพระพุทธองค์ยังมีหลักการสำคัญอีกอย่างน้อย 4 ประการทำให้การแสดงธรรมแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ ทรงเทศน์สอนโดยยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง ใช้การอุปมาอุปไมยใช้สื่อประกอบการบรรยาย และทรงเน้นเทศน์สอนโดยยกหลักการและตัวอย่างประกอบดังนี้
1. เทศน์สอนโดยยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง
ในปัจจุบันคำว่ายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง หรือ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Child Center" นั้นได้รับการกล่าวถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพบว่าการเรียนการ อนแบบเดิม ที่ครูอาจารย์มักจะยัดเยียดความรู้ให้เด็ก ตนรู้อะไรก็อยากจะให้เด็กได้รู้เหมือนตน โดยไม่สนใจว่าเด็กเป็นอย่างไร เด็กสนใจอะไร ไม่สอน ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทำให้การเรียนการ อนไม่ บความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น การสอนโดยคำนึงถึงพื้นฐานผู้เรียนเป็นหลัก และต่อยอดให้ความรู้เพิ่มได้ผลดีกว่า อันที่จริงหลัก นี้ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่มีมาตั้งแต่ มัยพุทธกาลแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงใช้หลักนี้เช่นเดียวกัน โดยมีข้อสังเกต 2 ประการ คือ การเลือกใช้ภาษาสอนธรรม และการเทศน์สอนโดยยึดตามจริตของผู้ฟัง
1.) การเลือกใช้ภาษาสอนธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนธรรมด้วยภาษาบาลีเป็นหลัก ไม่ใช้สันสกฤต เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาชาวบ้าน เป็นภาษาพื้นฐานที่ชาวมคธโดยทั่วไปใช้พูดกัน แม้พวกพราหมณ์ก็สามารถพูดได้ส่วนภาษาสัน กฤตเป็นภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ซึ่งมีผู้ใช้น้อยคัมภีร์สันสกฤตถือกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่สาธารณะแก่ชนทั่วไป งวนไว้เฉพาะพวกพราหมณ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ภาษาสันสกฤตจึงไม่แพร่หลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็ภาษาถิ่นของแคว้นมคธ เป็นภาษาหลักในการเล่าเรียนและเทศน์สอนพระธรรมวินัย
ในสมัยพุทธกาลแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสารถือว่าเป็นมหาอำนาจ มีความเข้มแข็งกว่าแคว้นอื่นๆ ทั้งด้านการทหาร เศรษฐกิจ และศาสนา มีเศรษฐีและเหล่านักบวชมากมายหลายลัทธิ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ว่าภาษาบาลีของชาวมคธนั้น จะมีความแพร่หลายกว่าภาษาท้องถิ่นของแคว้นอื่น คล้ายกับภาษาอังกฤษในปัจจุบัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธก่อนแคว้นอื่น และทรงเลือกภาษาบาลีของชาวมคธเป็นภาษากลางในการเล่าเรียนและเผยแผ่พุทธธรรม
อย่างไรก็ตามเนื่องจากอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล จึงทำให้มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปนับร้อยๆ ภาษา เป็นไปได้อย่างมากที่ชาวบ้านหลายท้องถิ่นไม่สามารถพูดภาษาบาลีของชาวมคธได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีปรากฏหลักฐานว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุเทศน์สอนด้วยภาษาท้องถิ่นอื่นๆนอกจากภาษาสันสกฤตของพวกพราหมณ์ตรงข้ามพระองค์กลับสอนให้ไม่ยึดติดในภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ให้สอนในภาษาที่ชาวท้องถิ่นนั้นๆ สามารถเข้าใจได้ เพราะทรงมุ่งหมายผู้ฟังคือชาวท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสำคัญ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น (ของตน) และ ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอธิบายเรื่อง การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และ การไม่ละเลยคำพูดสามัญว่า ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "ปาติ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "ปัตตะ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "ปิฏฐะ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า " ราวะ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "หโรสะ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "โปณะ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "หนะ" บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า "ปิปิละ" ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า "ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้" ในเวลาแสดงธรรมก็เช่นกันก็ต้องแสดงในภาษาที่คนในท้องถิ่นนั้นๆ เข้าใจได้
นอกจากนี้ในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงเทศน์สอนใครคนใดคนหนึ่ง พระองค์ก็เลือกใช้คำพูด เลือกเรื่อง นทนา ที่ผู้ฟังมีพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว เช่น พราหมณ์มีความรู้และสนใจเรื่องการอาบน้ำล้างบาป พระพุทธองค์ก็ทรงสนทนาในเรื่องนั้น ชาวนาสนใจเรื่องการทำนาพระพุทธองค์ก็ทรงสนทนาในเรื่องนั้น ครูฝึกม้าสนใจเรื่องการฝึกม้าพระพุทธองค์ก็ทรงสนทนาในเรื่องนั้น เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือ เมื่อทรงสอนพราหมณ์ก็ใช้ภาษาของพราหมณ์ สอนวรรณะกษัตริย์ก็ใช้ภาษาของกษัตริย์สอนพ่อค้าก็ใช้ภาษาของพ่อค้าสอนชาวนาก็ใช้ภาษาของชาวนา "ภาษา" ในที่นี้หมายถึง เรื่องราวที่ผู้ฟัง นใจหรือเกี่ยวข้องกับผู้ที่ทรงเทศน์สอน ไม่ได้หมายถึงภาษาบาลี หรือ ภาษาสันสกฤต ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.1) แสดงธรรมแก่พราหมณ์โดยใช้ภาษาพราหมณ์
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดสังครวพราหมณ์ ในครั้งนั้นพระองค์ตรัสกับพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เขาว่า ท่านถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ จริงหรือ
ส.(สังครวพราหมณ์) จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ภ.(พระผู้มีพระภาค) ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงทำเช่นนั้น
ส. บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำในเวลากลางวัน ข้าพระองค์ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการอาบน้ำในเวลาเย็น บาปกรรมใดที่ทำในเวลากลางคืน ข้าพระองค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำในเวลาเช้า ข้าพระองค์เห็นประโยชน์นี้แหละ
ภ. ดูก่อนพราหมณ์ ห้วงน้ำคือธรรมมีศีลเป็นท่า ไม่ขุ่นสัตบุรุษสรรเสริญต่อสัตบุรุษซึ่งเป็นท่าที่บุคคลผู้ถึงเวทอาบแล้ว บุคคลผู้มีตัวไม่เปียกเท่านั้นจึงจะข้ามถึงฝังได้
"ห้วงน้ำคือธรรมมีศีลเป็นท่า" หมายถึง ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีลสมาธิ ปัญญานั่นเอง เพราะไตรสิกขาเริ่มต้นด้วยศีล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "มีศีลเป็นท่า" คือ เป็นทางลงในห้วงน้ำคือธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า และไตรสิกขานี้ครอบคลุมพุทธธรรมทั้งหมด
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบ "ธรรมะ" ด้วย "ห้วงน้ำ" ซึ่งเป็นสิ่งที่พราหมณ์คุ้นเคยว่า ธรรมสามารถล้างบาปได้จริงและยังบุคคลผู้อาบให้ไปถึง "ฝัง" คือ "พระนิพพาน" ได้ จึงทำให้พราหมณ์เข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น
ด้วยเหตุนี้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพียงแค่ 2 บรรทัดนี้แล้วสังครวพราหมณ์ก็ได้กราบทูลว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแกคนหลงทางส่องประทีปในที่มืด ข้าพระองค์ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปจนตลอดชีวิต
1.2) แสดงธรรมแก่ชาวนาโดยใช้ภาษาชาวนา
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่โรงเลี้ยงอาหารของกสิภารทวาชพราหมณ์ เมื่อพราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระ มณะข้าพเจ้าไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว ย่อมบริโภค แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด
ภ.(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค
ก.(กสิภารทวาชพราหมณ์) ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก หรือ โค ของท่านพระโคดมเลย
ภ. ตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก ติของเราเป็นผาลและประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้าคือวาจาสับปรับด้วยคำสัตย์โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้เสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากโยคะไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ในเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบธรรมะด้วยสิ่งที่เกี่ยวกับการทำนา จึงทำให้พราหมณ์เข้าใจได้ง่าย ด้วยเหตุนี้กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางส่องประทีปในที่มืดข้าพระองค์นี้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปจนตลอดชีวิต
1.3) แสดงธรรมแก่คนฝึกม้าโดยใช้ภาษาคนฝึกม้า
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสีว่า ดูก่อนเกสี ท่านฝึกหัดม้าที่ควรฝึกอย่างไร นายเกสีกราบทูลว่า ข้าพระองค์ฝึกหัดม้าที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง
ภ.(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน
ก.(เกสี) ข้าพระองค์ก็ฆ่ามันเสียเลย เพราะคิดว่าโทษอย่าได้มีแก่อาจารย์ของเราเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม พระองค์ทรงฝึกบุรุษอย่างไร
ภ. ดูก่อนเกสี เราย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง วิธีละม่อมคือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ ฯลฯ วิธีรุนแรง คือ กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ ฯลฯ วิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้ ฯลฯ
ก. ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มีพระภาคจะทำอย่างไรกะเขา
ภ. ดูก่อนเกสี เราก็ฆ่าเขาเสียเลย
ก. ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเลย ไฉนพระองค์จึงตรัสว่า ฆ่าเขาเสีย ฯ
ภ. จริงเกสี ปาณาติบาตไม่ มควรแก่ตถาคต ตถาคตไม่สำคัญบุรุษนั้นว่า ควรว่ากล่าวควรสั่งสอน นี้เป็นการฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยะ
เรื่องนี้ก็เช่นกันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบการฝึกคนของพระองค์เหมือนกับการฝึกม้า จึงทำให้นายเกสีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้าเข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้นายเกสีจึงกล่าวว่าภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปจนตลอดชีวิต
2) แสดงธรรมโดยยึดตามจริตผู้ฟัง
ในเวลาที่พระพุทธองค์จะ อนกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายนั้น พระองค์จะทรงระลึกชาติภิกษุรูปนั้นๆ ก่อนว่า ในอดีตชาติภิกษุรูปนี้เป็นใคร มีนิสัยอย่างไร จะสอนกรรมฐานแบบไหนจึงจะบรรลุธรรมได้ ทรงสอนตามจริตอัธยาศัย เช่น เมื่อครั้งที่พระองค์จะสอนกรรมฐานแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระสารีบุตรสอนกรรมฐานแล้วไม่ก้าวหน้า เพราะท่านคิดว่าภิกษุรูปนี้เป็นพระหนุ่มปกติของพระหนุ่มจะมีกามราคะรบเร้าให้เดือดร้อนใจ ท่านจึงให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน แต่เมื่อภิกษุนั้นนำไปปฏิบัติปรากฏว่าไม่ก้าวหน้าสุดท้ายจึงนำไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงระลึกชาติภิกษุรูปนั้น ทรงพบว่าท่านเคยเป็นช่างทองมาก่อน มีความคุ้นเคยกับของสวยงามประณีต พระองค์จึงเนรมิตดอกบัวทองคำให้พิจารณา และด้วยเวลาเพียงไม่นานที่ภิกษุรูปนั้นนำดอกบัวไปเป็นอารมณ์กรรมฐาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกหลายท่าน เช่น ชฎิลสามพี่น้องเคยบูชาไฟมาก่อน พระองค์ จึงทรงเทศนาอาทิตตปริยายสูตรว่าด้วยธรรมที่แสดงถึงของร้อนแก่ชฎิลจนบรรลุเป็นพระอรหันต์กรณีปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้ยึดติดกับลัทธิการทรมานตน เพราะคิดว่าเป็นทางตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโดยกล่าวถึงหนทางสายกลางที่ไม่เข้าใกล้ทางสุดโต่งทั้ง 2 คือ อัตตกิลมถานุโยคคือการทรมานตน และกามสุขัลลิกานุโยคหรือการปล่อยตนให้หลงใหลในกาม จนท่านอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุเป็นพระโ ดาบัน หรือกรณีพระนันทะผู้มีราคะจริต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำท่านไปสู่ภพดาวดึงส์ เพื่อไปดูเทพนารีทั้งหลาย และทรงรับประกันว่าหากพระนันทะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม หากละโลกขณะที่ยังไม่หมดกิเลสก็จะได้นางฟ้าเป็นภรรยา พระนันทะจึงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม และสุดท้ายก็บรรลุเป็นพระอรหันต์หมดความต้องการด้วยนางฟ้าไปโดยปริยาย
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า หลักในการสอนของพระพุทธองค์นั้นถือเป็นการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ครูโดยทั่วไปทำได้อย่างมากก็แค่การวิจัย หรือ อบถามพูดคุยจึงพอรู้ได้บ้างว่าผู้เรียนเป็นอย่างไร รู้ได้เพียงข้อมูลในชาตินี้เท่านั้น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกชาติได้ ทรงรู้ถึงเรื่องราวในอดีตชาติของสาวกสาวิกาได้ไม่มีสิ้นสุด ด้วยเหตุนี้การสอนของพระองค์แต่ละครั้ง จึงทำให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้บรรลุธรรมกันนับไม่ถ้วน
2. แสดงธรรมโดยยกหลักการและตัวอย่างประกอบ
การเทศน์สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นหลักการเป็นข้อๆ และส่วนที่เป็นตัวอย่างประกอบ หลักการโดยส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย เล่มที่ 20 24 ว่าด้วยหลักธรรมเป็นข้อๆ ซึ่งมีตั้งแต่หลักธรรมที่มี 1 ข้อ ไปจนถึงหลักธรรมที่มีเกิน 10 ข้อ เช่น กัลยาณมิตตตา 1, กรรม 2, บุญกิริยาวัตถุ 3, อิทธิบาท 4, ศีล 5, ทิศ 6, อปริหานิยธรรม 7, โลกธรรม 8, พุทธคุณ 9, กุศลกรรมบท 10, อายตนะ 12, ธุดงค์ 13, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, โพธิปักขิยธรรม 37, และ มงคล 38 เป็นต้น
ส่วนตัวอย่างประกอบการเทศน์โดยส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เล่มที่ 2528 และ เล่มที่ 3233 ซึ่งว่าด้วยชาดก 550 เรื่อง, วิมานวัตถุ 85 เรื่อง, เปตวัตถุ 51 เรื่อง, ธรรมบท 305 เรื่อง, และ เรื่องราวในอปทาน 663 เรื่อง รวมทั้งหมดเป็น 1,654 เรื่อง1 ทั้งหมดนี้ประกอบด้วยประวัติการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประวัติการสร้างบารมีของพระอริยสาวกสาวิกาทั้งหลาย และเรื่องการส่งผลของบุญและบาปที่มนุษย์ เทวดาและเปรตทั้งหลายทำไว้ในอดีตชาติ
หลักการและตัวอย่างนั้นจะสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลักการเป็นข้อๆ จะให้ความชัดเจนแก่ผู้ฟังในการนำไปปฏิบัติว่า จะต้องทำเป็นขั้นตอน 1 2 3 4 อย่างไรบ้าง การกล่าวธรรมโดยยกหลักการเป็นข้อๆ จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพรวมทั้งหมด ง่ายต่อการจดจำ และไม่หลงประเด็นส่วนตัวอย่างจะทำให้เกิดความเข้าใจหลักการชัดขึ้น และสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติ
มีหลักฐานปรากฏว่า วิมานวัตถุ 85 เรื่อง ซึ่งเป็นอานิสงส์แห่งบุญที่เหล่าเทวดาได้กระทำไว้ในสมัยเป็นมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกมีพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ได้ไปสนทนากับเทวดาเหล่านั้น แล้วนำเรื่องนี้มาเล่าให้แก่มนุษย์โลกฟังเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างบุญ โดยวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะเกิดความคิดอย่างนี้ว่ามนุษย์ทั้งหลายพากันทำบุญแล้วไปบังเกิดในเทวโลกเสวยสมบัติอันโอฬาร ถ้าเราจาริกไปในเทวโลก ทำเทวดาเหล่านั้นเป็นประจักษ์พยาน ให้กล่าวบุญตามที่พวกเขาสร้างสมไว้ และผลบุญตามที่ได้ประสบ แล้วกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ก็จะทรงแสดงผลกรรมให้ประจักษ์ชัดแก่มนุษย์ทั้งหลาย จะทรงชี้ความที่บุญแม้ประมาณน้อย ก็ยังมีผลโอฬาร พระธรรมเทศนานั้น ก็จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก1
นอกจากการสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดีด้วยการเล่าประวัติการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ พระอริยสาวกสาวิกา และผลแห่งบุญและบาปแล้ว ยังพบว่าการประกาศแต่งตั้ง "เอตทัคคะ" คือ ตำแหน่งผู้เลิศด้านต่างๆ ท่ามกลางพุทธบริษัท ก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างบุญได้อย่างดียิ่ง การแต่งตั้ง "เอตทัคคะ" โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการยกย่อง "บุคคลตัวอย่าง" ให้ปรากฏแก่มหาชน หลายต่อหลายคนเมื่อได้เห็นต้นแบบที่ดีนั้นแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นดังเช่นภิกษุภิกษุณีผู้ได้รับการยกย่องนั้นบ้างในภายภาคหน้า ซึ่งจากประวัติการสร้างบารมีของพระสาวกสาวิกาที่เป็น "เอตทัคคะ" ด้านต่างๆ ทุกรูปนั้นพบว่ามีจุดเริ่มต้นการสร้างบารมีจากการเห็นบุคคลตัวอย่างแบบนี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การแสดงธรรมโดยยกตัวอย่างประกอบจะทำให้ผู้ฟังมีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติตามมากขึ้น
3. แสดงธรรมโดยใช้อุปมาอุปไมยประกอบ
คำว่า "อุปมา" หมายถึงสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบเทียบ มักใช้เข้าคู่กับอุปไมยในประโยค เช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นส่วนคำว่า "อุปไมย" หมายถึงสิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
จากความหมายของคำว่า อุปมาและอุปไมย ข้างต้นจะเห็นว่าจุดประสงค์สำคัญของการพูดโดยใช้อุปมาอุปไมย คือ "เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง" เพราะโดยหลักแล้วการที่มนุษย์จะเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ตนไม่เคยศึกษามาก่อน ผู้ อนจำเป็นต้องยกตัวอย่างเรื่องต่างๆ ที่ใกล้เคียงกันซึ่งผู้เรียนเคยมีประสบการณ์มาเปรียบเทียบ จึงจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องใหม่นั้นได้ง่ายขึ้น หากหาตัวอย่างที่คล้ายๆ กันมาเปรียบเทียบไม่ได้ ก็ให้ยกตัวอย่างที่ตรงกันข้ามมาเปรียบเทียบ เช่น มนุษย์เข้าใจและตระหนักถึงความดีมากขึ้น เมื่อมีสิ่งที่ชั่วร้ายมาเปรียบเทียบ เราเรียกช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกว่าเป็น "กลางวัน" เพราะมันต่างจากตอน "กลางคืน" ที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เป็นต้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยากสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตเท่านั้นจึงจะรู้ได้..." เพราะพระธรรมคำสอน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องภายในจิตใจ เช่น เรื่องอวิชชา กิเลสตัณหา ศรัทธาสมาธิ ปัญญาเป็นต้น คำสอนเหล่านี้ไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจำเป็นต้องสอนโดยใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบเรื่องเหล่านี้กับสิ่งต่างๆ ที่พุทธบริษัทสามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเนื้อ หรือ เปรียบเทียบกับพื้นฐานความรู้เดิมของผู้ฟัง จึงจะทำให้เกิดการเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งได้ ดังคำกล่าวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกมักพูดถึงก่อนการยกอุปมาขึ้นแสดงว่า "วิญูชนหรือคนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร"
จากการค้นข้อมูลในพระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่มด้วยคอมพิวเตอร์ พบคำว่า "อุปมา,อุปไมย, เปรียบเหมือน, เปรียบด้วย, เปรียบเทียบ, ฉันใด และ ฉันนั้น" รวมๆ กัน จึงชี้ให้เห็นว่า การพูดการเทศน์การสอนโดยใช้วิธีอุปมาอุปไมยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกให้ความสำคัญมาก พระพุทธองค์ทรงอุปมาร่างกายดุจเมืองบ้าง ดุจจอมปลวกบ้าง เปรียบปัญญาดุจศัสตรา เปรียบพรหมจรรย์ดุจต้นไม้ ธรรมดุจแพ อุปมามรรคมีองค์ 8 ดุจยานอันประเสริฐ กิเลสเปรียบเหมือนสนิม กรรมดุจไร่นา เปรียบวิญญาณเหมือนพืชบาปกรรมเปรียบดุจก้อนเกลือ อุปมาสัตว์โลกด้วยดอกบัว 3 เหล่า เป็นต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างอุปมาเรื่องจอมปลวกปริศนา
ครั้งหนึ่ง พระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน เทวดาองค์หนึ่ง เข้าไปหาท่านได้กล่าวกับท่านว่า "พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ย่อมพ่นควันในเวลากลางคืน ย่อมลุกโพลงในเวลากลางวัน" พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า 'สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู'สุเมธใช้ศัสตราไปขุดก็ได้เห็น "ลิ่มสลัก" พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธ เธอจงยกลิ่ม ลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป'สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปก็ได้เห็น "อึ่ง"
พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธ เธอจงนำอึ่งขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป'สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็น "ทางสองแพร่ง" พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธ เธอจงถากทางสองแพร่งออกเสีย แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป'สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็น "หม้อกรองน้ำด่าง" พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธเธอจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป'
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็น "เต่า" พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธ เธอจงนำเต่าขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป'สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็น "เขียงหั่นเนื้อ" พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธเธอจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป'สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็น "ชิ้นเนื้อ" พราหมณ์กล่าวว่า 'สุเมธ เธอจงหยิบชิ้นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศั ตราขุดต่อไป' สุเมธใช้ศัวตราขุดต่อไปได้เห็น "นาค" พราหมณ์กล่าวว่า 'นาคจงดำรงอยู่เถิด อย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมนาค'
จากนั้นเทวดาได้กล่าวอีกว่า พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง 15 ข้อนี้ เพราะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนักของข้าพเจ้านี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลที่จะตอบคำถามนี้ได้ถูกต้อง เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น ท่านพระกุมารกัสสปะจึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้กราบทูลเรื่องนั้นและทูลถามว่า
1. อะไรหนอ ชื่อว่า จอมปลวก
2. อย่างไร ชื่อว่า การพ่นควันในเวลากลางคืน
3. อย่างไร ชื่อว่า การลุกโพลงในเวลากลางวัน
4. ใคร ชื่อว่า พราหมณ์
5. ใคร ชื่อว่า สุเมธ
6. อะไร ชื่อว่า ศัสตรา
7. อย่างไร ชื่อว่า การขุด
8. อะไร ชื่อว่า ลิ่มสลัก
9. อะไร ชื่อว่า อึ่ง
10. อะไร ชื่อว่า ทางสองแพร่ง
11. อะไร ชื่อว่า หม้อกรองน้ำด่าง
12. อะไร ชื่อว่า เต่า
13. อะไร ชื่อว่า เขียงหั่นเนื้อ
14. อะไร ชื่อว่า ชิ้นเนื้อ
15. อะไร ชื่อว่า นาค
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
1. คำว่า จอมปลวก เป็นชื่อของ "ร่างกาย" นี้ ซึ่งไม่เที่ยง จะต้องแตกสลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
2. การพ่นควันในเวลากลางคืน คือ "การที่บุคคลทำการงานในเวลากลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลากลางคืน" หมายถึง การคิดวิตกกังวลใจเรื่องงานต่างๆ
3. การลุกโพลงในเวลากลางวัน คือ "การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อยๆ ในเวลากลางคืนแล้วประกอบการงานในเวลากลางวันด้วยกายและวาจา"
4. คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อของ "ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า"
5. คำว่าสุเมธ เป็นชื่อของ "ภิกษุผู้เป็นเสขะ หรือ ภิกษุที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์"
6. คำว่า ศัสตรา เป็นชื่อของ "ปัญญาอันประเสริฐ"
7. คำว่า จงขุด เป็นชื่อของ "การปรารภความเพียร"
8. คำว่า ลิ่มสลัก เป็นชื่อแห่ง "อวิชชา" ซึ่งอธิบายว่าสุเมธเธอจงใช้ศัสตราคือปัญญายกลิ่มสลักขึ้น หมายถึง "จงใช้ปัญญาละอวิชชาเสีย"
9. คำว่า อึ่ง เป็นชื่อของ "ความคับแค้นใจ" เนื่องมาจากความโกรธ ซึ่งอธิบายว่าสุเมธเธอจงใช้ศัสตราคือปัญญานำอึ่งขึ้นมา คือ "จงละความคับแค้นใจเนื่องจากความโกรธ"
10. คำว่า ทางสองแพร่ง เป็นชื่อแห่ง "วิจิกิจฉาหรือความลังเลสงสัย" ไม่รู้ว่าตัดสินใจเลือกทางไหนดี ความสงสัยจึงชื่อว่าทางสองแพร่ง และความ งสัยนั้นสามารถละได้ด้วยปัญญาคือความรู้
11. คำว่า หม้อกรองน้ำด่าง เป็นชื่อแห่ง "นิวรณ์ 5 ประการ" คือ
กามฉันทนิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความพอใจในกาม
พยาบาทนิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความขัดเคืองใจ
ถีนมิทธนิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความหดหู่และเซื่องซึม
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ
วิจิกิจฉานิวรณ์ สิ่งที่กั้นจิตคือ ความลังเลสงสัย
ซึ่งอธิบายได้ว่าสุเมธ เธอจงใช้ศั ตรา คือ ปัญญา ยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา คือ "จงละนิวรณ์ 5 ประการ จงขุดมันเสีย"
12. คำว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการ คือ
รูปูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือรูป
เวทนูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือเวทนา
สัญญูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือสัญญา
สังขารูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือสังขาร
วิญญาณูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
ซึ่งอธิบายได้ว่า "สุเมธ เธอจงใช้ศั ตราคือ ปัญญา นำเต่าขึ้นมา คือ "จงละ อุปาทานขันธ์ 5 ประการ จงขุดมันเสีย"
13. คำว่า เขียงหั่นเนื้อ เป็นชื่อแห่ง "กามคุณ 5 ประการ" คือ รูปที่เห็นด้วยตา ที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เสียงที่รับรู้ด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่รับรู้ด้วยจมูก ฯลฯ รส ที่รับรู้ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่รับรู้ด้วยกาย ฯลฯ กามคุณ 5 นี้จึงเป็นดุจเขียงสำหรับหั่นผู้ที่ไปยึดติดกับมันให้พินาศไปจากคุณความดี กามคุณ 5 นี้สามารถละได้ด้วยการใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเช่นกัน
14. คำว่า ชิ้นเนื้อ เป็นชื่อแห่ง "นันทิราคะคือความกำหนัด" เมื่อกามคุณ 5 ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก เป็นต้น หากเราเกิดความกำหนัดยินดีเข้ากับกามคุณนั้น ตัวเราก็ไม่ต่างกับชิ้นเนื้อที่พร้อมจะถูกหั่นบนเขียง คือ กามคุณ 5 นั้น ความกำหนัดนี้สามารถละได้ด้วยการใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเช่นกัน
15. คำว่า นาค เป็นชื่อของ "พระอรหันต์" ซึ่งอธิบายได้ว่า เมื่อภิกษุผู้เสขะหรือผู้ที่ยังไม่หมดกิเลสสามารถละนันทิราคะได้แล้ว เมื่อนั้นก็จะได้เป็นพระอรหันต์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
จากเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการอุปมาศัพท์ธรรมะที่ลึกซึ้งด้วยภาษาพื้นบ้านที่คนรู้จักกันทั่วไป แม้บางศัพท์นักศึกษาอาจไม่ค่อยเข้าใจเพราะพื้นฐานความรู้ต่างกับพระกุมารกัสสปะมาก แต่โดยภาพรวมแล้วจะชี้ให้เห็นว่า ลักษณะการสอนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธสาวกเป็นแบบนี้คือ อุปมาสิ่งที่ยากด้วยภาษาพื้นบ้าน
4. แสดงธรรมโดยใช้สื่อการสอนประกอบ
ภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า "ภาพ 1 ภาพ แทนคำพูดได้ 1 พันคำ" ภาษิตนี้เป็นจริงอย่างไม่ต้อง งสัย นักศึกษาทุกท่านก็คงเข้าใจกันดี หากเอาภาพให้เขาดู ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเขาก็รู้แล้วว่าสิ่งที่เราต้องการสื่อให้เขารู้คืออะไร แต่ถ้าต้องอธิบายด้วยคำพูดล้วนๆ โดยไม่มีภาพหรือไม่มีสื่อประกอบต้องใช้เวลานานกว่านั้นมาก และโอกาสที่ผู้ฟังจะเข้าใจไม่ตรงกันนั้นมีมากเพราะคำพูดแต่ละคำสามารถตีความได้หลากหลาย แต่ถ้าใช้ภาพใช้สื่อประกอบจะประจักษ์ชัดแก่สายตาของทุกคน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงตระหนักถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จากหลักฐานในพระไตรปิฎกพบอยู่บ่อยครั้งว่า พระพุทธองค์ทรงใช้สื่อต่างๆ ประกอบการเทศน์ควบคู่ไปกับการใช้อุปมาด้วย แม้จะไม่ได้ใช้ทุกครั้งก็ตามทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่จะอำนวย โดยสื่อและอุปกรณ์ที่ทรงใช้นั้นส่วนมากเป็นสิ่งใกล้ตัว เช่น เมื่อเสด็จจาริกไปเจอ "กองไฟ" อยู่ข้างทางก็ทรงใช้กองไฟนั้นเป็นสื่อการสอนบ้าง ทรงใช้ "ขอนไม้" ที่ลอยมาตามน้ำบ้าง ใช้ "กลุ่มฟองน้ำ" บ้าง ใช้ "น้ำล้างพระบาท" บ้าง ใช้ "ก้อนหิน" เป็นสื่อการ อนบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะได้ยก ตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. ใช้ "ขอนไม้" เป็นสื่อการแสดงธรรม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝังแม่น้ำคงคา เขตกรุงโกสัมพี ทรงทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่"
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เห็น พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝังนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝังโน้นไม่จมกลางแม่น้ำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ไม่ผุภายใน ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ เพราะกระแสน้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร
ถ้าเธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝังนี้ ไม่เข้าไปใกล้ฝังโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้นไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เธอทั้งหลายก็จักน้อมไปสู่นิพพาน เพราะสัมมาทิฏฐิย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า "อะไรชื่อว่าฝังนี้ อะไรชื่อว่าฝังโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไรชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไรการถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
คำว่า "ฝังนี้" เป็นชื่อของ "อายตนะภายใน 6" คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
คำว่า "ฝังโน้น" เป็นชื่อของ "อายตนะภายนอก 6" คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ
คำว่า "การจมในท่ามกลาง" เป็นชื่อของ "นันทิราคะคือความกำหนัดด้วยความยินดี"
คำว่า "การเกยตื้น" เป็นชื่อของ "การถือตัว"
"การถูกมนุษย์จับไว้" คือ "ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจก็ช่วยทำกิจนั้นด้วยตนเอง"
"การถูกอมนุษย์เข้าสิง" คือ "ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์โดยปรารถนาว่า ด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง"
"การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้" เป็นชื่อของ "กามคุณ 5" คือ รูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส
"ความเน่าภายใน" คือ "ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะเป็นเหมือนหยากเยื่อ"
ในขณะนั้น นายนันทโคบาลยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เขาได้กราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักไม่เข้ามาใกล้ฝังนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝังโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จักไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "นันทะถ้าอย่างนั้น เธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด"
เมื่อนายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเขาก็ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ต่อมาไม่นานท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา
ตัวอย่างนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ขอนไม้เป็นสื่อในการสอนธรรม ทำให้ภิกษุทั้งหลายตรองตามธรรมที่พระองค์สอนได้ชัดเจน เห็นภาพอย่างแจ่มชัด แม้แต่คนเลี้ยงโคซึ่งปกติมีความรู้น้อยยังเข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้งได้สามารถสรุปใจความสำคัญของธรรมะที่พระพุทธองค์สอนได้ เพราะการสอนโดยใช้สื่อเปรียบเทียบของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
2. ใช้ "น้ำล้างพระบาท" เป็นสื่อการแสดงธรรม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปหาพระราหุล เมื่อพระราหุลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระพุทธองค์ประทับนั่งบนพุทธอาสน์แล้วทรงล้างพระบาท
พระผู้มีพระภาคทรงเหลือน้ำหน่อยหนึ่งไว้ในภาชนะน้ำแล้วรับสั่งเรียกพระราหุลมาตรัสว่า "ราหุล เธอเห็นน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งในภาชนะนี้ไหม"
ร.(พระราหุล) "เห็น พระพุทธเจ้าข้า"
ภ.(พระผู้มีพระภาค) "ราหุล ความเป็น มณะของบุคคลที่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำนี้" จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งทิ้ง แล้วตรัสกับท่านพระราหุลว่า "ราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเททิ้งไหม"
ร. "เห็น พระพุทธเจ้าข้า"
ภ. "ราหุล ความเป็น มณะของบุคคลที่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำนี้"จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับพระราหุลว่า "ราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้ไหม"
ร. "เห็น พระพุทธเจ้าข้า"
ภ. "ราหุล ความเป็น มณะของบุคคลที่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ก็เหมือนภาชนะน้ำที่คว่ำนี้"
จากเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบความเป็นสมณะด้วยปริมาณน้ำในภาชนะกล่าวคือ หากน้ำมีมากก็แสดงว่าความเป็นสมณะมีมาก แต่ถ้าน้ำมีน้อยแสดงว่าความเป็นสมณะมีน้อย ซึ่งทำให้พระราหุลเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้งนั้นได้ง่ายขึ้น และการ อนโดยใช้สื่อนี้ ยังจะทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้ง และประทับในใจได้มากกว่าการพูดโดยทั่วไป
3. ใช้ "ก้อนหิน" เป็นสื่อการแสดงธรรม
ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า คนพาลผู้ประพฤติกายทุจริตประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาตและ นรกความทุกข์ในโลกนี้กับความทุกข์ในนรกนั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้"
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า "พระองค์จะทรงอุปมาได้หรือไม่ พระเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ได้ ภิกษุ" แล้วตรัสว่า "เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรได้แล้วจึงแสดงแก่พระราชาว่า "ผู้นี้เป็นโจร ขอพระองค์จงทรงลงพระอาญาเถิด"
พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า "ท่านจงประหารบุรุษนี้ด้วยหอก 100 เล่ม ในเวลาเช้า"ราชบุรุษก็ประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก 100 เล่มในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยง พระราชาทรงถามว่า "บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง" ราชบุรุษกราบทูลว่า "เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า"
พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ราชบุรุษประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอกอีก 100 เล่ม ในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงถามอีกว่า "บุรุษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง" ราชบุรุษกราบทูลว่า "เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า" พระราชาจึงมีพระกระแ รับสั่งให้ราชบุรุษประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอกอีก 100 เล่มในเวลาเย็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก 300 เล่ม พึงเสวยทุกข์บ้างไหม" ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "บุรุษนั้นแม้ถูกประหารด้วยหอก 1 เล่ม ยังได้เสวยทุกข์เป็นอันมาก ไม่จำต้องกล่าวถึงการถูกประหารด้วยหอกตั้ง 300 เล่ม พระพุทธเจ้าข้า"
จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงหยิบ "ก้อนหิน" ขนาดเท่าฝ่ามือขึ้นมา แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก้อนหินขนาดเท่าฝ่ามือนี้กับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน"
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ก้อนหินนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่อาจเทียบกันได้ พระพุทธเจ้าข้า"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก 300 เล่มนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทุกข์แห่งนรกแล้ว ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่อาจเทียบกันได้
มหานรกนั้นมี 4 มุม 4 ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ 100 โยชน์ทุกเมื่อ ภิกษุทั้งหลายความทุกข์ในโลกนี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันด้วยการบอกไม่ได้
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา