ปธาน

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

ปธาน

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ปธาน , สังวรปธาน , ปหานปธาน , ภาวนาปธาน , อนุรักขนาปธาน

       ปธาน คือ ความเพียรพยายามในทางที่ชอบ มี 4 อย่าง ได้แก่

    1. สังวรปธาน หมายถึง ความสำรวมระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นนั้น คือการสำรวมระวังให้อินทรีย์ทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย หลงมัวเมา จนไม่กล้าทำความชั่วได้

    2. ปหานปธาน หมายถึง ความตั้งใจละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นไปสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ ที่ติดอยู่ในใจ พยายาม ลด ละ เลิก ให้หมดไปจากสันดาน

      3. ภาวนาปธาน หมายถึง ความตั้งใจทำสิ่งที่เป็นความดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป อันได้แก่ ศีลสมาธิ ปัญญา

     4. อนุรักขนาปธาน หมายถึง ความเพียรตั้งใจรักษาบุญกุศลความดีงามที่มีอยู่แล้วในตนไม่ให้เสื่อมไป หมั่นรักษาความดีงามนั้นให้ตั้งมั่นอยู่ในจิตใจตลอดไป

       สรุป ปธาน 4 ข้อนี้ เป็นความเพียรชอบเพื่อประคับประครองตนไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท ให้ดำรงตนอยู่ในเส้นทางแห่งความดี


1. ประสบความสำเร็จเพราะความเพียร
      วันเวลาที่ผ่านไป ไม่ผ่านไปเปล่า นำเอาความชรามาสู่เรา ชีวิตมนุษย์มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็เสื่อมสลายไปสิ่งต่าง ๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์สิ่งของ เช่น บุตร ธิดา ทรัพย์สินเงินทอง ญาติพี่น้อง ก็ไม่อาจที่จะติดตามตัวเราไปสู่ปรโลกได้ มีแต่กุศลผลบุญที่เราสั่งสมไว้ดีแล้วเท่านั้น ที่จะเป็นดังเงาติดตามตัวเราไป การที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ มีโอกาสพบพระพุทธศาสนาได้เรียนรู้หลักคำสอน รู้จักหนทางของความหลุดพ้น และวิธีปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น จึงควรต้องตระหนัก และนำเอาหลักของชีวิตนั้นมาหมั่นประพฤติปฏิบัติด้วยความเพียรพยายาม ม่ำเสมอเพื่อให้เข้าถึงที่ระลึกภายใน คือ พระรัตนตรัยให้ได้

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อสมัยยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์ได้เคยกล่าวคาถาไว้ใน คชกุมภชาดก ว่า

     "ในเวลาที่จะต้องทำช้าๆ ผู้ใดรีบด่วนทำเสียเร็ว แต่ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำกลับทำช้า ๆ ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเอง เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งแหลกละเอียดไปฉะนั้นส่วนบุคคลใด ในเวลาที่จะต้องทำช้าๆ ก็ทำอย่างช้าๆ และในเวลาที่จะต้องรีบทำ ก็รีบด่วนทำทันที ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือนดวงจันทร์ส่องสว่างอยู่ในเวลากลางคืน ฉะนั้น"

      กาลัญญู คือ ความเป็นผู้รู้จักกาล เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของนักเรียน นักศึกษานักทำงาน นักบริหาร หรือผู้หวังความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เร่งรีบในกาลที่ควรรีบ ถึงคราวที่ต้องทำช้า ๆ ก็ต้องใจเย็น ๆสิ่งที่ควรทำก็คือ ความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่การศึกษาเล่าเรียนหรือหน้าที่การงาน ที่อยู่บนพื้นฐานของกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ซึ่งเป็นภารกิจที่ควรทำ แม้เป็นนักศึกษาก็ต้องบริหารเวลาให้เป็น ภารกิจไหนต้องทำก่อน รายงานชิ้นไหนต้องรีบทำให้สำเร็จ ถ้าหากเรารู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ จะนำความสุขและความสำเร็จมาสู่ตัวเราได้

      ส่วนผู้ที่เกียจคร้านตามใจกิเลสในตัว เห็นแก่ความสุขชั่วคราว โดยไม่คำนึงถึงอนาคตที่สดใสชีวิตก็มีแต่จะพบกับความเสื่อมลงไปทุกวัน เหมือนซากต้นไม้ที่ไม่สามารถให้ร่มเงาแก่ผู้ที่มาพักอาศัยได้ เป็นไม้ไร้ชีวิต รังแต่จะถูกโค่นหักลง หรือมีชีวิตไปวันหนึ่งๆ เหมือนสวะลอยน้ำ หาสาระแก่นสารของชีวิตไม่ได้

     เหมือนในสมัยพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี อุปนิสัยดั้งเดิมเป็นผู้เกียจคร้าน พอบวชเข้ามาแล้ว ก็เหินห่างจากการศึกษาพระธรรมวินัย ไม่ใส่ใจในการทำสมาธิภาวนา และข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นกรณียกิจของสงฆ์ พอละเลยการประพฤติปฏิบัติธรรมไม่สำรวมอินทรีย์ ปล่อยใจให้เลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปวันหนึ่งๆ ทำให้ถูกนิวรณ์ทั้ง 5 ครอบงำ จิตฟุ้งซ่าน ซัดส่ายคิดไปในเรื่องไร้สาระ ไม่มีสมณสัญญา แม้มีผ้าเหลืองครองกาย แต่ใจกลับนึกถึงชีวิตที่เคยเที่ยวเตร่ นุก นานเาในทางโลก และเกิดวิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในชีวิตของการมาเป็นนักบวชว่า จะอยู่หรือลาสิกขาไปเป็นฆราวา ดี แทนที่จะคิดเรื่องทำอย่างไรถึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ ทำพระนิพพานให้แจ้ง กลับคิดหาทางที่จะลาสิกขาไปครองเรือนตามเดิมสมณธรรมจึงไม่เจริญ ทั้งนี้เพราะความเกียจคร้าน เลยทำให้หมดโอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

     เพื่อนสหธรรมิกเห็นอย่างนั้น ก็นั่งสนทนากันว่า "อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้เกียจคร้านเหลือเกิน ขนาดตั้งใจบวชอุทิศชีวิตในพระศา นา ซึ่งเป็นหนทางของความหลุดพ้นยังเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ยอมประพฤติปฏิบัติธรรมให้สมกับเป็นพระภิกษุสาวกของพระบรมศาสดาเลย" ในขณะเดียวกัน พระบรมศาสดาเสด็จมาและตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร" พระภิกษุทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาตรัสว่า "มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็เป็นผู้เกียจคร้านเหมือนกัน" จากนั้นพระองค์จึงทรงเล่า
เรื่องในอดีตให้ฟังว่า

     ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตครองราชย์อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นอำมาตย์แก้วของพระราชา อำมาตย์แก้วหมายถึงผู้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์มีปัญญามาก เป็นประดุจแก้วสารพัดนึก จึงได้นามว่า มหาอำมาตย์แก้ว พระเจ้าพาราณสีเป็นผู้ที่มีพระอัธยาศัยเกียจคร้าน พระโพธิสัตว์ก็คิดว่า "พระราชาของเราทรงเกียจคร้านเหลือเกิน เราจะทำให้พระองค์รู้สึกพระองค์ให้ได้ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์" จึงเสาะหาข้อเปรียบเทียบเพื่อที่จะทำให้พระราชาได้คิด

     อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จพระราชอุทยานพร้อมด้วยอำมาตย์ข้าราชบริพาร ในขณะที่กำลังเสด็จประพาสอุทยาน ก็ทอดพระเนตรเห็นตัวกระพองช้างตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นสัตว์เกียจคร้านเชื่องช้า แม้จะเดินไปตลอดทั้งวันก็ไปได้ประมาณนิ้วหนึ่งหรือสองนิ้ว พอพระราชาทอดพระเนตรเห็นจึงตรัสถามว่า "สัตว์นั้นชื่ออะไร" มหาอำมาตย์กราบทูลว่า "ข้าแต่พระมหาราชเจ้าสัตว์นั้นชื่อ คชกุมภะ ตัวกระพองช้างสัตว์ประเภทนี้เฉื่อยช้ายิ่งนัก แม้จะเดินตลอดทั้งวัน ก็ไปได้เพียงไม่กี่นิ้ว" พระองค์จึงตรัสถามเจ้าสัตว์ตัวนั้นว่า "ดูก่อนคชกุมภะพวกเจ้าเดินช้าเหลือเกิน เมื่อไฟป่าเกิดขึ้นในป่านี้ พวกเจ้าจะทำอย่างไรกัน"

     คชกุมภะก็ตอบไปว่า "โพรงไม้และช่องแผ่นดินมีอยู่เยอะแยะ ถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ถึงโพรงไม้ หรือช่องแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้องตาย" มหาอำมาตย์แก้วกราบทูลเสริมว่า "ในเวลาที่จะต้องทำช้าๆ ผู้ใดรีบด่วนทำเสียเร็ว แต่ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำ กลับทำช้า ๆ ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเองส่วนบุคคลใด ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ก็ทำอย่างช้า ๆ ในเวลาที่จะต้องรีบทำ ก็รีบด่วนทำทันที ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือนดวงจันทร์กำจัดความมืดเต็มดวงอยู่ ฉะนั้น"

   อำมาตย์แก้วก็สอนพระราชาต่อไปว่า "พึงรีบทำกิจให้เสร็จล่วงหน้า อย่าให้กิจมาบีบรัดตัวในเวลาที่ทำภารกิจ ผู้ที่รีบทำกิจให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้ว ย่อมเป็นผู้เบาใจ ในภายหลัง ไม่ควรเห็นแก่นอนมากเกินไป ควรงดเว้นการดื่มสุราเมรัยจนละเลยภารกิจบ้านเมืองบ้านเมืองย่อมเจริญเพราะมีผู้นำปกครองแผ่นดินโดยธรรม"

       พอพระราชาได้สดับถ้อยคำของพระโพธิสัตว์ ก็เข้าใจว่าอำมาตย์แก้วต้องการ อนพระองค์ปรารถนาที่จะให้พระองค์เป็นคนขยันและเอาใจใส่ในการบริหารบ้านเมือง และทรงคิดได้อีกว่าโทษของความเกียจคร้านมีแต่นำความทุกข์มาให้ ถ้าหากผู้นำไม่ประพฤติธรรม ปวงประชาก็จะไม่ประพฤติธรรม พลอยเป็นคนเกียจคร้านตามไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้น ปัญหาต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นมากมายจนแก้ไขไม่ทัน ตั้งแต่บัดนั้นมา พระราชาก็มิได้ทรงเกียจคร้าน กลับขยันหมั่นเพียรในการประกอบพระราชกรณียกิจ ปกครองประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ทำให้อาณาประชาราษฎร์อยู่กันอย่างมีความสุข

      จะเห็นได้ว่า ถ้าหากรู้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดควรทำ ก็ต้องรีบฉวยโอกาสนั้น ทำให้สำเร็จอย่าได้รอช้า ต้อง "ตุริตตุริตํ สีฆสสีฆํ คือ ด่วน ๆ เร็ว ๆ" ให้ระแวงภัยที่ควรระแวง และระวังภัยที่จะเกิดขึ้น ถ้ามัวเกียจคร้านปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ บุญบารมีก็ไม่เกิดขึ้นโดยเฉพาะสิ่งที่นักศึกษาต้องเร่งรีบทำให้เร็ว และทำให้ได้ดีที่สุด นอกจากตั้งใจเล่าเรียนให้สำเร็จแล้ว ก็ไม่มีอะไรเกินกว่าการสั่งสมบุญบารมี เพราะบุญบารมีจะเป็นเครื่องคอยอุปถัมภ์ส่งเสริมชีวิตให้สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ทั้งโลกียทรัพย์และอริยทรัพย์

     เราเกิดมาชาตินี้ นับว่าได้โอกาสที่ดีที่สุด คือการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา มีเนื้อนาบุญ และมีผู้คอยชี้แนะหนทางไปสู่สวรรค์และนิพพาน เพราะฉะนั้นให้ขยันสร้างบารมี อย่าเกียจคร้าน อย่ามองข้ามหรือทำเป็นมองไม่เห็นความสำคัญของการสร้างบุญบารมี ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่าเอาวัย หรือความเหนื่อยอ่อนล้ามาเป็นข้ออ้าง เอาภารกิจการเรียนหรือการงานมาเป็นข้อแม้ ทำให้ไม่ขวนขวายในการทำความดีอย่าขี้เกียจ ให้ขยันกันเถอะ บุญบารมีจะได้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ จะเกิดไปกี่ภพกี่ชาติสมบัติ
จักรพรรดิตักไม่พร่องจะได้บังเกิดขึ้น เอาไว้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการสร้างบารมี

     เมื่อสมบัติภายนอกมีเพียงพอ จะได้มีเวลานั่งหลับตาทำภาวนาได้เต็มที่ เพื่อแสวงหาสมบัติอันล้าค่าภายใน คือพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นรัตนะอันประเสริฐ ล้าเลิศกว่ารัตนะใด ๆ ในโลกเมื่อนั้นจะได้ทำงานที่แท้จริง คืองานขจัดกิเลสอาสวะ ไปสู่อายตนนิพพาน ก่อนที่สังขารร่างกายจะร่วงโรย ก็ให้รีบสร้างความดี ทำทาน รักษาศีล ประพฤติธรรมให้เต็มที่ ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา ที่มาแย่งเอาความแข็งแรงของเราไปทุกวัน ทำให้เราแก่ลงไปเรื่อย ๆ ชีวิตก็ใกล้เข้าไปสู่ความตายทุกขณะ เหมือนไม้ใกล้ฝังที่ถูกคลื่นซัดเข้าใส่เป็นประจำ รอวันโค่นล้มอย่างเดียวให้หมั่นทำใจหยุดนิ่งทุก ๆ วัน ทำให้ได้ตลอดเวลาในทุกอิริยาบถ แล้วนักศึกษาจะสมปรารถนาได้เข้าถึงธรรมอย่างสะดวกสบายอย่างง่ายดาย

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.036810350418091 Mins