พระอริยบุคคล
พระอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐสูงสุด เพราะได้บรรลุอริยผล จำแนกตามระดับของการละกิเลส ดังนี้
1. พระโสดาบัน แปลว่า ผู้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน มี 3 จำพวก คือ เอกพีชี โกลังโกละ และสัตตักขัตตุปรมะ พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ 3 คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามา ยังเป็นพระเสขะอยู่
2. พระสกทาคามี แปลว่า ผู้จะเกิดอีกครั้งหนึ่ง คือ พระสกทาคามีนั้น เมื่อตายจะไปเกิดในเทวโลก และกลับมาเกิดในมนุษย์โลกอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านละสังโยชน์ 3 ได้เหมือนพระโสดาบัน และสามารถลดความรุนแรงของโลภะ โทสะ โมหะ ให้ทุเลาเบาบางลงได้
3. พระอนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาสู่โลกนี้อีก หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวา และจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในพรหมโลกนั่นเอง ท่านละสังโยชน์ได้ 5 คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามา กามราค และปฏิฆะ
4. พระอรหันต์ แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลสเป็นผู้หักกำแห่งสังสารวัฏ เป็นผู้ควรแก่การไหว้ควรแก่การบูชาและควรแก่การเคารพสักการะของชนทั้งหลาย ท่านละสังโยชน์ได้ทั้ง 10 อย่าง
1. ภูมิของพระโสดาบัน
ภูมิของพระโสดาบัน เป็นระดับการบรรลุธรรมขั้นต้นของพระอริยเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในโอคธสูตร ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม 4 ประการเป็นไฉนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า"
เพราะฉะนั้น เส้นทางชีวิตสู่เป้าหมายหลัก คือ อายนนิพพานของพระโ ดาบันจึงชัดเจนมาก ท่านจะเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอย่างมากอีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน
ผู้ที่สามารถขจัดกิเลสออกจากใจได้ จนถึงขั้นเป็นพระโสดาบัน นับว่าเป็นผู้มีดวงใจผ่องแผ้วได้รับความเบาใจทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีศักดานุภาพที่ มบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ เนื่องจากท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนตรัยภายในสามารถปิดประตูอบายได้ นิท ถ้าเป็นปุถุชนที่แม้ดำรงตำแหน่งเป็นถึงพระเจ้าจักรพรรดิ ถึงกระนั้นเมื่อละโลกไปแล้ว ท่านเหล่านี้ก็ยังเป็นผู้ที่มีอนาคตไม่แน่นอน ยังเป็นอนิยตภูมิ ยังมีโอกาสวนเวียนเกิดในอบายภูมิได้อีก คือ อาจเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานใน
ชาติใดชาติหนึ่งก็ได้ อย่างนี้จึงชื่อว่ายังไม่ปลอดภัย ยังไม่พ้นทุกข์ในอบาย ยังปิดประตูอบายให้กับตัวเองไม่ได้ แต่พระโสดาบันบุคคลท่านมีชีวิตในอนาคตที่ปลอดภัย จะมีแต่สุคติภูมิเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเป็นที่ไป
เหมือนดังที่พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติเป็นอิ ราธิบดีในทวีปทั้ง 4 เมื่อเสด็จ วรรคตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือได้ไปเป็นสหายของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติ แวดล้อมไปด้วยหมู่นางเทพอัปสรเอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง 5 อันเป็นทิพย์ ณ สวนนันทวันในดาวดึงส์พิภพ แม้ท้าวเธอจะประกอบด้วยธรรม 4 ประการก็จริง ถึงอย่างนั้น ท้าวเธอก็ยังไม่พ้นจากนรก ยังไม่พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน ยังไม่พ้นจากเปตวิสัย คือ ยังไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเยียวยาอัตภาพอยู่ ด้วยคำข้าวที่แสวงหามาได้ด้วยปลีแข้งนุ่งห่มผ้าที่เศร้าหมองและประกอบด้วยธรรม 4 ประการแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพ้นจากนรกย่อมพ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน ย่อมพ้นจากเปตวิสัย คือ ย่อมพ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม 4 ประการ คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบไปด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทที่วิญูชน สรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ระหว่างการได้ทวีปทั้ง 4 กับการได้ธรรม 4 ประการนี้ การได้ทวีปทั้ง 4 ย่อมไม่มีคุณค่าถึงเสี้ยวที่ 16 ของการได้ธรรม 4 ประการนี้เลย ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่าเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า"
ฉะนั้น อย่าประมาทในการปฏิบัติธรรม เพราะถ้าเข้าถึงพระธรรมกายได้เมื่อไร ก็สามารถปิดประตูอบายภูมิได้เมื่อนั้น ดังนั้นควรหมั่นฝึกใจให้หยุดให้นิ่ง จนกระทั่งเข้าถึงที่พึ่งภายในคือ พระธรรมกาย
ความประเสริฐของพระโสดาบัน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกายธรรมบท ว่า
"โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการไปสู่สวรรค์ และความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง"
ความประเสริฐของชีวิตวัดกันที่ความสูงส่งของจิตใจ จิตใจที่สูงส่ง หมายถึงใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ถูกยกระดับให้สูงขึ้นเหนือโลก เหนือสังสารวัฏอันยาวไกล ได้บรรลุธรรมาภิสมัย เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในซึ่งเป็นแก่นแท้ของชีวิตนั่นคือได้บรรลุธรรมกายกระทั่งได้เป็นพระอริยเจ้า ดังพุทธวจนะกล่าวอ้าง เพราะเมื่อใครก็ตามสามารถทำใจให้หยุดนิ่ง จนเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมกายโสดาบัน ตัดสังโยชน์เบื้องต่า 3 อย่างได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว จะเป็นผู้ไม่ตกต่าตลอดไป
พระโสดาบันนอกจากจะไม่ตกต่ำ คือ ไม่ต้องไปเกิดในอบาย เพราะเป็นผู้ปิดประตูอบายได้อย่างเด็ดขาด ที่น่าปลื้มใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ถ้าไม่ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะมี
คติเที่ยงแท้ที่จะไปอุบัติเป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ รุ่งเรืองไปด้วยรัศมี มากไปด้วยบุญญาธิการประเสริฐกว่าเทวดาสามัญธรรมดา ได้อธิปไตยเสวยทิพยสมบัติเป็นเวลายาวนานมาก
ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งตั้งหน้าบำเพ็ญสมณธรรมจนได้บรรลุฌานสมาบัติ ภิกษุรูปนี้มีนามปรากฏว่า ติสสะ ต่อมาไม่นานท่านได้มรณภาพลงด้วยโรคประจำตัวแล้วไปอุบัติเป็นพรหมผู้วิเศษ มีรัศมีรุ่งเรือง ถิตอยู่ที่พรหมวิมานชั้นมหาพรหมในพรหมโลกท่านติ มหาพรหมผู้นี้ เป็นผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าพรหมด้วยกันและยังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของเหล่าทวยเทพใน วรรค์ทั้ง 6 ชั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยดีงาม และได้เที่ยวทำความรู้จักกับบรรดาพรหมและเทวดาทั้งหลายอยู่
เป็นประจำ
วันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเลิศในด้านมีฤทธิ์ เหาะขึ้นไปสำรวจดูสวรรค์ชั้นต่าง ๆ แล้วก็ใช้ฤทธานุภาพที่เกิดจากการเจริญอิทธิบาท 4 จนชำนาญเป็นวสี เหาะมุ่งตรงไปยังพรหมวิมานของท่านติ มหาพรหมด้วยกายเนื้อ โดยใช้เวลาเพียงชั่วเหยียดแขนออกและคู้แขนเข้าเท่านั้นเอง ครั้นติ มหาพรหม อดีตติ ภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เห็นท่านพระเถระซึ่งอุตส่าห์มาเยือนถึงพรหมโลกด้วยอริยฤทธิ์เช่นนั้น ก็มีจิตยินดียิ่งนัก จึงทักทายด้วยสุรเสียงอันไพเราะก้องกังวานว่า
"ขอพระเดชพระคุณผู้เป็นที่เคารพบูชาของข้าพเจ้า จงกรุณาเข้ามาเถิด นิมนต์เข้ามาภายในเถิด นิมนต์พระเดชพระคุณจงนั่งลงก่อนเถิด ข้าพเจ้ามีปีติยินดีที่พระเดชพระคุณผู้นิรทุกข์ได้กรุณามาเยี่ยม"
ครั้นสดับคำอาราธนาของท่านติสสมหาพรหมแล้ว พระเถระจึงนั่งลง หลังจากที่ได้สนทนาปราศรัยกันในเรื่องต่าง ๆ พอสมควร พระมหาโมคคัลลานะถามขึ้นว่า "ดูก่อนท่านติสสมหาพรหม ในบรรดาเทวดาที่ท่านรู้จักมากมายนั้น เทวดาชั้นไหนหนอ ที่เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ซึ่งเป็นผู้ไม่ตกต่ำ เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า"
ท่านติสสมหาพรหมตอบว่า "ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ปวงเทพเจ้าที่ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลโสดาบันนั้น ถิตอยู่ที่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาก็มี ชั้นดาวดึงส์ก็มี ชั้นยามาก็มี ชั้นดุสิตก็มี ชั้นนิมมานรดีก็มี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีก็มี เทวดาพระโสดาบันอริยบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า"
พระเถระไต่ถามต่อไปว่า "ท่านติสสมหาพรหม จะมีที่สังเกตรู้ได้อย่างไรว่า เทวดาเหล่าใดเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล และเทวดาเหล่าใดไม่ใช่พระโสดาบันอริยบุคคล"
ท่านติสสมหาพรหม ซึ่งเป็นผู้กว้างขวางในหมู่เทวดาและหมู่พรหมทั้งหลาย ตอบว่า "ข้าแต่พระเดชพระคุณผู้นิรทุกข์ มีที่สังเกตกำหนดหมายได้อย่างเดียว คือ หากทวยเทพเหล่าใดมีใจไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ และไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาเหล่านั้นก็ไม่ใช่เป็นเทวดาโสดาบันอริยบุคคล
ส่วนเทพเหล่าใด เป็นผู้มีใจประกอบไปด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ และเป็นผู้ประกอบไปด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจเทพเหล่านั้นพึงทราบได้ว่า เป็นเทพโ ดาบันอริยบุคคล เป็นผู้ไม่ตกต่ำ เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ข้าพเจ้าสังเกตรู้ได้เช่นนี้ พระเดชพระคุณ" พระเถระฟังดังนั้นก็กล่าวอนุโมทนาและชมเชยว่าตอบได้ถูกต้องแล้ว จากนั้นก็อำลามหาพรหม กลับมามนุษยโลกเพื่อบำเพ็ญสมณกิจตามปกติ
นี่เป็นคุณลักษณะพิเศษของเทวดาผู้ได้ชื่อว่าเป็นพระโ ดาบัน แม้ว่าท่านจะละโลกไปแล้วด้วยความสว่างไสวของพระธรรมกายภายใน ถึงจะไปเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ ท่านเหล่านี้ก็ยังมีความเคารพศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยอยู่เสมอ ยังคงรักษาศีลได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์เหมือนเดิม และตลอดการเวียนว่ายตายเกิดของท่าน จะมีเพียงสุคติภูมิเป็นที่ไปอย่างเดียว ซึ่งชีวิตในสังสารวัฏของพระโสดาบันแต่ละท่านอาจสั้นยาวไม่เท่ากันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 เอกพีชีโสดาบัน จะเกิดอีกเพียงชาติเดียว เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อการไปเสวยวิมุตติสุขในอายตนนิพพานมากที่สุด เพราะเมื่อมาเกิดแล้ว ลงมือปฏิบัติธรรมก็จะได้บรรลุอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในบวรพระพุทธศาสนา
ประเภทที่ 2 โกลังโกละ เป็นพระอริยบุคคลที่มีความวิเศษรองลงมา คือ จะมาเกิดอีกเพียง 2-3 ชาติเท่านั้น แล้วจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ประเภทที่ 3 สัตตักขัตตุปรมะ หมายถึง พระโสดาบันผู้จะเวียนว่ายในสังสารวัฏเฉพาะในสุคติภูมิอีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็จะได้บรรลุอรหัตผล ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
การที่พระโสดาบันแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังกล่าวมานี้ เพราะการเจริญวิปัสสนา การสั่งสมบุญบารมี อีกทั้งอินทรีย์ที่ท่านอบรมมาแตกต่างกัน คือ ท่านที่สร้างบารมีมาอย่างแก่กล้าพอมาในภพชาตินี้ เมื่ออินทรีย์ทั้ง 5 อย่าง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ถึงความแก่รอบ สม่ำเสมอกัน ก็สามารถบรรลุมรรคผลได้อย่างรวดเร็ว พระโสดาบันประเภทนี้เป็นเอกพีชี คือเกิดอีกชาติเดียวเท่านั้นก็จะถึงฝังนิพพาน ถ้าสร้างบารมีแบบไปเรื่อย ๆ ก็ช้าลงมาตามลำดับแต่ก็ถือว่าแต่ละประเภทได้กำชัยชนะไว้ในมือแล้ว
มนุษย์ผู้ตั้งใจสั่งสมบุญบารมียังคงต้องเวียนตายเวียนเกิด เพื่อสร้างบารมีอีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน เบื้องปลายอยู่ตรงไหนยากจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทในชีวิตแม้จะเวียนวนก็ให้วนอยู่ในสุคติภูมิอย่างเดียวเท่านั้น คือมนุษย์และเทวโลกสิ่งที่จะรับประกันความปลอดภัยของตัวเราได้ในปัจจุบันก็คือ ต้องทุ่มเทสร้างบุญบารมีให้เต็มที่ เต็มกำลัง และต้องหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกภายในของเราให้ได้
2. ภูมิของพระสกิทาคามี
การได้พบพระแท้ภายใน คือ พระรัตนตรัย นับว่าได้พบกับสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ถือเป็นทัสสนานุตตริยะ คือ การได้เห็นอันประเสริฐ พระแท้ภายในที่เราได้เข้าถึงนี้สามารถปิดประตูอบายภูมิให้กับตัวเราได้ ใจของเราจะสูงส่งอยู่เสมอ และจะเป็นพลวปัจจัยให้เรามีสุคติภูมิเป็นที่ไปอย่างเดียว หากว่าปรารถนาอยากพบพระแท้ภายในซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอุดมมงคล ต้องทำใจให้หยุดนิ่ง หมั่นฝึกฝนอบรมใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ หยุดใจเป็นก็จะเห็นพระแท้ภายในที่เรียกว่า สมณานฺญจ ทสฺสนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การได้เห็นสมณะผู้สงบเป็นมงคลอันสูงสุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในจุลลสีหนาทสูตร ว่า
" กตโม จ ภิกฺขเว ทุติโย สมโณ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ติณฺณํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา ราคโทส โมหานํ ตนุตฺตา สกิทาคามี โหติ กิเทว อิมํ โลกํ อาคนฺตฺวา ทุกฺขสฺสนฺตํ กโรติ อยํ ภิกฺขเว ทุติโย สมโณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะที่ 2 เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้เป็น กิทาคามีเพราะสังโยชน์ 3 สิ้นไป เพราะความที่ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง จะกลับมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือสมณะที่ 2 ในพระศาสนา"
ความเป็นสมณะ หรือเป็นพระแท้ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้วัดกันที่ความสูงส่งของภูมิธรรม คือ วัดกันที่ว่าใครจะสามารถขจัดกิเลสอาสวะให้หลุดล่อนออกจากใจได้มากที่สุด ถ้าหากทำสังโยชน์ 3 คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามา ให้หมดสิ้นออกจากใจได้ และเข้าถึงธรรมกายพระโสดาบัน หน้าตัก 5 วาสูง 5 วา ปรากฏชัดใสแจ่มอยู่ภายในตลอดเวลา ท่านเรียกว่า เป็นพระโสดาบันบุคคล
ถ้าหากฟอกจิตให้ละเอียดหนักเข้า นอกจากสังโยชน์ 3 จะหมดสิ้นไปแล้ว ยังเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมกายพระสกิทาคามี หน้าตัก 10 วาสูง 10 วา สว่างไสวอยู่ภายในตลอดเวลาส่งผลให้เป็นผู้มีราคะ โทสะ และโมหะเบาบางลงไป และจะกลับมาเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ก็จะได้บรรลุกายธรรมอรหัต บุคคลผู้มีใจสูงส่งอย่างนี้ เรียกว่าสมณะที่ 2 คือ พระสกิทาคามีบุคคล
สมณะที่ 2 ในพระพุทธศาสนา คือ เรื่องราวเกี่ยวกับพระสกิทาคามีบุคคล ว่ามีคุณวิเศษอย่างไรบ้าง และต้องฝึกฝนอบรมตนเองอย่างไร จึงจะได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามีโลกุตตรภูมิ ขั้นที่ 2 นี้ มีนามว่าสกิทาคามีโลกุตรภูมิ
ปฏิปทาของท่านผู้ได้บรรลุถึงโลกุตตรภูมิชั้นนี้ ต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานโดยผ่านโคตรภูและโสดาบันโลกุตตรภูมิมาแล้ว มีความปรารถนาที่จะบรรลุมรรคผลในชั้นนี้ จึงมีความเพียรอุตสาหะเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อบุญบารมีที่เคยอบรมสั่งสมไว้มีมากพอ และเมื่ออินทรีย์ทั้ง 5 ถึงภาวะแก่กล้าเป็นอย่างดีแล้ว วิปัสสนาญาณขั้นต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นเรื่อยมาตามลำดับ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป จนถึงสังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าภาวะวิปัสสนาญาณเหล่านี้ จะปรากฏชัดเจนละเอียดแจ่มแจ้งกว่า ภาวญาณในชั้นโสดาบันโลกุตตรภูมิ
ศัพท์และภาษาธรรมะที่ใช้เป็นหัวข้อวิปัสสนาในระดับขั้นต่าง ๆ นั้น อาจเข้าใจยาก เพราะอยู่ในระดับวิปัสสนาภูมิ ภูมิซึ่งต้องเห็นแจ้งด้วยธรรมจักขุ ผู้ที่จะรู้เห็นแจ่มแจ้งจริง ๆ ต้องเข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ก่อน เพราะวิปัสสนาภูมิเริ่มต้นที่เข้าถึงธรรมกายเท่านั้น ถ้าหากปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระธรรมกายโคตรภูเป็นต้นไป ท่านจะใช้คำว่า วิปัสสนา คือ การเห็นแจ้งด้วยธรรมจักขุ รู้แจ้งด้วยญาณทั นะของธรรมกายสามารถพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของสังขารร่างกาย คือ ขันธ์ 5 แล้วรู้แจ้ง แทงตลอดไปถึงอายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท นักศึกษาจะแตกฉานในธรรมะขั้นวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 อย่างนี้ ก็ต่อเมื่อได้เข้าถึงพระธรรมกายแล้วเท่านั้น
ขณะนี้ นักศึกษาได้เริ่มศึกษาทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ศึกษาเพื่อนำไปสู่ปฏิเวธ คือ การรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นโลกุตตรภูมิ พระสกิทาคามีนี้จะเกิดอีกเพียงชาติเดียว ก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งหลักในการอุบัติในภพใหม่ของท่านมีอยู่ 5 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 คือ ท่านที่เมื่อตอนเป็นมนุษย์ก็สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคล ครั้นจุติไปเกิดเป็นเทวดาในเทวโลก หากกลับมาเกิดในมนุษยโลกอีกครั้งหนึ่ง ก็จะบรรลุอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานในมนุษยโลกนี้เอง
ประเภทที่ 2 คือ ท่านที่สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีในมนุษยโลกนี้แล้ว ทำความเพียรต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตผล และดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ในขณะที่อยู่ในมนุษยโลกนี้เอง
ประเภทที่ 3 คือ ท่านที่เป็นพระสกิทาคามีตั้งแต่ตอนยังเป็นมนุษย์ เมื่อจุติเป็นเทวดาก็เจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อจนได้บรรลุอรหัตผลในเทวโลก ไม่ต้องกลับลงมาเป็นมนุษย์อีก
ประเภทที่ 4 คือ เทวดาที่ได้สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลในสวรรค์ แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตผล และดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานในเทวโลกนั้น
ประเภทที่ 5 คือ ท่านที่สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีตอนเป็นเทวดา แต่ครั้นหมดอายุขัยก็จุติมาเกิดในมนุษยโลก แล้วบุญในตัวที่ทำเอาไว้ จะเป็นดวงบุญดวงบารมีที่เต็มเปียม เมื่อตั้งใจปฏิบัติธรรมก็สามารถหยุดใจได้ บรรลุกายธรรมอรหัตเป็นพระอรหันต์ และเข้าพระนิพพานในมนุษยโลกนี้
ตามปกติแล้ว กิเลสอาสวะจะไม่เกิดขึ้นแก่พระสกิทาคามีบ่อย ๆ เหมือนบังเกิดแก่ปุถุชนผู้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงห่าง ๆ เกิดเป็นครั้งเป็นคราว และเมื่อเกิดขึ้นก็ไม่มีโทษร้ายแรง ไม่ถึงกับกระทำความมืดมนอนธการให้กับท่าน ถึงแม้กิเลสต่าง ๆ ซึ่งท่านเรียกว่าสังโยชน์เบื้องสูงจะยังคงอยู่ แต่ก็เบาบางมากเหมือนหมอกจาง ๆ หรือเหมือนแมลงภู่ที่เคล้าคลึงเกสร แต่ไม่เคยย่ายีดอกไม้ให้บอบช้า ฉะนั้น
ในสมัยพุทธกาล ผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามีกันมาก ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกก็มีหลายแห่ง และที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันก็มาก หรือไม่ก็ผ่านไปถึงขั้นบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็มีไม่น้อยสำหรับตัวอย่างของผู้ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามี แล้วไปเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ก็คือ ลูกสาวคนเล็กของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรื่องของนางมีอยู่ว่าลูกสาวคนโตของท่านเศรษฐี ตั้งแต่มหาสุภัททา จูฬสุภัททา ต่างบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เมื่อถึงเวลานางทั้ง องได้แต่งงาน และแยกย้ายครอบครัวไปอยู่กับสามี
ส่วนลูกสาวคนเล็กชื่อสุมนา เมื่อมาทำหน้าที่ช่วยพ่อจัดภัตตาหารถวายพระ นางมีโอกาสฟังธรรมและได้บรรลุธรรมที่สูงกว่าพ่อ ก่อนที่นางจะเสียชีวิต เศรษฐีผู้เป็นพ่อได้มาเยี่ยมนางเรียกท่านเศรษฐีว่า "น้องชาย" เศรษฐีถามว่า "ลูกเพ้อหรือ" นางตอบว่า "ไม่ได้เพ้อน้องชาย" จากนั้นนางก็ละสังขาร ไปบังเกิดเป็นเทพนารีอริยบุคคล เสวยสุขอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตทิ้งเพียงคำว่า "น้องชาย" เป็นปริศนาให้กับท่านเศรษฐี เศรษฐีจึงต้องไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ลูกสาวของท่านเศรษฐีนั้นไม่ได้เพ้อ ถึงแม้จะถูกความเจ็บป่วยรุมเร้า แต่มี ติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่นางเรียกท่านเศรษฐีว่าน้องชาย เพราะท่านเศรษฐีได้บรรลุธรรมเพียงชั้นพระโสดาบัน แต่นางได้เป็นสกิทาคามีอริยบุคคล ในทางธรรมนางจึงมีศักดิ์เป็นพี่
นี่เป็นตัวอย่างของพระสกิทาคามีบุคคล และสกิทาคามีภูมิ การจะได้เป็นพระสกิทาคามีบุคคล ต้องตั้งใจปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกายสกิทาคามี โดยผ่านการเข้าถึงดวงธรรมภายในกายภายในต่าง ๆ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนถึงกายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน และถึงกายธรรมพระสกิทาคามี ละสังโยชน์เบื้องต่าได้ 2 อย่าง มีราคะ ปฏิฆะเบาบาง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการหยุดใจ เพราะฉะนั้นหยุดจึงเป็นตัวสำเร็จให้หมั่นหยุดใจเอาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ให้ได้ตลอดเวลา
3. ภูมิของพระอนาคามี
การที่จะดำรงชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ มีจิตใจสูงส่ง มั่นคงในคุณธรรม ดำเนินอยู่บนเส้นทางของพระอริยเจ้าสร้างบารมีให้เต็มเปียมบริสุทธิ์บริบูรณ์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้มีบุญมีดวงปัญญาบริสุทธิ์ มีดวงใจที่ผ่องใสเท่านั้น จึงจะใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เดินหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ทั้งภัยในปัจจุบันนี้ ภัยในอบายภูมิ ตลอดจนภัยในสังสารวัฏ การที่จะให้พ้นจากภัยเหล่านี้ จะต้องสั่งสมบุญให้มาก ๆ มีความหนักแน่นตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี รักในการประพฤติปฏิบัติธรรม หมั่นนั่งธรรมะทุก ๆ วันอย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว ต้องตั้งใจมั่นอย่างนี้จึงจะพบกับความสุขสวัสดีตลอดไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน จุลลสีหนาทสูตร ว่า
"กตโม จ ภิกฺขเว ตติโย สมโณ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สฺโญชนานํ ปริกฺขยา โอปปาติโก โหติ ตตฺถ ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา อยํ ภิกฺขเว ตติโย สมโณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ 3 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ มีความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่าง เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยบุคคลนี้คือสมณะที่ 3 ในพุทธศาสนา"
เรื่องโลกุตรภูมิขั้นที่ 3 ซึ่งเรียกชื่อว่า อนาคามีโลกุตรภูมิ คือ ภูมิที่พ้นจากโลกของท่านผู้จะไม่กลับมาอีก หมายความว่า ท่านผู้ใดบรรลุถึงภูมินี้แล้ว ท่านผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล ถือว่าเป็น มณะที่ 3 ในพระพุทธศาสนา ท่านจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภูมิคือมนุษยโลกและเทวโลกอีก คำว่า " มณะที่แท้จริง" ในพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง ผู้ที่มีใจสงบหยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่เข้าถึงธรรมกายโคตรภู หลุดพ้นจากความเป็นปุถุชนแต่ยังไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า ถ้าหากทำใจให้สงบหยุดนิ่งเข้าไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงธรรมกายพระโสดาบันเป็นต้นไป กระทั่งไปถึงธรรมกายอรหัต เป็นพระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง นั่นแหละจึงจะเรียกว่าสมณะผู้สงบอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่ดำรงตนอยู่ในฐานะปูชนียบุคคลที่ควรแก่การเคารพสักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
สำหรับนักปฏิบัติธรรมผู้มุ่งปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีนี้ ต้องเป็นผู้มีสมาธิดีเยี่ยม พระอนาคามิมรรคญาณจึงจะปรากฏขึ้นได้ ตามหลักทั่วไป พระอนาคามีบุคคลนี้เมื่ออนาคามิมรรคญาณบังเกิดขึ้นแล้ว อริยมรรคนั้นก็จะประหารอนุสัยกิเลส 2 ตัว คือกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัยให้สิ้นไป กามราคานุสัยได้แก่ความยินดีพอใจในกามคุณต่าง ๆ กามราคะนี้เป็นประดุจภาพมายาในดวงจิต ทำให้สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในภพ อันเป็นวัฏฏะทุกข์ร่ำไป เพราะฉะนั้นพระอนาคามีบุคคลจึงสามารถขจัดอนุสัย คือ กามราคะได้โดยเด็ดขาด เพราะท่านละกามราคะชนิดละเอียดประณีตที่สุดได้
พระอนาคามีอริยบุคคลนี้ นอกจากจะประหารอนุสัยได้อีก 2 ประการดังกล่าวมาแล้วยังสามารถที่จะเข้าถึงอนาคามิผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามจิตปรารถนาอีกด้วยแต่ก็ยังเป็น มาบัติอ่อน ๆ ไม่เข้มข้นเหมือนนิโรธ มาบัติของพระอรหันต์ พระอนาคามีท่านมีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อจุติแล้ว จะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภูมิอีก ท่านจะไปอุบัติเป็นพรหมผู้ทรงคุณวิเศษที่ปัญจสุทธาวา พรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานในพรหมโลกนั้น
มีความรู้ที่น่าศึกษาว่า การที่จะมีโอกาสไปเกิดในพรหมโลกได้นั้น จะต้องปฏิสนธิด้วยอำนาจฌานสมาบัติซึ่งเป็นผลของฌานกุศลสำหรับพระอนาคามีอริยบุคคลที่ได้ฌานลาภี บำเพ็ญสมถกรรมฐาน ได้สำเร็จฌานมาก่อนก็ไม่มีปัญหา คือ ต้องไปเกิดในพรหมโลกได้แน่ ๆ แต่สำหรับพระอนาคามีที่ได้บรรลุอนาคามีบุคคลในฉับพลันทันใด เมื่อท่านถึงกำหนดอายุขัยใกล้จะจุติ จะมีฌานพิเศษชนิดหนึ่งชื่อว่ามรรคสิทธิฌานบังเกิดขึ้น แล้วจะเป็นปัจจัยน้อมนำให้ท่านไปอุบัติในพรหมโลก เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าท่านจะถึงแก่มรณภาพลงโดยไม่ทันรู้ตัว เช่นสมมติว่าในขณะที่กำลังหลับอยู่ หรือมีผู้มาทำร้ายให้ถึงแก่กรรมในทันทีโดยมิได้รู้ตัว มรรคสิทธิฌานก็จะพลันบังเกิดขึ้นแก่ท่านก่อน แล้วธรรมกายพระอนาคามีจะนำไปอุบัติในปัญจสุทธาวาสภูมิ
เมื่อท่านไปอุบัติเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสพรหมโลก ก็จะมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมต่อจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานตามประเภทของพระอนาคามีอริยบุคคล 5 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 อันตราปรินิพพายี คือ พระอนาคามีที่ไปอุบัติในสุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่งแล้ว ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานภายในช่วงอายุครึ่งหนึ่งของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่ท่านสถิตอยู่
ประเภทที่ 2 อุปหัจจปรินิพพายี คือ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติในสุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่งแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสพรหมโลกที่ท่าน ถิตอยู่
ประเภทที่ 3 อสังขารปรินิพพายี คือ พระอนาคามีที่ไปอุบัติในสุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่งแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากแล้วดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน
ประเภทที่ 4 สังขารปรินิพพายี คือ พระอนาคามีอริยบุคคลที่ไปอุบัติในสุทธาวาสพรหมโลกภูมิใดภูมิหนึ่งแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้น โดยต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า แล้วดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน
ประเภทที่ 5 อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี คือ พระอนาคามีที่ไปอุบัติในสุทธาวา พรหมโลกชั้นต่ำที่สุด คือ ชั้นอวิหาสุทธาวา พรหมโลก แล้วจึงจุติไปอุบัติในสุทธาวา พรหมโลกชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือ อตัปปาสุทัสาสุทัสสี และอกนิฏฐะ แล้วจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ทั้ง 5 ประเภทดังกล่าว เป็นประเภทของพระอนาคามี ซึ่งเมื่อท่านละโลกไปแล้ว จะมุ่งสู่ปัญจสุทธาวาสพรหมโลกอย่างเดียว ไม่กลับมาสู่เทวโลกหรือมนุษยโลกอีก แต่หากสมัยใดมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสรู้ในโลก พระอนาคามีอริยบุคคลก็จะหาโอกาสลงมาสู่มนุษยโลก เพื่อที่จะได้เห็น และฟังพระธรรมเทศนาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งเป็นคราวไปเหตุการณ์เช่นนี้ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะพระอนาคามีเหล่านี้ตระหนักดีว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศที่สุดในภพ 3 เป็นครูของมนุษย์และเทวดา รวมไปถึงพรหมและอรูปพรหมทั้งหลาย การที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี ก็เพราะอาศัยการฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ จึงมีความเคารพเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก
นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกุตรภูมิขั้นที่ 3 คือ อนาคามีบุคคล ผู้ได้ชื่อว่าเป็นสมณะที่ 3 ในพระพุทธศาสนา เป็นสมณะแท้หรือพระแท้ คือ ได้เข้าถึงพระธรรมกายนั่นเอง ซึ่งการที่จะเข้าถึงได้นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี ต่อเนื่อง ม่าเสมอ ทำทุกวันและตลอดเวลาแม้ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือทำภารกิจอันใดก็ตาม ให้หมั่นนำใจมาวางไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ฝึกหยุด ฝึกนิ่ง ตรึกถึงดวงแก้ว หรือองค์พระบ่อย ๆ ใจเราจะได้ผูกพันกับพระรัตนตรัย
แม้บางครั้งประสบการณ์ภายในอาจมีขึ้นลง ว่างบ้าง มืดบ้าง เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง ก็ขอให้มีความเพียรที่จะทำ เพราะความสม่ำเสมอเป็นหัวใจของการเข้าถึงธรรม บางทีนักศึกษาอาจจะรู้สึกว่ามันไม่ก้าวหน้า นั่นคือคิดไปเอง แต่ที่จริง มันก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เหมือนการปลูกต้นไม้ เราอาจจะสังเกตไม่ออกว่ามันโตขึ้นวันละกี่เซน แต่ความจริงมันเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆเติบโตขึ้นทุกวัน เผลอประเดี๋ยวเดียว ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ผลิดอกออกผลแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าท้อให้หมั่นทำความเพียรต่อไป ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น ให้ขยันนั่งสมาธิ เพราะภารกิจกับจิตใจต้องไปด้วยกัน และความขยันหมั่นเพียรเท่านั้น จะทำให้เราได้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน
4. ภูมิของพระอรหัต
ชาวโลกทั้งหลายถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในชีวิตปิดบังเอาไว้ ทำให้เกิดการเข่นฆ่า รบราฆ่าฟันกัน โดยอาจจะอ้างว่า ทำไปเพื่อสันติภาพของโลก แต่สงครามทางโลกไม่เคยนำสันติสุขมาให้ เพราะผลร้ายหลังสงครามสงบ คือ ความเจ็บปวดทั้งกายและใจ การทำร้ายกันนำไปสู่ความผูกพยาบาท และจองเวรกันไปข้ามภพข้ามชาติ ชีวิตก็เหินห่างจากทางพระนิพพานออกไปเรื่อย ๆ หากเรามีความรักและความปรารถนาดีต่อกัน ด้วยการเริ่มต้นให้ความรักที่ตัวเราเองก่อน นั่นคือ ทุก ๆ คนต้องทำความดีรักษาศีลให้บริสุทธิ์ หมั่นชำระกาย วาจา ใจของตัวเองให้บริสุทธิ์ผ่องใสอย่างนี้สันติภาพภายในก็จะบังเกิดขึ้นและก่อให้เกิดสันติภาพของโลกอย่างแท้จริง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในจุลลสีหนาทสูตร ว่า
"กตโม จ ภิกฺขเว จตุตฺโถ สมโณ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อาสวานํ ขยา อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปฺญาวิมุตฺตึ ทิฏเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา อุปสมฺปชฺช วิหรติ อยํ ภิกฺขเว จตุตฺโถ สมโณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มณะที่ 4 เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงทิฏฐธรรมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้คือ สมณะที่ 4 ในพระพุทธศาสนา"
โลกุตรภูมิขั้นสูงสุด เรียกว่า อรหัตตโลกุตรภูมิ ผู้ที่ได้บรรลุถึงภูมิธรรมขั้นนี้แล้ว ได้ชื่อว่าพระอรหันต์ เป็นพระอริยบุคคลชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นผู้สมควรแก่การบูชาของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายท่านมีคุณธรรมและคุณวิเศษสามารถขจัดอนุสัยกิเล ที่ยังเหลือติดอยู่ในขันธสันดานอีก 5 อย่างได้ คือ รูปราคานุสัย อรูปราคานุสัย มานานุสัย อุทธัจจานุสัย อวิชชานุสัย ให้หลุดล่อนออกจากใจได้อย่างเด็ดขาดและนอกจากจะสิ้นกิเล เป็น มุจเฉทปหาน ท่านยังสามารถเข้านิโรธสมาบัติเสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามจิตปรารถนาอีกด้วย แต่ที่วิเศษสุดยอด คือ ท่านหมดกิจ เพราะอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เลิกการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป เมื่อหมดอายุขัยแล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน
การที่อวิชชาของพระอริยบุคคล 3 ประเภทแรก คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามียังเหลืออยู่นั้น เพราะสภาวะของมรรคเบื้องต่ำทั้ง 3 คือ โสดาปัตติมรรคสกิทาคามิมรรค และอนาคามิมรรค เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ได้เข้าถึง ทำให้ท่านได้เห็นอริยสัจ 4 กำจัดอวิชชาได้ทุกมรรคก็จริง แต่ว่าการที่มรรคเบื้องต่ำทั้ง 3 เห็นอริยสัจ 4 กำจัดอวิชชาได้นี้ ก็เป็นประดุจเหมือนฟ้าแลบในยามกลางคืน ซึ่งสว่างวาบชั่วครั้งชั่วคราว แต่ยังไม่สามารถขจัดอนุสัยได้หมดสิ้นส่วนอรหัตมรรคเป็นเหมือนกับฟ้าผ่า ตามธรรมดาสายฟ้าที่ผ่าฟาดลงมาอย่าง
รุนแรงนั้นสิ่งที่กีดขวางอยู่จะถูกทำลายหมด เช่นเดียวกัน เมื่อสายฟ้าผ่าคืออรหัตมรรคผ่าฟาดลงมา อนุสัยกิเลสทั้งหลาย รวมถึงอวิชชานุสัย ก็จะถูกทำลาย ถูกขจัดหายไปหมดสิ้น ไม่มีหลงเหลือติดอยู่ในใจอีกต่อไป
พระอรหันต์ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนานี้ มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทที่มีฤทธิ์พอประมาณกับมีฤทธิ์มาก
ประเภทแรกที่ว่า มีฤทธิ์พอประมาณนั้น หมายถึงว่า เป็นพระอรหันต์จำพวกสุกขวิปัสสกะ คือผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ เป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ มีฤทธิ์เดชพอประมาณ อรหัตมรรคญาณก็สามารถขจัดกิเลสอาสวะได้หมดสิ้น ทั้งสังโยชน์เบื้องต่าที่ภาษาธรรมะเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ และสังโยชน์เบื้องสูงคือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ก็ถูกขจัดให้หมดสิ้นไป อนุสัยกิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะอวิชชานุสัยซึ่งเป็นกิเลสที่สำคัญ ก็หลุดหมดสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันต์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลที่สมบูรณ์
ประเภทที่ 2 คือประเภทที่มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ตั้งแต่ประเภทเตวิชโช ผู้ได้บรรลุวิชชา 3 คือ ปุพเพนิวาสานุ ติญาณ ระลึกชาติหนหลังของตัวเองได้ จุตูปปาตญาณ รู้การจุติและอุบัติของ รรพสัตว์เหล่าอื่นได้ เรียกง่าย ๆ ก็คือว่า เป็นผู้มีตาทิพย์ และสามารถระลึกชาติของคนอื่นได้อีกด้วย มีอาสวักขยญาณ เป็นญาณที่ทำอาสวะของตัวให้หมดสิ้นไปได้ และพระอรหันต์ประเภทนี้ ยังมีฤทธานุภาพมากเนื่องจากแรงอธิษฐานและการสั่งสมบุญเก่าในอดีตตามมาสนับสนุน
พระอรหันต์ที่มีฤทธิ์มากอีกประเภทหนึ่งท่านเรียกว่า ฉฬภิญญา คือฝึกสมาธิและหมั่นเข้าฌานสมาบัติ ทำชำนาญจนเป็นวสี เมื่อฝึกฝนบ่อยเข้าก็เกิดเป็นอภิญญาจิต มีจิตตานุภาพเหนือมนุษย์ทั่วไป ตั้งแต่ได้อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ทิพยโสต หูทิพย์ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้ ทิพยจักขุ ตาทิพย์ และอาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
กลุ่มของพระอรหันต์อีกประเภทหนึ่งท่านจัดไว้ตามความแตกฉานในสภาวธรรมที่เข้าถึง คือ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทา มีความแตกฉานในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่อรรถปฏิสัมภิทาแตกฉานในอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในภาษาต่าง ๆ จะไปเทศน์หรือพูดจากับชนชาติใดก็ได้สามารถใช้ภาษาของคนในถิ่นนั้น ๆ ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปร่าเรียนเขียนอ่านภาษาศาสตร์ และประการสุดท้ายคือ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในด้านความเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบในการ
แสดงธรรม หรือตอบปัญหาธรรมะต่าง ๆ ทำให้ผู้ฟังกระจ่างแจ้งทุกคำถาม ปฏิสัมภิทาญาณทั้ง 4 นี้ เกิดขึ้นพร้อมกันกับขณะที่ท่านได้บรรลุอรหัตมรรคญาณนั่นเอง ซึ่งก็แล้วแต่บุญบารมีของพระอรหันต์แต่ละรูปที่สั่ง มมาไม่เหมือนกัน
นี่เป็นความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เป็นความแตกต่างเล็กน้อยที่สำคัญ เพราะปฏิสัมทาญาณ หรืออภิญญาต่าง ๆ เหล่านั้น มีความสำคัญในการแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ได้บรรลุธรรมตามได้มาก แต่ความเหมือนกันของท่านคือ เป็นผู้หมดกิเลสเป็นทักขิไณยบุคคลทำบุญกับองค์ไหนก็ได้บุญมากเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น การที่ท่านจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษที่มีอานุภาพมาก มีฌานแก่กล้าสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ก็ดี ทรงคุณวิเศษประเภทแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณต่าง ๆ ก็ดี ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจแห่งบุญญาธิการที่ท่านสั่ง มอบรมมาแต่อดีตชาติ คือเมื่อชาติปางก่อนนั้น ท่านประกอบกุศลกรรมอันใดเอาไว้ ก็จะอธิษฐานให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์ถึงพร้อมทั้งคุณวิเศษต่าง ๆ และเมื่อสร้างบารมีอยู่นั้น ท่านก็เป็นผู้ไม่ทอดธุระ รักในการปฏิบัติธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ทำทั้งทานศีลภาวนาด้วย
ถ้าหากจะทำทานท่านก็ทุ่มเททำอย่างเต็มที่เหมือนขันน้าที่คว่าให้แล้วก็ไม่ให้เหลือเยื่อใยไม่คิดอยากได้กลับคืน และตามระลึกนึกถึงผลบุญด้วยความปลื้มปีติในทานที่ได้ถวายขาดออกจากใจ ให้แล้วก็อยากให้อีก ไม่อิ่มไม่เบื่อในการทำทาน บางท่านอาจจะยังมีความเข้าใจไม่ มบูรณ์คิดว่าไม่ต้องทำทานก็ได้ รักษาศีลก็พอ ก็สามารถพ้นทุกข์ได้ หรือนั่งสมาธิเจริญภาวนาอย่างเดียวก็น่าจะพอแล้ว แต่อานิสงส์ที่ปรากฏออกมาในภพชาติสุดท้าย นอกจากจะเป็นผู้ไม่มีลาภสักการะแล้ว ผลพวงจากการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็จะได้บรรลุแบบอด ๆ อยาก ๆ เมื่อบรรลุแล้วก็หมดลมเข้านิพพานไป คือ พอถึงจุดหมายก็สิ้นใจพอดี
จากความรู้ดังกล่าว นักศึกษาคงพอเข้าใจถึงเส้นทางอันประเสริฐของทุกชีวิต คือ มุ่งสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นเพื่อเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสอาสวะ นับว่าเป็นความโชคดีอย่างมหาศาลของนักศึกษา ที่ได้อยู่ในดินแดนชาวพุทธ และรู้จักวิชชาธรรมกาย ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านเมตตานำมาถ่ายทอดให้ชาวโลก ได้รับรู้รับทราบถึงแผนผังชีวิต 18 กาย ตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายธรรมอรหัต ทำให้เราได้แนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อได้โอกาสดีนี้แล้ว ก็อย่าให้วันเวลาผ่านไปเปล่า ให้ตั้งใจสร้างความดี หมั่นสร้างบารมีทุกอย่างไปพร้อม ๆ กับการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งในทุกอิริยาบถ จนกว่าจะได้เข้าถึงกายธรรมอรหัต
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ แท้จริงแล้วก็เพื่อแสวงหาสิ่งที่ทำให้ใจของมนุษย์เองบริสุทธิ์ที่สุดบริสุทธิ์จนกระทั่งพบกับตัวตนที่แท้จริง ที่มั่นคงที่สุดไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความสุขอย่างแท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอรหันตเจ้าทั้งหลายได้พบว่า พระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด และมีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์ทุกคน เป็นธรรมที่สงบ ละเอียด ประณีต จะนึกคิดหรือคาดคะเนเอาไม่ได้เลย เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงเอง ต้องปรับใจให้ละเอียดให้หยุดนิ่งไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปถึงแหล่งแห่งความสุข ความบริสุทธิ์ แหล่งของสติแหล่งของปัญญา แล้วเมื่อนั้นมนุษย์ก็จะรู้เห็นทุกสิ่งไปตามความเป็นจริง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
"ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่งสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว พึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานเพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"
สังขารเป็นรังแห่งโรคนี้ เป็นทางมาแห่งความทุกข์ทั้งสิ้น เพราะสังขารเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากอวิชชา ซึ่งเป็นต้นตอของกิเลสอาสวะทั้งหลายส่วนวิสังขารคือพระนิพพาน เป็นภาวะที่ปราศจากกิเลส คือ อวิชชาเข้ามาครอบงำไม่ได้ จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง คำว่าสุขอย่างยิ่งนั้นเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่อธิบายให้เข้าใจได้ยาก ผู้รู้ท่านใช้คำว่า ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญญฺูหิ เป็นสิ่งที่วิญูชนทั้งหลายจะพึงรู้ได้เฉพาะตน เป็นสภาวะที่ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของผู้นั้นใสบริสุทธิ์หลุดล่อนจากกิเลสทั้งปวงสรุปง่าย ๆ คือ หากกิเลสยังห่อหุ้มจิตใจอยู่มาก ความทุกข์ก็มีมากกว่าความสุข ถ้ากิเลสเบาบางลง ความทุกข์ก็ลดลง ถ้าไม่มีกิเล เลย ก็มีแต่สุขล้วน ๆ ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข
ผู้รู้ท่านได้พรรณนาคุณของพระนิพพานเอาไว้ว่า พระนิพพานเป็นเยี่ยมและมีสภาวะที่เย็นสามารถที่จะดับเสียซึ่งกิเลส ร้อนแรงที่ทำให้เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวายให้ปรากฏขึ้นในดวงใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เหมือนอุทกวารีทรงไว้ซึ่งลักษณะพิเศษ คือ ความเย็นที่สามารถดับเสียซึ่งความร้อนความกระวนกระวายในโลกได้
ธรรมดาว่าน้ำเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์สะอาดสามารถล้างมลทินสิ่งสกปรกได้ เมื่อบุคคลใดได้ดื่มน้ำบริสุทธิ์เข้าไปแล้ว ย่อมระงับเสียซึ่งความกระหายน้า ได้รับความชุ่มฉ่ำใจพระนิพพานก็ฉันนั้นสามารถล้างมลทิน คือ กิเลสร้ายที่ทำให้ดวงจิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายมัวหมองให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ เมื่อสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดื่มน้ำอมตร ซึ่งบริสุทธิ์ คือพระนิพพานแล้ว ย่อมห้ามเสียซึ่งความกระหาย กล่าวคือความปรารถนาที่ติดอยู่ในภพทั้ง 3 ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ความทะยานอยากในภพทั้ง 3 จะหมดไป ไม่อาลัยอาวรณ์ในวัฏสงสารอีกต่อไป
ไม้จันทน์แดงมีคุณลักษณะพิเศษต่างจากพฤกษชาติชนิดอื่น คือ เป็นของหาได้ยาก มิใช่เป็นของหาได้ง่าย ๆ เหมือนไม้ธรรมดา พระนิพพานก็เช่นเดียวกัน กว่าบุคคลจะเข้าถึงนั้น ยากยิ่งนัก ต้องมีใจรักมีความมุ่งมาดปรารถนาอย่างยิ่งยวด เหมือนพระบรมโพธิสัตว์ต้องอดทนสร้างบารมีมานานถึง 4 อสงไขยกับแสนมหากัป พระสาวกเองก็ต้องเพียรพยายามปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาท ทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพัน และต้องปฏิบัติไม่ผิดจากเส้นทางสายกลาง จึงจะได้บรรลุพระนิพพานสมความปรารถนา
อีกประการหนึ่ง จันทน์แดงมีกลิ่นหอมวิเศษหาที่เปรียบมิได้ฉันใด พระนิพพานก็มีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ฉันนั้น จันทน์แดงเป็นมิ่งไม้ที่ปวงชนต่างพากันยกย่องสรรเสริญว่าเป็นรุกขชาติชั้นสูงชั้นดี เป็นที่พอใจนิยมยินดีของเหล่าชนผู้รู้สรรพคุณของไม้ที่เป็นโอสถทั้งหลายพระนิพพานก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นคุณชาติที่เหล่าพระอริยเจ้าทั้งหลายยกย่องสรรเสริญว่า เป็นธรรมชั้นดี ชั้นสูงประเสริฐสุด เป็นที่พอใจของอริยชนทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะฉะนั้นผู้มีความดำริถูกต้อง จึงปรารถนาพระนิพพาน
นอกจากนี้ ท่านผู้รู้ยังได้เปรียบคุณของพระนิพพานกับมหาสมุทรเอาไว้ว่า ธรรมดาว่ามหาสมุทรจัดว่าบริสุทธิ์ใสะอาด เห็นได้จากสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ จะไม่มีซากศพสิ่งสกปรกลอยอยู่ เป็นมหาสมุทรที่สะอาดบริสุทธิ์ พระนิพพานก็เปรียบได้กับมหาสมุทรอันใสสะอาด เพราะว่าพระนิพพานเป็นคุณชาติผ่องใสบริสุทธิ์ ไม่มีซากศพคือกิเล ร้ายต่าง ๆ ล่องลอยปะปนอยู่เลย
ธรรมดาว่า มหาสมุทรสุดแสนจะกว้างใหญ่ไพศาล ถึงแม้ว่าคงคามหานที 4 หรือ 5 ห้วงจะไหลมารวมลงสักเท่าใด ก็ไม่มีวันที่จะเต็มฟากฝัง แต่ละด้านอยู่ห่างไกลเกินที่จะเห็นด้วยตาได้พระนิพพานก็มีสภาพคล้ายกัน คือเป็นคุณชาติที่สุดแสนจะกว้างใหญ่ไพศาล ถึงแม้สรรพสัตว์จะเต็มใจพากันปฏิบัติธรรมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วไปอยู่ในอายตนนิพพานมีประมาณสักเท่าใดก็ตาม การที่จะทำให้อายตนิพพานเต็มนั้นเป็นไม่มี เกรงอยู่แต่ว่า หมู่สัตว์จะพากันไปไม่ถึงมหาสมุทร คือ พระนิพพานอันกว้างใหญ่ไพศาลเท่านั้น
ในพระวินัยปิฎก มีพุทธวจนะปรากฏเอาไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้าทุกสายในโลกที่ไหลไปสู่ที่ต่า ย่อมไปรวมลงที่มหาสมุทร และสายฝนตกลงมาจากอากาศไปรวมลงที่มหาสมุทร ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรซึ่งกว้างใหญ่นั้น ใช่ว่าจะเป็นสถานที่อันว่างเปล่า โล่ง ๆ ว่าง ๆ อย่างเดียว โดยที่แท้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีมากมายสุดจักประมาณได้ อายตนนิพพานก็คล้าย ๆ กัน คือเป็นที่อยู่ของพระนิพพานมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพอรหันต์ทั้งหลายก็สถิตอยู่ที่นั่น จะว่างเปล่าก็เฉพาะกิเลสอาสวะเท่านั้น
นอกจากนี้ มหาสมุทรซึ่งกว้างใหญ่ย่อมหลากหลายไปด้วยรัตนชาตินานาชนิดชวนให้รื่นรมย์แก่พบเห็น พระนิพพานนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นรัตนะอันประเสริฐ น่าชมกว่ารัตนชาติใด ๆ ทั้งในมนุษย์และเทวโลก กล่าวคือพระวิมุตติธรรม ธรรมอันหลุดพ้นวิเศษดีแล้ว ทรงไว้ซึ่งพระคุณมากมายสุดที่จะประมาณ ซึ่งปุถุชนทั่วไปไม่สามารถได้เชยชมพระวิมุตติธรรมอันยอดเยี่ยมนี้ได้ แต่ผู้มีใจบริสุทธิ์หยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น จึงจะมีโอกาสได้ดูดดื่มวิมุตติรสจากพระนิพพาน
อุปมาประการสุดท้าย ท่านกล่าวว่า ธรรมดายาถอนพิษงูเป็นโอสถขนานวิเศษ ซึ่งหมองูผู้ปรุงเอาไว้ จะทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะพิเศษสามารถใช้ได้ทันท่วงที คือ เมื่ออสรพิษร้ายขบกัดผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์ปางตาย แต่เมื่อเอายาดับพิษงูขนานวิเศษนั้นให้กินหรือใส่แผลแล้ว พิษงูจะเสื่อมคลายหายไป ทำให้ผู้นั้นได้รับความสุขสบายไม่ต้องตายฉันใด
พระนิพพานก็ฉันนั้น มีคุณประเสริฐเปรียบเสมือนโอสถวิเศษสำหรับดับพิษงูคือกิเลสร้าย ที่แล่นกำซาบอยู่ในดวงใจของสัตว์ทั้งหลายอยู่ตลอดกาล เป็นพิษร้ายทรมานให้ปวดร้าวแสนสาหัสให้จมอยู่ในวัฏสงสารไม่มีวันสิ้นสุด ต่อเมื่อพระอริยสาวกใด ได้รับโอสถวิเศษ คือพระนิพพานเป็นที่พึ่งอาศัยแล้ว ย่อมระงับดับพิษร้าย คือ กิเลสภัยที่มีทุกข์มหันต์ให้สูญหายไปได้ และได้รับความสุข บายอย่างเดียว ไม่ต้องตายอีกต่อไป เป็นอมตะ เพราะว่าพระนิพพานสามารถรักษาบุคคลผู้ได้เข้าถึงพระนิพพานตลอดกาล ดุจยาถอนพิษงูสามารถรักษาชีวิตของผู้ถูกงูกัด ฉะนั้น
สภาวะของพระนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม เกินกว่าที่จินตนาการจะไปถึง จะรู้เห็นอย่างแจ่มแจ้งได้ ยกเว้นเสียแต่ผู้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน หรืออย่างน้อยก็สำหรับผู้ที่ได้เข้าถึงพระธรรมกายที่ชัดใสว่าง จึงจะรู้จักคุณลักษณะของพระนิพพานอย่างถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรขอให้เชื่อมั่นเถิดว่า พระนิพพานเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของชาวพุทธทุก ๆ คน ฉะนั้นให้พยายามหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งให้บริสุทธิ์ผ่องใสจนกว่าจะเข้าถึงพระธรรมกาย จะได้ทำพระนิพพานให้แจ้งกัน
นิพพานคือเป้าหมายของชีวิต
การดำเนินชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยในสังสารวัฏ จะต้องรู้เท่าทันอาสวกิเลสรู้ว่าสิ่งไหนเป็นบุญสิ่งไหนเป็นบาปอกุศล แล้วดำรงตนให้อยู่บนเส้นทางแห่งบุญ เส้นทางแห่งความดี ความไม่รู้เป็นอันตรายอย่างยิ่งของชีวิตทีเดียว เพราะถ้าไม่รู้สิ่งเหล่านี้แล้ว อาจทำให้พลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล ทำให้ชีวิตมัวหมองได้ เมื่อไม่รู้ก็ต้องแสวงหาผู้รู้ เข้าไปสอบถามในสิ่งที่สงสัยที่สำคัญคือต้องหมั่นเข้าไปหาผู้รู้ภายในคือพระรัตนตรัย ด้วยวิธีการหยุดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แสวงหาความรู้แจ้งที่เกิดจากปัญญาบริสุทธิ์ จะได้เข้าถึงผู้รู้แจ้งภายใน และจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องสมบูรณ์ ปัญหาต่าง ๆ ที่สงสัยก็จะหมดสิ้นไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในทุติยนิพพานสูตร ว่า
"ทุทฺทสํ อนตํ นาม น หิ สจฺจํ สุทสฺสนํ ปฏิวิทฺธา ตณฺหา ชานโต ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนํ
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้วกิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่"
โลกนี้ถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในชีวิตห่อหุ้มไว้ เหมือนเวลาที่เดินเข้าไปในห้องมืด ๆ ไม่มีแสงสว่างจากภายนอก หรือมีเพียงแสงสลัว ๆ ทำให้มองไม่เห็นวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในห้อง ความมืดคืออวิชชาได้ห่อหุ้มจิตใจของมนุษย์ไว้ ปิดบังเห็น จำ คิด รู้ และเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้ามาใส่ ให้หลงใหลเพลิดเพลิน เดินตามทางของพญามาร ที่คอยส่งกิเลสเข้ามาบังคับ เอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นสวมซ้อน ร้อยไส้ ทำให้ต้องเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการจะรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตนั้น จึงเป็นไปได้ยากมาก
อีกประการหนึ่ง การตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย มีภพชาติมาขวางกั้นความทรงจำของเราทำให้เราไม่รู้ว่าเกิดมาจากไหน มาทำไม ตายแล้วจะไปไหน ไม่รู้จุดหมายปลายทางของชีวิตเหมือนเวลาที่เราเดินหลงทางในป่าใหญ่ ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน หาทางออกไม่พบ ความหลงในชีวิตเป็นอันตรายกว่าหลงทางในป่า เพราะเป็นเหตุให้ต้องทนทุกข์ทรมานในสังสารวัฏอีกยาวนาน โมหะ คือความหลงได้ห่อหุ้มสัตวโลกเอาไว้ จึงเป็นสิ่งที่จะต้อง ลัดให้หลุด เหมือนออกจากที่มืดไปสู่ที่แจ้ง ไปสู่แสงสว่างแห่งชีวิต
ส่วนพระอริยสาวก ท่านละโลภะ โทสะ โมหะ และทำลายข่ายแห่งความมืดได้แล้ว จึงมองเห็นพระนิพพาน อวิชชาอันเป็นต้นเหตุแห่งวัฏสงสารได้ถูกตัดขาด ตัดภพตัดชาติ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอีกต่อไป
พระอริยเจ้า คือ ผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกาย ตั้งแต่กายธรรมพระโสดาบันเป็นต้นไป ได้เป็นโสดาบันบุคคล เป็นผู้ถึงกระแสพระนิพพาน ตัดขาดจากสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุให้ถือตัวตน วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยและสีลัพพตปรามา คือ การถือมั่นในศีลพรตที่เป็นความเชื่อผิด ๆ พระโ ดาบันจะกลับมาเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน 7 ชาติ ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
พระสกิทาคามี หมายถึง พระอริยเจ้าผู้จะกลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะเข้าสู่นิพพาน ท่านขจัดสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการได้หมด มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์ ราคะ โทสะ โมหะก็เบาบางลงมาก
พระอนาคามี คือ ผู้ที่ไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีกสามารถกำจัดกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยได้หมดสิ้น เมื่อละโลกก็จะได้เสวยสุขในพรหมโลกชั้นสุทธาวา ทั้ง 5 ตามกำลังความแก่อ่อนของอินทรีย์ จากนั้นบำเพ็ญเพียรต่อก็สามารถเข้าถึงอายตนนิพพานได้
สำหรับพระอรหันต์นั้น คือ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลสมาธิ ปัญญา กำจัดสังโยชน์เบื้องสูงได้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจ 4 ท่านแจ้งแทงตลอดหมดสังโยชน์เบื้องต่าเบื้องสูงหลุดหมดชนิดสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ห่างไกลจากอาสวกิเลสทั้งมวล เป็นอุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสแต่เบญจขันธ์ของท่านยังอยู่ ต่อเมื่อละสังขารไปแล้วก็เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ดับขันธ์ห้าเหลือแต่ธรรมขันธ์เข้าสู่อายตนนิพพาน
ผู้ตั้งใจฝึกฝนตนเองอย่างแท้จริงนั้นต่างมีเป้าหมายที่จะไปรู้ไปเห็นอายตนนิพพานเหมือนอย่างพระอริยเจ้าทั้งหลาย การจะไปเห็นอายตนนิพพานได้นั้น ใจต้องหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างสมบูรณ์ เพราะตรงนี้เป็นที่เดียวที่จะเป็นต้นทางไปสู่อายตนนิพพานการหยุดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 จะเปลี่ยนแปลงชีวิตสัตวโลกทั้งหลายให้เจริญขึ้นจนกระทั่งสามารถเข้าถึงอายตนนิพพาน หลุดพ้นจากการถูกครอบงำจากกิเลสอาสวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ หรืออวิชชาที่นอนเนื่องอยู่ในจิตใจมาเป็นเวลายาวนาน อาสวะดัง
กล่าวก็จะถูกขจัดให้หลุดล่อนออกไปหมด ด้วยใจที่หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์
ถ้าหยุดใจได้สนิท จะยกฐานะจากความเป็นคนมาเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง คำว่าคนแปลว่าผู้ที่ยังวนอยู่ในบ่วงแห่งมาร ทำให้ไม่รู้ไปตามความเป็นจริง มารเอากิเลสเอาอาสวะมาใส่ในใจ แล้วคนให้วนติดอยู่ในบ่วงของมาร คือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ซึ่งแต่เดิมผู้รู้ท่านก็เป็นผู้ไม่รู้เหมือนอย่างพวกเรา ต่อเมื่อใจหยุดได้ก็เรียกว่าบุคคล หมายถึงผู้พ้นจากอาจมของไม่สะอาด พ้นจากเหยื่อล่อของมารได้ในระดับหนึ่งแล้ว ครั้นใจหยุดได้ถูกส่วนก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นโคตรภูบุคคล เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง จนกระทั่งครอบงำทำลายบ่วงของมารได้มากยิ่งขึ้น ถึงธรรมกายโคตรภูก็เป็นโคตรภูบุคคล
เมื่อถึงธรรมกายโคตรภูเป็นโคตรภูบุคคล ก็พ้นจากความเป็นมนุษย์ พ้นจากความเป็นทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ผู้รู้ท่านหยุดใจอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปตามลำดับ กระทั่งชำระจิตให้บริสุทธิ์ไปเรื่อย ๆ ไม่ช้าก็เข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลคือผู้เจริญแล้ว หลุดจากกิเลสอาสวะต่าง ๆ มีความเจริญเต็มที่ เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และหากท่านหยุดในหยุดต่อไปจนกระทั่งจิตสะอาดบริสุทธิ์ ตัดสังโยชน์เบื้องต่าเบื้องสูงได้ อนุสัยกิเลสหลุดหมดก็เข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงความบริสุทธิ์บริบูรณ์ เสวยวิมุตติสุขล้วน ๆ ที่ไม่มีทุกข์เจือปนเลย
หนทางแห่งความบริสุทธิ์ที่จะไปสู่ความเป็นพระอริยเจ้า ไปในทางสายกลางซึ่งเป็นหนทางแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ถ้าหากว่าเอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ฐานที่ 7 ตรงนี้แล้ว ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน จะเดิน ก็จะมีความสุข มีใจเบิกบาน และก็จะเปลี่ยนจากความเป็นคนเป็นมนุษย์ธรรมดา มาเป็นโคตรภูบุคคล เข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมกาย กระทั่งตัวเราเป็นธรรมกาย ธรรมกายเป็นตัวเรา ถ้าเป็นอย่างนี้ได้แล้ว จะเห็นพระนิพพานได้
เพราะฉะนั้น พระนิพพานไม่ใช่เห็นกันง่าย ๆ ต้องเข้าถึงธรรมกาย และการที่จะเข้าถึงพระธรรมกายได้ ใจต้องสะอาดบริสุทธิ์ เห็นกายในกายเข้าไปเรื่อย ๆ ตามลำดับจนกระทั่งเข้าถึงกายธรรม กายสุดท้ายคือกายธรรมอรหัต ถึงกายธรรมอรหัตได้เมื่อไรก็จะเห็นและรู้จักพระนิพพานว่าเป็นอย่างไร ไม่ต้องเสียเวลามาอธิบายกัน เห็นแล้วก็จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานใจมีธรรมปีติเกิดขึ้น จะรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิตและในสรรพสิ่งทั้งหลาย แล้วเป้าหมายชีวิตก็จะชัดเจนขึ้นว่าต้องมุ่งไปสู่อายตนนิพพาน ต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง
เมื่อได้รู้ว่า พระนิพพานคือเป้าหมายของชีวิตแล้ว นักศึกษาควรต้องรีบแสวงหาพระนิพพาน ในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว ในขณะที่หูตายังดี อวัยวะต่าง ๆ ยังแข็งแรง เพราะถ้ารอทำความเพียรตอนแก่ หนทางไปสู่อายตนนิพพานก็ห่างไกลออกไปอีก ถ้ายังหนุ่มยังสาวกำลังวังชายังแข็งแรงอยู่ จะได้ใช้สิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างบารมี อย่างนี้ถึงจะถูกหลักธรรมของบัณฑิตนักปราชญ์ผู้ไม่ประมาทในชีวิต
ฉะนั้น ให้รีบประพฤติปฏิบัติธรรมตักตวงบุญบารมีให้ได้เต็มที่ แล้วเราจะจากโลกนี้ไปอย่างผู้มีชัยชนะ แม้ยังไปสู่อายตนนิพพานไม่ได้ ก็จะมีที่พักกลางทางที่แสนสุข คือ มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่พักชั่วคราวระหว่างการสร้างบารมี ครั้นถึงเวลาก็ลงมาเกิดสร้างบารมีกันต่อในมนุษยโลก ดังนั้นนักศึกษาจึงควรที่จะใช้วันเวลาที่ผ่านไปให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ด้วยการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งให้ได้ทุก ๆ วัน จนกว่าจะได้เข้าถึงพระธรรมกาย มีพระรัตนตรัยภายในเป็นที่พึ่งที่ระลึก
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree