การทําบุญที่มีผลานิสงส์มาก

วันที่ 28 เมย. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
ระเบียบปฏิบัติการทําบุญตักบาตรพระสงฆ์

การทําบุญที่มีผลานิสงส์มาก
 

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการทําบุญตักบาตรพระสงฆ์ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , การทําบุญที่มีผลานิสงส์มาก , สมาธิ , Meditation , ตักบาตร , ใส่บาตร , ทำบุญ

         การทําบุญในพระพุทธศาสนาที่มีผลานิสงส์มาก เช่น การทําบุญตักบาตรพระสงฆ์ เป็นต้น จะต้องประกอบพร้อมด้วยองค์คุณ ๓ ประการ คือ

๑. ปัจจัยวัตถุสิ่งของสําหรับทําบุญบริสุทธิ์
๒. เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์ และ
๓. พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์


ปัจจัยวัตถุสิ่งของสําหรับทําบุญบริสุทธิ์

         ความบริสุทธิ์ของปัจจัยวัตถุสิ่งของที่นํามาทําบุญนั้น มีลักษณะดังนี้

         ๑. เงินที่นํามาจับจ่ายใช้สอยซื้อหาวัตถุสิ่งของนั้นต้องเป็นเงินที่ได้มาด้วยการประกอบสัมมาอาชีวะ เกิดขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงงานของตนโตยตรง

         ๒. สิ่งของที่นํามาทําบุญนั้นเป็นของบริสุทธิ์ คือ มิได้เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์อื่น เช่น ฆ่าสัตว์มาทําบุญ เป็นต้น

         ๓. วัตถุสิ่งของที่นํามาทําบุญนั้นเป็นของมีคุณภาพดี และเป็นส่วนที่ดีที่สุดในบรรดาสิ่งของที่มีอยู่ เช่น ข้าวสุกที่นํามาตักบาตรนั้นก็เป็นข้าวปากหม้อ แกงก็เป็นแกงถ้วยแรกที่ตักออกจากหม้อ เป็นต้น

         ๔. วัตถุสิ่งของนั้นสมควรแก่สมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่พระภิกษุสามเณร และมีประมาณเพียงพอแก่ความต้องการ


เจตนาของผู้ถวายบริสูทธิ์

         เจตนา คือ ความตั้งใจของผู้ทําบุญนั้น ต้องบริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๔ คือ

         ๑. ปุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนจะทําบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ถี่เหนียว ไม่มีความเสียดาย

         ๒. มุญจนเจตนา ความตั้งใจขณะทําบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา มีความปลาบปลื้มปีติยินดีในการทําบุญนั้น

         ๓. อปรเจตนา ความตั้งใจหลังจากทําบุญไปแล้วภายใน ๗ วัน หวนระลึกถึงการทําบุญที่ล่วงมาแล้ว มีความปีติโสมนัสในบุญกุศลนั้น ไม่มีความเสียดาย

         ๔. อปราปรเจตนา ความตั้งใจภายหลังจาก ๗ วัน ไปแล้วแม้เป็นเวลานาน ๆ หวนระลึกนึกถึงการทําบุญครั้งใดก็ปลาบปลื้มปีติโสมนัสครั้งนั้น


ผลานิสงส์เจตนาบริสุทธิ์

         บุคคลที่ทําบุญด้วยเจตนาความตั้งใจบริสุทธิ์ทั้ง ๔ กาลดังกล่าวแล้ว ต่อไปในอนาคตเมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ย่อมจะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่เกิดจนตลอดอายุขัยในภพและชาตินั้นๆ


โทษของเจตนาไม่บริสุทธิ์

         ถ้าปุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนจะทําบุญไม่บริสุทธิ์ เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ เบื้องต้นแห่งชีวิต คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ ๒๕ ปี จะมีแต่ความทุกข์ยากลําบากเดือดร้อน จะหาความสุขได้ยาก จะเริ่มมีความสุขความเจริญตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี เป็นต้นไปจนตลอดอายุขัย

         ถ้ามุญจนเจตนา ความตั้งใจขณะทําบุญไม่บริสุทธิ์จะทําให้เกิดความทุกข์ยากลําบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี จนถึงอายุ ๕๐ จะเริ่มมีความสุขตั้งแต่อายุ ๕๑ ปี เป็นต้นไป จนตลอดอายุขัย

         ถ้าอปรเจตนา ไม่บริสุทธิ์ คือ นึกเสียดาย จะทําให้เกิดเป็นทุกข์ยากลําบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๕๑ เป็นต้นไป จนถึงอายุ ๗๕ ปี หลังจากนั้นจึงจะมีความสุขจนตลอดอายุขัย

         ถ้าอปราปรเจตนา ไม่บริสุทธิ์ จะทําให้เกิดความทุกข์ยากลําบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๗๖ ปี เป็นต้นไปจนตลอดอายุขัย

         อนึ่ง บุคคลที่ทําบุญให้ทานแล้ว นึกเสียดายในภายหลัง คือ อปรเจตนาและอปราปรเจตนาไม่บริสุทธิ์ เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ แม้จะเป็นคนร่ำรวยเป็นเศรษฐี แต่ก็เป็นเศรษฐีขี้เหนียว เพราะโทษที่เกิดจากการทําบุญให้ทานแล้วนึกเสียดายในภายหลัง


พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์

         พระกิกบุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์นั้น ได้แก่ พระภิกษุ สามเณรผู้เป็นบุญเขตนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ คือ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ โดยสินเชิง หมายถึงพระอริยบุคคล หรือ

         พระภิกษุสามเณรเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และเป็นผู้กําลังปฏิบัติเพื่อกําจัดราคะ โทสะ โมหะ

         เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้จะทําบุญในพระพุทธศาสนา จึงนิยมพิจารณาเลือกบุญเขตที่เหมาะสม ดังพระบาลีว่า "วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสฏฐํ" แปลความว่า "พึงเลือกให้ทาน การเลือกให้ทาน พระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริญไว้แล้ว" ดังนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0082403182983398 Mins