ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการหาฤกษ์งามยามดี
ประโยชน์ของการหาฤกษ์งามยามดี
เพื่อช่วยตัดปัญหาความยุ่งยากในการตกลงกันไม่ได้ว่าจะกําหนดเอาวันเวลาไปประกอบพิธีมงคลงานนั้น โดยมอบให้เป็นหน้าที่ของท่านอาจารย์ผู้ให้ฤกษ์ เป็นผู้กําหนดตัดสินให้เสียเองเป็นการตัดปัญหาให้สินเรื่องสินราวไปได้ด้วยดี
เพื่อเป็นการกําหนดนัดญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลายให้มาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยไม่มีข้อต่อรองหรือข้อขัดแย้งด้วยประการใด ๆ
เพื่อเป็นการกําหนดนัดเชิงบังกับผู้ใหญ่ ให้มาร่วมงานตรงเวลา โดยปราศจากข้อแม้แต่ประการใดๆ ทั้งสิน
เพื่อเป็นการรักษานํ้าใจของบุคคลผู้หวังดีปรารถนาดีต่อเจ้าของงานนั้น ซึ่งยังเข้าไม่ถึงหลักสัจธรรมให้เกิดความสบายใจได้ว่า งานนี้เขาได้หาฤกษ์งามยามดีมาแล้ว จึงไม่ต้องวิตกกังวลห่วงใยโดยประการใด ๆ
เพื่อเป็นประดุจเกราะแก้วป้องกันตัวผู้จัดงานให้พ้นจากการถูกตําหนิติเตียน เพราะความเสียหายใดๆ อันอาจจะเกิดมีขึ้นได้ ทั้งในระหว่างประกอบพิธีกรรมเIละหลังจากประกอบพิธีกรรมเสร็จไปแล้ว
โทษของการถือฤกษ์ทางคดีโลก
บุคคลผู้ยึดนั้น เชื่อนั้นในเรื่องฤกษ์ทางคติโลกมากเกินไปจะทําอะไร จะด้องคอยหาฤกษ์อยู่เสมอ นัวแต่เป้ารอคอยเวลาฤกษ์อยู่นั้นเอง เมื่อถึงคราวเหมาะ ที่ควรทําก็ไม่ทํา เพราะยังไม่ได้ฤกษ์ ฤกษ์ยังไม่ติ เช่นนี้ ผลประโยชษ์ที่ตนควรได้ควรถึงย่อมฝานพ้นบุคคลนั้นไปเสิยอย่างน่าเสิยดาย
เมื่อมีความจําเป็นจะต้องทําอะไร หรือจะด้องเดินทางไปในเวลาที่ตนรู้แน่อยู่แก่ใจว่า "ฤกษ์ไม่ดี'' ย่อมไม่มีความสบายใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดตําหนิตัวเองและแช่งตัวเองอยู่ตลอดเวลาเดึ๋ยวจะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้" ผลที่สุดก็เกิดความเสียหายขึ้นจนได้ เพราะใจตัวเองเฝ้าเรียกร้องถึงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
บุคคลผู้ถือฤกษ์จัด มัวแต่รอคอยฤกษ์ดีอยู่ มักจะทําอะไรไม่ทันเพื่อน ถ้าเป็นผู้น้อย ก็เป็นที่ขวางหูขวางตาของผู้ใหญ่ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ก็มักทําความลําบากใจให้เกิดแก่ผู้น้อย
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับฤกษ์ตามหลักเหตุผล
ถ้าเป็นพิธีงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับคนอื่น โดยมีคนอื่นร่วมพิธีนั้นด้วยตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เช่น พิธีงานมงคลสมรส เป็นต้น หรือพิธีงานเกี่ยวกับส่วนรวม เช่น พิธีทําบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ผู้จัดการมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาฤกษ์งามยามดีจะต้องถือฤกษ์เป็นสําคัญ ถ้าขืนทํางานโดยไม่หาฤกษ์ ไม่ถือฤกษ์ทําตามชอบใจตัวแล้ว หากเกิดความเสียหายอะไรขึ้น ผู้จัดงานนั้นแหละจะเสียคน
ถ้าเป็นงานส่วนตัวโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคนอื่นไม่ควรถือฤกษ์ทางคดีโลก แต่นิยมถือฤกษ์ทางคดีธรรม คือนิยมถือฤกษ์ความสะดวกเป็นสําคัญ สะดวกใจ สบายใจ เมื่อใดก็ทําเมื่อนั้น ไม่จําเป็นจะต้องมัวรอคอยฤกษ์ยามวันเวลา
การถือฤกษ์ทางคดีธรรมนั้น คือ การพินิจพิจารณาตรวจดูความพร้อมอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดําเนินการงานทุกอย่างเมื่อไดพิจารณาตรวจดูด้วยจิตทุกทิศแล้ว ไม่ประสบพบเห็นความขาตตกบกพร่อง ความเสียหายโดยประการใดๆ แล้วพึงแน่ใจได้ว่า "นั้นแหละ" คือ "ฤกษ์งามยามดี" สํา หรับตัวเราแล้ว ซึ่งถูกต้องตรงตามคําสอนทางพุทธศาสนาทุกประการ
สําหรับชาวพุทธทั้งหลาย นิยมเป็นผู้หนักอยู่ในหลักเหตุผลจะทําอะไรต้องทําอย่างมีเหตุผล นิยมใช้สติปัญญาพินิจพิจารณาว่างานใดเกี่ยวเนื่องด้วยคนอื่น งานใดเป็นเรื่องส่วนตัว แล้วประพฤติปฏิบัติตนตามสมควรแก่เหตุผล โดยเหมาะสม ชนิดไม่ให้ชัดโลก ไม่ให้ฝืนธรรม แบบโลกก็ไม่ให้ชํ้า ธรรมก็ไม่ให้เสีย บัวก็ไม่ให้ช้ำ น้ำ (ใจ) ก็ไม่ให้ขุ่น
เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็หวังได้แน่ว่า จะมีความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว หาความเสื่อมเสียมิได้ และเป็นการปฏิบัติเหมาะสมกับภาวะที่ตนเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง