การจัดตั้งภาชนะนํ้ามนต์

วันที่ 18 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่ทําบุญ

การจัดตั้งภาชนะนํ้ามนต์

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่ทําบุญ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , การจัดตั้งภาชนะนํ้ามนต์ , นํ้ามนต์

          การจัดทั้งภาชนะน้ำมนต์งานพิธีทําบุญในทางพระพุทธศาสนานั้น นิยมจัดทั้งภาชนะน้ำมนต์เฉพาะพิธีทําบุญงานมงคลทุกชนิด เช่น งานทําบุญแต่งงาน งานทําบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทําบุญอายุ งานทําบุญฉลองต่างๆ เป็นต้น และนิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์นี้ไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา ด้านพระเถระประธานสงฆ์นั่ง

          ส่วนพิธีทําบุญงานอวมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับศพ เช่น งานทําบุญสัตตมวาร (ทําบุญ ๗ วัน) งานทําบุญปัญญาสมวาร (ทําบุญ ๕๐ วัน) งานทําบุญสตมวาร (ทําบุญ ๑๐๐ วัน) เป็นต้นไม่นิยมจัดทั้งภาชนะน้ำมนต์ เพราะพิธีทําบุญงานศพนั้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว ไม่ใช่จัดทําเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของงาน


ภาชนะนํ้ามนต์
          ภาชนะสําหรับใส่น้ำมนต์นั้น นิยมใช้ขันน้ำมนต์โดยเฉพาะหรือใช้บาตรพระสงฆ์แทน แต่ไม่นิยมใช้ขันเงินแทน เพราะเป็นวัตถุอนามาสที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ควรจับต้อง เกิดอาบัติโทษแก่พระภิกษุสงฆ์

          น้ำสำหรับทําน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์เติมน้ำขนาดเกือบเต็มภาชนะสําหรับทําน้ำมนต์นั้น และมีวัตถุที่นิยมกันว่าเป็นมงคล ตามความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ ใส่ในภาชนะน้ำมนต์นั้นด้วย


เทียนสําหรับทำน้ำมนต์
           เทียนสําหรับทําน้ำมนต์นั้น นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้มีขนาดเล่มใหญ่พอสมควร อย่างเล็กนิยมมีน้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป และนิยมใช้เทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อป้องกันมิให้ไฟดับง่ายเมื่อถูกลมพัด

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021982451279958 Mins