วิธีนิมนต์พระสงฆ์

วันที่ 18 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการนิมนต์พระสงฆ์

วิธีนิมนต์พระสงฆ์

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการนิมนต์พระสงฆ์ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , วิธีนิมนต์พระสงฆ์ , นิมนต์พระ

          การนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ไปประกอบพิธีในงานมงคลหรืองานอวมงคลต่าง ๆ นัน นิยมปฎิบัติกันทั่วไปทั้งการนิมนต์ด้วยวาจา และการนิมนต์ด้วยการทําหนังสือฎีกานิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษร

        ถ้าเป็นงานพิธีทําบุญส่วนตัว เช่น งานทําบุญขึ้นบ้านใหม่งานทําบุญบ้านประจําปี เป็นต้น ก็นิยมนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ด้วยวาจา โดยไปติดต่อนิมนต์ด้วยตนเอง

         ถ้าเป็นงานพิธีทําบุญเกี่ยวกับทางราชการ เช่น งานทําบุญพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ราชการ งานทําบุญพิธีเปิดอาคารสถานที่ราชการ เป็นต้น ก็นิยมทําหนังสือฎีกานิมนต์เป็นลายลักษณ์-อักษร เพื่อพระสงฆ์จะได้ทราบกําหนดเวลาที่แน่นอนและเพื่อป้องกันความหลงลืมอีกด้วย

       การนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีในงานมงคลและงานอวมงคลทุกประเภทนั้น นิยมกราบเรียนให้พระสงฆ์ทราบโดยย่อ ดังนี้

๑. พิธีทําบุญปรารภงานอะไร?
๒. กําหนดงานวันที่ เดือน พ.ศ. ตรงกับวันขึ้น-แรมเดือนอะไร?
๓. สถานที่ไหน?
๔. ต้องการพระสงฆ์จํานวนเท่าไร?
๕. จะจัดรถมารับ หรือ จะให้พระสงฆ์ไปเอง?
๖. จะจัดรถมารับ เวลาเท่าไร?
ฯลฯ


ข้อที่ควรระวังเกี่ยวกับการนิมนต์พระ
           การนิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมนต์แล้วฉันเช้าหรือฉันเพลนั้น มีพระวินัยพุทธบัญญัติเป็นธรรมเนิยมที่ถือปฏิบัติกันสืบมาว่า ทายกนิมนต์ออกชื่อโกชนะ เช่น นิมนต์ฉันขนมเบื้องหรือขนมจีน เป็นต้น พระสงฆ์ไม่รับนิมนต์ ถ้ารับนิมนต์แล้วฉันเป็นอาบัติปาจิตตีย์ทุกคํากลืน

       ทายกผู้เข้าใจพระวินัยพุทธบัญญัติ จึงนิยมนิมนต์แต่เพียงว่า นิมนต์รับบิณฑบาต หรือรับภิกษา หรือนิมนต์ฉันเช้าหรือฉันเพล ดังนี้ พระสงฆ์จึงรับนิมนต์ได้ ไม่มีโทษทางพระวินัย


ตัวอยางฎีกานิมนต์พระสงฆ์

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014666676521301 Mins