​​​​​​​ระเบียบปฏิบัติการประเคนพระสงฆ์

วันที่ 23 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม

ระเบียบปฏิบัติการประเคนพระสงฆ์

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการประเคนพระสงฆ์ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , ประเคนพระสงฆ์ , ประเคน , ถวาย

การประเคนพระ
         การประเคนพระ คือ การยกสิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภค (สมควรที่พระภิกษุสงฆ์จะบริโภคใช้สอยได้ ไม่มีโทษทางพระวินัยพุทธบัญญัติ) น้อมถวายให้แด่พระสงฆ์ ด้วยกิริยาอาการที่แสดงถึงความมีศรัทธาเลื่อมใส มีความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระสงฆ์ผู้รับประเคนนั้นเป็นอย่างดี


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการประเคนพระสงฆ์ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , ประเคนพระสงฆ์ , ประเคน , ถวาย

ลักษณะการประเคนพระที่ถูกต้อง
     การประเคนสิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภค เช่น ภัตตาหารคาวหวาน เป็นต้น แก่พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้นมีพระวินัยพุทธบัญญัติทรงกําหนดไว้ให้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

           ๑. สิ่งของที่จะประเคนนั้น ต้องไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป ขนาดคนปานกลางคนเดียวยกไหว และต้องยกสิ่งของนั้นให้ขึ้นพ้นจากพื้นที่สิ่งของนั้นตั้งอยู่

           ๒. ผู้ประเคนต้องเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือ ผู้ประเคนต้องอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคนประมาณ ๑ ศอกเป็นอย่างมาก

           ๓. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นเข้ามาให้ต้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมต่อพระภิกษุผู้รับประเคน

           ๔. กิริยาอาการที่น้อมสิ่งของเข้ามาให้นั้น จะส่งให้ต้วยมีอก็ได้ หรือจะส่งให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใข้ทัพพีตักถวายก็ได้

           ๕. พระภิกษุผู้รับประเคนนั้น จะรับด้วยมือก็ได้ จะรับด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น จะใช้ผ้าทอดรับก็ได้ จะใช้บาตรรับก็ได้ จะใช้จานรับก็ได้


ลักษณะการประเคนพระที่ไม่ถูกต้อง
           ๑. สิ่งของที่จะประเคนนั้นใหญ่โต หรือหนักเกินไปคนเดียวยกไม่ไหว ต้องช่วยกันยกถวาย เช่น ช่วยกันยกโต๊ะอาหารทั้งโต๊ะถวาย เป็นต้น

           ๒. ผู้ประเคนอยู่นอกหัตถบาส คือ ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคนเกินกว่า ๑ ศอกออกไป จนพระภิกษุนั่งตั้งตัวตรงรับด้วยมือไม่ถึง หรือการประเคนโดยวิธีวางภาชนะต่อๆ กันออกไป เป็นต้น

           ๓. ผู้ประเคนไม่ยกสิ่งของที่จะประเคนนั้นให้พ้นจากพื้นเช่นการประเคนถวายด้วยวิธีเลือกใส่ให้เลื่อนไปตามพื้น หรือการประเคนด้วยวิธีใช้มือแตะสิ่งของถวาย เป็นต้น

           ๔. ผู้ประเคนสิ่งของให้พระ ส่งให้ด้วยกิริยาอาการที่แสดงความไม่เคารพ เช่น ให้ด้วยกิริยาอาการดุจทิ้งเสีย เป็นต้น

           ๕. พระภิกษุผู้รับประเคนยังไม่ทันรับสิ่งของนั้น ผู้ประเคนวางสิ่งของนั้นลงเสียก่อน

           ๖. สิ่งของที่ประเคนนั้น เป็นของไม่สมควรแก่สมณบริโภค เช่น เงิน ทอง หรือสิ่งของที่ทําด้วยเงิน ทอง ได้แก่ พานเงินพานทอง ขันเงิน เป็นต้น

           ๗. นําเอาวัตถุสิ่งของประเภทอาหารคาวหวานไปถวายให้พระภิกษุรับประเคนในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันไปแล้ว


วิธีการประเคนพระ
         วิธีการประเคนพระนั้น ถ้าผู้ประเคนเป็นชาย นิยมยกส่งให้ถึงมือพระภิกษุผู้รับประเคน ถ้าผู้ประเคนเป็นหญิง นิยมวางถวายบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับประเคนนั้น และต้องรอให้พระภิกษุท่านจับที่ผ้าทอดรับนั้นก่อน จึงวางสิ่งของลงบนผ้าที่ทอดรับนั้น

         ถ้าพระภิกษุนั่งอยู่กับพื้น ผู้ประเคนนิยมนั่งคุกเข่าประเคนสิ่งของ ถ้าพระภิกษุนั่งเก้าอี้ เช่น นั่งเก้าอี้ฉันภัตตาหารที่วางบนโต๊ะ ผู้ประเคนนิยมยืนประเคนสิ่งของ

         ในการถวายภัตตาหารคาวหวานแด่พระภิกษุสงฆ์นั้น นิยมถวายเฉพาะสิ่งของที่พระภิกษุสงฆ์จะพึงฉันได้เท่านั้น ส่วนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระโถน จาน ชาม ช้อน แก้ว เป็นต้น นิยมไม่ต้องยกประเคนพระเพียงแด่วางมอบให้เท่านั้น

       ภัตตาหารคาวหวานทุกชนิด ที่ประเคนพระภิกษุสงฆ์แล้วนิยมไม่ให้คฤหัสถ์ทั้งชายและหญิงจับต้องอีก ถ้าเผลอไปจับต้องเข้า นิยมให้ยกประเคนแก่พระภิกษุเสียใหม่ทุกครั้งไป

        เมื่อประเคนภัตตาหารคาวหวานครบทุกอย่างแล้ว นิยมทําความเคารพพระภิกษุสงฆ์ คือ ถ้านั่งคุกเข่าประเคน ก็นิยมกราบ ๓ ครั้ง ถ้ายืนประเคน ก็นิยมห้อมตัวลงยกมือไหว้ ๑ ครั้ง เป็นเสร็จพีธีการประเคนพระ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017444849014282 Mins