เตรียมกายก่อนสวดมนต์

วันที่ 16 มีค. พ.ศ.2562

เตรียมกายก่อนสวดมนต์

เตรียมกายก่อนสวดมนต์

        ก่อนทำวัตรสวดมนต์ ควรอาบนํ้าชำระกายให้สะอาดบริสุทธิ์ แต่งกายด้วยชุดขาวหรือชุดสุภาพ ทำให้เหมือนกับว่า ขณะนั้น เป็นวินาทีสำคัญแห่งชีวิตของเราที่จะได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วเข้าไปในห้องพระทำการสวดมนต์

        แม้แต่สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป จะเป็นอุโบสถหรือวิหารก็ดี ห้องพระที่บานก็ดี ชาวพุทธต้องเอาใจใส่ในการดูแลเรื่องความสะอาดเรียบร้อย อย่าปล่อยให้สกปรกรกรุงรัง ต้องหมั่นปัดกวาดเช็ดถู ให้เหมาะสมกับเป็นที่ประทับของพระทุทธเจ้า เพื่อให้เกิดความศรัทธาแก่ผู้พบเห็น

        เมื่อเดินเข้าไปเห็นความสะอาดเป็นระเบียบ ย่อมก่อให้เกิดความศรัทธาได้แล้ว และเกิดความรู้สึกสงบเย็นใจเมื่อได้สัมผัส

        แต่ถ้าเข้าวัดเพื่อจะทำบุญไหว้พระ กลับเจอความสกปรกของอาคารสถานที่และบริเวณวัด ซึ่งสกปรกเต็มไปด้วยสุนัขเป็นต้น อาจจะทำให้จิตตกไม่อยากทำบุญเลยก็มี ฉะนั้น ต้องดูแลรักษาให้ดี ต้องทำด้วยความเคารพศรัทธาเสมือนพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่และเราได้มีโอกาสเข้าเฝ้าจริงๆ

        บางคนพอมีคนชวนสวดมนต์ก็ปนว่า "จะสวดไปทำไมก็ทำดีอยู่แล้ว นั่งปวดเมื่อยเปล่าๆ" ความจริงการสวดมนต์ จะนั่งพับเพียบสวดหรือนั่งเก้าอี้สวดก็ไม่มีปัญหา ถ้าเรามีศรัทธาเสียอย่าง ถ้าสุขภาพไม่เอื้ออำนวยก็สามารถนั่งเก้าอี้ได้

        เพราะสำคัญอยู่ที่ใจต่างหาก ไม่ใช่ที่บทสวดหรือท่านั่ง

        ในขณะที่เราสวดมนต์ไหว้พระนั้น ทำให้เป็นเหมือนกับว่าเราอยู่ในบรรยากาศแห่งความสงบ ไม่ควรให้อารมณ์ใดๆ มารบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงโทรศัพท์ หรือเสียงด่าทะเลาะกัน

        เพราะห้องพระเป็นห้องศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของเทวดา และผู้มีบุญทั้งหลาย

        ส่วนคนที่ไม่มีห้องพระ ให้กราบบนหมอนในห้องนอนก็ได้ ให้น้อมใจระลึกถึงพระรัตนตรัยหรือครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ แล้วสวดมนต์เปล่งเสียงออกมาเบาๆ

        เมื่อจะเริ่มสวด ควรเริ่มด้วยการไหว้พระสวดมนต์สั้นๆ ก่อน คือ 

        อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
        พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
        ส๎วากขาโต กะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
        สุปะฏิปันโน กะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ

        จากนั้น จึงสวดบทอิติปีใส สะวากขาโต และสุปฏิบันโน เพื่อเป็นการน้อมถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์หลังจากนั้น จึงเลือกบทสวดประจำวัน หรือจะเลือกสวดวันละบทก็ได้ เพราะจะทำให้เราได้มีโอกาสสวดมนต์ทุกบท จนครบแล้ววนกลับมาอีกจนเกิดความชำนาญ

        จากนั้น หากมีเวลาหลังการสวดมนต์ ควรนังสมาธิ เพื่อเป็นการทำจิตให้เกิดความสงบยิ่งขึ้นไปอีก

        หากมีเวลาอย่างจำกัด ควรแบ่งเวลาให้พอดี ให้ได้ทั้งสวดมนต์ นั่งสมาธิและแผ่เมตตา เช่น สวดมนต์สั่น ๕-๑๐ นาที จากนั้น จึงแผ่เมตตาและนั่งสมาธิอีก ๕ นาที

        ไม่ควรสวดมนต์อย่างเดียวโดยไม่นงสมาธิ
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012108365694682 Mins