ธชัคคสูตร : สะดุ้งกลัว ตกใจง่าย ต้องสวดบทนี้

วันที่ 24 สค. พ.ศ.2562

ธชัคคสูตร : สะดุ้งกลัว ตกใจง่าย ต้องสวดบทนี้

 

ธชัคคสูตร : สะดุ้งกลัว ตกใจง่าย ต้องสวดบทนี้

 

        ธชัคคะ แปลว่า ''ยอดธง" ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธงอันเป็นสัญลักษณ์ให้ระลึกถึงเมื่อมีภัย หรือความหวาดกลัว

        โบราณท่านกล่าวว่า ใครเป็นโรคกลัวความสูงให้สวดบทนี้
        เมื่อครั้งเกิดสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ท้าวสักกะได้แนะนำให้เหล่าเทวดาที่เกิดความหวาดกลัวพวกอสูร มองดูยอดธงของพระองค์หรือของเทวดาชั้นรองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้ เพื่อปลุกใจให้สู้ไม่กลัวพวกอสูร จึงจะได้รับชัยชนะส่วนพระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนให้พระสงฆ์เชื่อมั่นและยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง จะทำให้คลายจากความกลัว และรู้สึกปลอดภัย

        ธชัคคสูตรนี้ จะไม่เรียกว่า "ปริตร'' เพราะมีลักษณะการแต่งเป็นพระสูตร คล้ายมงคลสูตรหรือธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งนิยมขึ้นต้นด้วยคำว่า ''เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง''

        บทนี้นิยมใช้สวดในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าธงไชยเฉลิมพล

ตำนานบทสวดมนต์
        บทสวดมนต์นี้ มีตำนานมาจากเรื่องการสู้กันระหว่างเทวดาและอสูร ส่วนสาเหตุความแค้นฝังใจจนกลายเป็นสงครามนั้น มีความเป็นมา ดังนี้

        ในอดีต มีมาณพคนหนึ่งชื่อว่า "มฆะ" อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน อจละ เมืองมคธ กำลังเดินไปทำงานในหมู่บ้าน พอไปถึงที่แห่งหนึ่งก็เอาปลายเท้าคุ้ยฝุ่นให้ราบเรียบ แล้วทำให้เป็นนั่งที่พักผ่อนต่อมา ชายคนหนึ่งมาถึงก็ผลักเขาแย่งที่นั้นแล้วนั่งพักเสียเอง

        มฆะมาณพแทนที่จะโกรธกลับดีใจที่ชายคนนั้นได้นั่งพักในที่อันสบาย ส่วนตนเองได้หลบไปทำที่อื่นให้เป็นพักอันสบายแล้วพักอยู่ คนอื่นมาถึงก็แย่งที่นั่งของเขาเช่นกัน เหตุการณ์เป็นไปในทำนองนี้อยู่เรื่อยๆ แต่เขาก็ไม่เคยโกรธใคร คิดเสียว่า ''ขอคนเหล่านั้น จงมีความสุขเถิด ขอกรรมนี้จงเป็นเหตุให้เรามีความสุขเช่นกัน"

        วันรุ่งขึ้น จึงได้ถือเอาจอบไปถากสถานที่นั้นให้เรียบร้อยทำให้เป็นที่นั่งพักผ่อน พอถึงในฤดูหนาวก็ได้ก่อไฟ ส่วนในฤดูร้อนก็ได้ให้น้ำกินน้ำใช้ ด้วยตั้งใจว่า "ขึ้นชื่อว่าสถานที่อันน่ารื่นรมย์ ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป จะไม่เป็นที่พอใจของใครๆนั้นไม่มี"

        ตั้งแต่นั้นมา ทุกเช้ามฆะมาณพก็ทำหน้าที่แทนเทศบาลปัดกวาดทำความสะอาด ปลูกต้นไม้ ดูแลสวนสาธารณะให้เรียบร้อย คนที่เดินทางผ่านไปมาก็ได้นั่งพักอย่างสบาย

        ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย
        ภายหลัง มีชายคนหนึ่งมาพบเห็นเขา จึงถามถึงเหตุผลที่ต้องมาทำเช่นนี้
        นายมฆะจึงตอบว่า ''กำลังทำทางไปสวรรค์"
        ชายคนนั้นจึงรับอาสาเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ตั้งแต่นั้นมา ทั้ง ๒ คน ก็ซ่วยกันทำงานเพื่อสังคม แม้ชายอีกหลายคนมาพบกับเขาทั้งสองก็ถามอย่างนั้นเหมือนกัน ก็ได้รับคำตอบเหมือนกัน

        ต่อมา ชายหนุ่มทั้งหลายได้รวมตัวกัน เรียกว่า ''กลุ่ม ๓๓" เพราะมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ๓๓ คน ได้ช่วยกันสร้างสถานที่พักผ่อนอันสวยงาม เพื่อประโยชน์แก่คนทั้งหลาย

        โบราณว่าทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย
        เรื่องของชายหนุ่มกลุ่มนี้ก็เช่นกัน ผู่ใหญ่บ้านพอเห็นคนทั้งหลายพากันชื่นชมชายหนุ่มกลุ่ม ๓๓ นี้ ก็มีความคิดอิจฉาหาทางกำจัดให้พ้นจากเส้นทาง เพราะห้ามก็ไม่ฟังสั่งก็ไม่ได้ จึง
นำความไปฟ้องร้องเท็จต่อพระเจ้าแผ่นดินว่า "ข้าพเจ้าเห็นพวกโจรกลุ่มหนึ่งกำลังออกปล้นชาวบ้าน" เท่านั้นเอง พระเจ้าแผ่นดินก็หลงเชื่อสั่งให้คนจับตัวมาลงโทษ

        พอนำมาเท่านั้น พระราชายังมิทันได้ทรงพิจารณาสอบสวนเสย ก็ออกคำสั่งว่า "พวกท่านจงให้ช้างเหยียบ" แต่ช้างไม่เหยียบเพราะอานุภาพแห่งเมตตาของมฆะมาณพและบริวาร ฝ่าย
พระราชาทรงคิดว่า "ช้างเห็นคนมาก จึงไม่กล้าเหยียบ" จึงสั่งให้เอาเสื่อวางคลุมเสียก่อนแล้วจึงให้ช้างเหยียบอีกรอบ

        แต่ช้างก็ไม่กล้าเหยียบแถมถอยกลับเสียแต่ไกลทีเดียวด้วยอำนาจแห่งเมตตาของมาณพ

        พระราชาทรงทราบเหตุนั้น จึงไต่ถามสอบสวน แล้วได้ทราบความจริงว่าไม่ใช่โจรแต่เป็นคนดี เพียงแต่ถูกผู้ใหญ่บ้านใส่ร้ายป้ายสี จึงรับสั่งว่า "แม้แต่ช้างซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉานยังรู้คุณของคน
แต่คนด้วยกันกลับไม่รู้คุณคน" จึงรับสั่งพระราชทานผู้ใหญ่บ้านพร้อมทั้งบุตรและภรรยาให้เป็นคนรับใช้ช้างเชือกนั้นก็พระราชทานให้เป็นรางวัล และมอบตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านให้

        มฆะมาณพกับพวกพูดกันว่า "บุญนี้เห็นผลทันตาจริงๆ" ต่างก็ดีใจและได้มีมติเห็นชอบว่าจะสร้างศาลาที่พักไว้ในทางใหญ่ ๔ แยก แม้แต่ละคนเป็นคนใจบุญและมีครอบครัวแต่ก็ไม่อยากให้คนในครอบครัวมายุ่งเรื่องงานด้วย มุ่งทำงานจนลืมนึกถึงภรรยาตนเอง

        ผู้ฉลาดย่อมไม่พลาดจากบุญ
        ส่วนมฆะมาณพนั้น มีภรรยา ๔ คน คือนางสุนันทา สุจิตรา สุธรรมา สุชาดา

        บรรดาหญิง ๔ คนนั้น นางสุธรรมาอยากจะเป็นใหญ่ในบุญนี้ จึงวางแผนสมรู้ร่วมคิดกับช่างไม้ด้วยการให้สินบน

        ฝ่ายช่างไม้ก็รับปากว่า "ได้" แล้วตากไม้สำหรับทำช่อฟ้าให้เสร็จแล้วสลักอักษรว่า "ศาลาสุธรรมมา" แล้วเอาผ้าห่อเก็บซ่อนไว้

        ครั้นช่างไม้สร้างศาลาเสร็จแล้ว ในวันยกช่อฟ้า จึงแจ้งกับคนเหล่านั้นว่า "นายครับ ตายจริง ผมลืมงานสำคัญอย่างหนึ่ง" 

        ด้วยความสงสัย มาณพทั้งหลายจึงถามว่า "ลืมอะไรเหรอ"

        พอรู้ว่าเป็นช่อฟ้าจึงแจ้งว่าจะนำช่อฟ้ามาเอง

        ฝ่ายช่างก็ออกอุบายว่า จะทำตอนนี้คงไม่ทันการณ์แล้วเพราะต้องได้ไม้ช่อฟ้าที่เขาตัด ถากสลักชื่อไว้นั่นแหละจึงจะใช้ได้ ฝ่ายมาณพทั้งหลายก็ตกหลุมพรางของช่างแล้วบอกว่า "จะเอาที่ไหนก็หามาให้ได้เพราะต้องใช้ตอนนี้''

        ฝ่ายมาณพทั้งหลายพากันเที่ยวหาอยู่ ได้พบไม้ทำช่อฟ้าในเรือนของนางสุธรรมา แล้วพยายามขอซื้อด้วยราคาหนึ่งพัน แต่นางสุธรรมาก็ไม่ยอมขาย แต่บอกว่า "ถ้าท่านทำฉันให้มีส่วนร่วมในศาลานี้ไซร้ ฉันจักให้ฟรี"

        ทีแรก มาณพทั้งหลายจะไม่ยอม เพราะไม่อยากให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมด้วย แต่ถูกช่างไม้รบเร้าให้รับเอาเพื่อให้งานสำเร็จ จึงรับเอาช่อฟ้ามายกในวันนั้น

        เมื่อสร้างศาลาสำเร็จแล้ว แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือส่วนหนึ่ง แบ่งเป็นที่พักสำหรับแขกผู้ใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นที่พักสำหรับคนยากจน คนเดินทาง อีกส่วนหนึ่งสำหรับคนป่วย

        มาณพทั้ง ๓๓ คน สั่งให้คนปูแผ่นกระดาน ๓๓ แผ่นไว้ แล้วให้สัญญาณแก่ช้างว่า "ถ้ามีคนมานั่งบนแผ่นกระดานของผู้ใด, ก็ให้ช้างพาผู้นั้นไปพักอยู่ที่เรือนของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั้นแหละ การดูแลต้อนรับทุกอย่าง จะเป็นหน้าที่ของผู้นั้น"

        มฆะมาณพได้ปลูกต้นทองหลางไว้ต้นหนึ่งไม่ห่างจากศาลามากนัก แล้วปูแผ่นศิลาไว้ที่โคนต้นทองหลางนั้น

        คนผ่านไปผ่านมา เมื่อเห็นศาลาสวยงาม ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ศาลาสุธรรมา'' ส่วนชื่อของมาณพทั้งหลายนั้นไม่ปรากฏแม้แต่คนเดียว

        นี้เป็นความฉลาดของนางสุธรรมา

        ฝ่ายนางสุนันทาก็คิดหาอุบายอยากทำบุญเช่นกัน คิดว่าคนที่มาสู่ศาลาควรจะได้ดื่มน้ำและอาบน้ำพักผ่อน จึงสั่งให้ขุดสระโบกขรณี นางสุจิตราก็อยากมีส่วนร่วมในบุญเช่นกัน จึงสั่งให้คนจัดสวนดอกไม้ไว้

        ฝ่ายนางสุชาดาสำคัญผิดว่า ตัวเองเป็นลูกลุงของนายมฆะทั้งมีสถานะเป็นภริยาด้วย บุญที่สามีทำแล้ว ก็คงเป็นของภรรยาเหมือนกัน กรรมที่ภรรยาทำก็คงตกแก่สามีเหมือนกัน จึงไม่ทำบุญอะไรเลย วันๆ เอาแต่แต่งหน้าทาปากแต่งตัว ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปอย่างไร้ประใยชน์

        นี้เป็นความสำคัญผิดที่ตกมาถึงแก่คนรุ่นหลังทีเดียวเพราะบุญเป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครทำใครได้ความบริสุทธิ์หรือความไม่บริสุทธิ์ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่มีใครช่วยกันได้

        แต่เราสามารถร่วมบุญได้ด้วยการอนุโมทนายินดีกับบุญของผู้อื่น

        นอกจากจะมีจิตใจชอบทำบุญแล้ว มฆะมาณพยังประพฤติวัตร ๗ ข้อ เป็นประจำตลอดชีวิต คือ ตั้งใจบำรุงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล พูดคำสัตย์ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด กำจัดความตระหนี่ และไม่โกรธ

เกิดสงครามชิงภพ
        จนวาระสุดท้ายของชีวิต มฆะมาณพได้ตายไปเกิดเป็นท้าวสักกะบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนสหายทั้งหมดก็ได้ไปเกิดในที่เดียวกัน

        สวรรค์ชั้นนั้น จึงได้ชื่อว่า ''ดาวดึงส์'' เพราะเป็นที่อยู่ของเทวดา ๓๓ องค์

        ส่วนช่างไม้ได้ไปเกิดเป็นวิศวกรรมเทพบุตร ส่วนช่างเกิดเป็นเทพบุตรชื่อเอราวัณ

        ตามจริง ในเทวโลกย่อมไม่มีสัตว์ดิรัจฉาน เพราะฉะนั้นในเวลาท้าวสักกะเสด็จออกเพื่อประพาสอุทยาน เทพบุตรนั้นจึงจำแลงตัวเป็นช้างชื่อเอราวัณ สูงประมาณ ๑๕๐ ใยชน์ เป็นช้างทรงของท้าวสักกะ

        ในช่วงนั้น พวกอสูรยังอาศัยอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
        อสูรเหล่านั้นพอเห็นมีเทพบุตรเกิดใหม่ก็เตรียมงานรับน้อง (เทวดา) ใหม่ ด้วยการจัดสุราอาหารทิพย์ไว้ต้อนรับ

        ด้วยความที่ตั้งมั่นในการสั่งสมบุญมานาน ท้าวสักกะจึงนัดหมายกับบริวารของตนเพื่อให้งดดื่มสุราทิพย์ ส่วนพวกอสูรดื่มสุราทิพย์จนเมาทั่วกันแล้ว ท้าวสักกะทรงคิดว่า โอกาสเป็นของเราแล้ว ต่อไปนี้เราจะเป็นใหญ่ในภพนี้ จึงช่วยกันจับอสูรเหล่านั้นโยนลงไปในมหาสมุทร

        อสูรเหล่านั้นเมื่อตกลงไปในสมุทร ก็มีอสูรวิมานได้เกิดมารองรับด้วยอานุภาพแห่งบุญเก่า ณ ภพอสูรนั้นมีต้นไม้ชื่อ ''จิตตปาลิ" (ไม้แคฝอย) เกิดขึ้นเป็นต้นไม้ประจำภพ

        ส่วนบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีต้นปาริฉัตตกะ ความกว้างประมาณ ๓๐๐ โยชน์โดยรอบ เกิดขึ้นด้วยผลแห่งการปลูกต้นทองหลาง บัณฑุกัมพลศิลาซึ่งเป็นที่นั่งของท้าวสักกะ มีขนาดกว้างยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ ก็เกิดขึ้นที่โคนไม้ปาริฉัตตกะด้วยอานิสงส์แห่งการปูแผ่นศิลา เมื่อท้าวสักกะประทับนั่งก็ยุบลงเวลาลุกขึ้นก็ฟูขึ้นอีกอย่างน่าอัศจรรย์

        ที่นั่งของพระอินทร์นี้ เวลามีคนเดือดร้อนก็จะแสดงอาการร้อน เป็นเหตุให้พระอินทร์ต้องลงมาช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน

ตำนานนางนกกระยางขาว
        บรรดาภรรยาทั้ง ๔ คนของมฆะมาณพ นางสุธรรมา นางสุนันทา และนางสุจิตรา ๓ คนนี้ได้ทำบุญร่วมกับมฆะมาณพก็ได้เกิดบนสวรรค์ขึ้นดาวดึงส์เช่นกัน มีเพียงนางสุชาดาภรรยาคนที่ ๔ ที่สำคัญผิดคิดว่าสามีทำบุญ ตนเองก็คงจะได้บุญด้วยเช่นกัน วันๆ เอาแต่แต่งตัวสวยเดินอวดโฉมไปมา ส่งผลให้ไปเกิดเป็นนกกระยางขาวที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง

        ท้าวสักกะเมื่อรู้ว่านางไปเกิดเป็นนกกระยางขาว จึงปลอมตัวไปเพื่อเตือนสติให้นางรักษาศีล ๕ ให้ดี เพื่อจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ด้วยกัน นางนกกระยางพอรู้ว่าเป็นท้าวสักกะและได้ฟังข่าวว่าเพื่อนทั้งหมดก็ไปเกิดบนสวรรค์กันหมด ก็เกิดความสลดสังเวชใจ จึงได้ตั้งใจรักษาศีล ๕ อย่างมั่นคง

        ตามธรรมดาอาหารของนกกระยางคือปลาตามหนองนํ้า นางนกกระยางขาวจึงกินเฉพาะปลาตายเท่านั้นไม่กินปลาดิบถ้าเห็นปลายังกระดิกหางได้อยู่ ก็จะไม่กินด้วยความตั้งใจรักษาศีล ต่อมา นกกระยางขาวได้กินอาหารบ้าง ไม่ได้กินบ้าง ทำให้ซูบผอมลงและตายในที่สุด

        ด้วยอานิสงส์แห่งศีล ๕ นั้น ทำให้นางไปเกิดเป็นธิดาของช่างหม้อในเมืองพาราณสี

        ยังต้องพลัดพรากจากเพื่อนอีก ๑ ชาติ

        ต่อมา ในเวลาที่นางมีอายุราว ๑๕-๑๖ ปี ท้าวสักกะทรงสำรวจดูก็พบว่านางไปเกิดบนโลกมนุษย์ ยังอยู่คนละภพภูมิจึงปลอมตัวลงมายังโลกมนุษย์เป็นพ่อค้าขายของ ประกาศให้คนเอาถั่วเขียวมาแลกกับฟักทอง แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเป็นสตรีผู้มีศีล

        ประชาชนบ้านป่าเมืองดงในสมัยนั้นยังไม่รู้ว่าศีล ๕ คืออะไร ต่างตอบกันไปคนละทิศละทาง บ้างก็ว่าเป็นสีดำ บางคนก็สงสัยว่าเป็นวัตถุลึกลับ

        ธิดาของช่างปั้นหม้อ รู้ว่าปัญหานี้ง่ายนิดเดียว ด้วยความที่รักษาศีล ๕ มานาน จึงได้ตอบปัญหาของพ่อค้า (ปลอม) และได้เป็นเจ้าของฟักทอง (คำ) ผลไม้วิเศษที่ท้าวสักกะประทานให้ เป็นสมบัติวิเศษเพื่อใช้เลี้ยงตัวได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องไปทำกรรมให้ผิดศีล ๕ แต่ประการใด

สวยดุจนางฟ้าแต่เป็นธิดาของอสูร

        ฝ่ายธิดาของช่างหม้อนั้น พอตายไป ก็ได้ไปเกิดเป็นธิดาของหัวหน้าอสูรผู้เป็นคู่เวรกับท้าวสักกะ และด้วยอานิสงส์แห่งศีลที่รักษามาแล้วถึงสองภพสองชาติ ทำให้นางเป็นผู้มีรูปร่างสวยสดงดงาม มีผิวพรรณดุจทองคำ เรียกว่าสวยหาที่ติมิได้ไม่เหมือนเทพธิดาคนใดเลย

        ท้าวอสูรหวงลูกสาวเป็นหนักหนา แม้จะมีคนมาขอก็ไม่ยอมยกให้ใคร เพราะพิจารณาดูทั่ว ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดินแล้ว ไม่มีใครเหมาะกับนาง แต่ก็เปิดโอกาสให้ลูกสาวเลือกคู่ครองด้วยตนเอง จึงให้พลเมืองชาวอสูรประชุมกัน แล้วได้ให้พวงมาลัยเสี่ยงทายแก่ธิดานั้น

        ประเพณีโบราณการเลือกคู่ด้วยการโยนมาลัยเสี่ยงทายคงถือกำเนิดมาตั้งแต่บัดนั้นกระมัง แม้ปัจจุบันนี้ ในพิธีแต่งงานสาวใดได้รับดอกไม้ที่เจ้าสาวโยนลงมาให้เพื่อนๆ เจ้าสาวแย่งกัน

        แสดงว่าเตรียมตัวเป็นเจ้าสาวได้เลย

        ในขณะนั้นเอง ท้าวสักกะทรงติดตามดูสถานการณ์ของนางอยู่ตลอดเวลา เมื่อทราบว่านางไปเกิดเป็นธิดาอสูร และรู้ว่าวันนี้จะมีการเสี่ยงทายเพื่อเลือกคู่ขึ้น จึงปลอมตัวเป็นอสูรรูปร่างอัปลักษณ์เหมือนคนแก่ ไปยืนปะปนอยู่ที่ชุมนุมด้วย

        แม้ธิดาของท้าวอสูร เมื่อเหลียวซ้ายแลขวา พิจารณาดูข้างโนน้และข้างนี้ก็ไม่พบใครที่ถูกใจ แต่พอพบสบตากับห้าวลักกะเท่านั้นเอง ความรักซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจบุพเพสันนิวาสก็ท่วมทับหัวใจจนหยุดไม่อยู่ เหมือนห้วงนั้าใหญ่ไหลมา ก็ตกลงปลงใจว่า "คนนี้แหละสามีของเรา'' ว่าแล้วจึงโยนพวงมาลัยไปตกเบื้องบนท้าวสักกะนั้น

        ในขณะนั้นเอง พวกอสูรในที่ประชุมก็ตกตะลึงกันยกใหญ่ นึกไม่ถึงว่าธิดาอสูรจะมีรสนิยมชอบคนแก่ นึกละอายใจว่าหัวหน้าเราไม่ยอมยกลูกสาวให้ใคร บัดนี้ได้สามีรุ่นราวคราวปู่ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ไหน

        ฝ่ายท้าวสักกะพอได้โอกาสก็รีบคว้ามือธิดาของอสูรประกาศให้รู้กันว่าตนเองคือท้าวสักกะ แล้วเหาะหนีกลับไปบนสวรรค์ สร้างความเจ็บแค้นใจแก่หัวหน้าอสูรเป็นอย่างมาก แม้จะยกพวกไล่ติดตามก็ไม่สามารถตามทันได้

        อสูรทั้งหลายจึงผูกใจเจ็บแค้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุผล ๒ ประการคือ ครั้งแรกถูกจับโยนลงจากสวรรค์มาอยู่บนภพอสูร ครั้งที่สองถูกหลอกเอาลูกสาวหนีไปได้

        เมื่อมีโอกาสมีกำลัง ก็จะยกพวกมาท้ารบกับท้าวสักกะก่อให้เกิดสงครามระหว่างเทพกับอสูรกันเป็นประจำ และอสูรทั้งหลายก็พ่ายแท้ถอยกทับไปทุกที ถึงคราวก็ยกมารบใหม่อย่างนี้เรื่อยไป

        เหตุนี้แหละจึงเรียกว่า "เทวาสุรสงคราม" คือสงครามระหว่างเทวดาและอสูร

สมัญญาพระอินทร์
        ท้าวสักกะเมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ประพฤติวัตร ๗ ข้อ ให้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง คือ


๑. เป็นผู้ดูแลเลี้ยงดูมารดาบิดาตลอดชีวิต
๒. เป็นผู้มีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ตลอดชีวิต
๓. เป็นผู้พูดจาอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เป็นผู้ไม่พูดส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เป็นผู้มีจิตใจปราศจากความตระหนี่ มีแต่ความเสียสละตลอดชีวิต
๖. เป็นผู้กล่าวคำสัตย์จริงตลอดชีวิต
๗. เป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต

        นี้เรียกว่า "คุณธรรมของท้าวสักกะ'' ผู้ใดปรารถนาจะเกิดเป็นท้าวสักกะในอนาคต ก็ต้องตั้งใจปฏิบัติธรรมทั้ง ๗ ข้อนี้ให้ดี แม้ไม่ปรารถนาสิ่งใดๆ เพียงเราตั้งใจปฏิบัติให้ได้เพียงข้อเดียว ก็จะเกิดความสุขสวัสดีและเกิดเป็นบารมีแก่ตัวเราอย่างแน่นอน

        อีกอย่างหนึ่ง หลายคนคงได้ยินกันบ่อยถึงคำเรียกหัวหน้าเทวดาว่า ''พระอินทร์" หรือ "ท้าวสักกะ'' บ้าง จนเกิดความสับสนไม่รู้จะใช้คำไหนดี

        ความจริงท้าวสักกะหรือพระอินทร์นั้น มีชื่อเรียกต่างๆ กันตามมูลเหตุแห่งการตั้งชื่อ คือในสมัยที่พระองค์เป็นมนุษย์ เกิดเป็นมาณพชื่อ "มฆะ" ฉะนั้น พอเกิดเป็นเทวดา เขาจึงเรียกว่า "ท้าวมฆวา'' ตามชื่อเมื่อครั้งเป็นมนุษย์

        เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้ให้ทานก่อนคนอื่นเขา คนจึงเรียกว่า "ท้าวปุรินทะทะ"
        เพราะได้ให้ทานโดยเคารพ คนจึงเรียกว่า "ท้าวสักกะ"
        เพราะได้ให้ที่พักอาศัย คนจึงเรียกว่า "ท้าววาสะวะ"
        เพราะทรงรู้เรื่องราวตั้งพันได้เพียงครู่เดียว คนจึงเรียกว่า "สหัสสักชะ" คือมีตาทิพย์ มีตามาก เหมือนตาสับปะรด

ท้าวสักกะมีภรรยาชื่อ "สุชาดา" ฉะนั้น คนจึงเรียกว่า "ท้าวสุชัมบดี"
เพราะเป็นหัวหน้าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เราจึงเรียกว่า "เทวานะมิมทะ" หรือพระอินทร์

บทสวดและคำแปล (ย่อ)


อะรัญเญ รุกขะมูเล วา             สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง           ภะยัง ตุุมหากะ โน สิยา
โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ        โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
อะถะ ธัมยัง สะเรยยาถะ         นิยยานิกัง สุเทสิตัง
โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ        นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ        ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัง พุทธัง สะรันตานัง         ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ภะยัง วา ฉันภิตัตตัง วา        โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในป่า หรือที่โคนต้นไม้ ในเรือนว่าง พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้า ภัยจึงจะไม่มีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ประเสริฐกว่านรชน

        ที่นั้น พึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว

        ที่นั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี อาการกลัวจนขนหัวลุกก็ดี จักไม่มีดังนี้แล ฯ

ธรรมะจากบทสวดมนต์
        บทสวดในธชัคสูตรนี้ เป็นการกล่าวถึงอำนาจพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดได้ตั้งใจน้อมระลึกถึงเมื่อเกิดความกลัวหรือถูกอำนาจภัยมืดคุกคาม สวดเป็นประจำทุกวัน ย่อมพ้นจากภัยได้

        คนส่วนใหญ่พอเกิดความกลัว คว้าอะไรได้ก่อนก็ยึดเอาเป็นที่พึ่งได้หมด โดยไม่สนใจว่าผิดหรือถูก กว่าจะรู้ตัวว่าสิ่งที่เรายึดถือมานั้นผิด ก็ต้องใช้เวลานาน

        มนุษย์และสัตว์รสัญชาตญาณรักตัวกลัวตาย และอยากมีที่พึ่งด้วยกันทั้งนั้น

        เวลาเรากลัวขึ้นมาหรือปรารถนาโชคลาภก็พึ่งผี พึ่งภูเขาไหว้ต้นไม้ บูชาจอมปลวกบ้าง

        สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถช่วยเราได้เลย

        พระอินทร์ได้บอกเทวดาว่า ถ้ากลัวให้มองดูชายธงจะได้หายกลัว

        พระอินทร์เป็นปุถุชนยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ คนเชื่อฟังและพึ่งแล้วย่อมฟ้นจากภัยได้

        พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐไม่มีใครยิ่งกว่า ห่างไกลจากกิเลส ทรงประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ และพระมหาการุณาธิคุณ เป็นผู้มีความเอ็นดู หวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย

        ถ้าเราได้พึ่งพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนย่อมพ้นจากความทุกข์ได้แน่นอน

        แต่ทุกวันนี้ เราพึ่งวัตถุมงคลมากกว่าพึ่งคำสอน พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากกว่าพึ่งพระธรรม

        การนับถือนั้น ต้องนับถือให้ลึกซึ่งถือคำสอนที่ช่อนอยู่ในวัตถุมงคล อย่านับถือเพียงแค่รูปปั้นภายนอก

        ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เวลาแจกวัตถุมงคลท่านก็จะสอนเสมอว่าให้รักษาศีล ๕ หมั่นทำบุญบางรูปก็เน้นว่า อย่าผิดลูกผิดเมียคนอื่นบ้าง อย่าประมาท ให้มีสติ

        แต่เราก็จำได้แค่วัตถุมงคล ลืมคำสอนที่ท่านสั่ง

        เราต้องเคารพในคุณธรรมความดีของผู้นั้น ไม่ใช่เคารพบูชาเพื่อขอความช่วยเหลือ เราต้องช่วยเหลือตัวเอง ก่อนที่จะอ้อนวอนให้เทพช่วยเหลือ เมื่อเราฝากความหวังไว้กับคนอื่นถ้าไม่ได้ก็จะผิดหวัง เลิกนับถือเทพองค์นี้

        แล้วไปหาเทพองค์ใหม่ สิ่งคักดิ์สิทธิ์รูปแบบใหม่ที่ช่วยเหลือตนเองได้

        จึงทำให้เกิดเทพจริง และเทพปลอมขึ้นเป็นจำนวนมาก

        กว่าจะรู้ว่าโดนหลอก เราก็หมดตัวเสียแล้ว


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0038579662640889 Mins