โอวาทปาฏิโมกขคาถา บทนี้เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันเพ็ญเดือน ๓ มาฆบูชา (จาตุรงคสันนิบาต)

วันที่ 04 พย. พ.ศ.2563

โอวาทปาฏิโมกขคาถา บทนี้เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันเพ็ญเดือน ๓ มาฆบูชา (จาตุรงคสันนิบาต)

โอวาทปาฏิโมกขคาถา
บทนี้เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันเพ็ญเดือน ๓ มาฆบูชา (จาตุรงคสันนิบาต)

(นำ) (หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดโอวาทปาฏิโมกข์คาถากันเถิด.)

(รับ) สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง ;

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,
การทำกุศลให้ถึงพร้อม ;

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,
การชำระจิตของตนให้ผ่องใส;

เอตัง พุทธานะสาสะนัง.
ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ;

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง ;

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี.
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย.

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย ;

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย ;

ปาติโมกเข จะ สังวะโร,
การสำรวมโนปาติโมกข์ ;

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณโนการบริโภค ; 

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด ;

อะธิจิตเต จะ อาโยโค,
ความหนั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ;

เอตัง พุทธานะสาสะนัง.
ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0032202839851379 Mins