โมรปริตร
ใช้สวดเพื่อเป็นเกราะป้องกันภัย ทั้งกลางวันและกลางคืน
(นำ) (หันทะ มะยัง โมระปะริตตัง ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดโมรปริตรกันเถิด.)
(รับ) อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส,
พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง กำลังอุทัยขึ้นมา สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี ;
ตัง ตัง นะมัสสามิ, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระอาทิตย์นั้น ;
หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง, ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี ;
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง, ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้ว พึงอยู่เป็นสุขตลอดเวลากลางวันวันนี้ ;
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม, ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว เหล่าใด เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง ;
เต เม นะโม, ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด ;
เต จะ มัง ปาละยันตุ, ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด ;
นะมัฅถุ พุทธานัง, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ;
นะมัตถุ โพธิยา, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ;
นะโม วิมุตตานัง, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งหลาย ;
นะโม วิมุตติยา, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม ;
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา. นกยูงนั้น กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร.
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส, พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง กำลังลาลับไปจากการส่องแสงแก่พื้นปฐพี ;
ตัง ตัง นะมัสสามิ, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ชึ่งพระอาทิตย์นั้น ;
หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง, ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี ;
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง, ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้ว พึงอยู่เป็นสุขตลอดราตรีนี้ ;
เย พ๎ราพ๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม, ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว เหล่าใด เป็นผู้รู้จบโนธรรมทั้งปวง ;
เต เม นะโม, ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด ;
เต จะ มัง ปาละยันตุ, ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด ;
นะมัตถุ พุทธานัง, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ;
นะมัตถุ โพริยา, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ;
นะโม วิมุตตานัง, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งหลาย ;
นะโม วิมุตติยา, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม ;
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ. นกยูงนั้น กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงพักผ่อนหลับนอนแล.