ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

วันที่ 29 มค. พ.ศ.2564

640127_02.jpg

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระสูตรว่าด้วยเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่พระองค์แสดงแก่ปัญจวัคคีย์ นิยมสวดในงานทำบุญคล้ายวันเกิด

(นำ) (หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกันเถิด.)

(รับ) เอวัมเม สุตัง, ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ฟังมาอย่างนี้ ;

เอกัง สะมะยัง, สมัยหนึ่ง ;

ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะคะเน มิคะทาเย, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสี ;

ตัต๎ระ โข, ที่นั่นแล ;

ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ, พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มา ตรัสว่า :-

เท๎วเม ภิกขะเว อันตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้มีอยู่ ;

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา, เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย ;

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค, นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย ;

หีโน, เป็นของต่ำทราม ;

คัมโม, เป็นของชาวบ้าน ;

โปถุชชะนิโก, เป็นของคนชั้นปุถุชน ;

อะนะริโย, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ;

อะมัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง ;

โย จายัง อัตตะกิละมะถามุโยโค, อีกอย่างหนึ่ง คือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก ;

ทุกโข, เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์ ;

อะนะริโย, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ;

อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย ;

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต, อะนุปะคัมมะ มัขฌิมา ปะฏิปะทา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดแห่งการกระทำสองอย่างนั้น มีอยู่ ;

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ;

จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ ;

ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ ;

อุปะสะมายะ, เพื่อความสงบ ;

อะภิญญายะ, เพื่อความรู้ยิ่ง ;

สัมโพธายะ, เพื่อความรู้พร้อม ;

นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน ;

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี้เอง ;

เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ ;
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ ;
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ ;
สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ ;
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ ;
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ ;
สัมมาสะมาธิ, ความตั้งใจมั่นชอบ ;
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ;
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ;
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ ;
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ ;
อุปะสะมายะ, เพื่อความสงบ ;
อะภิญญายะ, เพื่อความรู้ยิ่ง ;
สัมโพธายะ, เพื่อความรู้พร้อม ;
นิพพานายะ สังวัตตะติ. เป็นไปเพื่อนิพพาน.
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือ ทุกข์นี้ มีอยู่ ;
ชาติปิ ทุกขา, คือความเกิดก็เป็นทุกข์ ;
ชะราปิ ทุกขา, ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;
มะระณัมปิ ทุกขัง, ความตายก็เป็นทุกข์ ;
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, ความโศก ความรํ่าไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่ สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;
อัปปิจเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ;
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ;
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์ ;
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่ ;
ยายัง ตัณหา, นี้คือตัณหา ;
โปโนพภะวิกา, อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ;
นันทิราคะสะหะคะตา, อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ;
ตัต๎ระตัต๎ราภินันทินี, เป็นเครื่องทำให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ;
เสยยะถีทัง, ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ :-
กามะตัณหา, ตัณหาในกาม ;
ภะวะตัณหา, ตัณหาในความมีความเป็น ;
วิภะวะตัณหา, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น ;
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้มีอยู่ ;
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไป โดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง ;
จาโค, เป็นความสลัดทั้ง ;
ปะฏินิสสัคโค, เป็นความสละคืน ;
มุตติ, เป็นความปล่อย ;
อะนาละโย, เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น ;
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่ ;
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
นี้คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ ;


เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ ;
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ ;
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ ;
สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ ;
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ ;
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ ;
สัมมาสะมาธิ, ความตั้งใจมั่นชอบ ;

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้ว่า :-
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ, ก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้ ;

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ, ก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้ ;
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะมุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุหะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ดังนี้ว่า :-

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ, ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้ ;

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ, ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เราละได้แล้ว ดังนี้ ;

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้ว่า :-

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ, ก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้ ;

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ, ก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้ ;

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ, เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้ว่า :-

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี, ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ, ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี ดังนี้ ;

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ, ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้ ;

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง, ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง มีปริวัฏสาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น, ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด ;

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก, โลเก สะมาระเก สะพ๎รัท๎มะเก, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะอะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญา ว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ;

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง มีปริวัฏสาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้, เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา ;

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิงอะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง, เมื่อนั้น เราปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ;

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ, ก็ญาณและทัศนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ;

อะกุปปา เม วิมุตติ, ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ;

อะยะมันติมา ชาติ, การเกิดนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย ;

นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ. บัดนี้การเกิดอีก ย่อมไม่มี ดังนี้.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010652860005697 Mins