อนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระบัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จ้กเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า "รูป
ของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น" ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธและบุคคลย่อมไม่ได้ไนรูปว่า "รูปของเราจงเป็นอย่างนื้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น"
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จ้กเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนา
นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า "เวทนาของเราจงเป็นอย่างน็้ เวทนาของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้น" ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม
ไม่ได้ในเวทนาว่า"เวทนาของเราจงเป็นอย่างนื้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น"
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา
นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า "สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้น" ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม
ไม่ได้ในสัญญาว่า "สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น"
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักเป็นอัตตา
แล้วไซร้ สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า "สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้ สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น" ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็น
อนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า "สังขาร
ทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น"
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า "วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น" ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า "วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็น
อย่างนั้น"
[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง"
ภิกษุปัญจวัคคีย์ทูลว่า "ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข"
"เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิงนั้นว่า นั่นของ
เรา นั่นเป็นเรา นั้นเป็นตนของเรา"
"ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า"
"เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
"ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข"
"เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของ
เรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา"
"ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า"
"สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
"ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข"
"เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของ
เรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา"
"ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า"
"สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
"ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข"
"เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของ
เรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา"
"ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า"
"วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง"
"ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข"
"เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า"
"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของ
เรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา"
"ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า"
[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทั้งหมด
นั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่
ตนของเรา
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอกหยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดนั่น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไมใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอกหยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ทังหมดนั่น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดนั่น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดนั่น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
[๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนื้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระพุทธองค์ตรัสไวยากรณภาษิตนื้อยู่ จิตของภิกษุ
ปัญจวัคคีย์ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ในโลก ๖ รูป
สรุป
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรแม่บทคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธควร
ศึกษาให้เข้าใจ เพราะคำสอนได้แสดงหลักธรรมซึ่งเป็นแก่นสำคัญยิ่งของชีวิตไว้ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จน
กล่าวได้ว่า คำสอนที่พระองค์ทรงสอนหลังจากนั้น ล้วนแต่เป็นการขยายความจากธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ทั้งสิ้น
เมื่อได้ศึกษาใหัเข้าใจนัยยะต่างๆ แล้วก็ควรเร่งขวนขวายฝึกฝนอบรมตนเองไปตามข้อ
ปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือคือการปฏิบัติไปตาม "อริยมรรค" อันประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการ ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธานนั่นเอง
เมื่อปฏิบัติจริงจังอย่างนั้น ย่อมเกิดผลดีไปตามลำดับ ให้เป็นที่ประจักษ์ได้ด้วยตัวของ
ตัวเอง