ปุพพังคสูตร1
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นนิมิตเบื้องตนแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นเเห่งดวงอาทิตย์
เมื่อจะอุทัย คือ แสงเงินแสงทองฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็น
นิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สัมมาทิฏฐิฉันนั้นเหมือนกันแล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวาจา ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาสังกัปปะ
สัมมากัมมันตะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมากัมมันตะ
สัมมาวายามะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาอาชีวะ
สัมมาสติ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาวายามะ
สัมมาสมาธิ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาสติ
สัมมาญาณะ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาสมาธิ
สัมมาวิมุตติ ย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มี สัมมาญาณะ
ภายหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาจบลงแล้ว ได้เกิดเหตุการณ์
ต่อจากนั้นคือ
ภิกษุปัญจวัคคีย์ทูลขอการบรรพชาอุปสมบท
[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว
มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความแคลงใจถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผูอึ่น2 ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด"3 แล้วตรัสต่อไปว่า "ธรรมอันเรากล่าว
ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
พระวาจานั้นแล ได้เป็นการอุปสมบทของท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนั้น
[๑๙] ต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประทานโอวาท สั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือด้วย
ธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรมอัน
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา"
ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว
ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อี่นในคำสอนของ
พระศาสดา ได้กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์ทั้ง ๒ พึงได้
การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เธอทั้ง ๒ จงเป็นภิกษุมาเถิด" แล้วตรัสต่อไปอีกว่า "ธรรมอัน
เรากล่าวดีแล้ว เธอทั้ง ๒ จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
พระวาจานั้นแล ได้เป็นการอุปสมบทของท่านทัง ๒ นั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสวยพระกระยาหาร ที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรง
ประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา ภิกษุ ๓ รูปเที่ยวบิณฑบาตแล้วนำสิ่งใดมา ทั้ง ๖
รูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาท สั่งสอนด้วย
ธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระมหานามะและท่าน
พระอัสสชิว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งปวง มีความดับไปเป็นธรรมดา"
ท่านทั้งสองนั้นได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว
ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ
พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์ทั้ง ๒ พึงได้
การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เธอทั้ง ๒ จงเป็นภิกษุมาเถิด" แล้วตรัสต่อไปว่า "ธรรมอันเรา
กล่าวดีแล้ว เธอทั้ง ๒ จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"
พระวาจานั้นแล ได้เป็นการอุปสมบทของท่านทั้ง ๒ นั้น
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ รูปมีดวงตาเห็นธรรม (เป็นพระโสดาบัน) แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงธรรมด้วยพระสูตรสำคัญ คือ "อนัตตลักขณสูตร" ที่เป็นเหตุให้ภิกษุทุกรูปสามารถ
กำจัดกิเลสภายในใจตนเอง และบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ทั้งหมด ดังนี้
อ้างอิง
1พระสูตรเเละอรรถกถาเเปล, อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต, เล่ม ๓๘ หน้า ๓๘๓
2ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น หมายถึง ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นคอยเเนะนำพร่ำสอนในคำสอนของพระบรมศาสดา ไม่ได้หมายถึงว่า ไม่ต้องเชื่อใครเลย
3จงเป็นภิกษุมาเถิด หมายถึง คำประกาศอนุมัติการบรรพชาอุปสมบทเเก่ผู้ขอบวช คือเท่ากับประกาศว่า จงมารับการบรรพชาอุปสมบทตามที่ขอ