พระสูตรปรินิพพาน

วันที่ 17 กค. พ.ศ.2566

17-7-66-BL1.jpg

มหาปรินิพพานสูตร
        ว่าด้วยมหาปรินิพพาน
                 ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นพระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทห์บุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี รับสั่งว่า “เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์ มากอย่างนี้ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ให้พินาศย่อยยับ

                 พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทห์บุตร รับสั่งเรียก วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธมา ตรัสว่า “มาเถิด พราหมณ์ ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์อยู่สำราญตามคำของเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทห์บุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียรทูลถามถึง พระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อยกระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ” และจงกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทห์บุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า “เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ให้พินาศย่อยยับ” พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านจึงจำคำพยากรณ์นั้นให้ดีแล้วมาบอกเรา เพราะว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำเท็จ


               วัสสการพราหมณ์
               วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเทียมยานพาหนะคันงาม ๆ ขึ้นยานพาหนะคันงามๆ ออกจากกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยยานพาหนะคันงาม ๆ ติดตามอีกหลายคันไปยังภูเขาคิชฌกูฏ จนสุดทางที่ยานพาหนะจะเข้าไปได้ ลงจากยานพาหนะเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกัน จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทพบุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดม ด้วยพระเศียร ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์อยู่สำราญ พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทห์บุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า “เราจะโค่นล้มพวกวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ให้พินาศย่อยยับ"


              ราชอปริหานิยธรรม
              สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า

              ๑. “อานนท์เธอได้ยินไหมว่า “พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง”
                ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง”
              พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง”

              ๒. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ”
              “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุมพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีจะพึงทำ”
              “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทํากิจที่พวกเจ้าวัชรีจะพึงทำ"

             ๓. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า “พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม”
             “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม
              “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้วถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม”

             
             ๔. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า “พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง"
             “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชี สักการะเคารพนับถือบูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง"
                “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง”

             ๕. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า “พวกเจ้าวัชซีไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารี ให้อยู่ร่วมด้วย
              “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจ กุลสตรีหรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย”
              “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรี หรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย”

              ๖. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า “พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
               “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชี สักการะเคารพนับถือบูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
              “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”

               ๗. “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า “พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า “ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มาพึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วจึงอยู่อย่างผาสุกในแว่นแคว้น”
                  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า “พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษาคุ้มครองป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า “ทำอย่างไรพระอรหันต์ที่ยังไม่มา จึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วจึงอยู่อย่างผาสุกในแว่นแคว้น
             “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า “ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา จึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วจึงอยู่อย่างผาสุกในแว่นแคว้น”
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธว่า “พราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่สานันทเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ได้แสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ แก่พวกเจ้าวัชชี พวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่”

               เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกเจ้าวัชชีมือปริหานิยธรรมแม้เพียงข้อเดียวก็พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ไม่จำต้องกล่าวว่ามีครบทั้ง ๓ ประการ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ไม่ควรทำสงครามกับพวกเจ้าวัชชี นอกจากจะใช้วิธีปรองดองทางการทูต หรือไม่ก็ทำให้แตกสามัคคีกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าอย่างนั้นบัดนี้ ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมากพระพุทธเจ้าข้า”

                 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”

               จากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้นมคธมีใจยินดีชื่นชมพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่งจากไป


       ภิกขุอปริหานิยธรรม
                เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงไปนิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉัน”

                ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัส แล้วนิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังหอฉันประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า


                “ภิกษุทั้งหลาย
                 ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญ อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยัง หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง
                 ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะพึงทํา
                 ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นตามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้ว

                 ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยัง สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระเป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นสังฆบิดรเป็นสังฆปริณายก และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
                 ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยัง ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา ก่อให้เกิดภพใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว
                 ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า
                 ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งสติไว้ในภายใน ว่า 'ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลงามที่ยังไม่มาพึ่งมา ท่านที่มาแล้วจึงอยู่อย่างผาสุก'

                  ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่

                  ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

                  “ภิกษุทั้งหลาย
                  ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
                  ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็น ผู้ไม่ชอบการพูดคุย  ไม่ยินดีการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
                  ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็น ผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
                  ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็น ผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
                  ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็น ผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจของความปรารถนาชั่ว
                  ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่มี มิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
                  ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชะงักในระหว่าง เพียงเพราะบรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ

                 ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบที่ภิกษุยังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่

                 ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๓ ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

                “ภิกษุทั้งหลาย
                 ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา๑o
                 ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีหิริ
                 ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีโอตตัปปะ
                 ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นพหูสูต๑๑
                 ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังปรารภความเพียร๑๒
                 ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีสติตั้งมั่น
                 ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีปัญญา

                 ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่

                 ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

                “ภิกษุทั้งหลาย
                ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความระลึกได้)
                ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ การเป็นธรรม)
                ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความเพียร)
                ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความอิ่มใจ)
                ๕. ภิกษุจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความสงบกายสงบใจ)
                ๖. ภิกษุพึงหวังได้ แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความตั้งจิตมั่น)
                ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความวางใจเป็นกลาง)

                ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่

                ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

               “ภิกษุทั้งหลาย
               ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
               ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
               ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
               ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา (กำหนดหมายทุกข์โทษของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ)
               ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
               ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา (กำาหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
               ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)

                ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่

                ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรมอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

                “ภิกษุทั้งหลาย
                ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งมั่นเมตตากายกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ๑๓
                ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารี ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
                ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารี ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
                ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีการบริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายอันประกอบด้วยธรรมสุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลได้มาโดยธรรม โดยที่
                ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท๑๔ ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
                ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอริยทิฏฐิอันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ


                 ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมี อปริหานิยธรรมทั้ง ๖ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๖ ประการนี้อยู่”

                 ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ"

                 ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในกรุงราชคฤห์ รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกาวันกัน”

                 ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงอัมพลัฏฐิกาวัน ประทับอยู่ที่พระตำหนักหลวงในอัมพลัฏฐิกาวันได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่พระตำหนักหลวงในอัมพลัฏฐิกาวัน ทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐานย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”

                ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในอัมพลัฏฐิกาวัน รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังเมืองนาฟันทากัน”

                ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงเมืองนาฟันทา ประทับอยู่ที่ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฟันทานั้น


         ท่านพระสารีบุตรบันลือสีหนาท๑๕
                ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มีและย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค

                พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภวาจา๑๖ (วาจาอย่างองอาจ)อย่างสูง เธอถือเอาด้านเดียว บันลือสีหนาทว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค

          สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้” ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”

          “สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้”

          “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”

          “สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วยใจของตนแล้วหรือว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้”

          “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”

          “สารีบุตร ก็ในเรื่องนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณ๑๗ ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคตและปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น บัดนี้ ไฉนเธอกล่าวอาสภวาจาเธอถือเอาด้านเดียวบันลือสีหนาทว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่า พระผู้มีพระภาค"

           ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคตและปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้วิธีการอนุมาน เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของพระเจ้าแผ่นดินมีรากฐานมั่นคง มีกำแพงแข็งแรง
มีป้อมค่ายแข็งแรง มีประตูเดียวนายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียวฉลาด หลักแหลมห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจดูหนทางตามลำดับรอบเมืองนั้นไม่เห็นรอยต่อหรือช่องกำแพงโดยที่สุดแม้เพียงที่ที่พอแมวลอดออกได้ เขาย่อมรู้ว่า 'สัตว์ใหญ่ทุกชนิดเมื่อจะเข้าหรือออกเมืองนี้ ก็จะเข้าหรือออกทางประตูนี้เท่านั้น' แม้ฉันใดวิธีการอนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน
อนาคตกาล ก็จักทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง จักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน สติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธเจ้าข้า”

           ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ในปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฟันทาทรงแสดงธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากจิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐานย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ"

 

 

เชิงอรรถ

ฤทธิ้ในที่นี้หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน

อานุภาพ ในที่นี้หมายถึง การได้รับการศึกษาฟิกฝนศิลปะต่างๆ เช่น ศิลปะเรื่องช้าง

ให้พินาศย่อยยับ ในที่นี้หมายถึง ทำให้ไม่มีให้ถึงความไม่เจริญ และให้ถึงความเสื่อมไปแห่งญาติเป็นต้น

 อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี๋หมายถึง นิยตมิจฉาทิฎฐิได้แก่ ลัทธินัดถึกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าทาน ที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธี๋แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถึอว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดีทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว

๕ วัชชีธรรมที่วางไว้เดิม หมายถึง ประเพณีที่สืบต่อกันมานาน เช่น จับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจร ผู้จับจะไม่ สอบสวน เอง แต่จะส่งให้ฝ่ายสอบสวน ฝ่ายสอบสวนสืบสวน.เล้วรู้ว่าไม่ใช่ก็ปล่อย ถ้ายังสงสัยก็ส่งต่อขึ้นไปตามลำดับชั้น บางกรณี อาจส่งถึงเสนาบดีบางกรณีอาจส่งถึงพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัย

ความเจริญ ในที่นี้หมายถึง ความเจริญด้วยคุณธรรม มีศีล เป็นด้น (ที.ม.อ. ๑๓๖/๑๒๖)

เป็นเถระในที่นี้หมายถึง เป็นผ้มีความมั่นคง (ถิรภาวะ)ในพระศาสนาไม่หวนคืนไปส่เพศคฤหัสถ์อีก ประกอบ ด้วยคุณธรรมที่ให้เป็นพระเถระ คือ ศีล เข้นต้น รัตตัญณ เป็นตำแหน่งเอตทัคคะ ที่พระอัญญาใกณฑัญ่ญะ ได้รับยกย่อง จาก พระพุทธเจ้ามีความหมายว่า รู้ราตรีนาน คือ บวชัรูแจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทงหลาย (ที.ม.อ. ๑๓๖/๑เอ๖, ท.ม.ฏีกา ๑๓๖/๑๕๕)

ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึง ไม่เพลิดเพลินอยู่ด้วยการทำงาน เช่น การทำจีวร การทำผ้ากรองนํ้า จนไม่มี เวลาบำเพ็ญสมณธรรม เช่น ถ้าท่านรู้จักแบ่งเวลา ถึงเวลาเรียนก็เข้าเรียน ถึงเวลาสวดมนต์ก็สวด ถึงเวลาเจริญภาวนาก็ เจริญ ไม่ถือว่า ชอบการงาน (ที.ม.อ. ๑๓๗/๑๒๘)

ไม่ชอบการพูดคุย หมายถึง ไม่ชอบพูดคุยเรื่องนอกธรรม นอกวินัย ตลอดทั้งวัน เช่น เรื่องผู้หญิง ถ้าสนทนา ธรรมเพื่อแถ้ปัญหา ไม่ถือว่า ชอบการพูดคุย (ที.ม.อ. ๑๓๓!/๑๒๘)

๑๐ ศรัทธา แปลว่าความเชื่อ มี๔ อย่างคือ (๑) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพื่อพระสัพพัญณุตญฺาณ) (๒) อธีคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (๓) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์) (๔)โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึง ปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น

๑๑ พหูสูต แปลว่า ผู้ฟ้งมฺๅเมาก มี๒ อย่าง คือ (๑) ปริยัตติพหูสูต (แตกฉานในพระไตรปิฎก) (๒) ปฎิเวธพหูสูต (บรรลุสัจจะทั้งหลาย) พหูสูต ในที่นี้หมายถึง ปริยัตติพหูสูต (ที.ม.อ. ๑๓๘/๑๓๐)

๑๒ ปรารภความเพียร หมายถึง บำเพ็ญเพียรทั้งทางกาย ทั้งทางจิต ความเพียรทางกาย คือ เว้นการคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ เป็นอยู่โดดเดี่ยว ความเพียรทางจิต คือ บรรเทาความพีงซ่านแห่งจิต (ที.ม.อ. ๑๓๘/๑๓๐)

๑๓ ในที่แจ้งและในที่ลับ ในที่นี้หมายถึง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (ที.ม.อ. ๑๔๑/๑๓๒)

๑๔ เป็นไท ในที่นี้หมายถึง ไม่เป็นทาสของตัณหา (ที.ม.อ. ๑๔๑/๑๓๗)

๑๕ บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึง อาการที่เปล่งวาจาอย่างองอาจ ดุจพญาราชสีห์ที่คำรามอยู่ในป่า

๑๖ อาสภิวาจา หมายถึง วาจาที่แสดงถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน

๑๗ เจโตปริยญาณ หมายถึง ปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้คือ รู้ใจผู้อื่น อ่านความคิดของเขาได้เช่น รู้ว่าเขากำลัง คิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013389348983765 Mins