บทที่ ๒ มหาปรินิพพานสูตร

วันที่ 13 กค. พ.ศ.2566

13-7-66-LB.jpg
บทที่ ๒
มหาปรินิพพานสูตร

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
๑) ได้รับความรู้ เห็นสาระสำคัญของมหาปรินิพพานสูตรในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ด้านหลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่ ด้านการวางรากฐานสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนา เป็นต้น จนเกิดความเข้าใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ศึกษาพระสูตรนี้ในประเด็นต่าง ๆ
๒) ได้ศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากมหาปรินิพพานสูตรไปตามลำดับ เห็นความสำคัญและประโยชน์ สามารถสรุปความรู้จากเหตุการณ์ บทบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงกระทำต่อเหตุการณ์ในแต่ละเรื่องไต้


บทนำ
                   มหาปรินิพพานสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยมหาปรินิพพาน หมายถึง การดับขันธ์ของพระผู้มีพระภาค ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ชื่อนี้ตั้งตามเนื้อหาสาระของพระสูตร

                   พระสูตรนี้เป็นบันทึกประมวลลำดับเหตุการณ์และพระธรรมเทศนาในขบวนเสด็จจาริกแสดงธรรมครั้งสุดท้ายของพระผู้มีพระภาค ตลอดจนเหตุการณ์ในวันเสด็จดับขันธปรินิพพานการถวายพระเพลิง การแจกพระบรมสารีริกธาตุ และการสร้างพระสถูป

                     สันนิษฐานกันว่า พระสูตรนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ครั้งปฐมสังคายนาจัดทำขึ้นนับเป็นพระสูตรที่ยาวที่สุด


รูปแบบของพระสูตร
                  รูปแบบของมหาปรินิพพานสูตรเป็นแบบบันทึกเล่าเรื่อง โดยประมวลเหตุการณ์และพระธรรมเทศนาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขบวนเสด็จจาริกแสดงธรรมครั้งสุดท้ายมารวมไว้


          ใจความสำคัญของพระสูตร
                  เนื้อหาของพระสูตรนี้แบ่งเป็น ๖ ภาณวาร และแบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ ตอน บางตอนบันทึกไว้ โดยย่อและมีรายละเอียดแยกไปตั้งเป็นสูตรหนึ่งต่างหากก็มี เช่น มหาสุทัสสนสูตร ชนวสภสูตร (ดู ทีฆนิกาย มหาวรรค) บางตอนปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ทั้งของพระสุตตันตปิฎก ของพระวินัยปิฎก และของพระอภิธรรมปิฎก สาระสำคัญของแต่ละตอนมีดังนี้


           ภาณวารที่ ๑ (ตอนที่ ๑ - ๗)
                    ตอนที่ ๑ - ๓
                    วัสสการพราหม มหาอำมาตย์แคว้นมคธ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคขณะประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ กราบทูลตามรับสั่งของพระเจ้าอชาตศัตรูเรื่องจะเสด็จไปปราบแคว้นวัชชี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอะไรในเรื่องนี้ แต่ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ที่กำลังถวายงานพัดอยู่ในขณะนั้นว่า พวกเจ้าวัชชียังปฏิบัติมั่นตามราชอปริหานิยธรรม ๗ ประการอยู่หรือไม่ เมื่อพระเถระทูลตอบว่า ยังปฏิบัติมั่นอยู่ จึงทรงพยากรณ์ว่าตราบใดที่พวกเจ้าวัชชียังปฏิบัติมั่นตามราชอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการ ตราบนั้นพวกเจ้าวัชชีจึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย แล้วทรงเล่าให้วัสสการพราหมณ์ฟังว่า เคยตรัสเรื่องราชอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แก่พวกเจ้าวัชชี

                   วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า พวกเจ้าวัชชีปฏิบัติเพียงประการเดียวก็จะมีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อม ไม่ต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๗ ประการเลย พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ควรทำสงครามกับพวกเจ้าวัชชีเลย นอกจากใช้วิธีทางการทูตหรือไม่ก็ทำให้แตกสามัคคีกัน แล้วทูลลากลับ

                      หลังจากวัสสการพราหมณ์กลับไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านพระอานนท์เรียกประชุมสงฆ์ทั้งหมด ที่พำนักอยู่ในกรุงราชคฤห์ในขณะนั้น และได้ตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องอปริหานิยธรรมสําหรับภิกษุ หรือภิกขุยปริหานิยธรรมรวม ๖ หมวด เป็นอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ๕ หมวด ๖ ประการ ๑ หมวด หมวดที่ ๔ ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ หมวดที่ ๕ ได้แก่ สัญญา ๗ (คือ สัญญา ๗ ประการแรกในสัญญา ๑๐) และหมวดที่ ๕ ได้แก่ สารณียธรรม ๖

                  จากนั้น ได้เสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ลงจากภูเขาติชฌกูฏไปยังอัมพลัฏฐิกาวัน (สวนมะม่วงหนุ่ม) เสด็จเข้าประทับ ณ ตำหนักหลวง ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยศีล สมาธิ ปัญญา แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วเสด็จต่อไปจนถึงเมืองนาลันทา (นาฟันทา) ประทับทีปาวารีกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) แคว้นมคธ


                       ตอนที่ ๔
                      ท่านพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคขณะประทับอยู่ที่ปาวา กัมพวันกราบทูลถึง ความเลื่อมใสที่ท่านมีต่อพระผู้มีพระภาคด้วยอาสภวาจา คือ วาจาอันองอาจตุจเสียงราชสีห์คาราม(สีหนาท) ว่า “ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณ ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค"

                      เมื่อทรงท้วงติงว่า "พระเถระไม่มีเจโตปริยญาณ (ปัญญาหยั่งรู้วาระจิตของผู้อื่น) ในพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน จะรู้เรื่องในพระทัยของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้อย่างไร" ท่านกราบทูลว่า ท่านมี วิธีการอนุมาน โดยอาศัยองค์ธรรม ๓ หมวด คือ นิวรณ์ ๕ สติปัฏฐาน ๔ และโพชฌงค์ ๗ เป็นเครื่องมืออนุมานว่า เพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงละนิวรณ์ ๕ ประการได้เด็ดขาด มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ตามความเป็นจริง จึงตรัสพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านเปรียบเทียบท่านเองกับนายประตูผู้ฉลาดของเมืองชายแดนที่มีกำแพงมั่นคง มีประตูเข้า-ออกเพียงประตูเดียวว่า เขาย่อมรู้จักสัตว์ใหญ่ ๆ ทุกชนิดที่เข้าและออกจากเมืองนั้นโดยพิจารณา สำรวจที่ทางเข้า - ออกนี้ฉันใด ท่านก็พิจารณาสำรวจจากธรรม ๓ หมวดนี้ฉันนั้น

                      พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งมิได้ตรัสรับรองความถูกต้องของการอนุมานนี้ แต่อรรถกถาบอกให้ดูรายละเอียดเรื่องนี้ในสัมปสาทนียสูตร ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ตรงนี้มีข้อที่ควรศึกษา คือ ท่านพระสารีบุตรมิได้ตามเสด็จมาจากกรุงราชคฤห์ เพราะท่านก็ได้นิพพานในห้องที่ท่านเกิดนั่นเอง หลังจากขบวนเสด็จเคลื่อนไปแล้ว


                      ตอนที่ ๕ - ๗
                      พระผู้มีพระภาคเสด็จจากเมืองนาลันทาไปถึงปาฏลิคาม แคว้นมคธ ประทับ ณ บ้านรับรองของอุบาสก อุบาสิกาชาวปาฏสิคาม ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น เรื่องโทษของผู้ทุศีล ๕ ประการ และอานิสงส์ของผู้มีศีล ๕ ประการ

                      วันรุ่งขึ้นตรัสกับท่านพระอานนท์เรื่องการสร้างเมืองปาฏลีบุตร ที่มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ๒ คน คือ สุนีธะและวัสสการพราหมณ์กำลังดำเนินการอยู่ว่า ต่อไปเมืองนี้จะเป็นเมืองชั้นเยี่ยม เป็นศูนย์กลางการค้าขาย แต่จะมีอันตราย ๓ อย่าง คือ อันตรายที่เกิดจากไฟจากนํ้า และจากการแตกสามัคคี ต่อมา มหาอำมาตย์ทั้งสองเข้าเฝ้ากราบทูลอาราธนาพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปเสวยพระกระยาหารที่บ้านพักของตน ครั้นเสวยพระกระยาหารเสร็จทรงอนุโมทนาด้วยพระคาถาที่ขึ้นต้นว่า ยสมี ปเทเส ก เปติ ซึ่งคณะสงฆ์ยังใช้เป็นบทเจริญพระพุทธมนต์ในงานขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองอาคารใหม่ มาจนทุกวันนี้

                   ครั้นทรงอนุโมทนาเสร็จแล้วได้เสด็จออกจากปาฏลิคามพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โดยมีมหาอำมาตย์ทั้งสองตามส่งเสด็จจนถึงท่าข้ามแม่น้ำคงคาจากฝั่งของแคว้นมคธไปยังฝั่งของแคว้นวัชชี มหาอำมาตย์จึงตั้งชื่อท่าที่ทรงข้ามฝั่งน้ำว่า ท่าพระโคดม


           ภาณวารที่ ๒ (ตอนที่ ๘ - ๑๕)
                      ตอนที่ ๘ - ๑๐
                      พระผู้มีพระภาคทรงนำภิกษุสงฆ์ไปยังโกฏิกคาม ตรัสกับภิกษุทั้งหลายเรื่องอริยสัจ ๔ แล้วเสด็จต่อไปจนถึงนาทีกคามหรือญาติกตาม แคว้นวัชชี ประทับ ณ ตำหนักอิฐ (ที่ชาวบ้านญาติกคามสร้างถวาย) ทรงตอบคำถามของท่านพระอานนท์เรื่องคติและอภิสัมปรายภพของพุทธบริษัทของหมู่บ้านนั้นที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งมีทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา และมีคุณธรรมตั้งแต่โสดาปัตติผล จนถึงอรหัตตผล สรุปว่า มีทั้งผู้ที่ไม่หวนกลับมาเกิดในโลกนี้อีกและผู้ที่จะบรรลุสัมโพธิในวันข้างหน้า (ดู ชนวสภสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค เพิ่มเติม)

                      หลังจากตรัสตอบคำถามของท่านพระอานนท์จบแล้ว ทรงแสดงธรรมเรื่องแว่นธรรม เพื่อให้พุทธบริษัทใช้เป็นหลักสำหรับสำรวจตัวเอง พยากรณ์ตัวเองโดยไม่ต้องมาทูลถามพระองค์อีก ทรงสรุปว่า พระอริยสาวกผู้มีแว่นธรรม นี้แล้วพยากรณ์ตนเองได้ว่า จะไม่ไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อบาย ทุคติ และวินิบาตแน่นอน

                       อนึ่ง ขณะประทับ ณ ตำหนักอิฐนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับศีลสมาธิ และปัญญาไว้หลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องสติปัฏฐาน ๔


                       ตอนที่ ๑๑
                       จากนั้น เสด็จต่อไปยังสวนมะม่วงของนางอัมพปาลี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ วันรุ่งขึ้นเสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่บ้านนางอัมพปาลีตามคำอาราธนา หลังจากเสวยพระกระยาหารแล้ว นางได้ถวาย สวนมะม่วงให้เป็นที่พักของสงฆ์ตลอดไป ขณะประทับที่สวนมะม่วงแห่งนี้ได้ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับศีล สมาธิ และปัญญาหลายเรื่อง


                      ตอนที่ ๑๒ - ๑๕
                      จากสวนมะม่วงของอัมพปาลี เสด็จต่อไปถึงเวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายแยกย้ายกันจำพรรษา ณ ที่ที่มีเพื่อนหรือคนที่คุ้นเคยกันโดยรอบกรุงเวสาลี ส่วนพระองค์ทรงจําพรรษา ณ เวฬุวคาม

                       ขณะประทับอยู่เวฬุวตามนั้นได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจวนเจียนจะปรินิพพาน แต่ทรงอดกลั้นไว้ได้ด้วยอิทธิบาท ทําให้ท่านพระอานนท์ที่เฝ้าพยาบาลอยู่ตลอดเวลา รู้สึกดีใจ หายกังวลห่วงใย และกราบทูลความรู้สึกให้ทรงทราบพระองค์จึงตรัสสอนเรื่องความไม่เที่ยงของสังขารซึ่งต้องมีการพลัดพรากเป็นธรรมดา ทรงสอนให้มีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ายึดติดพระองค์


              ภาณวารที่ ๓ (ตอนที่ ๑๕ - ๒๓)
                       เช้าวันหนึ่งเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี โดยมีท่านพระอานนท์ตามเสด็จ หลังจากเสวยพระกระยาหารแล้ว เสด็จต่อไปยังปาวาลเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ทรงแสดงนิมิตโอกาสให้พระเถระฟังถึง ๓ ครั้ง เพื่อให้ทูลอาราธนาให้ทรงดำรงพระชนมชีพต่อไปเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก แต่ท่านไม่เข้าใจความหมายแห่งนิมิตโอภาสนั้น จึงรับสั่งให้ท่านออกไปจากที่ประทับ และมารผู้มีบาปก็ได้โอกาสเข้าเฝ้าทูลอาราธนาให้ปรินิพพานโดยอ้างว่าถึงเวลาอันสมควรแล้ว พระองค์จึงทรงรับคำอาราธนาของมาร และทรงปลงพระชนมายุสังขารว่า จากวันนี้ไปอีก ๓ เดือน พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน


                        ตอนที่ ๑๖ - ๒๐
                        ทันทีที่ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ทำให้ท่านพระอานนท์แปลกใจ จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามถึงสาเหตุ พระองค์ทรงตอบว่าเกิดจากสาเหตุ ๘ ประการคือ (๑) เกิดจากธรรมชาติของโลก (๒) เกิดจากอำนาจฤทธิ์ของผู้มีฤทธิ์มีอำนาจทางใจ (๓-๔) เกิดจากอำนาจบุญบารมีของพระพุทธเจ้า ๖ คราว ได้แก่ คราวเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา คราวประสูติ คราวตรัสรู้ คราวประกาศพระธรรมจักร คราวปลงพระชนมายุสังขาร และคราวเสด็จดับขันธปรินิพพาน

                        ตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟังต่อไปว่า พระองค์เคยเสด็จเข้าไปในบริษัท ๘ จําพวกคือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และ พรหมบริษัท โดยทรงปรับพระองค์ให้กลมกลืนกับบริษัทนั้น ๆ จนเขาจำพระองค์ไม่ได้ตรัสเล่าให้ท่านพระอานนท์ฟังต่อไปอีก ๓ เรื่อง คือ เรื่องอภิภายตนะ ๘ ประการ เรื่องวิโมกข์ ๘ ประการ และทรงเล่าเรื่องมารทูลอาราธนาให้ปรินิพพาน ซึ่งทรงรับคำอาราธนาของมารแล้ว


                        ตอนที่ ๒๑ - ๒๓
                        ท่านพระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้ทรงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีก ๑ กัป เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ตรัสตอบว่า พระองค์ได้ทรงแสดงนิมิตให้ท่านพระอานนท์ฟังถึง ๖ ครั้งแล้ว เพื่อให้อาราธนา ถ้าพระเถระกราบทูลอาราธนา พระองค์จะทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ได้เป็นกัป ๆ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาท ๔ ประการ แล้วทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการให้ฟังและทรงย้ำว่า บัดนี้ทรงรับอาราธนาของมารแล้ว พระองค์จะปรินิพพานในอีก ๓ เดือนข้างหน้า จะตีนค่าไม่ได้ จากนั้น ตรัสชวนท่านพระอานนท์ไปพักที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ต่อไป

                       ขณะประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน รับสั่งให้ท่านพระอานนท์เรียกประชุมสงฆ์ที่ หอฉัน และได้ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติเจริญธรรมที่ควรรู้ยิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ได้ยืนนาน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่
มากตลอดจนเทวดาทั้งหลาย คือ

๑. สติปัฏฐาน ๔                                             ๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔                                              ๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕                                                     ๖. โพชฌงค์ ๗
๗. มรรคมีองค์ ๘

                      จากนั้น ทรงแสดงสังเวชนียธรรมว่า

                     “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทําหน้าที่ให้สําเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด อีกไม่นานการปรินิพพานของตถาคตจะมีจากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน"


             ภาณวารที่ ๔ (ตอนที่ ๒๔ - ๒๘)
                    ตอนที่ ๒๔
                    ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นหลังจากทรงแสดงสังเวชนียธรรมแล้ว ได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ครั้นเสวยพระกระยาหารแล้ว ขณะเสด็จกลับออกจากกรุงเวสาลีทรงหยุดทอดพระเนตรกรุงเวสาลีด้วยอาการมองของช้าง คือ หมุนตัวกลับหลังมอง เพราะช้างเอี้ยวคอมองไม่ได้ พระอาการที่ทอดพระเนตรกรุงเวสาลีครั้งนี้ เรียกว่า ทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง รับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า นี้เป็นการทอดพระเนตรกรุงเวสาลีครั้งสุดท้าย แล้วตรัสชวนท่านพระอานนท์ไปยังภัณฑุคาม

                    ขณะประทับที่ภัณฑ์ตามทรงแสดงหลักธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรมเหล่านั้น พระองค์และภิกษุทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลนาน คือ (๑) อริยศีล (๒) อริยสมาธิ (๓) อริยปัญญา (๔) อริยวิมุตติ


                    ตอนที่ ๒๕
                    ทรงน่าภิกษุสงฆ์ออกจากภัณฑตามไปยังหัตถีตามและชมพุคาม แต่ละแห่งทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา ในบริบทต่าง ๆ อีกมากแล้วเสด็จไปจนถึงโภคนครประทับ ณ อานนทเจดีย์

                    ขณะประทับอยู่ ณ อานนทเจดีย์ ในโภคนคร ทรงแสดงมหาปเทส ๔ ประการเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายใช้เป็นข้ออ้างในการตัดสินพระธรรมวินัยว่า อะไรเป็นพระพุทธพจน์ อะไรไม่เป็นพระพุทธพจน์ นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาพระธรรมวินัย มาจนถึงบัดนี้


                   ตอนที่ ๒๖ - ๒๘
                   จากนั้น ทรงนำภิกษุสงฆ์ออกจากโภคนคร เสด็จไปยังกรุงปาวา เมืองหลวงของแคว้นมัลละ (แคว้นนี้ ขณะนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งมีกรุงปาวาเป็นเมืองหลวง อีกส่วนหนึ่งมีกรุงกุสินาราเป็นเมืองหลวง) ประทับ ณ อัมพวัน ของนายจุนทกัมมารบุตร ในวันรุ่งขึ้นเสด็จ
ไปเสวยพระกระยาหารที่บ้านของนายจุนทกัมมารบุตรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ตามค่าอาราธนา

                  หลังจากเสวยพระกระยาหารที่ชื่อสุกรมัททวะของนายจุนทกัมมารบุตรแล้วได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาไว้ ตรัสชวนท่านพระอานนท์ออกเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ระหว่างทางทรงหยุดพัก และรับสั่งให้พระเถระนำน้ำดื่มถวาย ซึ่งมีเรื่องอัศจรรย์ที่พระเถระประสบ คือ น้ำในแม่น้ำตรงนั้นมีน้ำน้อยและถูกกองเกวียน ๕๐๐ เล่มเหยียบย่ำไปก่อนหน้านั้นไม่นาน กลับเป็นน้ำใสสะอาด ท่านจึงตักมาถวายให้ทรงดื่มได้

                    ขณะประทับพักผ่อนอยู่ที่ควงไม้ต้นหนึ่งนั้น เจ้ามัลละองค์หนึ่งพระนามว่าปุกกุสะเดินทางจากกรุงกุสินารามาเห็นเข้า จึงแวะเข้าไปเฝ้า ได้สนทนากันเรื่องอาฬารดาบสกาลามโคตร ในที่สุดเจ้าปุกกุสะได้ถวายผ้าเนื้อดีสีทอง ที่เรียกว่า ผ้าสิงควรรณ ๒ ผืน แล้วทูลลาจากไปพระเถระนำผ้า ๒ ตื่นมาคลุม พระวรกายของพระผู้มีพระภาค ปรากฏเป็นสีเปล่งปลั่งดังถ่านไฟที่ปราศจากเปลวไฟ ซึ่งตรัสเล่าว่าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดแก่พระองค์ ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ตรัสรู้และครั้งปรินิพพานนี้

                     ตรัสต่อไปว่า คนทั้งหลายอาจเข้าใจว่า อาหารของนายจุนทะ ทำให้พระองค์ปรินิพพานแล้วพากันพูดให้นายจุนทะเดือดร้อน จึงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์ทําความเข้าใจกับคนทั้งหลายว่า อาหารบิณฑบาตที่สําคัญ ๒ คราวให้ผลและวิบากเสมอกัน คือ อาหารบิณฑบาตที่เสวยแล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณและอาหารบิณฑบาตที่เสวยแล้วปรินิพพาน


           ภาณวารที่ ๕ (ตอนที่ ๒๙ - ๓๔)
                     ตอนที่ ๒๙- ๓๐

                     จากนั้น ทรงนำภิกษุสงฆ์ข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี จากกรุงปาวาไปยังฝั่งกรุงกุสินาราแล้วเสด็จตรงไปยังสาลวัน ของพวกเจ้ามัลละ กรุงกุสินารา รับสั่งให้ท่านพระอานนท์จัดตั้งเตียงระหว่างควงไม้สาละคู่ คู่หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ แล้วประทับสีหไสยา ท่านพระอุปวาณะเข้าเวรยืนถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ รับสั่งให้ท่านพระอุปวาณะหลบไป ท่านพระอานนท์เห็นเหตุการณ์นั้น ต่อมาจึงเข้าเฝ้าทูลถามเหตุผล ตรัสตอบว่า ตอนนั้น มีเทพจำนวนมากจาก ๑๐ โลกธาตุ (หมื่นจักรวาล) ลงมาเฝ้าพระองค์ จึงรับสั่งให้ท่านพระอุปวาณะหลบไปเพื่อมิให้บัง

                    ท่านพระอานนท์กราบทูลต่อไปว่า เมื่อพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ ท่านเองได้มีโอกาสพบปะสนทนาธรรมกับพระมหาเถระทั้งหลายที่มาเฝ้าตามกาลอันควรแต่หลังจากพุทธปรินิพพานจะไม่มีโอกาสเช่นนั้นอีก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ที่พุทธบริษัทจะมาบูชาสักการะ ซึ่งทำให้มีโอกาสพบปะกันได้

                       ท่านพระอานนท์ทูลถามเรื่องการปฏิบัติต่อสตรี ตรัสตอบว่า อย่าดู ถ้าจำเป็นต้องดู ก็อย่าพูด ถ้าจําเป็นต้องพูด ต้องมีสติ

              ทูลถามต่อไปว่า จะปฏิบัติต่อพระสรีระของพระองค์อย่างไร ตรัสตอบว่าให้ปฏิบัติอย่างเดียวกับที่เขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ

                       จากนั้น ตรัสถึงถูปารหบุคคล ๔ จําพวก ว่าควรปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุไร


                   ตอนที่ ๓๔ - ๓๖
                   เมื่อทรงทราบว่าท่านอานนท์หลบไปยืนร้องไห้อยู่ จึงรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า แล้วทรงแสดงลักษณะที่เป็นอัจฉริยภาพของท่านเปรียบเทียบของพระเจ้าจักรพรรดิให้ภิกษุทั้งหลายฟังทําให้ท่านพระอานนท์คลายความเศร้าโศกลงได้

                    ท่านพระอานนท์กราบทูลให้เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองใหม่ ๆ เช่น กรุงจัมปากรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี เมืองสาเกต กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี เพราะในเมืองเหล่านี้มีขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหบดีมหาศาล จํานวนมาก จะได้จัดการบูชาพระสรีระของพระองค์ได้อย่าปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอนเมืองกิ่งเช่นนี้เลย พระองค์จึงตรัสเล่าเรื่องที่เป็นโบราณคดีของกรุงกุสินารา ให้ภิกษุทั้งหลายฟัง คือ เรื่องพระเจ้ามหาสุทัสสนะ (ดูรายละเอียดใน มหาสุทัสสนสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค)

                    จากนั้น รับสั่งให้ท่านพระอานนท์ไปแจ้งข่าวแก่พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราได้ทรงทราบว่า พระองค์เสด็จมาประทับที่สาลวัน และจะเสด็จดับขันธปรินิพพานในคืนนั้นท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปยังหอประชุมของพวกเจ้ามัลละถวายพระพรให้ทรงทราบ พวกเจ้ามัลละพร้อมพระประยูรญาติ จึงเข้าเฝ้าถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคตามล่าดับตระกูลจนครบถ้วน ในเวลาปฐมยามแห่งคืนนั้น


                    ตอนที่ ๓๗ - ๓๘
                    ต่อมาสุภัททปริพาชก ชาวเมืองกุสินารา ทราบข่าวนี้จึงมาขอเฝ้า เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาโดยย่อจากพระผู้มีพระภาคแล้ว ก็เกิดความเสื่อมใสขอบรรพชาอุปสมบททรงอนุญาตและทรงมอบหมายให้ท่านพระอานนท์จัดการบรรพชาอุปสมบทให้ ซึ่งถือเป็นภิกษุสาวกองค์สุดท้ายที่ทันเห็นพระผู้มีพระภาค

                      จากนั้น รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า "ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไปก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย" แล้วรับสั่งเรื่องอื่น ๆ อีก ๒ เรื่อง คือ เรื่องการใช้คำว่า อาวุโส และ ภันเต เรื่องการลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านฉันนะในที่สุดทรงเปิดโอกาสให้ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระองค์ถึงเรื่องที่ยังสงสัย แต่ไม่มีผู้ใดทูลถามเลยจึงตรัสพระปัจฉิมวาจาว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”

 
            ภาณวารที่ ๖ (ตอนที่ ๓๙ - ๔๔)
                    ตอนที่ ๓๙

                    ครั้นตรัสพระปัจฉิมวาจานั้นแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานโดยกระบวนการดังนี้ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน ทรงเข้าตติยฌานเป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินี้ แล้วทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่อไปทรงย้อนกลับ คือ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเข้าเนวสัญญานา สัญญายตนสมาบัติอีก ทรงปฏิบัติอย่างนี้จนถึงปฐมฌาน นับเป็นรอบที่ ๒ โดยอนุโลม ๑ รอบและปฏิโลม ๑ รอบ ต่อจากนั้นทรงออกจากปฐมฌาน เข้าทุติยฌาน ทรงออกจากทุติยฌานเข้าตติยฌาน ทรงออกจากตติยฌานเข้าจตุตถฌาน ทรงออกจากจตุตถฌานแล้วเสด็จตับขันธปรินิพพานและได้เกิดแผ่นดินไหว พร้อมกับมีกลองทิพย์ดังกึกก้องขึ้นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว


                     ตอนที่ ๔๐ - ๔๔
                     ต่อไปเป็นตอนบูชาพระพุทธสรีระของพวกเจ้ามัลละ ตอนท่านพระมหากัสสปะนำคณะเดินทางมาถึง ตอนถวายพระเพลิง ตอนแจกพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ผู้แทนของแคว้นต่าง ๆ และตอนแคว้นต่าง ๆ ทำการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

             เมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่า พระสูตรนี้บันทึกเหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และพระธรรมเทศนาที่เป็นหลักสำคัญ ๆ ไว้อย่างดียิ่ง จึงควรศึกษาโดยละเอียดต่อไป

 

 

เชิงอรรถ

ภาณวาร หมายถึง ข้อธรรมที่จัดไว้เป็นหมวดๆ สำหรับสาธยาย

การแบ่งตอน เป็นไปตามความเห็นของคณะบรรณกรผู้จัดทำพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย

ราชอปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับ กษัตริย์ชนชนปกครอง หรือผู้บริหารบ้านเมืองมี ๗ ประการ

แว่นธรรม หมายถึง เครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้เมื่อประสงค์ก็จะพึงพยากรณ์คนได้ด้วยตนเอง

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016982992490133 Mins