วิธีการประยุกต์ มรรคมีองค์ ๘ ในการบริหาร

วันที่ 06 สค. พ.ศ.2567

 

2567_08_06_b.jpg

 

 

วิธีการประยุกต์
มรรคมีองค์ ๘ ในการบริหาร



         วารสารบริหารธุรกิจ : เมื่อเรารู้แล้วว่ามรรคมีองค์ ๘ เป็นวิธีบริหารชีวิต และบริหารกิจการงาน แต่ในการนำมาใช้ในการบริหารองค์กรจะนํามาใช้ได้อย่างไร? วิธีไหนบ้าง?



          พระเผด็จ : วิธีการนำมรรคมีองค์ ๘ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานนั้นสามารถนำมาใช้ได้ในทุกขั้นตอนเลย ตั้งแต่

 

          ๑. การคัดคน ใครก็ตามที่มาสมัครงาน เราอาจคัดเลือกได้ด้วยการพูดคุยซักถามความเห็นของเขาในเรื่องโลกและชีวิต ดูว่าความเห็นของเขาถูกต้องร่องรอยหรือไม่หรืออาจจะสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเขาที่มีต่อองค์กรและต่อสิ่งรอบๆตัว ว่าเขาเป็นคนมีนิสัยเห็นแก่ตัวชอบอาฆาตพยาบาทจองเวร ชอบเอาเปรียบเบียดเบียนหรือไม่ สอบถามประวัติ อาชีพในอดีต และนิสัยใจคอให้หมดว่าอยู่ในกรอบของมรรคมีองค์ ๘ ไหม ไม่ว่าจะสอบถามด้วยปาก หรือให้เขากรอกแบบฟอร์มก็ตาม



         ๒. การฝึกคน นอกจากมุ่งฝึกเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้เขาทำงานเป็นแล้วต้องมุ่งพัฒนาจิตใจของเขาด้วย โดยสอนให้เขารู้จักหาบุญจากงานที่ทำอยู่ คือ ทำงานไป ใจก็เป็นบุญเป็นกุศลไปด้วย ไม่ว่าผู้บังคับบัญชาหรือใครจะเห็นหรือไม่เห็นก็จะทำงานของฉันให้ดีที่สุดทำเพื่อประโยชน์ขององค์กรเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมมิใช่เพื่อแลกค่าแรงอย่างเดียวเท่านั้น องค์กรใดที่มีบุคลากรที่มีใจสะอาดรักและทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงานให้กับองค์กรที่ตนสังกัดและให้กับคุณงามความดีอยู่เช่นนี้องค์กรนั้นก็โชคดีมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล



       ๓. ใช้ปฏิบัติและพัฒนางานภายในองค์กร ขณะทำงานก็ต้องใช้หลักของมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง มาเป็นแม่บท ตั้งแต่ปรับความเห็นของบุคลากรในองค์กรให้มีเป้าของการทำงานที่ตรงกันทั้งในทางโลกและทางธรรม จะได้คิดอย่างเดียวกัน พูดก็พูดเป็นเสียงเดียวกัน ทำก็ทำเหมือนๆกัน โดยมุ่งความไม่เบียดเบียนกลั่นแกล้งเป็นหลัก ใครขยันอยู่แล้วก็ส่งเสริมทั้งอุปกรณ์ และยานพาหนะให้เขาได้สร้างผลงานให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นการให้กำลังใจกัน ใครยังไม่ขยันก็เอาไปฝึกอบรมใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่ปรับความเห็นของเขาให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กรกันเลยทีเดียว ระหว่างทำงานก็ดูว่าใครมีความระมัดระวังเพียงใด มีใจแน่วแน่จดจ่ออยู่กับงานไหม นี่เป็นเรื่องที่ต้องทำไปพัฒนาไปโดยเอากรอบของมรรคมีองค์ ๘ เข้ามาจับ
 


        ส่วนวิธีการทำงานและการสร้างผลผลิตขององค์กร ก็จะต้องไม่ไปส่งเสริมให้เกิดการทำลายล้างผลาญชีวิต และทรัพย์สินผู้อื่น ที่สำคัญคือต้องไม่ยึดกามารมณ์เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์งานขององค์กร
 


       ๔. ใช้เป็นกรอบควบคุมเพื่อประเมินงานและบุคคล การออกระเบียบกฎข้อบังคับ หรือออกแบบควบคุมงาน ก็ให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมรรคมีองค์ ๘ นั่นแหละ
 


         จุดเด่นของการนำมรรคมีองค์ ๘ มาใช้ก็คือ เป็นทั้งแม่บทในการสร้างงานและสร้างคน กล่าวคือ สร้างงานให้เกิดรายได้ในการดำรงชีพและเกิดกำไรแก่องค์กร สร้างคนให้ใช้รายได้เป็น และทำงานเป็น คือ ให้ทำงานไปด้วยได้บุญไปด้วย แล้วเขาจะมองเห็นทุกคนในองค์กรและในโลกนี้เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน
 


        แน่นอนว่า ในการทำงานย่อมต้องมีคู่แข่ง ยิ่งมียิ่งดี เพราะเป็นเรื่องที่จะทำให้เรามีกำลังใจพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้สูงขึ้นๆทำให้โลกเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง แต่ถ้าไม่ระมัดระวังเผลอไปเบียดเบียนรังแกเขาเข้าก็จะเกิดคู่แค้น ตรงข้ามถ้าได้นำมรรคมีองค์ ๘ มาปฏิบัติได้สมบูรณ์ครบถ้วนดีแล้ว คู่แค้นก็หมดไป มีแต่เพื่อนคู่คิดร่วมอาชีพเข้ามาแทน

 

 

2567_08_06.jpg

 

 


ย่อมหมดไปมีปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้งหรือเกิดจากการเห็นภายในเข้ามาแทนที่ปัญญาระดับโลกิยะก็หมดไปเพราะฉะนั้นจะว่าเอาโลกุตรปัญญามาแก้โลกียปัญญา ย่อมไม่ถูกต้อง



          แต่ระหว่างที่เรากำลังพัฒนาปัญญาระดับโลกิยะของเราไปสู่ระดับถ้าได้บุคคลที่มีปัญญาระดับโลกุตรเป็นกัลยาณมิตรให้ ก็จะทำให้การพัฒนาปัญญาทางธรรมของเราก้าวหน้าไปได้เร็ว และไม่เป๋ออกไปโลกุตรนั้นนอกเป้า ถ้าจะถือว่า โลกุตรปัญญามีไว้เพื่อแก้โลกียปัญญาในแง่นี้ก็คงจะใช่



      อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่จะใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาปัญญาของเราไปสู่ระดับโลกุตรก็คือ สัมมาทิฐิ ซึ่งก็ตรงกับตัวเริ่มในมรรคมีองค์ ๘ นั่นเองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า การจะปลูกฝังสัมมาทิฐินั้น จะต้องปลูกฝังให้เข้าใจซาบซึ้งในเรื่อง ๔ ประการต่อไปนี้ก่อน คือ



            ๑. การให้ทานดีจริง ควรทำ ถ้าปลูกฝังตรงนี้ได้ ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิด ถ้ามีความเห็นว่า ใครมือยาวสาวได้สาวเอา ก็อย่าหวังเลยว่าการทํางานของเขาจะก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แต่ถ้ามีความเห็นว่า มีอะไรก็ต้องปันกันกิน ปันกันใช้ อย่างนี้ความคิดสร้างสรรค์เกิดแล้วนี่เราไม่พูดถึงว่าทำทานแล้วได้บุญอะไร เพียงแต่บอกว่าทานคือ ปันกันกินปันกันใช้ สังคมใดก็ตามถ้ามีความเห็นว่า การปันกันกิน ปันกันใช้ไม่ดีไม่ควรทำ แค่มีความเห็นอย่างนี้เท่านั้น สังคมนั้นพัง บริษัทนั้นฟัง องค์กรนั้นพังทันที แต่ถ้ามีความเห็นถูก วิธีการที่ดีต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมา เช่น จะมีการคิดเฉลี่ยรายได้กัน สวัสดิการก็จะเริ่มมา ในยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่เดือดร้อน หรือใครฝีมือดีทุ่มเทมากน้อยขนาดไหน ก็ควรจะได้รับการตอบแทนตามผลงานด้วย เพียงคิดว่าทานดีจริงควรทำ เท่านั้นแหละมี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017033537228902 Mins