การปฏิรูปมนุษย์

วันที่ 10 กค. พ.ศ.2557

 

การปฏิรูปมนุษย์

 

การปฏิรูปมนุษย์มีความหมายอย่างไร


             ได้กล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้วว่า การปฏิรูปมนุษย์นั้นหมายถึง ปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงสันดานและนิสัยที่ไม่ดีงามของมนุษย์ อันเนื่องมาจากความเห็นผิด ซึ่งมีคำศัพท์ว่า "มิจฉาทิฏฐิ" ให้เป็น "สัมมาทิฏฐิ"คือความเห็นถูกต้องณ จุดนี้อาจมีบางท่านคิดว่า บรรดาเด็กๆ เล็กๆ ทั้งหลายนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ตั้งแต่เกิดมา ยังไม่มีสันดานและนิสัยที่ไม่ดี ดังมีคำอุปมาว่าเด็กๆ นั้นเปรียบเสมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงยังไม่จำเป็นต้องคิดถึงการปฏิรูปเด็ก ต้องรอให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่เสียก่อน ถ้าเห็นว่ามีสันดานและนิสัยไม่ดีจึงค่อยปฏิรูปกันผู้ที่คิดเช่นนี้ถือว่ายังไม่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เพราะอะไรจึงกล่าวเช่นนี้


            ตามความเป็นจริงนั้นใจของมนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ มีอกุศลมูล
อันเป็นรากเหง้าแห่งความชั่วคือกิเล 3 ตระกูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะติดมาตั้งแต่ถือกำเนิด ทำนองเดียวกับโครโมโซมอันเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ทุกคนมี  เป็นองค์ประกอบติดมาตั้งแต่ถือกำเนิดแม้ทารกจะถูกมองว่าบริสุทธิ์ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาก็ตาม แท้ที่จริงกิเลส ที่อยู่ในใจของทารกแต่ละคน พร้อมที่จะกำเริบออกฤทธิ์เป็นพฤติกรรมเลวร้ายตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้การปฏิรูปมนุษย์จึงจำเป็นต้องเริ่มกันตั้งแต่เด็กวัยทารก จึงจะเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริงเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายๆ หนังสือเล่มนี้จึงแบ่งการปฏิรูปมนุษย์ออกเป็น 2 วัย คือ


             1. วัยเด็ก


             2. วัยผู้ใหญ่

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.023115531603495 Mins