เรื่องที่ ๓๒๘ช่วยค่าเทอม
จดหมายของ ด.ญ.อภิญญา อัศวสันติ
|
“หนูชื่อ อภิญญา อัศวสันติ อายุ 10 ปี เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๔ หนูมาวัดธรรมกายกับคุณแม่ ปีละ ๒-๓ ครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ คุณพ่อไม่เคยมาด้วย คุณพ่อ-คุณแม่แยกกันอยู่คนละจังหวัด คุณพ่อก็มาเสียชีวิต ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ หนูอยู่กับคุณแม่ คุณแม่หาเงินเพียงคนเดียว มีรายได้จากเงินเดือน แต่เงินเดือนเหลือไม่มากนัก คุณแม่สร้างพระธรรมกายให้หนู ๑ องค์ ของคุณแม่ ๑ องค์ เมื่อคุณพ่อถึงแก่กรรม คุณแม่สร้างให้คุณพ่อ ๑ องค์ ในปี ๒๕๔๒ คุณแม่พาหนูมาร่วมงานอุบาสกแก้ว หนูได้รับพระมหาสิริราชธาตุ ๑ องค์ คุณแม่ได้นำมาใส่กรอบห้อยคอให้ อภิญญา อัศวสันติ
|
ด.ญ.อภิญญา อัศวสันติ
|
หนูน้อยผูู้นี้เล่าเรื่องของเธอมา เชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์และอานุภาพพระมหาสิริราชธาตุมาก ก็ควรให้เชื่อเช่นนั้น เพื่อให้เด็กมีที่พึ่ง รู้สึกอบอุ่นใจว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง เหมือนอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ที่มีอานุภาพยิ่ง จะประพฤติตนดีไม่ดีอย่างไรย่อมอยู่ในสายตาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ติดตัวอยู่ หากสนับสนุนให้เด็กเลื่อมใสแล้ว เด็กก็จะไม่กล้าทำความชั่ว หรืออาจกำชับไปกระทั่งเรื่องการคบเพื่อนฝูง ถ้าคบเพื่อนไม่ดี พระของขวัญอาจไม่อยู่ด้วย ท่านอาจหนีไปเสียดังนี้
เด็กหญิงอภิญญา นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีต่อครอบครัวอื่น การที่ผู้ปกครองพาเด็กๆ ไปวัด ย่อมทำให้เด็กได้พบสิ่งแวดล้อมที่ดี พบกัลยาณมิตร ทำให้รู้จักคบเพื่อน และได้พบสิ่งดีๆ อื่นๆ ตามมาอีกหลายประการ จึงไม่ควรเห็นเรื่องการพาเด็กไปวัดเป็นของไม่จำเป็น
ผู้ปกครองบางส่วนนอกจากตนเองไม่นิยมไปวัดแล้ว ยังไม่ยอมให้เด็กไป กลับส่งเสริมสนับสนุนให้ไปตามศูนย์การค้า สถานพักผ่อนหย่อนใจอื่นๆ ในที่สุดเด็กก็ได้พบเห็นแต่เพื่อนประเภทเดียวกัน ต่างคนต่างไม่มีใครอบรม กลายเป็นไม้แก่เกินดัด ตักเตือนว่ากล่าวไม่ได้ไปเสีย ครั้นจะชักชวนในภายหลังย่อมไม่มีทางสำเร็จ เนื่องจากจิตใจของเด็ก ไม่คุ้นเคย และเด็กก็เคยชินกับการติดความสนุกสนานทางโลกไปแล้ว อันเป็นเรื่องเลิกถอนได้ยากยิ่ง
ดังนั้นผู้ปกครองท่านใดรักลูกหลาน ควรพิจารณาให้ดี และควรรับฟังข้อเสนอแนะที่กล่าวไว้ในที่นี้ด้วย ลูกหลานเป็นดวงตาดวงใจ ท่านรักจิตใจและหวงแหนดวงตามากมายแค่ไหน ก็ควรให้ความสำคัญต่อลูกหลานของท่าน อย่าให้น้อยกว่ากัน