ธรรมะวันนี้ สัจกิริยา ตอนที่ ๑๒ พระโกณฑธานเถระ (ล.๓๒, น.๔๑๒, มมร.)
เมื่อสืบค้นในอรรถกถาพระสูตร มีกล่าวไว้ ๗ แห่ง
๑. อรรถกถาสูตรที่ ๓ ประวัติพระโกณฑธานเถระ (ล.๓๒, น.๔๑๒, มมร.) ความตอนหนึ่งว่า
นางมหาสุภัททา อยู่ในครอบครัวมิจฉาทิฏฐิในอุคคนครคิดว่า พระศาสดาจงทรงอนุเคราะห์
เราจึงอธิษฐานอุโบสถ เป็นผู้ไม่มีกลิ่นคาวอยู่ปราสาทชั้นบน กระทำสัจกิริยาว่า ‘ดอกไม้เหล่านี้จง
อย่าอยู่ในระหว่างทางเสีย จงกางกั้นเป็นเพดานในเบื้องบนแห่งพระทศพลเถิด ขอพระทศพลจงรับ
ภิกษาของเราพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป
ด้วยสัญญานี้เถิด’ แล้วโยนดอกไม้ ๘ กำไป ดอกไม้ก็ไปกางกั้นเป็นเพดาน อยู่เบื้องบนของ
พระศาสดาในเวลาแสดงธรรม
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็น เพดานดอกมะลินั้นทรงรับภิกษาของนางสุภัททาด้วยจิตนั้นแหละ
วันรุ่งขึ้นเมื่ออรุณขึ้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า“อานนท์ วันนี้เราจะไปภิกษาจาร ณ ที่ไกล
จงอย่าให้สลากแก่พระปุถุชน จงให้แก่พระอริยะเท่านั้น.”
พระเถระบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ วันนี้พระศาสดาจักเสด็จภิกษาจารณที่ไกล
พระภิกษุปุถุชนจงอย่าจับสลาก พระอริยะเท่านั้นจงจับ.”
๒. อรรถกถากุณฑธานเถรคาถา (ล.๕๐, น.๑๓๔,มมร.) มีข้อความทำนองคล้ายกัน
๓. อรรถกถากุณฑธานวรรคที่ ๔ เถราปทาน กุณฑธานเถราปทาน (ล.๗๑, น.๑๒๖, มมร.)
มีข้อความทำนองคล้ายกัน
ข้อความตรงนี้คล้ายกับคาถาธรรมบทเรื่องจูฬสุภัททา (ล.๔๓, น.๑๘๕, มมร.) ความว่า
ลำดับนั้น แม่ผัวกล่าวกะนางว่า “เจ้าอาจแสดงสมณะทั้งหลายของเจ้า แม้แก่พวกฉันได้หรือ”
เมื่อนางตอบว่า “อาจ”จึงพูดว่า “ถ้ากระนั้น เจ้าจงทำโดยประการที่พวกฉันจะเห็นสมณะเหล่านั้น.”
นางรับว่า “ดีละ” ตระเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ยืนอยู่บนพื้น
ปราสาทชั้นบน ผินหน้าไปเฉพาะพระเชตวัน ไหว้โดยเคารพ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ระลึกถึงพระ
พุทธคุณทั้งหลาย ทำการบูชาด้วยของหอม เครื่องอบ ดอกไม้และธูป กล่าวอัญเชิญว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันเช้าในวันรุ่งขึ้น,ด้วย
สัญญาณของข้าพเจ้านี้ ขอพระศาสดาจงทราบว่า ‘เป็นผู้อันข้าพเจ้านิมนต์แล้ว’ ”
ดังนี้แล้ว จึงซัดดอกมะลิ ๘ กำไปในอากาศ.
ดอกไม้ทั้งหลายลอยไปเป็นเพดานอันสำเร็จด้วยระเบียบดอกไม้ ได้คงที่อยู่เบื้องบนพระ
ศาสดาผู้ทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔.
อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีลูกสาว ๓ คน, ชื่อ มหาสุภัททา,จูฬสุภัททา, สุมนาเทวี.ดังความตอนหนึ่งในคาถาธรรมบทเรื่องสุมนาเทวี(ล.๔๐, น.๒๐๔, มมร.) ความว่า
ถึงท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ตั้งธิดาคนใหญ่ ชื่อมหาสุภัททาไว้. ก็นางมหาสุภัททานั้น
ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ (และ) ฟังธรรมอยู่ เป็นพระโสดาบันแล้ว ได้ไปสู่สกุลแห่งสามี.
แต่นั้น ท่านอนาถบิณฑิกะก็ตั้งนางจุลลสุภัททา (แทน).แมน้ างจุลลสุภัททานั้นก็ทำอย่อย่าง
นั้นเหมือนกัน เป็น พระโสดาบันแล้ว ก็ไปสู่สกุลแห่งสามี.
ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกะ จึงตั้งธิดาคนเล็กนามว่าสุมนาเทวี (แทน).
ที่น่าแปลกคือ ทำไมลูกสาวคนโต ๒ คนแต่งงานไปที่เมืองเดียวกันคือ อุคคนคร และได้ทำ
สัจกิริยาด้วยดอกมะลิ ๘ กำเหมือนกัน.