ธรรมะวันนี้ สัจกิริยา ตอนที่ ๑๔ อรรถกถาสักกปัญหสูตร

วันที่ 07 เมย. พ.ศ.2560

ธรรมะวันนี้ สัจกิริยา ตอนที่ ๑๔ อรรถกถาสักกปัญหสูตร,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

ธรรมะวันนี้ สัจกิริยา ตอนที่ ๑๔ อรรถกถาสักกปัญหสูตร  (ล.๑๔, น.๑๖๖, มมร.)

 

   ๖. อรรถกถาสักกปัญหสูตร (ล.๑๔, น.๑๖๖, มมร.)

      พระราชาทรงมีรับสั่งให้หัวหน้านั้นเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามว่า “เขาว่า แกมีมนต์หรือ?”“ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีมนต์ แต่พวกข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำสัจกิริยาไว้ว่า ‘ถ้าพวกเราเป็นโจร

ของพระราชา ขอให้เหยียบเถิด ถ้าไม่เป็นโจร ขออย่าเหยียบ.’ นั่นเป็นอำนาจของสัจกิริยาของ

พวกข้าพระพุทธเจ้า.”ราชา. “แล้วก็ พวกพ่อกระทำงานอะไร?”

    หัวหน้า. “พวกข้าพระพุทธเจ้า ปราบทางที่ขรุขระให้เรียบ สร้างศาลาในทางใหญ่สี่แยก ขุด

สระบัว ผูกสะพาน ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวสร้างบุญกรรมเห็นปานนี้.”

      แต่ในคาถาธรรมบทเรื่องท้าวสักกะ, อัปปมาทวรรควรรณนา (ล.๔๐, น.๓๖๒, มมร.) กล่าวว่า

เป็นการแผ่เมตตาความตอนหนึ่งว่า 

        มฆมาณพได้ให้โอวาทแก่ชนที่เหลือทั้งหลายว่า “สหายทั้งหลาย เว้นเมตตาเสีย ที่พึ่งอย่าง

อื่นของพวกเรา ไม่มี, ท่านทั้งหลายไม่ต้องทำความโกรธในใครๆ จงเป็นผู้มีจิตเสมอเทียวด้วย

เมตตาจิต ในพระราชา ในนายบ้าน ในช้างที่จะเหยียบ และในคน” ชนเหล่านั้นก็ได้ทำอย่างนั้น.

       ลำดับนั้น ช้างไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ เพราะอานุภาพแห่งเมตตาของชนเหล่านั้น. พระราชา

ทรงสดับความนั้นแล้ว ตรัสว่า“ช้างมันเห็นคนมาก จึงไม่อาจเหยียบได้, ท่านทั้งหลายจงไป, เอา

เสื่อลำแพนคลุมเสียแล้วจึงให้มันเหยียบ.”ช้างอันเขาเอาเสื่อลำแพนคลุมชนเหล่านั้นไสเข้าไป

เหยียบก็ถอยกลับไปเสียแต่ไกลเทียว.

      พระราชาทรงสดับประพฤติเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า ‘ในเรื่องนี้ ต้องมีเหตุ’, แล้วรับสั่งให้เรียก

ชนเหล่านั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า “พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าอาศัยเรา ไม่ได้อะไรหรือ?”

พวกมฆะ. “นี่อะไร? พระเจ้าข้า."

พระราชา. “ข่าวว่า พวกเจ้าเป็นโจรเที่ยวไปในป่า ด้วยการคุมกันเป็นพวก.”
พวกมฆะ. “ใครกราบทูลอย่างนั้น พระเจ้าข้า?”
พระราชา. “นายบ้าน, พ่อ.”
พวกมฆะ. “ขอเดชะ พวกข้าพระองค์ไม่ได้เป็นโจร, แต่พวกข้าพระองค์ชำระหนทางไปสวรรค์

ของตนๆ จึงทำกรรมนี้
และกรรมนี้, นายบ้านชักนำพวกข้าพระองค์ในการทำอกุศล ประสงค์จะให้พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ทำตามถ้อยคำของตนฉิบหาย โกรธแล้ว จึงกราบทูลอย่างนั้น.”

       ช่วงต้นของคาถาธรรมบทเรื่องนี้ก็ได้อ้างอิงสักกปัญหสูตรเช่นเดียวกันความว่า

        เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ อยู่ในเมืองเวสาลี. พระองค์ทรงสดับเทศนาในสักกปัญหสูตร ของพระตถาคตแล้ว.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011658668518066 Mins