เรื่องที่ ๓'ยาไสั" กับ "ยาใจ" (ช่วงที่ ๕ ฝึกตนให้เป็นบัณฑิต)
วันนี้ ผมอยากจะชวนน้องๆนิสิตนักสืกษๆมาศึกษา"ธรรมะ"
กันบ้างครับ เพื่อเราจะไดัรู้ว่า ธรรมะจำเป็นขนาดไหนสำหรับ
ชีวิตของคนเรา
ความจริงแล้วพระพุทธศาสนามีความรู้ดีๆ เยอะแยะมากมายที่ในยุคปัจจุบันคนไทยไม่ค่อยรู้ เพราะไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน และอาจจะมองว่าการเรียนธรรมะเป็นเรื่องล้าสมัยจึงทำให้ขาดความรู้ที่สำคัญต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย
ด้วยผลของการมองข้ามความรู้ในพระพุทธศาสนา และค่านิยมที่มองการถึกษาธรรมะเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายนี้เอง ก็ได้กลายเป็นผลร้ายต่อประเทศชาติ คือการขาดความรู้บาปบุญคุณโทษในสังคม ทำ ให้เกิดปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาถึลธรรมเสิอมทราม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณีเด็ก ปัญหาคอร้ปชั่น ปัญหาอบายมุขครองเมืองเป็นต้น
ปัญหาเหล่านี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า เป็นปัญหาที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลงของคนเราบังคับบัญชาใจสังให้กายทำความชั่วบาป
สิ่งที่ต้องคิดหนักต่อมาจึงอยู่ที่ว่า ต้นเหตุปัญหาสังคมนั้นอยู่ที่ใจแล้วทำอย่างไรคนส่วนใหญ่จึงจะเห็นว่า ธรรมะในพระพุทธศาสนาสามารถช่วยให้สังคมและประเทศชาติดีขึ้นได้?
คำตอบคือเราต้องรู้ก่อนว่า ธรรมะทำหน้าที่อะไร ธรรมะทำให้เกิดผลดีต่อตนเองครอบครัว ที่ทำงาน สังคม ประเทศชาติอย่างไร
อธิบายได้ง่ายๆ ว่า คนเราทุกวันนี้อยู่ได้ด้วย "ใจ'' กับ "กาย" รวม
กันเป็นหนึ่งเดียว
ถ้ามีแต่กายไม่มีใจ เราเรียกว่า ศพ
ถ้ามีแต่ใจไม่มีกาย เราเรียกว่า ผี
ใจทำหน้าที่บังคับกาย โบราณจึงว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"เพราะฉะนั้นกายจะทำดีหรีอชั่วก็ขึ้นอยู่กับการบัญชาการของใจเป็นสำคัญ
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งกายและใจอยู่ได้ด้วยอาหาร
อาหารกาย คือ วัตถุที่กินแล้วอิ่ม ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย ประทังชีวิตให้อยู่รอดต่อไปได้ เช่น หมู เห็ด เป็ด ไก่ ขนม นม เนย เป็นด้น
อาหารใจ คือ ความดีที่มาหล่อเลึ้ยงใจให้เป็นสุข แม้ในเวลาจะต้องตายไปจากโลกนี้ก็ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนว่าตายแล้วจะต้องไปตกนรกหมกไหม้ เช่น การให้ทานทำให้มีนํ้าใจมาควบคุมความโลภลงได้ คืลทำให้มีความเย็นใจมาควบคุมความโกรธลงได้ ภาวนาทำให้มีปัญญามาควบคุมความหลงลงได้ เป็นต้น
ร่างกายมนุษย์ของเรานี้ก็แปลกเป็นเหมีอนผู้เจ็บปวยอยู่ทุกวันต้อง อาศัยกินยาไส้ คืออาหารไว้หล่อเลี้ยงร่างกายอยู่เสมอ
แต่ใจคนเรานี้แปลกยิ่งกว่า เป็นเหมือนเจ็บปวยหนักกว่ากายอยู่ตลอดเวลา เช่น คนอื่นเขาอยู่ดีๆ บางทีก็คิดจะไปโกงเขา คิดจะไปแย่งชิงลูกเมียเขา คิดจะหลอกลวงเขา เป็นต้น ซึ่งอาการเจ็บปวยหนักทางใจนี้เป็นเพราะความโลภ ความโกรธ ความหลงมันออกฤทธิ์ให้มีวินิจฉัยผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากทำนองคลองธรรม ใครไปเป็นเข้าก็นอนตายตาไม่หลับไปอีกชาติหนึ่ง
และเพราะว่าคนส่วนใหญ่ใจป่วยหนักอย่างไม่มียาใจมารักษาโลกจึงไต้ร้อนเป็นไฟขึ้นทุกว้น ปัญหาสังคมต่างๆ จึงตามมา แส้วคราวนี้ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ไปทำอะไรก็ให้รู้สิกว่ามันร้อนไปทุกย่างก้าวทุกตารางนี้ว แม้ว่าจะหนีไปอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ แล้ว แต่ใจก็ยังร้อนรนทุรนทุรายเหลือเกิน
เช่น ถึงแม้ว่าจะกลับไปบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่เดียวในโลกที่กลับไปแล้วรู้สิกอบอ่นปลอดภัย แต่เพราะใจปวยเสียแล้ว บ้านที่เคยดีก็กลับร้อนเป็นไฟลุกเผาไหม้ให้ร้อนหนักเข้าไปอีก
ถ้าเป็นนักเรียน หรือเป็นครูที่ใจป่วยเสิยแล้ว เวลาไปโรงเรียนเดี๋ยวโรงเรียนก็ลุกเป็นไฟขึ้นมาอีกกองหนึ่ง
ถ้าต้องทำงาน แต่ใจปวยเสียแล้ว เวลาไปที่ทำงาน เดี๋ยวที่ทำงานก็ลุกเป็นไฟขึ้นมาอีกกองหนึ่ง
และแม้ว่าจะมาบวชเป็นพระ ถ้าใจปวยเสิยแล้ว เผลอไปเล่นกับไฟคือกิเลสเข้า ผ้าเหลืองก็ร้อนลวกเป็นไฟไต้อีกเหมือนกัน
แล้วอาการใจป่วยนี้ สุดแสนจะยากลำบากต่อการรักษา ถ้าหากรักษาไม่เป็นแล้วจะเจ็บหนักกว่าเก่าเพราะเอาเงินพันล้านมารักษาก็ไม่หาย
มีครอบครัวสักร้อยครอบครัวก็ไม่หาย มีลูกสักพันคนก็ไม่หาย บางทียิ่งร้อนหนักไปกว่าเก่าเสียอีก แล้วหนีไปไหนก็ไม่พัน เพราะว่ามันร้อนรนอยู่ข้างใน
ใจจะหายปวยได้ต้องไช้ยาใจรักษา
ยาใจ คือ ธรรมะที่ทำหน้าที่เป็นอาหารหล่อเลี้ยงใจ
ถ้าที่ไหนเมีธรรมะที่นั่นก็เย็นใจเย็นกาย
ถ้าบ้านมีธรรมะเดี๋ยวบ้านก็เย็น สถานที่ทำงานมีธรรมะเดี๋ยวที่ทำงานก็เย็น โรงเรียนมีธรรมะเดี๋ยวโรงเรียนก็เย็น แล้วยิ่งวัดที่เป็นต้นแหล่งของธรรมะมีธรรมะก็ยิ่งเป็นที่พึ่งพิงให้กับประชาชน จะยิ่งร่มเย็นกันทั้งสังคม
เพราะธรรมะมีคุณอย่างนี้ นักปราชญ์จึงกล่าวว่า คนมีธรรมะเดินทางไปตรงไหนในโลก โลกตรงนั้นก็เย็นขึ้นมา แม้แด่ต้องมายืนกลางแดดก็ยังรูสีกเย็นใจ นี่คืออานุภาพของธรรมะที่เป็นยาใจ