ประวัติพระนางสามาวดี ล.๔๐, น.๒๒๐, มมร
ในกาลนั้น เศรษฐีนามว่า ‘ภัททวติยะ’ ในภัททวดีนคร ได้เป็นอทิฏฐบุพพสหาย
(เพื่อนที่ไม่เคยพบเห็นกัน) ของ โฆสกเศรษฐีแล้ว.
โฆสกเศรษฐีได้ฟังถึงสมบัติและวัยและประเทศ ของภัททวติยเศรษฐีจาก
พวกพ่อค้ามาแล้วจากภัททวดีนคร ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐี นั้นจึงส่งเครื่องบรร-
ณาการไปแล้ว.
แม้ภัททวติยเศรษฐีได้ฟังถึงสมบัติและวัยและประเทศ ของโฆสกเศรษฐีจากพวก
พ่อค้าซึ่งมาแล้วจากกรุงโกสัมพี ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐี จึงส่งเครื่องบรรณาการ
ไปแล้วเศรษฐีทั้งสองนั้น ได้เป็นอทิฏฐบุพพสหายกันและกันอยู่แล้วอย่างนี้.
ต่อมา เกิดอหิวาตกโรคขึ้น ในเรือนของภัททวติยเศรษฐี เมื่ออหิวาตกโรคนั้นเกิด
แล้ว แมลงวันย่อมตายก่อน, จากนั้น ตั๊กแตน หนู ไก่ สุกร สุนัข แมว โค ทาสหญิง ทาส
ชาย ย่อมตายไปตามลำดับกันทีเดียว. ผู้เป็นเจ้าของ เรือนย่อมตายทีหลังเขาทั้งหมด.
คนเหล่านั้น พวกใด หนีไปจากเรือน พวกนั้นย่อมรอดชีวิต.
ในเวลานั้นเศรษฐี ภริยาและลูกสาวก็หนีไปโดยวิธีนั้น ปรารถนาจะเห็นโฆสกเศรษฐี
จึงเดินทางไปสู่กรุงโกสัมพี. ๓ คนนั้น มีเสบียงหมดลงในระหว่างทาง มีร่างกายอิดโรย
ด้วยลมและแดด และด้วยความหิวกระหาย ถึงกรุงโกสัมพี ด้วยความลำบาก อาบน้ำใน
สถานที่ สบายด้วยน้ำแล้ว ก็ เข้าไปสู่ศาลาแห่งหนึ่งที่ประตูเมือง.
ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกับภริยาว่า “นางผู้เจริญ ผู้มา ลักษณะนี้ ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจ
แม้แต่แม่ผู้บังเกิดเกล้า, ทราบว่า ‘สหายของเราสละทรัพย์วันละพัน ให้ทานแก่คนเดินทาง
คนกำพร้าเป็นต้น’ เราส่งลูกสาวไปในที่นั้น ให้นำอาหารมากินในที่นี้ และอีกสักวันสองวัน
แล้ว จึงจะไปเยือนสหาย.”
นางรับว่า “ดีแล้วนาย” เขาพากันพักอยู่ที่ศาลานั่นแล.
วันรุ่งขึ้น เมื่อเขาบอกเวลาแล้ว เมื่อคนกำพร้าและ คนเดินทางเป็นต้น กำลังไปเพื่อ
ต้องการอาหาร, มารดา และบิดาจึงส่งลูกสาวไปด้วย กล่าวว่า “แม่หนู จงไปนำอาหารมา
เพื่อพวกเรา.
”ธิดาของตระกูลที่มีโภคะมาก ไม่ละอายเทียว เพราะความละอายของตนถูกทำลาย
หมดสิ้นแล้ว ถือถาดไปเพื่อขออาหารพร้อมกับคนกำพร้า
มิตตกุฏุมพี ถามว่า “ท่านจะรับกี่ส่วน? แม่นาง”
ก็บอกว่า “๓ ส่วน.”
มิตตกุฏุมพีจึงให้ภัตตาหาร ๓ ส่วนแก่นาง.
เมื่อนางนำภัตมาแล้ว ทั้ง ๓ ก็นั่งเพื่อบริโภคร่วมกัน. ครั้งนั้น มารดาและลูกสาวจึง
กล่าวกับเศรษฐีว่า “นาย ความวิบัติย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ตระกูลใหญ่, อย่านึกถึงพวกฉัน
จงบริโภคก่อนเถิด, อย่าคิดเลย.” อ้อนวอนด้วยประการ ต่าง ๆ ทำให้เศรษฐีนั้นบริโภค
แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
เศรษฐีนั้นบริโภคแล้ว อาหารไม่อาจย่อยได้, วันรุ่งขึ้น ไปได้ละโลกแล้ว. มารดา
และลูกสาวคร่ำครวญ ร่ำไห้ด้วย ประการต่าง ๆ
วันรุ่งขึ้น สาวน้อยเดินร้องไห้ไปหาเพื่อขออาหาร มิตตกุฏุมพีนั้นเห็นเขาแล้ว
จึงถามว่า “เจ้าจะรับกี่ส่วน? แม่นาง”
จึงบอกว่า “๒ ส่วน.”
มิตตกุฏุมพีนั้น จึงได้ให้ ๒ ส่วน
นางนำมาแล้ว ก็อ้อนวอนให้มารดาบริโภค. มารดานั้น เมื่อธิดาของตนนั้นอ้อน
วอนให้บริโภคแล้ว อาหารก็ไม่อาจ ย่อยได้เช่นกัน ในวันนั้นก็ได้ละโลกไปอีก.
สาวน้อยผู้เดียวเท่านั้น ร้องไห้ร่ำไร เป็นผู้มีความทุกข์ เพราะความหิว และทุกข์
เกิดขึ้นแล้วอย่างมาก เพราะ ความทุกข์ที่บิดาและมารดาจากไปนั้นวันรุ่งขึ้น เดินร้องไห้
ไปเพื่อขออาหารพร้อมกับพวก ยากจน มิตตกุฏุมพีถามว่า
“เจ้าจะรับกี่ส่วน? แม่นาง”
จึงบอกว่า “ส่วนเดียว.”
มิตตกุฏุมพีจำนางผู้รับภัตได้ทั้ง ๓ วัน, เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวกับนางว่า
“ให้ตายเถิด หญิงถ่อย วันนี้เจ้ารู้จัก ประมาณท้องของเจ้าหรือ?”
ธิดามีตระกูลสมบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ เหมือน ถูกแทงที่อกด้วยหอก และเหมือน
รดด้วยน้ำด่างที่แผล ร้องถามว่า “อะไรหรือ? นาย.”
มิตตกุฏุมพี. “วันก่อนเจ้ารับเอาไปแล้ว ๓ ส่วน, เมื่อวาน ๒ ส่วน วันนี้รับเอา
ส่วนเดียว, วันนี้ เจ้ารู้ ประมาณท้องของตัวแล้วหรือ
กุลธิดา. “นาย ท่านอย่าเข้าใจฉันว่า‘รับไปเพื่อตนเอง ผู้เดียว.’
มิตตกุฏุมพี. “เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมเจ้าจึงรับเอาไป ๓ ส่วน? แม่หนู.”
กุลธิดา. “ในวันก่อน พวกฉันมีด้วยกัน ๓ คน นาย, เมื่อวานนี้ มี ๒ คน, วันนี้มีฉัน
ผู้เดียวเท่านั้น.”
มิตตกุฏุมพีจึงถามว่า “เพราะเหตุไร?”
ฟังเรื่องทั้งหมดที่นางเล่าแล้ว ตั้งแต่ต้น ไม่สามารถ จะกลั้นน้ำตาไว้ได้ เกิด
ความเศร้าใจอย่างเหลือเกิน จึงบอก ว่า “แม่หนู เมื่อเป็นอย่างนี้ อย่าคิดไปเลย, ท่านเป็น
ธิดาของภัททวติยเศรษฐี ตั้งแต่วันนี้ไป จงเป็นธิดาของเราเถิด” ดังนี้แล้ว จุมพิตที่ศีรษะ
นำไปสู่ที่เรือน ตั้งไว้ในตำแหน่ง ธิดาคนโตของตนแล้ว.
ธิดาเศรษฐีนั้นฟังเสียงอึงคะนึงในโรงทาน จึงถามว่า “พ่อ ทำไมจึงไม่ทำคนพวกนี้
ให้เงียบเสียง แล้วให้ทานเล่า?”
มิตตกุฏุมพี จึงกล่าวว่า “ไม่อาจทำได้ แม่หนู.”
ธิดาเศรษฐี. “อาจทำได้นะ พ่อ.”
มิตตกุฏุมพี. “ทำอย่างไร? แม่หนู.”
ธิดาเศรษฐี. “พ่อ ขอท่านจงล้อมโรงทาน ติดประตูไว้ ๒ แห่งพอ
ประมาณคนผู้เดียวเข้าไปได้เท่านั้น แล้ว จงบอกว่า ‘พวกท่านจงเข้าประตูหนึ่ง
ออกประตูหนึ่ง’ ด้วยอาการอย่างนี้ คนทั้งหลาย ก็จะเงียบเสียงเอง แล้วมารับทานไป.”
มิตตกุฏุมพีได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า “อุบาย เข้าทีดี แม่หนู” ดังนี้ ให้
กระทำตามดังนั้นแล้ว
ธิดาเศรษฐีนั้น เมื่อก่อน ชื่อ ‘สามา’, แต่เพราะนาง ให้กระทำรั้วขึ้น จึงมีชื่อว่า
‘สามาวดี’,
ตั้งแต่นั้น ความโกลาหลในโรงทาน ก็ขาดหายไป. โฆสกเศรษฐีได้ฟังเสียงนั้น
ในเวลาก่อน ๆ ก็พอใจว่า ‘เสียงในโรงทานของเรา’, แต่เมื่อไม่ได้ยินเสียง ๒-๓ วัน จึงถาม
มิตตกุฏุมพีผู้มาสู่เรือนของตนว่า “ทานเพื่อ คนกำพร้าและเพื่อคนเดินทางไกลเป็นต้น
อันท่านยังให้ อยู่หรือ?”
มิตตกุฏุมพี. “ขอรับ นาย.”
โฆสกเศรษฐี. “เมื่อเป็นอย่างนี้ ทำไม ฉันจึงไม่ได้ยินเสียง มา ๒-๓ วันแล้ว?
มิตตกุฏุมพี. “ฉันมีหนทาง ที่จะทำให้พวกเขาไม่มีเสียงดัง เวลารับของกัน.
โฆสกเศรษฐี. “เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำเสียตั้งแต่เมื่อก่อนเล่า?
มิตตกุฏุมพี. “เพราะไม่รู้วิธี นาย.
โฆสกเศรษฐี. “แล้วเดี๋ยวนี้ ท่านรู้ได้อย่างไรเล่า?
มิตตกุฏุมพี. “ลูกสาวของฉันบอกให้ นาย. ”
โฆสกเศรษฐี. “ลูกสาวของท่านที่ฉันไม่รู้จัก มีอยู่หรือ?”
มิตตกุฏุมพีนั้น เล่าเรื่องของภัททวติยเศรษฐีทั้งหมด ตั้งแต่เกิดอหิวาตกโรคแล้ว
ก็บอกความที่ตน ตั้งธิดาของเศรษฐีนั้นไว้ในตำแหน่งลูกสาวคนโตของตน.
ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกับมิตตกุฏุมพีนั้นว่า “ เมื่อเป็น อย่างนี้ เพราะเหตุไร
ท่านจึงไม่บอกแก่ฉัน? ธิดาแห่ง สหายของฉัน ก็ชื่อว่าธิดาของฉัน”
ดังนี้แล้ว ให้เรียกนางสามาวดีนั้นมาถามว่า “แม่หนู ท่านเป็นลูกสาวเศรษฐีหรือ?”
สามาวดี. “จ้ะ คุณพ่อ.”
โฆสกเศรษฐีกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้น เจ้าอย่าคิดมาก ไปเลย เจ้าเป็นธิดาของฉัน”
ดังนี้ จุมพิตนางสามาวดีนั้น ที่ศีรษะ ให้หญิง ๕๐๐ นางแก่นางสามาวดีนั้น เพื่อเป็นบริวาร
ตั้งนางสามาวดีนั้นไว้ในตำแหน่งธิดาคนโตของตนแล้ว.
ต่อมาวันหนึ่ง ในนครนั้นประกาศนักขัตฤกษ์แล้ว ก็ในงานนักขัตฤกษ์นั้น
แม้กุลธิดาทั้งหลายผู้มิได้ออกไป ภายนอก ต่างพากันเดินไปสู่แม่น้ำ อาบน้ำกับด้วย
บริวาร ของตนๆ.
ในวันนั้น แม้นางสามาวดีอันหญิง ๕๐๐ นาง แวดล้อมแล้วก็ได้ไปเพื่ออาบน้ำ
ไปตามทางพระลานหลวง เช่นเดียวกัน. ฝ่ายพระเจ้าอุเทนประทับอยู่ที่สีหบัญชร
(หน้าต่าง) ทอดพระเนตรเห็นนางสามาวดีนั้น จึงตรัสถาม ว่า “พวกนี้ หญิงฟ้อนของใคร?”
ราชบุรุษทูลว่า“ไม่ได้เป็นหญิงฟ้อนของใคร พระเจ้าข้า.
พระเจ้าอุเทน. “เมื่อเป็นเช่นนี้ เป็นลูกสาวของใครกันเล่า?
ราชบุรุษ. “เป็นลูกสาวของโฆสกเศรษฐี พระเจ้าข้า นางนั้นชื่อ ‘สามาวดี.’ ”
พระเจ้าอุเทนพอทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิด พระสิเนหา จึงรับสั่งให้ส่งสาสน์
ไปให้เศรษฐีว่า ‘ได้ยินว่า ขอท่านเศรษฐี จงส่งธิดามาให้แก่ฉัน.
เศรษฐี. “ส่งให้ไม่ได้ พระเจ้าข้า.”
พระเจ้าอุเทน“ได้ยินว่า ขอท่านเศรษฐีอย่าทำอย่างนี้เลย, ขอท่านเศรษฐีจงส่งมา
จงได้.”
เศรษฐี. “พวกข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่าคฤหบดี ให้ไม่ได้ ก็เพราะกลัวภัย คือการโบยตีคร่า
นาง กุมาริกา พระเจ้าข้า.”
พระราชาทรงกริ้ว จึงรับสั่งให้ตีตราเรือน จับเศรษฐี และภริยาของเศรษฐีที่มือให้อยู่
ณ ภายนอก.
นางสามาวดีอาบน้ำแล้วกลับมา ไม่สามารถเข้าบ้าน ได้ จึงถามว่า “นี่เกิดอะไรขึ้น?
พ่อ” บิดาตอบว่า “แม่หนู ในหลวงส่งสาสน์มา เพราะเหตุต้องการเจ้า. เมื่อพวกเรากล่าวว่า
‘ไม่ให้’ จึงรับสั่งให้ ตีตราเรือน แล้วรับสั่งให้พวกเราอยู่ ณ ภายนอก.”
นางสามาวดีจึงกล่าวว่า “พ่อ กรรมหนักอันพ่อทำแล้ว, ธรรมดาพระราชาเมื่อส่งสาสน์
มาแล้วไม่ ควรทูลว่า‘ไม่ ให้’ ควรทูลว่า ‘ถ้าพระองค์จะทรงรับธิดาของข้าพระพุทธเจ้า
พร้อมทั้งบริวาร ก็จะถวายสิพ่อ.’ ”
เศรษฐีกล่าวว่า “ดีละ แม่หนู เมื่อเจ้าพอใจ พ่อก็ จะทำตามอย่างนั้น” ดังนี้แล้ว จึงให้
ส่งสาสน์ไปถวาย พระราชาตามนั้น.
พระราชาทรงรับว่า “ดีแล้ว” ทรงนำนางสามาวดีนั้น มาพร้อมทั้งบริวาร ทรงอภิเษก
ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี แล้ว. หญิงที่เหลือก็ได้เป็นบริวารของนางเหมือนกัน.นี้เป็น
เรื่องของนางสามาวดี