นางมาคันทิยา ตอนที่ ๒ (ปรากฏอยู่ในเรื่อง พระนางสามาวดี)
ฝ่ายนายจูฬมาคันทิยะคิดว่า ‘ธิดาของเราไม่ควร แก่ผู้ต่ำช้า, ควรแก่พระราชาผู้เดียว’
จึงพานางไปสู่เมือง โกสัมพี ตกแต่งด้วยเครื่องประดับทั้งปวงแล้วได้ถวายแด่ พระเจ้าอุเทน
ด้วยคำว่า “นางแก้วนี้ควรแก่สมมติเทพ ฝ่าละอองธุลีพระบาท.”
พระเจ้าอุเทนนั้นพอทอดพระเนตรเห็นนาง ก็เกิดสิเนหาอย่างแรงกล้า จึงประทานการ
อภิเษก ให้หญิง ๕๐๐ นาง เป็นบริวาร ตั้งไว้ในตำแหน่งแห่งอัครมเหสีแล้ว. นี้เป็นเรื่องขอ
งนางมาคันทิยา.
พระเจ้าอุเทนนั้นได้มีอัครมเหสี ๓ นาง ซึ่งมีหญิงฟ้อน ๑,๕๐๐ นางเป็นบริวาร ด้วยประการ
ดังนี้.
ต่อมาวันหนึ่ง พระนางมาคันทิยา เสด็จออกเดินจาก พื้นปราสาทของตนไปสู่ที่อยู่ของ
หญิงเหล่านั้น เห็นช่องในห้องทั้งหลายแล้ว จึงถามว่า “นี้อะไรกัน?”
เมื่อหญิงเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ความอาฆาตที่พระนางนั้น ผูกไว้ในพระศาสดา จึงตอบว่า “
พระศาสดาเสด็จมาสู่นครนี้, พวกหม่อมฉันยืนอยู่ในที่นี้ ย่อมถวายบังคมและ บูชาพระศาสดา”
ดังนี้แล้ว
คิดว่า ‘พระสมณโคดม ชื่อว่ามาแล้วสู่นครนี้, บัดนี้ เราจะกระทำกรรมที่ควรทำแก่พระ
สมณโคดมนั้น แม้หญิงเหล่านี้ ก็เป็นอุปัฏฐายิกาของพระสมณโคดมนั้น, เราจะรู้กรรมที่พึงทำ
แม้แก่หญิงเหล่านี้’ จึงไปกราบทูลแด่ พระราชา ว่า “ข้าแต่มหาราช หญิง ๕๐๐ รวมทั้งพระนาง
สามาวดี มีความปรารถนาในภายนอก, พระองค์จะไม่มี พระชนม์โดย ๒-๓ วันเป็นแน่.”
พระราชาไม่ทรงเชื่อแล้วด้วยทรงพระดำริว่า ‘หญิง เหล่านั้น จะไม่ทำกรรมเห็นปานนี้.’
แม้เมื่อพระนางมาคันทิยากราบทูลอีก ก็ไม่ทรงเชื่ออยู่นั่นเอง
ลำดับนั้น พระนางมาคันทิยาจึงกราบทูลพระราชานั้น ผู้แม้เมื่อตนกราบทูลอย่าง
นี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ทรงเชื่อว่า “ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อคำหม่อมฉันไซร้ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่อยู่ของหญิงเหล่านั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญเถิด.”
พระราชาเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นช่องในห้องทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า “นี่อะไรกัน?”
เมื่อหญิงเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, ไม่ทรง พิโรธต่อหญิงเหล่านั้น มิได้ตรัส
อะไรๆ เลย, รับสั่งให้ปิด ช่องทั้งหลายเสีย แล้วให้ทำหน้าต่างมีช่องน้อยไว้ในห้อง ทั้งปวง.
ได้ยินว่า หน้าต่างมีช่องน้อยทั้งหลาย เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น.
พระนางมาคันทิยาไม่อาจเพื่อจะทำอะไรๆ แก่หญิง เหล่านั้นได้ ก็ดำริว่า ‘เราจะทำ
กรรมที่ควรทำแก่พระสมณโคดมให้ได้’ จึงให้ค่าจ้างแก่ชาวเมืองแล้วกล่าวว่า“พวกเจ้าพร้อม
ด้วยพวกผู้ชายที่เป็นทาสและกรรมกร จงด่าบริภาษ พระสมณโคดมผู้เข้าไปสู่ภายในพระนคร
เที่ยวอยู่ ให้หนีไป.”
พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในรัตนะ ๓ ก็ติดตาม พระศาสดาผู้เสด็จไปสู่ภายในพระนคร
ด่าอยู่บริภาษ อยู่ด้วย ถ้อยคำสำหรับด่า ๑๐ อย่าง ว่า “๑. เจ้าเป็นโจร, ๒. เจ้าเป็นพาล, ๓
เจ้าเป็นบ้า, ๔. เจ้าเป็นอูฐ, ๕. เจ้าเป็นวัว,๖. เจ้าเป็นลา, ๗. เจ้าเป็นสัตว์นรก, ๘. เจ้าเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน, ๙. สุคติของเจ้าไม่มี, ๑๐. เจ้าหวังได้ทุคติอย่างเดียว.”
ท่านพระอานนท์ฟังคำนั้นแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กับพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ชาวเมืองเหล่านี้ ย่อมด่าย่อมบริภาษพวกเรา, พวกเราจะไปจากที่นี้ ไปที่อื่น.”
พระศาสดาตรัสถามว่า “เราจะไปที่ไหน? อานนท์.”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไปเมืองอื่น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. “เมื่อพวกคนในเมืองนั้นด่าอีก, เราไป ในที่ไหนกันอีกเล่า? อานนท์.”
พระอานนท์. “ไปสู่เมืองอื่น ไปจากเมืองนั้น พระเจ้าข้า.”
พระศาสดา. “เมื่อพวกคนในเมืองใหม่ด่าอีก, เราจะไป ในที่ไหนกันเล่า?”
พระอานนท์. “ไปเมืองอื่นจากเมืองนั้น พระเจ้าข้า.”
พระศาสดา. “อานนท์ การทำอย่างนี้ไม่ควร; อธิกรณ์๑๓ เกิดขึ้นในที่ใด, เมื่ออธิกรณ์นั้น
สงบระงับ แล้ว ในที่นั้นแล จึงควรไปในที่อื่น; อานนท์ ก็พวกเหล่านั้น ใครเล่า? ด่า.
พระอานนท์. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเหล่านั้นทุกคน จนกระทั่งพวกทาส และกรรมกรด่า.”
พระศาสดา ตรัสว่า “อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างตัวก้าว ลงสู่สงคราม, ก็การอดทนลูกศรอันมา
จาก๔ทิศ ย่อมเป็นภาระของช้างซึ่งก้าวลงสู่ สงครามฉันใด ชื่อว่าการอดทน
ต่อถ้อยคำของคนทุศีลเป็นอันมาก กล่าวแล้ว ก็เป็น ภาระของเราฉันนั้นเหมือน
กัน”
ดังนี้แล้ว เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรมภาษิต
คาถา ๓ เหล่านี้ในนาควรรคว่า
เราจะอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกิน ดังช้างอดทนลูกศร
ซึ่งตกไปจากแล่งในสงคราม, เพราะคนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล,
ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่ฝึกแล้ว
ไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมเสด็จขึ้นพาหนะที่ฝึกแล้ว;
ในหมู่มนุษย์ผู้ใดอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินได้,
ผู้นั้นชื่อว่าฝึกตนแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด.
ม้าอัสดรที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ, ม้าอาชาไนย
ม้าสินธพที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ,
พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ,
แต่ผู้ฝึกตนเองได้แล้ว ประเสริฐกว่านั้น.
ธรรมกถาได้มีประโยชน์แก่มหาชนผู้ถึงพร้อมแล้ว,
พระศาสดา ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนั้นแล้ว ตรัสว่า “อานนท์ เธออย่าคิดไปแล้ว, พวก
เหล่านั้นจะด่าได้ เพียง๗วันเท่านั้น ในวันที่๗จะเป็นผู้นิ่ง เพราะว่าอธิกรณ์ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระพุทธ
เจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกิน ๗ วัน.”
พระนางมาคันทิยาให้คนด่าพระศาสดาแล้ว แต่ไม่อาจ ทำให้พระองค์หนีไปได้ จึงคิดว่า
‘เราจะทำอย่างไรหนอ?’ ดังนี้แล้ว คิดว่า ‘หญิงเหล่านี้เป็นผู้อุปถัมภ์พระสมณโคดมนั้น,
เราจะทำความฉิบหายให้แก่หญิงเหล่านั้น.’
วันหนึ่ง เมื่อทำการรับใช้อยู่ในที่เป็นที่เสวยน้ำจัณฑ์ แห่งพระราชา ส่งข่าวไปแก่อาว่า
‘โปรดทราบว่า ฉันมี ความต้องการด้วยไก่ทั้งหลาย, ขออาจงนำเอาไก่ตาย ๘ ตัว ไก่เป็น ๘ ตัว
มา, เมื่อมาแล้ว จงยืนอยู่ที่บันได บอกความ ที่ตนมาแล้ว เมื่อรับสั่งว่า ‘จงเข้ามา’, ก็อย่าเข้าไป
จงส่ง ไก่เป็น ๘ ตัวไปก่อน ส่งไก่ตายนอกนี้ไปภายหลัง”, และ นางได้ประทานสินจ้างแก่คน
ใช้ด้วยสั่งว่า “เจ้าพึงทำตาม คำที่เราบอก.”
นายมาคันทิยะมาแล้ว ให้ทูลแด่พระราชาให้ทรง ทราบ, เมื่อรับสั่งว่า “จงเข้ามา” ก็กล่าว
ว่า “เราจะไม่เข้าไป สู่ที่เป็นที่เสวยน้ำจัณฑ์ของพระราชา.”
ฝ่ายพระนางมาคันทิยาส่งคนใช้ไปกล่าวว่า “พ่อคุณ จงไปหาอาของเรา.” เขาไปแล้ว
นำไก่เป็น ๘ ตัว ซึ่งนาย มาคันทิยะนั้นให้แล้วมา กราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ท่านปุโรหิต
ส่งเครื่องบรรณาการมาแล้ว.”
พระราชาตรัสว่า “ดีแท้ แกงอ่อมเกิดขึ้นแก่พวกเรา แล้ว, ใครหนอ? ควรแกง.”
พระนางมาคันทิยากราบทูลว่า “ ข้าแต่มหาราช หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข
เป็นผู้ไม่มีการงาน เที่ยวเตร่อยู่, ขอพระองค์จงส่งไปให้แก่หญิงเหล่านั้น; หญิงเหล่านั้นแกง
แล้วจะนำมาถวาย.”
พระราชาทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “เจ้าจงไปให้แก่ หญิงเหล่านั้น, ได้ยินว่า หญิงเหล่า
นั้น จงอย่าให้คนอื่น จงฆ่าแล้วแกงเองทีเดียว.”
คนใช้รับพระดำรัสว่า “ดีละ พระเจ้าข้า” แล้วไปบอก อย่างนั้น หญิงเหล่านั้นกล่าวคัด
ค้านแล้วว่า “พวกฉันไม่ ทำปาณาติบาต” จึงมาทูลความนั้นแด่พระราชา.
พระนางมาคันทิยากราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พระองค์เห็นไหม บัดนี้ พระองค์จะทรง
ทราบการทำ หรือไม่ทำปาณาติบาตแห่งหญิงเหล่านั้น, ขอพระองค์ จงรับสั่งว่า ‘หญิงเหล่า
นั้นจงแกงส่งไปถวายแก่พระสมณ- โคดม’ ดังนี้เถิด พระเจ้าข้า.”
พระราชาตรัสอย่างนั้นแล้วส่งไป. คนใช้นี้ ถือทำเป็น เดินไปอยู่ ไปแล้วให้ไก่เหล่า
นั้นแก่ปุโรหิต รับไก่ตายไปสู่ เรือนของหญิงเหล่านั้น กล่าวว่า “ได้ยินว่า พวกท่าน แกงไก่
เหล่านี้แล้ว จงส่งไปสู่สำนักพระศาสดา.”
หญิงเหล่านั้นกล่าวตอบว่า “นำมาเถิดนาย การแกง ไก่ตายนี้เป็นกิจของพวกเรา” ดังนี้
แล้วก็รับไว้.
คนใช้นั้นมาสู่สำนักของพระราชา เมื่อพระราชาตรัส ถามว่า “เป็นอย่างไร? พ่อหนุ่ม”
จึงกราบทูลว่า “เมื่อข้าพระองค์เพียงกล่าวว่า ‘พวกท่านจงแกงส่งไปถวายพระสมณ
โคดม’ เท่านั้น, หญิงเหล่านั้น ก็สวนทางมารับเอาแล้ว.”
พระนางมาคันทิยากราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช จงดูเถิดหญิงเหล่านั้นหาทำให้แก่
บุคคลเช่นพระองค์ไม่, เมื่อหม่อม ฉันทูลว่า ‘หญิงเหล่านั้นมีความปรารถนาในภายนอก’,
พระองค์ก็ไม่ทรงเชื่อ.”
พระราชาแม้ทรงสดับคำนั้น ก็ได้ทรงอดกลั้น นิ่งไว้ เช่นเดิม. พระนางมาคันทิยาคิดว่า
‘เราจะทำอย่างไรหนอแล?’