ครบรอบ ๕๐ ปี วัดพระธรรมกาย วันมาฆบูชา ตอน กำเนิดวัดพระธรรมกาย
คุณยายอาจารย์อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นหนึ่งในจำนวน ผู้ศึกษาวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ) จากการฝึกฝนตัวอย่างยิ่งยวดของคุณยาย ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกายอย่างยอดเยี่ยม จนเป็นที่ชื่นชมของหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญว่า “ลูกจันทร์นี้ เป็นหนึ่งไม่มีสอง”
หลังจากหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญมรณภาพแล้ว คุณยายได้ดำเนินรอยตามปฏิปทาอย่างเคร่งครัด ในการสืบสานมโนปณิธานที่จะเผยแผ่วิชชาธรรมกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้แผ่
ขยายสู่ชาวโลก
คุณยายได้สอนธรรมปฏิบัติเรื่อยมา จนได้พบนิสิตหนุ่มคนหนึ่ง ผู้รักการปฏิบัติธรรมอย่างทุ่มเทชีวิตจิตใจ และได้ผลแห่งการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ต่อมานิสิตหนุ่มได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีฉายาว่า “ธัมมชโย ภิกขุ” แปลว่า ผู้ชนะโดยธรรม
พระภิกษุธัมมชโยได้ทำหน้าที่สอนธรรมะ จนมีผู้ปฏิบัติธรรมแน่นบ้านธรรมประสิทธิ์ในเขตวัดปากน้ำแล้ว จึงรวบรวมหมู่คณะพลิกผืนแผ่นดินทุ่งนาฟ้าโล่ง ๑๙๖ ไร่ ณ ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ให้เป็น “วัดพระธรรมกาย” ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ที่จะ สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และ สร้างคนให้เป็นคนดี ได้เริ่มการสร้างวัดตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ วันมาฆบูชา เป็นต้นมา
History of Wat Phra Dhammakaya
Khun Yay Upasika Jan Kohn-nok-yung, one of the meditation students of Phra Mongkol Thep Muni (Luang Por Wat Paknam Pasicharoen), had practiced meditation by means of Dhammakaya and become extremely successful in the meditation practice. Luang
Por Wat Paknam admired Khun Yay that "Daughter Jan is second to none".
After the death of Luang Por Wat Paknam, Khun Yay continued teaching and disseminating the knowledge of Dhammakaya until she eventually sought a young age who devoted his heart wholeheartedly for meditation practice. The man subsequently ordained
a monk and received a monk name 'Dhammajayo Bhikkhu' which means a winner by way of morality.
Dhammajayo Bhikkhu taught meditation to interested laypeople until Dhamma Prasidh House was unable to serve a huge increasing number of laypeople. A number of faithful followers, therefore, joined hands to establish Wat Phra Dhammakaya on a plot of land,
occupying an area of 80 acres in Khlong Sam Sub-District, Khlong Luang District, Pathumthani Province with a strong aim of making a temple a real temple, and making a monk a real monk and making people to be good people. Since the establishment of Wat Phra Dhammakaya on Magha Puja Day, February 20, 2513 B.E.(1970), a number of lay-people increased from tens to hundreds to thousands and then to tens of thousands.
อ้างอิงจากหนังสือ มหาธรรมกายเจดีย์ มหาเจดีย์เพื่อสันติภาพโลก
The Maha Dhammakaya Cetiya The Cetiya for world peace
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
The Great Abbot of Wat Paknam Bhasicharoen, Bangkok
(Phra monkolthepmuni)
คุณยายอาจารย์อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย
Khun Yay Upasika Jan Kohn-nok-yung
The founder of Wat Phra Dhammakaya
หลวงพ่อธัมมชโย Ven. Dhammajayo Bhikkhu
คุณยายอาจารย์อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เเละศิษยานุศิษย์
ที่หน้าบ้านธรรมประสิทธิ์ ในบริเวณวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
หลวงพ่อธัมมชโย อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2512
บริเวณพื้นที่ดินเริ่มเเรก ที่จะสร้างวัดพระธรรมกาย
ผืนเเผ่นดินเริ่มเเรก ที่จะสร้างวัดพระธรรมกาย
“วัดพระธรรมกาย” ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ .. สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และ สร้างคนให้เป็นคนดี.