ตำแหน่งแห่งความสมปรารถนา
ทำ ดีที่สุดแล้ว |
หรือยัง |
ดี ที่สุดต้องนั่ง |
หยุดไต้ |
ที่ ฐานเจ็ดคือคลัง |
ความสุข |
สุด หมดเมื่อไหร่ไซร้ |
เมื่อนั่นใจเกษม |
ตะวันธรรม
ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะหลับตาเบาๆพอสบายๆ ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกายของเรา ทั้งเนื้อทั้งตัวให้รู้สึกสบาย ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้ดี ให้รู้สึกสบาย แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่งๆ นุ่มๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างเบาๆ สบายๆ
ให้ตรึกนึกถึงดวงใสใจหยุดอยู่ที่กลางดวงใสๆ หรือใครคุ้นเคยกับองค์พระก็ตรึกนึกถึงพระแก้วใสๆ ใจหยุดอยู่ในกลางองค์พระแก้วใสๆ อย่างเบาๆ สบายๆ ใจแตะไปเบาๆสบายๆ ให้ใจนิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ
ค่อยๆ ประคองใจให้อยู่ภายในโดยที่ไม่กดลูกนัยน์ตาแบบก้มมอง ให้นึกง่ายๆ สบายๆ ใจใสๆ เย็นๆ ถ้าเปลือกตาเราปิดพอดีๆ จะทำให้การรวมใจมาหยุดนิ่งๆ ที่กลางกายได้ง่ายนึกถึงดวงหรือองค์พระก็ง่าย
ถ้านึกไม่ชัดเจน ให้ทำความรู้สึกว่ามีไปก่อน
สำหร้บนักเรียนใหม่ก็ค่อยๆ นึกเบาๆ ชัดเจนแค่ไหนก็เอาแค่นั้นไปก่อนไม่ชัดเจนก็ทำความรู้สึกว่ามีดวงใสๆ เหมือนเพชรสักเม็ดหนึ่งก้อนใหญ่ ๆ หรีอทำความรู้สึกว่ามีองค์พระใสๆ อย่างนี้ไปก่อนก็ได้ แม้ยังนึกไม่ออก ก็ให้ทำความรู้สึกว่ามีอยู่กลางกาย กลางท้องของเราไปก่อน
พร้อมกับบริกรรมภาวนาในใจเบาๆ สม่ำเสมอ โดยให้เสียงดังออกมาจากในกลางห้องของเรา สัมมา อะระหังๆตรึกนึกถึงดวงใส ใจหยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ หรือตรึกนึกถึงองค์พระใสๆ ใจหยุดอยู่ในกลางองค์พระใสๆ ประคองใจกันไปอย่างนี้นะ
หยุดแรกยากพอ
หยุดแรกก็จะยากสักนิด แต่ยากไม่มาก ยากพอสู้ ยาก คือ มันไม่ได้ดั่งใจเรา ที่เวลาเราลืมตาเห็นว้ตถุภายนอก เห็นคน สัตว์สิ่งของ อะไรต่างๆ เหล่านั้น มันง่ายมันได้ดังใจ มันชัดแจ่มกระจ่างเลย แต่พอเราหลับตา
เหมือนเราอยู่ห้องมืดๆ เราทำนิ่งๆ เฉยๆให้สายตาคุ้นกับความมืดในห้องสักพัก พอคุ้นเคยเราก็จะมีความรู้สึกว่า เราพอที่จะคลำหนทางไปสู่ประตู หรือที่ที่เราจะไปได้หรือไปหยิบวัตถุสิ่งของได้ภาพภายในใจก็เช่นเดียวก้นใหม่ๆ มันก็เป็นเห็นภาพภายใน เรานักเรียนใหม่ยังไม่คุ้นเคย เพราะฉะนั้นก็ต้องทำใจเย็นๆ
เหมือนเราอยู่ห้องมืดๆ เราทำนิ่งๆ เฉยๆ ให้สายตาคุ้นกับความมืดในห้องสักพัก พอคุ้นเคยเราก็จะมีความรู้สึกว่า เราพอที่จะคลำหนทางไปสู่ประตู หรือที่ที่เราจะไปได้หรือไปหยิบวัตถุสิ่งของได้ภาพภายในใจก็เช่นเดียวกันใหม่ๆ มันก็เป็น
มโนภาพที่เราสมมติขึ้นมา ต่างแต่ว่าเรานำมาตั้งในตำแหน่งที่สำคัญของชีวิตคือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นตำแหน่งแห่งความสุข ความสมปรารถนา ความสมหวังในชีวิต
ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตำแหน่งแห่งความสุข
ชีวิตในแต่ละวันตั้งแต่เราเกิดมาสิ่งที่เราปรารถนาจริง ๆนั้นคือความสุข ตามความเข้าใจของเรา ความสุขอยู่ที่ไหนเราก็จะไปตรงนั้น โดยคิดว่าตรงนั้น สิ่งนั้น คนนั้นจะทำให้เรามีความสุขได้
คิดว่าอยู่ที่คนก็ไปที่คน คิดว่าอยู่ที่สัตว์ก็ไปที่สัตว์ คิดว่าอยู่ที่สิ่งของก็ไปที่สิ่งของ คิดว่าอยู่ที่ทร้พย์สินเงินทอง ลาภยศสรรเสริญ อำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่การงานอะไรต่างๆเราก็จะไปตรงนั้น ไปสู่ตำแหน่งนั้น แต่พอไปถึงตำแหน่งนั้นจริงๆ ปรากฏว่า เรายังไม่สมหวัง ตรงนั้นไม่เคยให้ความสุขอย่างที่เราอยากได้ บางครั้งกลับมีปัญหาและแรงกดดันเกิดขึ้น ต้องคอยแก้ปัญหา รักษาตำแหน่ง ซึ่งมันก็มีปัญหาแรง
กดดันเยอะแยะ เพราะแต่เติมเราเข้าใจผิดว่า ความสุขมันอยู่ที่ตำแหน่งตรงนั้น
ดังนั้น ชีวิตที่ผ่านมาเราจึงไม่เจอความสุขเลย เพราะในทุก ๆ ตำ แหน่งที่ผ่านมาไม่ใช่ตำแหน่งที่จะให้ความสุขได้ ไม่ว่าจะตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือในฐานะอะไรก็แล้วแต่ แต่มีอยู่ตำแหน่งหนึ่ง ที่เราไม่เคยรู้จักเลย และเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุด ที่จะให้ความสมปรารถนาแก่เราได้ คือให้ความสุขอันไม่มีประมาณ ให้ความพึงพอใจ จนเราไม่อยากได้อะไรอีกเลย
ตำแหน่งตรงนี้ที่สำคัญมันอยู่ในตัวเรา ในกลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้แหละ ที่เรามองข้ามไป เราไม่เคยมองเข้าไปเลย เพราะไม่เคยได้ยินใครสอน หรือแม่ใครสอนเรา ก็ไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญหรือดูเบาไป
เราจะเห็นความแตกต่างได้เมื่อใจเรามาหยุดนิ่งที่ตำแหน่งฐานที่ ๗ ตรงนี้ได้ถ้าหยุดนิ่งตรงนี้ได้เราจะเห็นความแตกต่างอย่างมากมายทีเดียว
ที่มันยากเพราะเราคุ้นเคยกับตำแหน่งข้างนอก ตำแหน่งบุตร ภรรยา สามี นักเรียน ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ ผู้บังคับบัญชา ผู้ได้บังคับบัญชา เศรษฐี มหาเศรษฐี ตำแหน่งทางการเมือง ตำแหน่งอะไรต่างๆ เหล่านั้น ใจมันจะแล่นไปอย่างนั้นด้วยความคุ้น เหมือนนกพอเราปล่อยมันก็บินไปในอากาศ ปลาปล่อยก็ลงน้ำไปตามที่มันคุ้นมันเคย
มันจึงยากในตอนช่วงแรก แต่ถ้าเราฝึกหนักอย่างถูกหลักวิชชา นำใจมาหยุดอยู่ที่ตรงนี้ด้วยวิธีที่ง่ายๆ สบายๆด้วยวิธีที่เรานึกไม่ถึงว่ามันจะง่ายอย่างนี้ เพราะเรามัวไปทำสิ่งที่ยากๆ ยากจนยุ่ง กว่าจะนำเอาใจกลับมาหยุดอยู่ตรงนี้เดี๋ยวมันก็หลุด เดี๋ยวมันก็ติด เดี๋ยวมันก็อยู่ภายในก็ช่างมันแล้วก็ภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไปเลย
คำ ว่า "โล่งใจ"
พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ มันจะเกิดความรู้สึกโล่ง ตัวโล่ง คำว่า โล่งใจ นี่ชาวโลกเขาขอยืมเอาไปใช้ คือเวลาทุกข์มันลดลง หรือปัญหาลดลง เขาก็บอกว่ามันโล่งใจแต่จริงๆ แล้วไม่เคยรู้จักเลย
โล่งใจ เราจะรู้จักต่อเมื่อมีประสบการณ์ภายในเมื่อใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางกาย พอหยุดถูกส่วนสนิท ตัวก็จะโล่งเลยใจจะโล่ง เหมือนอยู่ที่โล่งๆ โปร่ง เบา สบาย พอสบายตัวก็จะขยาย ความรู้สึกของเราขยาย รู้สึกว่าใจขยาย กายขยาย ขยายโตใหญ่จนกระทั่งกลมกลืนไปกับบรรยากาศ เหมือนเราเป็นอันหนี่งอันเดียวกับบรรยากาศ เป็นอันหนี่งอันเดียวกับที่โล่งๆ กว้างๆ แล้วใจก็จะใสเย็น มีปีติ มีความสุข คือสบายกายสบายใจอย่างที่เราไม่เคยเป็นมาก่อนคล้ายๆกับที่โล่งว่างนั้นบรรจุไปดัวยอณูแห่งความสุขที่อัดแน่น หนาแน่น เป็นสุขอยู่ภายใน
คำ ว่า "แสงสว่างส่องนำทางชีวิต"
พอหยุดแรกได้หยุดสอง หยุดสาม หยุดสี่ หยุด infinity มันก็ได้ใจก็จะนิ่ง พอใจนิ่งมันจะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน โดยจะมีแสงสว่างส่องทางชีวิต คำนี้เราขอยืมเอามาใช้ทั้งๆ ที่ไม่รู้จัก แต่เราจะคุ้นคำนี้แสงสว่างส่องทางชีวิต แต่จริงๆ แล้วเรายังไม่เคยเห็นเลย
แสงสว่างส่องทางชีวิต จะรู้จักเมื่อหลับตาแล้วไม่มืด มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของเราไม่ว่าจะมืดชีวิตอยู่หรือมีชีวิตใหม่หลังตายแล้ว เป็นแสงสว่างที่เจิดจ้าละมุนละไมกว่าแสงใดๆ ในโลก ที่ให้ความปีติสุขหล่อเลี้ยงใจตลอดเวลาเลย ทั้งในมนุษย์และในปรโลก ในโลกใหม่ หลังชีวิตใหม่หลังจากตายแล้ว นี่แหละถึงจะเรียกว่า แสงสว่างส่องทางชีวิต
ความรู้ภายในจากการเห็นแจ้ง
ใจก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายในที่กว้างขวางใหญ่โตไปเรื่อยๆโดยผ่านจุดเล็กๆ ใสๆ ที่กลางกาย และก็จะไปเห็นของจริงที่อยู่ภายใน
ความรู้จะเกิดจากการเห็นแจ้งที่เขาเรืยกว่า ปัญญายะ ปัสสติ คือ ดวงปัญญา หรือความรอบรู้เกิดจากการเห็น
ที่ว่าปัญญาเป็นเครื่องเห็นนั้น หมายความว่า เห็นแล้วเข้าใจรู้เรื่อง จะเห็นเป็นภาพขึ้นมาในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ยิ่งกว่าปกติ สติก็เป็นมหาสติเกิดขึ้น ปัญญาก็เป็นมหาปัญญา คือ รู้ยิ่งกว่าปกติ
เราจะเห็นภาพภายในตั้งแต่ดวงใสๆ เป็นดวงประจำชีวิตของเรา ถ้าได้ดวงนี้ล่ะก็ เราเป็นอยู่ได้ด้วยตัวเอง จะอยู่ป่า อยู่ เขา ห้วย หนอง คลอง บึง อยู่ใต้โคนไม้ เรือนว่าง ป่าช้า ป่าชัฏที่ไหนๆ ในโลกก็อยู่ได้ทั้งสิ้นเลย มันเป็นอิสระ อิสรภาพทางใจที่ใสบริสุทธิ์ มีความสุขด้วยตัวของตัวเอง โดยไม่ต้องไปพึ่งพิงวัตถุหรือสิ่งอื่น จะมีก็เพียงแค่ปัจจัย ๔ เท่านั้น ปัจจัย ที่ ๕, ๖, ๗, ๘ ไม่มี มีเพียงปัจจัย ๔ ก็พอประมาณในระดับกินอยู่ใช้แต่พอดี คือจะรู้สึกว่ามันพอ พอถึงจุดแห่งความดีสุขกายสุขใจแล้วมันพอ มันจะพอดีของมัน เราจะรู้จักคำว่าพอดี ต่อเมื่อใจหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ แต่ไหนพอดีที่เราจะกินอยู่ใช้แต่พอดี
เมื่อใจเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน จะเห็นหนทางที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตที่ไดัเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ว่า เรามีเวลาอย่างจำกัดในโลกนี้เราจะใช้ชีวิตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบบประหยัดสุดประโยชน์สูง มีชีวิตเรียบง่ายแต่สูงส่งมีสุขล้วนๆ ที่ไม่มีทุกข์ในใจเจือเลย แม้ยังไม่หมดกิเลสอย่างบริบูรณ์แต่ความบริสุทธิ์ของใจก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เราจะเห็นดวง เห็นกายภายใน เห็นองค์พระ พระรัตนตรัยที่อยู่ภายในที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงสิ่งอื่นไม่ใช่
ที่พึ่งที่ระลึกพี่แท้จริงยู่ภายในตัวเรา
มนุษย์เมื่อมีความทุกข์ก็จะแสวงหาที่พึ่ง และก็สร้างพระเจ้าขึ้นมา สร้างที่พึ่งที่ระลึกขึ้นมา โดยคิดว่าสิ่งที่จะเป็นที่พึ่งได้จะต้องยิ่งใหญ่สร้างสรรพสัตว์สรรพสิ่ง หรือว่าสิ่งนี้อยู่ที่ไหนก็จะไปกราบไหว้ตรงนั้น นึกว่าอยู่ที่ต้นไม้ก็จะไปไหว้ต้นไม้ นึกว่าอยู่จอมปลวกก็ไปกราบไหว้จอมปลวก นึกว่าอยู่ที่สัตว์ประหลาดก็ไปไหว้สัตว์ นึกว่าอยู่ที่ภูเขา อารามศักดิ์สิทธิ์ คิดว่าอยู่ตรงไหนก็จะไปตรงนั้น จนกระทั่งในที่สุดไม่อาจจะสัมผัสได้ ก็เลื่อนลอยกันไปอย่างนั้น
แต่ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงอยู่ภายใน คือ พระรัตนตรัยที่อยู่ภายในตัว ส่วนพระรัตนตรัยภายนอกเขาจำลองจากภายในออกมาสู่ภายนอกเพื่อให้รู้จักว่า ข้างในมีอย่างนี้ แต่เมื่อยังไม่เห็นข้างใน ก็ดูข้างนอกไปก่อน
ทั้งหมดนี้มีอยู่ในตัวของเรา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วจึงจะเห็นได้ เมื่อเห็นแจ้งก็รู้แจ้ง ความรู้แจ้งเกิดการเห็นแจ้งเขาเรียกว่าตรัสรู้ คือ ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เป็นได้ เมื่อนำใจ ใจกลับมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้
ชีวิตคฤหัสถ์เหมือนอยู่ที่แคบ
ชีวิตของบรรพชิตจะง่ายกว่าคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีเครื่องพันธนาการของชีวิต มีครอบครัว มีธุรกิจการงานบ้านช่อง ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งโน้นสิ่งนี้ คนสัตว์สิ่งของอะไรต่าง ๆเหล่านั้น บางอย่างก็จำเป็น บางอย่างก็ไม่จำเป็น บางอย่างก็มีโทษมีภัยโดยที่ตัว เองก็ไม่รู้ว่ามันมีโทษมีภัยกับตัว ไม่ใช่ใกล้ตัวหรือไกลตัว ซึ่งก็คือกฎแห่งกรรมนั้นแหละ
ชีวิตของคฤห้สถ์เหมือนอยู่ที่แคบ ม้นอึดอัด มืเครื่องพันธนาการของชีวิด กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นไฟ แล้วทุกวันก็จะวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ เดี๋ยววันเดี๋ยวคืนเดี๋ยวก็หมดเวลาของชีวิตไปแล้ว ก่อนวัยอันควรบ้าง เท่าอายุขัยเฉลี่ยมนุษย์บ้างเกินกว่านี้ก็มีน้อย ชีวิตก็วนๆ เวียนๆ กันอยู่อย่างนี้ที่จะให้โอกาสตัวเอง ให้ของขวัญกับตัวเองมาปฏิบ้ติธรรมก็น้อยมาก เพราะเวลาถูกดึงเอาไปใช้ อย่างอื่น ๒๔ ชั่วโมง ต่อ ๑ วัน แปลงเป็น ๓ ช่วง ๘ ชั่วโมง สำหรับการพักผ่อน อีก ๘ชั่วโมง ใช้ในการบริหารขันธ์ตั้งแต่อาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟันรับประทานอาหารขับถ่าย exercise บ้าง เป็นต้น ๘ ชั่วโมงที่เหลือ ก็ทำงาน บางทีก็ทำงานล่วงเวลาไปกินเวลา ๒ ส่วนไปอีก
ดังนี้จึงไม่ค่อยมีเวลาแบ่งให้สำหรับการทำสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ยิ่งผัดผ่อนไม่เห็นความสำคัญในสิ่งนี้ เพราะไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ไม่มีประสบการณ์ภายใน ชีวิตก็หมดไปเปล่า ๆเหมือนนกเหมือนกาที่ตื่นขึ้นมาก็ร้องกา ออกไปทำมาหากินพอตกเย็นก็ร้องกา แล้วกลับเช้านอน
ชีวิตคฤหัสถ์จึงเหมือนอยู่ที่แคบ อยู่ที่แคบมันจะอึดอัดแต่ก็หาทางออกไม่ได้
ชีวิตสมณะประเสริฐที่สุด
แต่ถ้าชีวิตของสมณะจะว่างกว่าคฤหัสถ์ คือ ไม่ต้องไปทำ ตรงนั้น แต่มุ่งสู่จุดหมายในการทำพระนิพพานให้แจ้งเลยเป็นอยู่ได้แค่ปัจจัย๔นิดๆหน่อยๆที่เกิดจากการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ญาติโยมเกื้อกูลด้วยการสนับสนุนและให้กำลังแห่งการตรัสรู้ธรรม คอยใส่บาตร สนับสนุนเรื่องเสนาสนะ เรื่องจีวรเรื่องยารักษาโรค เรื่องบริขารเท่าที่จำเป็น ส่วนพุทธบุตรก็เป็นครูสอนศีลธรรมชักจูงญาติโยมให้ละชั่ว ทำ ความดี ทำ ใจให้ใสด้วยทาน ด้วยศีล ด้วยภาวนา ต่างก็เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ชีวิตสมณะจึงเป็นชีวิตอันประเสริฐ ที่เลิศกว่าชีวิตทั้งหลาย ยิ่งกว่าของฆราวาส เหมือนออกมาจากที่แคบสู่ที่โล่ง กว้างขวางไปเรื่อยๆ ก็มีตัวอย่างของผู้มีบุญในกาลก่อน มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นต้น ซึ่งเป็นกุลบุตรออกจากเรือนจากตระกูลต่าง ๆ เพราะเห็นโทษภัยในสงสารว้ฏและการครองเรือนซึ่งเป็นพันธนาการของชีวิต เมื่อมีโอกาสว่างแล้วจึงได้ออกบวชทำตามโอวาทของพระอุปัชฌาย์ที่ประทานโอวาทในวันบวช ดำเนินรอยตามสอนของพระสัมมาส้มพุทธเจ้า
ชีวิตนักบวชประเสริฐที่สุด และยังมีสิ่งที่น่าศึกษาเรียนรู้ภายในอีกเยอะแยะ เมื่อใจหยุดนิ่งได้เข้าถึงดวง เข้าถึงกายเข้าถึงองค์พระธรรมกายภายใน
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายภายในจะเกิดธรรมจักษุ คือดวงตาที่เห็นได้รอบตัว ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เห็นถึงไหนญาณทัสสนะก็ไปถึงตรงนั้น มีธรรมจักษุ มีญาณทัสสนะจักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง จะเกิดขึ้น อยู่เป็นสุข นั่ง นอน ยืน เดิน เป็นสุข ประกอบกิจวัตรกิจกรรมก็เป็นสุข เมื่อมีพระรัตนตรัยภายในเป็นที่พึ่ง
เมื่อเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองได้แล้วก็เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่น ได้แก่โยมพ่อ โยมแม่ ญาติโยมทั้งหลาย มนุษย์ เทวดา สรรพสัตว์ทั้งปวง นี่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญว่า บวชแล้วก็ต้องเรียน ต้องปฏิบัติถ้าทั้งพระทั้งโยมให้โอกาสตัวเองทำความเพียรได้อย่างนี้ชีวิตที่เกิดมาในชาตินี้ก็มีกำไรชีวิต
กำไรชีวิต
กำไรชีวิตเขาดูที่ว่า เราได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้แค่ไหน เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวไหม หนทางสวรรค์ของเราเปิดขึ้นแล้วหรือยังอย่างนี้ถึงจะเรียกว่า กำไรชีวิต ไม่ใช่ดื่มเหล้าเจ้าชู้ เล่นการพนัน ติดอบายมุข ไปสูบไปเสพอะไรต่างๆ เหล่านี้แล้วเข้าใจผิดว่านั่นคือกำไรชีวิต ที่จริงเป็นขาดทุนชีวิต เพราะจะต้องไปใช้ชีวิตใหม่ในอบายที่ทุกๆทรมานอย่างไม่มีอะไรเปรียบอีกยาวนาน
ดังนั้น การฝึกใจให้หยุดนิ่งนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำ ให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เราได้ใช้ชีวิดอย่างมีคุณค่าสูงส่ง หลับเป็นสุข นั่ง นอน ยืน เดินเป็นสุข ไม่ใช่หลับเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นหมั่นฝึกใจให้หยุดนิ่งนุ่ม เบาสบาย ให้ใจใสๆ เย็นๆ
เกิดมาชาติหนึ่งก็ต้องให้เช้าถึงแสงสว่างภายใน ดวงธรรมภายใน รู้จักชีวิตใหม่ภายในเป็นชั้นๆ ที่ซ้อนๆ กันอยู่กระทั่งรู้จักพระรัตนตรัยในตัว ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงของเรา นี่เป็นเรื่องที่สำคัญนะ
เวลาที่เหลืออยู่นี้ ให้ลูกทุกคนต่างนั่งกันไปเงียบ ๆ ประคับประคองใจให้หยุดนิ่งด้วยการตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ พร้อมกับบริกรรมภาวนาในใจเบาๆว่า สัมมาอะระหัง เรื่อยไป ต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบๆ นะ
พระเทพฌาณมหามุนี วิ.
วันอาทิตย์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จากหนังสือ ง่ายเเต่ลึก เล่ม 3
โดยคุณครูไม่ใหญ่