เปลี่ยนความคิดพลิกชีวิตให้ดีกว่าเก่า

วันที่ 13 ตค. พ.ศ.2563

เปลี่ยนความคิดพลิกชีวิตให้ดีกว่าเก่า

 

631013_b.jpg

 

       ในทางการแพทย์มีการทดลองค้นคว้าวิธีการที่จะทำให้ สมองดีขึ้นหลากหลายวิธีด้วยกัน ทั้งการใช้อาหารบำรุงสมอง รวมทั้งการฝึกใช้สมอง ดังนั้น จึงเกิดกลวิธีบริหารสมองต่าง ๆ ขึ้นมากมาย แล้วเราควรจะเริ่มต้นการบริหารสมองอย่างไรมาดูกัน

 

กลวิธีบริหารสมอง

 

        คนประกอบด้วย "กาย" กับ "ใจ" ในส่วนของร่างกาย เราจะต้องออกกำลังถึงจะแข็งแรง แต่สำหรับใจของเรานั้นต้อง "หยุดนิ่ง" จึงจะทรงพลัง  

 

        สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ พอเราเปิดกะโหลกออกมาดู ก็จะเห็นสมองมีลักษณะเป็นก้อน และมีรอยหยักซึ่งเราสามารถจับต้องได้     

 

        บางคนเข้าใจผิดคิดว่าใจคนเรามีหน้าที่คิด จึงอาจจะคิด ไปว่าสมองนี่เองก็คือใจ แต่จริง ๆ ไม่ใช่ สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เปรียบเทียบสมองของคนคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์คิดคำนวณได้ดี แต่มันเป็นเพียงเครื่องมือที่รอให้ผู้ใช้ (User) เข้ามาสั่งงาน ใจคนเราก็เหมือน User ส่วนสมอง ก็คือคอมพิวเตอร์ที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่นั่นเอง

 

       หากถามว่าสมองสำคัญอย่างไร ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ว่า "ร่างกายต้องออกกำลังถึงจะแข็งแรง ส่วนใจของเราต้อง หยุดนิ่งจึงจะทรงพลัง" เมื่อสมองคือส่วนหนึ่งของ ร่างกาย เราจะฝึกสมองให้เก่ง ก็ต้องบริหารสมองด้วยการออกกำลังสมอง

 

       คำถามคือแล้วเราจะฝึกออกกำลังสมองอย่างไร จริง ๆการออกกำลังสมองก็คือการฝึกคิดนั่นเอง เมื่อสมองทำหน้าที่คิด การออกกำลังสมองก็คือการฝึกเกี่ยวกับเรื่องการคิด เปรียบเทียบ ให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือถ้าเราจะออกกำลังกายให้แขนขา ของเราแข็งแรงโดยทั่วไปมีหลัก 3 ข้อ ได้แก่

 

 ขัอที่ 1 ออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย


       ถ้าเราออกกำลังกายเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ร่างกายก็จะ แข็งแรงแค่ส่วนนั่น เช่น เล่นกีฬางัดข้อ เราก็จะได้ออกกำลังกาย แขนอย่างเดียว แขนมีกล้ามแข็งแรงแต่ขาอาจลีบ

 

       บางคนบอกว่าการว่ายนํ้าเป็นการออกกำลังกายที่ดี เพราะเราได้ออกกำลังกายครบทุกส่วนของร่างกาย หรือบางคนบอกวิ่งเบา ๆ ดีกว่า แต่จริง ๆ เราควรหมั่นออกกำลังกายหลากหลาย ประเภท ให้ได้บริหารร่างกายครบทุกส่วนถึงจะดี

 

ข้อที่ 2 ออกกำลังกายถูกท่าทาง

 

         หากเราออกกำลังกายผิดท่า ก็เหมือนกับคนที่เข้าโรงยิม โดยไม่มีครูฝึกสอน พอเผลอไปออกกำลังกายผิดท่าแทนที่เราจะ แข็งแรงก็กลับได้รับบาดเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก หรือ เอ็นฉีก เส้นยึด เป็นต้น

 

ข้อที่ 3 ออกกำลังกายอย่างพอดี

        ควรออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ พร้อมกับพักผ่อนให้ เพียงพอ เพราะถ้าเราหักโหมออกกำลังกายยืดเยื้อจนไม่มีเวลา พักผ่อน แทนที่ร่างกายเราจะแข็งแรงขึ้นก็กลับกลายเป็นอ่อนเพลีย ไร้กำลัง

 

หลักการบริหารสมอง

 

       เมื่อเราต้องออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ด้วยหลากหลายอิริยาบถเพื่อให้เกิดความสมดุลของร่างกาย สมองก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราคิดอะไรซ้ำเดิมเป็นประจำ ผลที่ได้คือสมอง จะใช้แต่ช่องทางเดิม ๆ เซลล์สมองไม่ได้ถูกใช้งานและเชื่อมโยง กันอย่างทั่วถึง

 

       ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการฝึกบริหารสมองรูปแบบใหม่ ๆ คือการสร้างกระบวนการคิดใหม่ ๆ ด้วยสิ่งเร้าใหม่ ๆ แทนที่เรา จะคิดแบบเดิม ๆ ก็ลองเปลี่ยนมุมมองพลิกแพลงวิธีคิดรูปแบบใหม่ ๆ

 

       เนื่องจากคนเรามักจะติดนิสัยแบบเก่า ๆ ที่เคยทำประจำ เช่น บางคนพอเจอเรื่องราวไม่ดีก็เกิดอารมณ์ฉุนเฉียวทันที แต่ถ้า เราพลิกมุมมองใหม่ คือพอมีคนมาด่าว่าเรา แทนที่เราจะหงุดหงิด ทันทีก็ปรับความคิดใหม่ให้เป็นบวกว่า ในอดีตชาติเราคงเคยไป ด่าเขาไว้ ถือว่าเราได้ชดใช้วิบากกรรม กันไปในชาตินี้ วิบากกรรม เราจะได้ลดน้อยลงไป

 

        เมื่อเราเปลี่ยนวิธีคิดพลิกมุมมองให้เป็นบวกอย่างนี้แล้ว ช่องทางเดินของเรื่องราวในสมองก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การ บริหารสมองเป็นไปได้อย่างทั่วถึงขึ้น

 

        อีกวิธีหนึ่งคือกระตุ้นการบริหารสมองด้วยการเปลี่ยน สิ่งเร้าใหม่ ๆ ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เช่น บางคนชอบ ฟังเพลงร็อก ก็ให้ลองเปลี่ยนมาฟังเพลงบรรเลงบ้าง หรือจะ ลองเปลี่ยนรูปแบบและรสชาติของอาหารที่กินในแต่ละวันบ้างก็ได้ พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้เรารู้สึกว่ามีอะไรใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต พอสิ่งเร้าเปลี่ยนรูปแบบไป สมองก็จะได้รับการกระตุ้นในส่วนที่ เปลี่ยนไปด้วย ส่งผลให้สมองทำงานได้ทั่วถึงมากขึ้น

 

        หลักการนี้เรียกว่า "Neurobics Exercise" คือ "การไม่ทำอะไรจำเจ" เช่น บางคนถนัดเขียนหนังสือด้วยมือขวา ก็ให้ลองเปลี่ยนมาเขียนด้วยมือซ้ายดูบ้าง ตัวหนังสืออาจจะโย้ ๆเย้ ๆ แต่เราก็จะพบว่ามีความรู้สึกใหม่ ๆ เกิดขึ้น

 

        ตอนอาบนํ้าเราเคยลืมตาหยิบสบู่มาถูตัว ก็ให้ลองหลับตา ถูสบู่ดูบ้าง หรือเราเคยลืมตาดูโทรทัศน์ก็ให้ลองเปลี่ยนมาหลับตา ตั้งใจฟังเสียงดูบ้าง จากเดิมที่เคยนั่งลืมตาฟังเพลงก็ลองหลับตา ฟังเพลงดูบ้าง จากที่เคยเดินกลับบ้านเส้นทางเดิม ๆ ก็ลองเดิน อ้อมไปอีกทางหนึ่ง เปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ให้ซํ้าซากจำเจดูบ้าง

 

       การที่เราได้พบเจอสิ่งแปลกใหม่จะทำไห้สมองเกิดความ ตื่นตัว ไม่เฉื่อยชาซึมเซา กิจกรรมเหล่านี้คือวิธีการบริหารสมอง ในรูปแบบที่เราทำเองได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน

 

        หลักการบริหารสมองที่สำคัญประการต่อมา คือสมอง จะต้องมีช่วงเวลาพักผ่อนด้วย ในขณะที่ร่างกายเรายังต้องมีช่วง เวลาพัก ไม่สามารถวิ่งหรือเดินได้ตลอดเวลา สมองของเราก็ต้อง มีช่วงเวลาหยุดพักด้วยเช่นกัน

 

        ช่วงพักสมอง คือช่วงเวลาที่เราหยุดคิดนั่นเอง ดังนั้น เราต้องรู้จักออกจากความคิดบ้าง บางคนคิดจนกระทั่งมีอาการ คล้าย ๆ สมองเป็นตะคริวเพราะรับสิ่งเร้าเข้ามามากเกินไป เช่นดูหนังมาก ๆ เล่นเกมคอมพิวเตอร์มาก ๆ ก็เกิดอาการเกร็ง สมองมึนงงเหมือนเครื่องกำลังจะแฮงก์ พอหลับตาก็นอนตาค้าง เบิกโพลง เพราะรู้สึกว่ามีเรื่องราววนเวียนอยู่ในหัวเต็มไปหมด นั่นคืออาการของคนที่ใช้สมองมากเกินไปจนมันเกร็งตัว เราต้อง รู้จักพักสมองบ้าง โดยการออกจากความคิดแล้วทำจิตใจให้สงบ หลับตาทำสมาธิภาวนา

 

เปลี่ยนความคิดดัวยหลักธรรม


         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "สัมมาสังกัปปะ" หนึ่งใน "มรรคมีองค์แปด" คือดำริชอบ ได้แก่ คิดชอบ คิดถูก ประกอบ ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ซึ่งเป็นหลักธรรมนำทางเปลี่ยน ความคิด ดังนี้

     

คิดออกจากกาม


         คิดออกจากกาม คือไม่หมกมุ่นในความโลภความอยาก ไม่อยากได้ของคนอื่นเขา ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ใช่ สิ่งที่เราเองควรได้ แต่เรากลับหมกมุ่นไปแสวงหาโดยมิชอบ หรือ ว่าไปคิดหมกมุ่นเรื่องกามมากเกินไป จนทำให้คุณภาพใจเสีย สมองเสื่อมคุณภาพ      

 

ไม่คิดพยาบาท


         ลองสังเกตคนที่คิดแค้นใครมาก ๆ แค่ไค้เห็นหน้าหรือ ได้ยินชื่อคนคนนั้น เขาก็จะรู้สึกโกรธจนใจสั่น มือไม้สั่น เลือดฉีด ขึ้นหน้า บางคนโกรธถึงกับทำท่าทางจะชักดิ้นชักงอลงไปเลย เพราะสมองเกิดอาการเกร็ง คล้ายกับคนที่ไปออกกำลังกายผิดท่า แล้วกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดการขัดยอกหรือฉีกขาด   

   

         หากเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ไม่ยํ้าคิดยํ้าทำในด้านการเพิ่มความ โกรธความอาฆาตพยาบาท แต่ให้คิดทางบวกอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว เราก็จะสบายใจ มีความสุข เพราะฉะนั้น อย่าเผลอไปคิดผิดท่า จนเกิดอันตรายแก่สมองและใจของเรา เราควรตั้งความปรารถนาดี และแผ่เมตตาจิตให้มาก

 

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ตลอดวัฏสงสารที่ยาวนาน ไม่มีใครเลยไม่เคยเกิดมาเป็นญาติกัน" คนที่เราเกลียดแสนเกลียดเขา ได้ยินชื่อเขาก็แทบจะดิ้นชัก ภพใดภพหนึ่งในอดีตเขาอาจจะ เคยเป็นพ่อแม่ของเรา เคยเป็นลูกสุดที่รักของเรา หรืออาจจะเคย เป็นสามีภรรยาของเราก็ได้ เพียงแต่เราลืมไปแล้วเท่านั้นเอง

 

         พอเราเข้าใจหลักความจริงอย่างนี้แล้ว ก็ให้มองทุกคน ด้วยความรักและปรารถนาดี ซึ่งจะเป็นผลดีกับสมองของเรา แล้วส่งผลเนื่องไปถึงใจของเราด้วย

 

ไม่คิดเบียดเบียน

 

        การไม่คิดเบียดเบียนมีผลต่อเนื่องมาจากเรื่องความ พยาบาท บางคนพยาบาทแค่ในความคิด บางคนเลยเถิดไปถึง คิดเบียดเบียน คืออยากจะเล่นงานให้เขาเดือดร้อน วางแผน ทำลายทรัพย์สินเขา ทำร้ายร่างกายเขา คิดแต่จะก่อเรื่องก่อราว ให้เขาได้รับความเดือดร้อน เรียกว่า "ชุดหลุมพรางวางเหยื่อล่อ" คิดแต่ในทางลบ จับจ้องว่าเมื่อใดคนอื่นเขาจะเดือดร้อน แต่จริง ๆ แล้วคนที่เดือดร้อนก่อนใครก็คือตัวเราเอง เพราะมัว แต่คิดร้าย คิดผิดทางจนสมองเกิดอาการเกร็งตัว สมองอักเสบ จนเกิดการขัดยอกทางสมอง เรียกว่าระบบการทำงานของร่างกาย รวนไปหมด คุณภาพใจก็เสื่อมตาม       

 

        เพราะฉะนั้น อย่าตกหลุมพราง 3 ข้อนี้ คือคิดหมกมุ่นในกาม คิดโลภอยากได้ของคนอื่นในทางทุจริต คิดพยาบาท อาฆาต และคิดเบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการป้องกันการใช้ สมองในทางที่ผิดได้อย่างดีเยี่ยมเลย แต่ถ้าใครไปทำเข้า เรียกว่า "มิจฉาสังกัปปะ" คือความคิดในทางที่ผิด

 

       ถ้าบริหารสมองได้ถูกหลัก ทั้งกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า ออกกำลังสมอง รู้จักขบคิดพิจารณาให้สมองได้ถูกใช้ทุกส่วน สมอง ของเราก็จะแข็งแรง แล้วพอเราไม่ใช้สมองในทางที่ผิด เราก็จะ เป็นคนที่มีสมองยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ แล้วทำให้เราอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

 

       สมองเราคอยรับสิ่งเร้าต่าง ๆ เข้ามาแล้วแปลผลออก มาในกระบวนการคิดซึ่งมีทั้งคิดดีและคิดไม่ดี ในทำนองกลับกัน สมองก็เป็นตัวถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่ออกมาจากใจว่าเราจะคิดพูด อย่างไร แล้วจึงส่งออกไปเป็นความคิด คำ พูด และการกระทำ

 

       เพราะฉะนั้น เราเป็นผู้เลือกที่จะรับข้อมูลจากภายนอก ที่มากระตุ้นให้เราคิด และเลือกที่จะคิดพูดทำสิ่งใด ถ้าเราเลือก รับข้อมูลที่ดี ฝึกคิดทางบวก คิดพูดทำในแนวทางที่เป็นกุศล จิตผ่องใส สมองก็จะทำงานได้ดีนั่นเอง

 

 

       ขัดเกลาความคิด
 พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D.

      

      

      

      

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.027781716982524 Mins