พลังจินตนาการนำทางสู่ความเป็นอัจฉริยะ
การจินตนาการ คือการคิดนอกกรอบ พลังของการ จินตนาการนี้เองที่ทำให้มนุษยชาติก้าวหน้ามาถึงวันนี้ได้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เคยกล่าวไว้ว่า "Imagination is more important than knowledge." แปลว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
" จินตนาการ " กับ " ความรู้ " สัมพันธ์กันอย่างไร
ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่า "จินตนาการ" คืออะไร และแตกต่างกับ "ความคิดอย่างมีเหตุมีผล" อย่างไร ถ้าเราคิด อย่างมีเหตุมีผลนั่นหมายถึง เราคิดบนพื้นฐานความรู้เดิมที่เรา ค้นพบและพิสูจน์ได้แล้ว จากนั่นจึงนำความรู้นั้นมาต่อยอดทาง ความคิด
ส่วน "จินตนาการ" คือการคิดฝันโดยไม่อ้างอิงฐาน ความรู้ปัจจุบัน เช่น คนสมัยก่อนมองไปที่ดวงจันทร์แล้วคิดว่า สักวันมนุษย์น่าจะไปเดินเล่นบนดวงจันทรได้ หรือบินไปบนท้องฟ้า ได้เหมือนนก อย่างนี้เรียกว่า "จินตนาการ" เพราะสมัยก่อน ยังไม่มีเครื่องบิน ยังไมมีจรวด แล้วจู่ ๆ การที่นักฝันว่าคนจะ ไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ได้จึงถือว่าเป็นความคิดแบบนอกกรอบ หลุดจากข้อมูลความรู้ที่อธิบายได้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น การคิดฝันลักษณะนี้คือการจินตนาการที่ไม่ถูกจำกัดด้วยความรู้ ทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง
รู้หรือไม่ว่าทำไม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงกล่าวไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เพราะการที่จะค้นพบอะไรใหม่ ๆ ได้ก็ต้องอาศัยจินตนาการ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ถ้าคิด แบบไม่มีจินตนาการ ต้องคิดจากสิ่งที่เราอธิบายได้แล้วในปัจจุบัน จากนั้นจึงพัฒนาต่อยอดความคิด
ถ้ามีจินตนาการเข้ามาร่วมด้วยเมื่อใด เราก็สามารถคิด ทะลุกรอบหลุดไปอีกมิติหนึ่งได้เลย โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ สรุปไว้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงของเขาเอง
ทฤษฎีที่โด่งดังที่สุดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพ" ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นได้เพราะจินตนาการของเขาเอง ซึ่งเขาค้นพบทฤษฎีนี้ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี ไม่ใช่ค่อย ๆ เพิ่มพูน ความรู้จนอายุ 60 ปี เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มากประสบการณ์ แล้วค่อยคิดค้นได้
ก่อนที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จะประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพ ให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก เขาก็ต้องคิดมาก่อนหน้านั้นด้วยการใช้ จินตนาการร่วมกับความรู้พื้นฐาน แต่ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ ค่อย ๆ ใช้ความคิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาก็คงจะคิดไม่ ออกเลย แต่ไอน์สไตน์สามารถคิดสิ่งนี้ออกได้ในเวลาเพียง 1 วัน เพราะเขาใช้จินตนาการร่วมด้วยนั่นเอง
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ เริ่มต้นจากวันหนึ่งที่ไอน์สไตน์นั่ง ทำใจสบาย ๆ มองฟ้ามองดาวไปเรื่อย ๆ พอใจโปร่งโล่ง นิ่งและเบาสบายคล้าย ๆ เป็นสมาธิ ความคิดหนึ่งก็แวบขึ้นมาในใจว่า ถ้าไม่มีอะไรเร็วเหนือแสงแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งในตอนนั่น นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้วว่า แสงเดินทางเร็วมากด้วยความเร็ว ประมาณ 186,000 ไมล์ต่อวินาที คือวินาทีเดียวแสงวิ่งรอบ โลกได้ตั้งหลายรอบ พอไอน์สไตน์รู้ว่าแสงเดินทางเร็วขนาดนั่น จึงจินตนาการต่อไปว่า ถ้าสมมติว่าไม่มีอะไรเร็วเหนือแสง แสงเดินทางเร็วที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร
จากนั้นเขาก็อาศัยพื้นฐานทางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ที่ตัวเองมีอยู่ คำนวณตามหลักฟิสิกส์ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ในสมัยนั้น คือ "กฎของนิวตัน" ก็พบว่า ถ้าไม่มีอะไรเดินทาง เร็วเหนือแสงได้แสดงว่า เมื่อวัตถุใด ๆ เดินทางด้วยความเร็ว สูงขึ้น ๆ จนใกล้ความเร็วแสง มวลสารของมันจะตัองเพิ่มขึ้น จนกระทั่งมีคำมากเป็นอนันต์ ในความเร็วเท่าแสงจึงไม่มีแสงใด ๆ จะผลักให้มันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าแสงได้ เวลาก็จะเคลื่อนตัวช้าลง ณ ความเร็วสูงสุด
ไอน์สไตน์ทดลองจนปรากฏทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งถ้าคิด อย่างมีเหตุมีผลเขาย่อมไม่มีทางคิดออกเลย แต่ทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่นี้ เกิดขึ้นเพราะจินตนาการหลุดกรอบ ที่ต่อยอดจากพื้นฐานความรู้ ที่มีอยู่นั่นเอง
หลาย ๆ เรื่องที่มนุษย์ทำได้สำเร็จก็เพราะจินตนาการ เช่น เราจินตนาการว่าวันหนึ่งมนุษย์จะบินได้ ก็เกิดเป็นเครื่องบิน หรือจินตนาการว่า วันหนึ่งเราจะไปเดินเล่นบนดวงจันทรได้ ทำให้เกิดการสร้างยานอวกาศขึ้นมาแล้วไปเดินบนดวงจันทร์ได้จริง การค้นพบใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ เกิดขึ้นเพราะจินตนาการ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงสรุปไว้ว่า " จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ "
ขัดเกลาความคิด
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D.