วิธีบริหารจัดการกันความฝัน
ไม่ว่าจะเป็นจินตนาการ ความฝันทั้งตอนตื่นและตอนหลับ กระทั่งจิตใต้สำนึกล้วนแต่มีวิธีการที่เราสามารถบริหารจัดการให้ ดีได้ สังเกตว่าทั้ง 3 ข้อเกิดจากใจ หัวใจหลักก็คือ "ใจ" ดังนั้น จะบริหารจัดการทั้ง 3 เรื่องให้ดีได้ก็ต้องฝึกใจของเรา ด้วยการฝึกสมาธิให้ใจนิ่ง
จัดระเบียบความคิด
"จิต" คือ "ดวงใจ" ส่วน "เจตสิก" คือ "การทำงานของใจ" โดยควรมีการจัดระเบียบให้ไม่สับสน สังเกตว่า คนทั่วไปมักจะสับสนทางความคิด ซึ่งความคิดก็เป็นการทำงานของใจอย่างหนึ่ง
ใน 1 ชั่วโมงเราคิดนั่นคิดนี่ได้ตั้งหลายเรื่อง ความคิด กระโดดไปเรื่องนั่นกระโดดมาเรื่องนี้สับสนไปหมด แต่พอเรา ได้ฝึกสมาธิก็จะเกิดระเบียบทางความคิด เจตสิกได้รับการจัด ระเบียบ เพราะการทำงานของใจได้รับการจัดระเบียบ ตัวดวงจิต เองก็ผ่องใสขึ้น ทุกอย่างเกิดคุณภาพแล้วดีขึ้นเรื่อย ๆ
ผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการระเบียบของใจในขั้นของ จินตนาการคือ คนที่ฝึกสมาธิจะมีจินตนาการที่ดี ไม่ฝันกลางวัน คิดฝันเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อย หรือมัวแต่คิดฝันถึงสมบัติบ้า แต่จะคิด ฝันเป็นจินตนาการที่ชัดเจน มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง เป็น "ฝันใฝ่" ไม่ใช่ "ฝันเฟื่อง" และกลายเป็นฝันที่เป็นจริง ได้ในที่สุด
ฝันของ สตีฟ จอบส์
ยกตัวอย่าง ลตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) บุคคลที่ชาวโลก ให้การยอมรับว่าเป็นคนที่มีจินตนาการบรรเจิด เพราะเขาสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมายได้อย่างไม่หยุดยั้ง
สำหรับคนทั่วไป ในชีวิตหนึ่งถ้าได้สร้างนวัตกรรมที่ได้รับ ความนิยมไปทั่วโลกสักอย่างหนึ่ง จนกระทั่งรํ่ารวยเป็นหมื่นเแสน ล้านบาท แล้วนั่งกินบุญเก่านั้นไปตลอดชีวิตก็ถือว่ายอดเยี่ยมแล้ว
แต่สำหรับ สตีฟ จอบส์ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น พอเขาประสบ ความสำเร็จจากการสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Mac) ได้ไม่นาน ต่อมาเขาก็เริ่มคิดค้นไอพอด (iPod), ไอทูนส์ (iTunes) ต่อด้วยไอโฟน (iPhone), ไอแพด (iPad) มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ได้รับความนิยมเกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง แล้วมีใครเคย สงสัยหรือไม่ว่า สตีฟ จอบส์ ทำได้อย่างไร
คำตอบคือ สตีฟ จอบส์ ฝึกสมาธิวันละ 2 ชั่วโมงทุกวัน ทั้งที่มีงานยุ่ง เพราะฉะนั้น ใครที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วบ่นว่างานยุ่งจนไม่มีเวลานั่งสมาธิ ก็ให้ลองพิจารณาตัวเองว่า เรานั้นงานยุ่งแบบมั่ว ๆ หรืองานยุ่งแบบลตีฟ จอบส์
จอบส์จัดเวลาสำหรับการนั่งสมาธิวันละ 2 ชั่วโมง พอใจนิ่ง การจัดระเบียบความคิดก็ดี จินตนาการบรรเจิด ออกแรงน้อยแต่ ได้ผลมาก เขาสามารถใช้สมองและจินตนาการทื่ได้ผลมาก เพราะ เกิดพลานุภาพแห่งความคิด และจินตนาการสูง
สตีฟ จอบส์ ยังกล่าวอีกว่า คนทั่วไปมักให้เวลาคิดใน เรื่องสำคัญ ๆ น้อยเกินไป คือคนส่วนใหญ่มักจะให้เวลาในการคิด ระหว่างเรื่องสำคัญมากกับเรื่องสำคัญน้อยต่างกันเพียงนิดเดียว เช่น เรื่องที่สำคัญน้อยอาจจะใช้เวลาคิด 1 ชั่วโมง และเรื่อง สำคัญมากใช้เวลาคิดเพียง 2 ชั่วโมง แต่จอบส์ไม่เป็นอย่างนั้น
เขามักจะให้เวลากับการคิดทบทวนเรื่องสำคัญ ๆ โดยที่ เขามีใจจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้เขาได้เห็น ภาพจินตนาการที่กระจ่างชัดขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับตอนที่เขา คิดค้นไอแพด (iPad) บริษัทคอมพิวเตอร์ทุกบริษัทรู้ข้อมูลเท่า ๆ กันว่า ขณะนั้นยอดขาย คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะดิ่งลง แต่โน้ตบุ๊ก (Notebook Computer) หรือคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วกลับมี ยอดขายที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
บริษัทอื่น ๆ ต่างมองเห็นช่องทางการตลาดที่กำลังขยาย หลายบริษัทพยายามทุ่มเทงบวิจัยเพื่อพัฒนาโน้ตบุ๊กมากขึ้น ทั้งด้านการออกแบบให้ทันสมัย ทั้งพัฒนาโปรแกรมการใช้งานที่มี คุณภาพมากขึ้น เพื่อช่วงชิงลูกค้าให้มาเป็นของตนได้มากที่สุด แต่สำหรับ สตีฟ จอบส์ เขากลับเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น "รู้เท่ากันแต่ว่าเห็นไม่เท่ากัน"
หลังจากที่เขานิ่ง ๆ ไปประมาณ 7 วัน ปรากฎว่าเขา ค้นพบคำตอบที่ว่า วิถีชีวิตการทำงานของคนในปัจจุบันต้องการ พกพาเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปด้วย ยอดขายโน้ตบุกจึง เพิ่มขึ้น เขาเล็งเห็นประเด็นที่ลึกซึ้งกว่าคนของบรษัทอื่น ๆ ที่ได้รับข้อมูลมาแล้วลรุปอย่างพื้น ๆ ว่า โน้ตบุ๊กกำลังขายดีจึงควรทุ่มงบประมาณพัฒนารูปแบบและประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น
สตีฟ จอบส์ มองแบบพินิจพิจารณาอย่างละเอียด เขาไตร่ตรองจนเห็นภาพที่ชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่ต้องการ คอมพิวเตอร์ติดตัวไปยังสถานที่ต่าง ๆ โน้ตบุ๊กจึงขายดี แต่ป้ญหา ของโน้ตบุ๊กคือมีนํ้าหนักมาก จนเมื่อใส่กระเป๋าแล้วกลายเป็น สัมภาระชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่ง
จอบส์จึงเกิดความคิดว่า ทำไมเราไม่ทำคอมพิวเตอร์ให้มี ขนาดเล็กลงเท่ากับสมุด 1 เล่ม ซึ่งก็เป็นที่มาของไอแพด (iPad) นั่นเอง โดยไอแพดถูกตัดหน้าที่การทำงานของระบบที่นาน ๆ ใช้ทีออกไป เหลือไว้เฉพาะโปรแกรมที่ต้องใช้บ่อย ๆ เครื่องจึงมี ขนาดเล็กลงเหลือเท่าสมุดเล่มเดียว
พอสินค้าออกวางตลาดก็สามารถเปิดตลาดสินค้าใหม่ และสร้างยอดขายแบบถล่มทลายในเวลาไม่นาน และนี่คือ จินตนาการของ สตีฟ จอบส์ เพราะเขาเห็นในสิ่งที่คนอื่นมอง ไม่เห็น เนื่องจากเขานั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน เมื่อใจนิ่งแล้ว จะพินิจพิจารณาเรื่องอะไรก็สามารถเอาใจจดจ่อเรื่องนั่นได้อย่าง ต่อเนื่อง และเขาได้ให้เวลากับเรื่องสำคัญ ๆ มากกว่าคนอื่น ๆ เขาจึงเห็นอะไรที่ชัดเจนยิ่งกว่าคนทั่วไป ดังนั่น เราจะเห็นได้ว่า การฝึกสมาธิทำให้มีจินตนาการดี
คนทั่วไปมักชอบพูดว่า "งานยุ่ง ไม่มีเวลานั่งสมาธิ" แต่ สตีฟ จอบส์ กลับพูดว่า "ผมมีงานยุ่งมาก มีความรับผิดชอบสูง ผมจึงต้องนั่งสมาธิวันละ 2 ชั่วโมง" คนทั่วไปเหมือนคนที่ พยายามจะเข้าไปในอาคารโดยใช้ค้อนปอนด์ทุบกำแพง แต่การที่ สตีฟ จอบส์ นั่งสมาธิก็เหมือนการไม่เสียเวลาทุบกำแพง แต่เดิน สำรวจจนพบประตูแล้วเข้าไปในอาคารได้สำเร็จอย่างง่าย ๆ
จัดระเบียบความฝัน
ถ้าก่อนนอนเราได้นั่งสมาธิ ก็เหมือนกับเราได้สะสางใจ อารมณ์ที่หงุดหงิดคั่งค้างและหน่วงอยู่ในใจเราตลอดทั้งวันก็จะ ถูกจัดการสะสางออกไป เหมือนกับที่เราอาบนํ้าแล้วทำให้ร่างกาย สดชื่น แต่พอเราได้นั่งสมาธิ ใจเราก็จะสะอาดสดชื่นด้วยเช่นกัน ถึงคราวหลับก็หลับอย่างเป็นสุขแบบชนิดที่ว่า ฝันเพราะธาตุพิการ ฝันเพราะจิตนิวรณ์ได้ถูกสะสางออกไปแล้ว เหลือแต่ความฝันดี ๆที่เป็นจริงเท่านั้น
จัดระเบียบจิตใต้สำนึก
ขั้นของจิตใต้สำนึกก็เช่นเดียวกัน พอเราฝึกสมาธิ ใจนิ่ง จนเป็นการจัดระเบียบความคิดแล้ว โดยเริ่มการจัดระเบียบตั้งแต่ ความคิดในปัจจุบัน แล้วค่อย ๆ ลึกลงไป กระทั่งสุดท้ายจัดการ สะสางเรื่องราวที่ฝังอยู่ภายใต้จิตสำนึกจนกระจ่างทั้งหมด
เพราะฉะนั้น เราต้องใช้สมาธิในการปรับพฤติกรรมของ ตัวเอง และแก้ไขนิสัยอื่น ๆ ชึ่งจะเห็นได้ว่า สมาธิช่วยได้ทั้ง 3 ระดับ คือจินตนาการ ความฝัน และจิตใต้สำนึก ขอเพียง เราหมั่นตั้งใจนั่งสมาธิทุก ๆ วัน
จินตนาการ ความฝัน และจิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นนามธรรม ที่ดูเหมือนจะควบคุมไม่ได้ แต่เมื่อเรารู้วิธีบริหารจัดการด้วยการ ฝึกสมาธิแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เราบริหารจัดการได้ จนเหลือแต่จินตนาการที่ดี จิตใต้สำนึกที่ดี และความฝันที่เป็น ประโยชน์กับตัวเราเอง
ไม่เพียงเราจะใช้ "สมาธิ" ควบคุมความคิด จินตนาการ และความ ฝันได้เท่านั้น แต่เราสามารถสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ให้ กับตัวเองได้อีกด้วย เพราะเมื่อเราได้ฝึกสมาธิ สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ ในความคิดความทรงจำที่ไม่ดีก็จะถูกกำจัดออกไป เหลือไว้แต่ ความคิดที่ดี เมื่อใจนิ่งมากขึ้น ๆ ความคิดที่ดีนั้นก็ยิ่งแจ่มชัด มากขึ้น ๆ จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
ขัดเกลาความคิด
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D.