รู้จักคบเพื่อนดี . . .มีชัยไปกว่าครึ่ง

วันที่ 04 มค. พ.ศ.2564

รู้จักคบเพื่อนดี . . .มีชัยไปกว่าครึ่ง

 

630104_b.jpg


                วันหนึ่งหลังจากที่ผมเรียนจบมาได้ประมาณ ๖ ปี แล้ว ผมก็เริ่มสังเกตพบว่า เพื่อนๆ ฃองผมที่เรียน จบมาด้วยกัน บางคนก็ไปได้ดี มีหน้าที่การงาน กัาวหน้า ขณะที่บางคนมีแววว่าจะเอาดีไม่ได้ ตั้งแต่ ยังเรียนอยู่ แล้วก็จริงอย่างคิด วันนี้ยังตั้งหลักไม่ได้ แถมยังเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวเสียอีก ทำให้ผมอดห่วง อนาคตของพวกเขาไม่ได้ แลัวก็ให้หวนมานึกถึง 

 

                น้องๆ ที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัยตอนนี้ว่า ถ้าเรียนจบไปแลัว จะเป็นอย่างไรกันบ้าง ด้วยเหตุนี้ ผมจึงต้องทบทวนอดีตที่ผ่านมาว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เพื่อนที่เรียนมาด้วยกัน บางคนไปได้ดี แต่ บางคนกลับไม่ได้ดี

 

                 โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าทุกคนอยากเป็นคนดีกันทั้งนั้น แต่บางที ไม่รู้ว่า "ดีคืออะไร" ก็เลยทำให้ทำไม่ถูกดี ไม่ถึงดี ไม่พอดี

 

                 ผมตั้งหลักเรื่องนี้ ด้วยการย้อนคิดกลับไปตอนสมัยเริ่มมาเรียนปี ๑ ตอนแรกๆ ก็จะเป็นช่วงของการทำความรู้จักกันให้ทั่วถึงก่อน เพื่อ หากลุ่มที่มีอัธยาศัยเหมาะกับตัวเอง แต่พอผ่านช่วงรับน้องไปแล้ว พวกเราก็จะเริ่มแยกเป็นกลุ่มๆ ตามอัธยาศัย

 

                พวกที่สนใจการเรียนก็ไปกลุ่มการเรียน พวกที่สนใจกีฬาก็ไป เล่นกีฬา พวกที่สนใจเรื่องการทำกิจกรรมก็ไปทำกิจกรรม พวกที่สนใจ อบายมุขก็แยกสาขากันไปตามอบายทุขประเภทต่างๆ ซึ่งจากการเริ่มต้น ตรงจุดนี้ ก็จะกลายเป็นกลุ่มเพื่อนที่สนิทกันไปจนกระทั่งเรียนจบปี ๔

 

              แต่ข้อสังเกตก็คือ ไม่ว่าจะเป็นประเภทกลุ่มไหนก็ตาม ถ้ากลุ่ม ไหนมีห้วโจกนำกินเหล้าเป็นบ้าเป็นหลังแล้ว พอพวกนี้จบไป มักจะมีปัญหา การเงินบ่อยมาก แถมบางทีก็ติดหนี้ติดสินอีกด้วย

 

              ส่วนพวกที่เอาแต่เรียนอย่างเดียว ก็เจอปัญหาเหมือนกันคือทำงาน เป็นทีมไม่เป็น ก็เลยทำให้การตัดสินใจอะไรลงไป มักจะมีผลกระทบให้ ต้องตามแก้กันบ่อยๆ เพราะไม่เคยทำกิจกรรมมาก่อน

 

              ส่วนพวกที่ทำได้ดีทั้งการเรียนและกิจกรรม อบายมุขก็ไม่ยุ่ง พวกนี้จะจบมาเป็นนักบริหารที่ดี เพราะฝึกซ้อมการทำงานเป็นทีมมามากพอ เลยทำให้พอจะมีประสบการณ์ในการบริหารคน บริหารงาน บริหารเงิน บริหารเวลา ทำให้หน้าที่การงานก้าวหน้าไว

 

              และตรงนี้เอง ที่กลายมาเป็นคำตอบว่า หัวใจสำคัญที่สุดของการเรียนมหาวิทยาลัย ก็คือ การรู้จักเลือกคบเพื่อนให้เป็น

 

ทาอย่างรจะคบเพื่อนเป็น

 

              ผมพยายามตามหาหลักการเลือกคบคนตรงนี้มานาน แล้วก็มาพบ หลักในพระพุทธศาสนาตรงมงคลชีวิตที่ ๑ ไม่คบคนพาล โดยเพื่อนชั่ว จะมีความประพฤติเข้าข่ายดังนี้ คือ

 

              ๑. เพื่อนชั่วชอบชักนำในทางที่ผิด เช่น ชักชวนกันไปเที่ยว ดื่ม สุรา เล่นการพนัน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เราเสียเงิน เสียทอง โดยใช่เหตุ ทำให้มีนิสัยการใช้เงินที่ไม่ดี เก็บเงินไม่อยู่ และ อาจไปติดนิสัยไม่ดีอื่นๆ มาอีกด้วย

 

              ๒. เพื่อนชั่วไม่ชอบระเบียบวินัย ชอบฝ่าฝืนตั้งแต่กฎหมายของ บ้านเมือง ชอบทำผิดศีลธรรม ชอบแหวกกฎเกณฑ์ขององค์กร หน่วยงาน หรือกติกาของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่

 

             ๓. เพื่อนชั่วชอบแต่สิ่งผิด ถ้าให้เลือกระหว่างรอดูความสำเร็จ กับ รอดูความพินาศเสียหาย คนพาลชอบเห็นความพินาศเสีย  หายของผู้อื่นมากกว่า เมื่อตัวเองทำผิด ก็ภูมิใจ ลำพองใจว่า ตนเก่งกล้าสามารถกว่าคนอื่น

 

             ๔. เพื่อนชั่วชอบทำสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องของตนเอง คือ ชอบยุ่งเรื่อง ของชาวบ้าน ดูเผินๆ เหมือนหวังดี แต่ไม่นานนัก ความเดือดร้อนก็เกิดขึ้นมา จากการยุ่งไม่เข้าเรื่องของเขา

 

             ๕. เพื่อนชั่วแม้พูดจาดีๆ ด้วยก็โกรธ วินิจฉัยของคนพาลไม่ค่อย คงเส้นคงวาเท่าไร บางทีเพื่อนฝูงยิ้มให้ เขาก็ว่ายิ้มเยาะ เห็นเขาหัวเราะ ก็หาว่าเย้ยตัวเอง

 

              ใครก็ตามที่มีลักษณะอย่างนี้ ไม่น่าคบ เพราะจะเป็นต้นทางให้ นิสัยไม่ดีอีกหลายๆ อย่างตามมา

 

              เพื่อนแบบไหนที่เป็นคนดีน่าคบ ก็เพื่อนที่มีความประพฤติตรง ข้ามกับ ๕ ข้อของเพื่อนชั่วนั่นแหละ เพราะคนจะทำดีได้นั้น เขาต้อง ควบคุมตัวเองไม่ให้หลงใหลไปกับความชั่วได้ดีมากๆ ทีเดียว ซึ่งเขาจะ ต้องมีความรู้ คือ รู้ถูก-ผิด รู้ดี-ชั่ว รู้บุญ-บาป รู้ควร-ไม่ควร โดยที่เขา อาจจะไม่มีปริญญาเลยก็ได้

 

              จากหลักการตรงนี้ เมื่อเรานำมาพิจารณาเพื่อนฝูงที่เราคบหาอยู่ ก็จะพบว่า บางคนก็มี ๕ ข้อครบถ้วน แต่บางคนก็มีไม่ครบ รวมทั้งตัว เราเอง บางวันก็มีครบ แต่บางวันก็ไม่ครบ แล้วตรงนี้จะทำอย่างไร คำตอบก็คือ เราต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้เพื่อนก่อน แล้วชักชวนให้เขาเลิก พฤติกรรมของคนพาลให้ได้ ถ้าเตือนแล้วบอกแล้วอย่างถนอมน้ำใจ เขาไม่เชื่อ ก็ต้องให้ครูบาอาจารย์มาช่วยเตือน ถ้าเขาไม่ฟังก็ต้องปล่อยไป เพราะเราทำดีที่สุดแล้ว

 

             เมื่อเราคบคนดีเป็นเพื่อน เราก็จะได้รับถ่ายทอดนิสัยที่ดีๆ เช่น ขยันทำงาน รักการค้นคว้า พัฒนาความรู้ความสามารถ อดทนต่ออุปสรรค ทำให้เรามีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้นทั้งด้านการงาน และชีวิตส่วนต้ว

 

             ถ้าเริ่มต้นมองคนด้วยแบบนี้ เราก็จะไม่ดูถูกคน และจะมอง หาความดีของคนอื่นแทน แล้วในที่สุด ก็จะมองออกว่า ใครเป็นคนดี น่าคบ ใครที่พอจะช่วยปรับปรุงแก้ไขได้ ใครที่ต้องปล่อยไปตามเวร ตามกรรม

 

              ตรงนี้เองที่จะเป็นพื้นฐานการคบคนต่อไปในอนาคต คือเมื่อ เรียนจบต้องไปทำงาน ก็จะรู้จักเลือกเจ้านายที่ดี พอขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน ก็จะรู้จักคัดเลือกลูกน้องที่ดี และถ้าวันหนึ่งจะแต่งงานมีครอบครัว ก็จะ รู้จักเลือกคู่ชีวิตที่ดีและแม้ที่สุดถ้าต้องเป็นพ่อคนแม่คนก็จะเป็นพ่อแม่ที่ดี

 

             เมื่อพูดมาถึงตรงนี้ หากใครสำรวจตัวเองแล้ว พบว่าเราได้พลาด ไปตั้งตัวเป็นศัตรูกับบัณฑิตเข้าแล้ว ก็ต้องรีบแก้ไขนะครับ แล้วเราก็ต้อง รู้ตัวเองว่า บัณฑิตเขาจะเป็นศัตรูกับความเห็นผิดของเราเท่านั้น เมื่อเรา กลับมาทำสิ่งที่ถูกต้อง บัณฑิตย่อมไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่กลับจะเป็น มิตรแท้ให้แก่เรา เพราะนักปราชญ์ราชบัณฑิต เขาถือคติว่า มีศัตรูที่เป็น บัณฑิต ดีกว่ามีมิตรที่เป็นคนพาล

 

             สุดท้ายนี้ ผมหวังว่า หลักการ ๕ ข้อที่นำมาจากพระพุทธศาสนา นี้ จะช่วยให้น้องๆ ใช้กลั่นกรองการคบเพื่อนที่จะร่วมคบหาสมาคมได้ อย่างง่ายๆ นะครับ เราจะได้มีเพื่อนดีๆ ช่วยกันค้ำ ช่วยกันผลัก ช่วยกันดันให้ชีวิตก้าวหน้า ประสบความสำเร็จทั้งการเรียนและหน้าที่การ งานไปด้วยกันครับ
 

เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.032922681172689 Mins