อย่าหมั่นไสั.. .หรืออิจฉาใคร

วันที่ 01 กพ. พ.ศ.2564

อย่าหมั่นไสั.. .หรืออิจฉาใคร

 

640201_b.jpg

 

              ขณะนี้ น้องๆ หลายคนก็คงรู้แล้วว่าผลการ เรียนของเทอมนี้เป็นอย่างไร ใครที่ผลการเรียนดี ผมก็ขอแสดงความยินดีด้วย ก็ขอให้รักษาระดับ การเรียนให้ดีต่อไป ส่วนใครที่คะแนนไม่ดี ก็อย่า เพิ่งท้อแท้ ให้ลองกลับมาสำรวจตัวเราเองว่า เมื่อเทอมที่ผ่านมา เราใช้เวลาไปกับอะไรบาง ให้เวลา อ่านหนังสือน้อยไปหรือเปล่า เพราะจะแพ้หรือ ชนะข้อสอบก็อยู่ที่การบริหารเวลานี่เอง

 

             แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ใครที่ได้คะแนนดี ก็อย่าได้เที่ยวไปดูถูก ชาวบ้าน ใครที่คะแนนน้อย ก็อย่าเที่ยวไปอิจฉาเขา เพราะเดี๋ยวมันจะ เป็นนิสัยติดตัวไปตลอดชีวิต ฉบับนี้ ผมก็จะขออนุญาตเขียนเรื่องนี้ใน แนวพระพุทธศาสนาให้น้องๆ อ่านกันบ้างนะครับ

 

             ในทัศนะของพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า การที่ใครจะเป็นคนขี้ อิจฉาริษยาชาวบ้านนั้น เพราะว่าทำอะไรก็เป็นรองเขาเรื่อยมา เหตุลึกๆ ที่ทำ ให้รู้สึกเป็นคนตํ่าต้อย น้อยหน้าเป็นรองคนอื่น เพราะมีบุญเก่าติด ตัวมาน้อย อยากจะรวยก็รวยไม่ได้ เพราะให้ทานมาน้อย อยากฉลาดก็
ฉลาดสู้เขาไม่ได้เพราะทำภาวนามาน้อย อยากจะเกิดในชาติตระกูลสูงก็ ไม่ได้เพราะไม่เคยเคารพกราบไหว้ผู้มีคุณธรรมมาก่อน

 

            เมื่อเป็นรองเขาเรื่อยมา แทนที่จะได้คิดว่าเป็นรองเขาเพราะสร้าง บุญมาน้อย กลับปล่อยให้โมหะความหลงผิดเข้าครอบงำจิตใจ ไปอิจฉา ริษยาเขาอีก เลยหาความสุขไม่ได้

 

             คนใดก็ตามถ้าเคยอิจฉาเขามาก่อน ไม่ว่าหญิงไม่ว่าชาย เกิดไปกี่ ภพกี่ชาติ อานุภาพจะน้อย หรือ ศักดาน้อย แม้ทำบุญอย่างอื่นมามาก เวรขี้อิจฉาก็ตามมากดให้ตํ่า

 

             เช่น ถ้าเกิดมาเป็นกษัตริย์ ก็ต้องเป็นกษัตริย์ประเทศราช เป็น เมืองขึ้นเขา ถ้าไม่ได้เป็นกษัตริย์เป็นคนทั่วไปนี่แหละ ก็เป็นคนที่ไม่มี ใครเขานับถือ ไปเป็นภรรยาของใครก็เป็นภรรยาน้อย ไปเป็นสามีเขา ก็เป็นสามีอันดับ ๒ กรรมเวรที่อิจฉาชาวบ้านเป็นอย่างนี้

 

            เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าคนอิจฉาคือคนที่ไม่อยากให้คน อื่นได้ดี ความไม่อยากให้คนอื่นได้ดีก็คือไม่อยากให้คนอื่นทำความดี นั่นเอง เพราะกลัวว่าเขาจะได้ดี เพราะฉะนั้นมโนภาพที่อยู่ลึกๆในใจของ

 

           คนใดก็ตามถ้าเคยอิจฉาเขามาก่อน ไม่ว่า

           หญิงไม่ว่าชาย เกิดไปกี่กพกี่ชาติ อานุภาพ

           จะน้อย หรือ ศักดาน้อย แม้บุญอย่าง
           อื่นมามาก เวรขี้อิจฉาก็ตามมากดให้ตํ่า

 

          เขาตลอดเวลา หรือความนึกคิดของเขาจึงเป็นในลักษณะที่นึกสร้างภาพ ความตํ่าต้อยความพินาศไว้ในใจตลอดเวลา

 

          กรรมนี้จะติดตัวไปว่า เกิดอีกกี่ชาติก็ตาม ภาพความตํ่าต้อยใน ใจที่สะสมไว้มาก จะทำให้เป็นคนหย่อนอานุภาพ แม้จะเกิดเป็นกษัตริย์ ก็เป็นได้แค่กษัตริย์ประเทศราชหรือประเทศที่เป็นเมืองขึ้น เขาเป็นได้แค่นั้น

 

           ถ้าจะเป็นภรรยาใครเขา ก็เป็นได้แค่ภรรยาน้อย ภรรยาลับเท่านั้น เป็นสามีเขาก็ได้ทำนองเดียวกันทั้งนั้นแหละ อานุภาพมันหย่อนไปทุกสถานะ

 

           กรรมเก่าอะไรที่ทำให้ชาติก่อนนั้นเขามีนิสัยขี้อิจฉา ตอบว่าเพราะ ภพในอดีตไปคบคนพาลเข้า ทำให้มีวินิจฉัยผิดมีความเห็นผิดตามคนพาล คือวินิจฉัยผิด คิดว่าการทำลายล้างผลาญ หรือนึกให้คนอื่นเขาวินาศสัน ตะโรไปได้นั่นคือความสุขของตน ความเห็นเช่นนี้ เมื่อเกาะกินใจนานเข้าๆ ก็กลายเป็นนิสัยที่ไม่ดีขึ้นมา

 

          เพราะฉะนั้น พระท่านจึงมักเตือนชาวพุทธในเรื่องนี้ว่า ฝึกใจให้ดี อย่าได้ไปอิจฉาใครทีเดียว คนขี้อิจฉา อานุภาพจะน้อย

 

          คนที่จะเลิกอิจฉาริษยาชาวบ้านได้ ต้องรู้จักพิจารณาให้ชัดเจน เสียก่อนว่า ความอิจฉาริษยาทำให้เกิดความเสียหายแก่เราอย่างไรบ้าง

 

           ๑. ทุกครั้งที่รู้ตัวว่าเรากำลังมีจิตคิดอิจฉาริษยาใครก็ตามต้องรีบ เตือนสติตัวเอง ว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณความดีในตัวเรามี น้อย มีบุญน้อยจึงได้น้อยหน้าไม่เท่าเทียมเขา เป็นความ ผิดของเราเอง ที่ภพในอดีตไม่ชอบสร้างบุญกศล ไม่ใช่ ความผิดของคนอื่น เพราะฉะนั้นจะต้องรีบเร่งสะสมความดี สร้างบุญกุศลให้มากๆ

 

           ๒. หมั่นฝึกสมาธิให้มากๆ เป็นประจำ แม้จะได้ผลช้ากว่าคน อื่นก็เพียรพยายามเรื่อยไป เมื่อใจผ่องใสละเอียดอ่อนขึ้น ก็จะเห็น ช่องทางในการทำความดี แล้วตั้งใจทำความดี อย่างสุดกำลังความสามารถด้วยความไม่ประมาท บุญของ เราก็จะสะสมมากขึ้นๆ ในที่สุด ก็เป็นคนดีที่มีความดีอยู่ใน ตัวมาก จนไม่จำเป็นต้องอิจฉาริษยาใครอีกต่อไป แต่แน่นอนว่ากว่าจะทำให้นิสัยขี้อิจฉาริษยานี้หมดไปต้องใช้ เวลานานมาก ฉะนั้นขณะกำลังฝึกตัวก็ควรได้กัลยาณมิตร เช่นครูบาอาจารย์ ผู้ใหญ่ เพี่อนที่นิสัยดีๆ ฯลฯ เป็นพี่เลี้ยง

 

            กรรมเก่าอะไรที่ทำให้ชาติก่อนนั้นเขามีนิสัยขี้อิจฉา

            ตอนว่าเพราะภพในอดีตไปคบคนพาลเข้า ทำให้มี

            วินิจฉัยผิด มีความเห็นผิดตามคนพาล คือ

            วินิจฉัยผิดคิดว่าการทำลายล้างผลาญ หรือ

           นึกให้คนอื่นเขาวินาคสันตะโรไปได้ นั้นคือความ สุขของตน

            ช่วยเตือนสติให้ก็จะดียิ่งขึ้น

            ถ้ากำจัดความริษยาให้สิ้นไปจากใจได้เมื่อไร ก็จะพบความสงบ สุข เมื่อนั้น

 

           ทั้งหมดนี้ ก็เป็นข้อคิดจากพระพุทธศาสนาที่ผมขอเปลี่ยน บรรยากาศในฉบับนี้ ให้น้องๆ มาฟังผมเทศน์บ้างแล้วกันนะครับ

 

เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.032165984312693 Mins