เเย้ง
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เเละธรรมารมณ์
ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด
โลกกล่าวว่ามีอยู่
อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้
โลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกัน ว่าเป็นสุข
เเต่ว่าธรรมเป็นที่ดับอารมณ์ ๖ อย่างนี้
ชนเหล่านั้นสมมติกัน ว่าเป็นทุกข์
ความดับเเห่งเบญจขันธ์
พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็นสุข
ความเห็นขัดเเย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้
ย่อมมีเเก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่
ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุกามใดโดยความเป็นสุข
พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าววัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์
ชนเหล่าอื่นกล่าวนิพพานใดโดยความเป็นทุกข์
พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้รู้เเจ้ง
กล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข
ท่านจงพิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก
ที่คนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้เเจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้
ความมืดตื้อย่อมมีเเก่คนพาลทั้งหลาย
ผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อเเล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่
ส่วนนิพพาน เป็นธรรมชาติเปิดเผย เเก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่
เสมือนอย่างเเสงสว่าง ฉะนั้น
ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม
ย่อมไม่รู้เเจ้งนิพพาน ที่มีอยู่ในที่ใกล้
ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะ (ความพอใจในภพ) ครอบงำเเล้ว
เเล่นไปตามกระเเสภวตัณหา
ผู้เข้าถึงวัฏฏะ อันเป็นบ่วงเเห่งมารเนืองๆ
ไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้โดยง่าย
นอกจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ใครหนอ ย่อมควรจะรู้บท คือ นิพพาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีเเล้ว
พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้โดยชอบ
ย่อมปรินิพพาน
ทวยตานุปัสสนาสูตร มก. เล่ม ๔๗ หน้า ๖๗๔