เทวภูมิ ๖

วันที่ 24 เมย. พ.ศ.2565

เทวภูมิ ๖

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

         โดยปกติคำว่า "เทวะ" หมายถึงบุคคล ๓ จำพวก คือ
          ๑. สมมติเทวะ ได้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดา
          ๒. อุปปัตติเทวะ ได้แก่เทวดาและพรหมทั้งหมด
          ๓. วิสุทธิเทวะ ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหมด

          แต่ในที่นี้เทวภูมิ 5 หมายเอา เทวะ ที่มีความหมายว่า "ผู้ที่เล่นกีฬาด้วยกามคุณทั้ง ๕ คืออุปปัตติเทวะ"

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

เทวภูมิชั้นที่หนึ่ง ชื่อ จาตุมหาราชิกาภูมิ

          หมายถึง ภูมิที่มีเทวดา ๔ องค์เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อว่าจตุมหาราชา (จตุ แปลว่า ๔) อยู่ประจำทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ คือ

          ๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทิศตะวันออก ปกครองคันธัพพเทวดาทั้งหมด

          ๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทิศใต้ ปกครองกุมภัณฑ์เทวดา (เทวดาท้องใหญ่โต) ทั้งหมด

          ๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทิศตะวันตก ปกครองนาคเทวดาทั้งหมด

          ๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวัณ อยู่ทิศเหนือปกครองยักขเทวดาทั้งหมด

          ที่อยู่ของเทวดาทั้ง ๔ นี้ อยู่ตรงกลางของภูเขาสิเนรุ ในระดับเดียวกับยอดเขายุคันธรอันเป็นภูเขาล้อมภูเขาสิเนรุชั่นแรก

      ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลกด้วย จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวจตุโลกบาล เทวดาที่บังเกิดอยู่ในจาตุมหาราชิกาทั้งหมด เป็นบริวารอยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง และมีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติรับใช้ท้าวมหาราชทั้ง ๔

       บริเวณที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครอง ตั้งอยู่ตอนกลางของเขาสิเนรุ เสมอกับยอดเขายุคันธร อาณาเขตแผ่กว้างไปโดยรอบจรดขอบจักรวาล และภูเขาสัตตบรรพ์ ลงมาจนถึงพื้นแผ่นดินที่มนุษย์อยู่ตลอดทั่วมหาสมุทรทั้งหมด

                      เทวดาประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวจตุมหาราช คือ

                      เทวดาที่อาศัยอยู่ตามภูเขา (ปัพพติฏฐเทวดา)

                      เทวดาที่อยู่ในอากาศ อากาสัฏฐเทวดา)

                      เทวดาที่ตายเพราะมัวเพลิดเพลินในการเล่น (จิตตาปโทสิกเทวดา) เล่นกีฬาจนลืมบริโภคอาหาร

                      เทวดาที่ตายเพราะความโกรธ (มโนโทสิกเทวดา)

                      เทวดาที่ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น (สีวลาหกเทวดา)

                      เทวดาที่ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น (อุณหวลาหกเทวดา)

                      เทวดาที่อยู่ในพระจันทร์ (จันทิมเทวปุตตเทวดา)

                      เทวดาที่อยู่ในพระอาทิตย์ (สุริยเทวบุตรเทวดา)

 

             ถ้าแบ่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาออกตามสถานที่อยู่อาศัย แบ่งได้ ๓ ประเภท อยู่บนพื้นแผ่นดิน

                      ๑. ภุมมัฏฐเทวดา

                      ๒. รุกขัฏฐเทวดา อยู่บนต้นไม้

                      ๓. อากาสัฏฐเทวดา อยู่ในอากาศ

            ภุมมัฏฐเทวดา ได้แก่เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภูเขาแม่น้ำ มหาสมุทร ใต้ดิน บ้าน เจดีย์ ศาลา ซุ้มประตู เป็นต้น เทวดาบางองค์ก็มีวิมานของตน ณที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ องค์ใดไม่มี ก็ถือเอาสถานที่ ที่ตนอยู่อาศัย เช่น วัด บ้าน ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำนั้นเป็นวิมานของตน

             รุกขัฏฐเทวดา มี ๒ จำพวก พวกหนึ่งมีวิมานอยู่บนต้นไม้ อีกพวกหนึ่งอยู่บนต้นไม้แต่ไม่มีวิมาน รุกขวิมาน เป็นวิมานที่ตั้งอยู่บนยอดของต้นไม้ สามัฏฐกวิมานเป็นวิมานที่อาศัยตั้งอยู่บนสาขาของต้นไม้ทั่วไป

        อากาสัฏฐเทวดา เทวดาจําพวกนี้มีวิมานเป็นที่อยู่ของตนเองโดยเฉพาะ เช่นพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวทั้งหลาย ทั้งภายในภายนอกวิมานประกอบไปด้วยรัตนะอย่าง ซึ่งบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง แต่ละวิมานประกอบด้วยรัตนะไม่เท่ากัน บางวิมานมีเพียง ๑-๒ รัตนะ บางวิมานก็มีมาก สุดแต่กุศลที่ตนสร้างเอาไว้ วิมานเหล่านี้ลอยหมุนเวียนไปรอบ ๆ เขาสิเนรุอยู่เป็นนิจ

               ในบางแห่ง จัดเอารุกขัฏฐเทวดารวมไว้เป็นพวกเดียวกับภุมมัฏฐเทวดาเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาที่มีใจโหดร้าย มีอยู่ ๔ จำพวกคือ

                       ๑. เทวดายักษ์ ทั้งชาย หญิง (ยกโข ยักขิน)

                       ๒. เทวดาคันธัพพะ ชาย หญิง (คันธัพโพ คันธัพพ

                       ๓. เทวดากุมภัณฑ์ ชาย หญิง (กุมภัณโฑ กุมภัณฑ์)

                       ๔. เทวดานาค ชาย หญิง (นาโค นาที)

          ยักษ์มี ๒ จำพวก จําพวกหนึ่งเป็นเทวดายักษ์ มีรูปร่างสวยงามมีรัศมี อีกพวกหนึ่งเป็นดิรัจฉานยักษ์ รูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวไม่มีรัศมี พวกเทวดายักษ์นั้นบางที่มีความพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรกให้เดือดร้อน เมื่อมีจิตคิดอยากเบียดเบียนขึ้นมาเมื่อใด ก็จะเนรมิตตนเองเป็นนายนิรยบาลบ้าง เป็นแรงยักษ์ กายักษ์ สุนัขยักษ์ บ้างเที่ยวลงโทษหรือไล่จับสัตว์นรกกิน เทวดาพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวระหรือท้าวเวสสุวัณ

            คันธัพพเทวดา ได้แก่เทวดาที่ถือกำเนิดอยู่ในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม และจะอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ตลอดไป แม้ต้นไม้นั้นจะผุพัง โค่นล้ม หรือถูกคนตัดเอาไปทำการก่อสร้างเป็นสิ่งต่าง ๆ คันธัพพเทวดาเหล่านี้ก็ไม่ยอมละทิ้งที่อยู่ของตน คงตามอาศัยอยู่กับไม้นั้นเรื่อย ๆ ไป บางคราวยังแสดงตนให้มนุษย์เห็น เรียกกันว่า นางไม้ ถ้าเอาไม้นั้นไปท่าเรือก็เรียกว่า แม่ย่านางเรือ เทวดาพวกนี้มีฤทธิ์เดชอยู่บ้าง เมื่อไม่พอใจอาจทำให้เกิดอุปสรรครบกวนผู้อยู่อาศัย เกิดการเจ็บป่วย หรือทำอันตรายทรัพย์สมบัติให้พินาศ ถ้าพอใจก็ช่วยดูแลรักษาคุ้มครองให้คุณประโยชน์

             คันธัพพเทวดาเกิดในต้นไม้มีกลิ่นหอม มี ๑๐ จำพวก เรียกว่า “ภัฏฐยักขะ" ได้แก่พวกที่เกิดอยู่ใน

                       ๑. ราก

                       ๒. แก่นไม้

                       ๓. เนื้อไม้

                       ๔. เปลือกไม้

                       ๕. ตะกละต้นไม้

                       ๖. น้ำหอม

                       ๗. ใบไม้

                       ๘. ดอกไม้

                       ๙. ผลไม้

                       ๑๐. เง่าใต้ดิน

            พวกเหล่านี้ต่างกับรุกขเทวดา ตรงที่ไม่ยอมทิ้งที่อยู่อาศัย พวกรุกขเทวดานั้น หากมีผู้ทําลายต้นไม้ที่ตนอยู่ ก็จะย้ายวิมานไปอยู่ต้นไม้ต้นอื่น

          คันธัพพเทวดาอีกพวกหนึ่ง เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ เป็นคันธัพพเทวดาหญิงบางจำพวกมาเกิดในร่างกายของมนุษย์หญิง ชาวโลกเรียกกันว่า คนผีสิง ทั้งนี้เพราะผู้นั้นเคยทําอกุศลกรรมไว้ในอดีตชาติ

          คนที่ถูกผีสิง มีอยู่ ๒ จำพวก พวกที่หนึ่ง ถูกพวกคันธัพพเทวดามาอาศัยเกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา อีกพวกหนึ่ง เมื่อมนุษย์นั้นเจริญเติบโตแล้วคันธัพพเทวดาจึงมาอาศัยเกิด หญิงที่ถูกคันธัพพเทวดาสิงอยู่นี้ เมื่อเกิดความไม่พอใจผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว สามารถใช้เทวดาที่อาศัยอยู่ในร่างกายตนไปประทุษร้ายเอาได้ต่าง ๆ นานา ตามแต่จะมีโอกาสเหมาะ

           หญิงที่ถูกคันธัพพเทวดาเข้าสิงอยู่ ในเวลาปกติมีความเป็นอยู่ต่าง ๆ เหมือนคนธรรมดา แต่เมื่อถึงเวลาวันเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง ด้วยอำนาจของคันธัพพเทวดาที่สิงอยู่ ทำให้หญิงนั้นพาร่างออกเที่ยวแสวงหาอาหารในเวลากลางคืน ในขณะที่กำลังเที่ยวหาอาหาร จะมีแสงเป็นประกายออกมาจากร่างกายด้วยอิทธิฤทธิ์ของคันธัพพเทวดา

            คันธัพพเทวดาทั้งหมดเหล่านี้ อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวธตรัฏฐะ

            กุมภัณฑเทวดา เป็นเทวดาจำพวกหนึ่งที่เรียกกันว่า รากษส มีลักษณะรูปร่างไม่สวยงาม พุงใหญ่ ตาพองโตสีแดง มีที่อยู่ ๒ แห่งคือ ในมนุษยโลก และนิรยโลก

           พวกที่อยู่ในมนุษยโลก มีหน้าที่รักษาป่า ภูเขา ต้นไม้ สระโบกขรณี แม่น้ำ พุทธเจดีย์ แก้วรัตนะ ต้นยาที่ประเสริฐ ต้นไม้ที่มีดอกหรือเนื้อไม้หอม เช่น ที่ภูเขาเวปุลละที่มีแก้วมณี และต้นมะม่วงที่เรียกกันว่า อัพภันตระ เป็นต้น สถานที่ต่าง ๆ ที่ท้าวจาตุมหาราชกำหนดให้กุมภัณฑเทวดาดูแลรักษานั้น ถ้ามีผู้ล่วงล้ำ กุมภัณฑ์เทวดาสามารถจับกินได้โดยไม่มีโทษ

            กุมภัณฑเทวดาที่อยู่ในนิรยโลก ได้แก่นายนิรยบาลรากษสี การากษส สุนัข รากษส แจ้งรากษส เทวดาพวกนี้มีหน้าที่คอยลงโทษสัตว์นรก และจับสัตว์นรกกิน เช่นเดียวกับพวกเทวดายักษ์เมื่อเวลาต้องการเบียดเบียนสัตว์นรก ก็เนรมิตกายเป็นนายนิรยบาล และสัตว์ยักษ์เหล่านั้น

             เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าววิรุฬหก

         นาคเทวดา พวกนี้มีกำเนิด ๒ อย่าง คือเกิดอยู่ใต้ดินธรรมดาแห่งหนึ่ง และเกิดอยู่ใต้ภูเขาแห่งหนึ่ง เรียกนาคทั้งสองพวกนี้ว่า ปฐวีเทวดา

          นาคเทวดาพวกนี้มีอิทธิฤทธิ์และเวทย์มนต์คาถา สามารถแปลงกายท่องเที่ยวไปในมนุษยโลก แปลงเป็นร่างคนบ้าง สุนัขบ้าง เสือบ้าง ราชสีห์บ้าง พวกที่มีจิตใจดุร้ายบางทีก็เนรมิตกายเป็นนายนิรยบาล เป็นแรงยักษ์ กายักษ์ สุนัขยักษ์ ลงโทษ หรือจับสัตว์นรกกิน

           บางทีในถิ่นที่อยู่อาศัยของนาคเทวดา มีงานสนุกสนานรื่นเริงกันด้วยการละเล่นชนิดต่าง ๆ บางครั้งกระเทือนรุนแรงจนกระทั่งทำให้แผ่นดินไหวได้เหมือนกัน

           เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาที่มีใจโหดร้ายทั้ง ๔ จำพวกนี้ ไม่ใช่ชอบเบียดเบียนเฉพาะสัตว์อื่น ๆ แม้พวกเดียวกันก็เบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่เป็นประจำ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงจำต้องจัดตั้งให้มีหัวหน้าคอยดูแลควบคุม ห้ามปราม ไม่ให้ไปเบียดเบียนสัตว์อื่น ๆ และทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกัน

            บางครั้งในมนุษยโลกมีคนตายมากผิดปกติ ถ้ามีการจัดตั้งเครื่องสังเวยบูชาท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ แล้ว อันตรายต่าง ๆ ค่อยทุเลาลงได้

          อย่างไรก็ดี เทวดาชั้นนี้มีด้วยกันหลายประเภท บางพวกก็เลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนา บางพวกก็ไม่เลื่อมใส ชอบเบียดเบียนสัตว์อื่น บางพวกมีใจเป็นกุศล รักษาคน รักษาพระพุทธศาสนา รักษาโลก รักษาสถานที่สำคัญต่าง ๆ รักษาแก้วรัตนะ เป็นต้น

 

 

เทวภูมิที่สอง ตาวตึงสา (ดาวดึงส์)

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

           คำว่า ดาวติงสะ มีความหมาย ๒ นัย

         นัยที่หนึ่ง ดาวตึงสะ แปลว่า สามสิบสาม หมายความว่าเป็นที่เกิดแห่งคน ๓๓ คน คือหมู่คณะ ๓๓ คน ของมาฆะพระอินทร์ เมื่อครั้งเกิดเป็นมาฆมานพอยู่ในมนุษยโลกร่วมกันประกอบกุศลกรรมต่าง ๆ

          นัยที่สอง ดาวตึงสะ หมายถึงพื้นแผ่นดินที่ปรากฏขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกก่อนพื้นแผ่นดินอื่น ๆ เรียกชื่อพื้นแผ่นดินนั้นว่า ดาวดึงสะ

          นัยที่หนึ่ง มีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปดังนี้

        ในอดีตกาลนานมาแล้ว ณ โลกมนุษย์สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรายังไม่อุบัติขึ้น มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ มาลคาม มีคนอยู่คณะหนึ่งจำนวน ๓๓ คน เป็นชายล้วน ต่างเป็นมิตรสหายอันสนิทสนมกันมาก คนคณะนี้เรียกว่า คณะสหบุญญการ แปลว่า คณะทำบุญร่วมกัน ผู้เป็นหัวหน้าชื่อ นายมานพ (มา-มะ-มานพ) มีภรรยา ๔คน บุคคลคณะนี้ชอบร่วมใจกันทำสาธารณกุศลอยู่เสมอ เช่น ทำความสะอาดถนนหนทาง ที่ใดชำรุดก็ช่วยกันซ่อมแซมปฏิสังขรณ์จนเรียบร้อย เพื่อให้ผู้คนอาศัยสัญจรไปมาโดยสะดวก ตั้งโรงเก็บน้ำให้ประชาชนทั้งหลายได้ใช้ สร้างศาลาขึ้นที่หนทางสี่แพร่ง เพื่อให้คนที่ผ่านไปมาได้พักอาศัย และประกอบกุศลกรรมอื่น ๆ อีก ครั้นเมื่อบุคคลเหล่านี้สิ้นชีวิตลง กุศลกรรมส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๒ มาฆะมานพ บังเกิดเป็นพระอินทร์ อีก ๓๒ คน บังเกิดเป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกชื่อภูมินี้ว่าเตตะสะ (อ่านว่าเตตะติงสะ) แปลว่า ๓๓ แล้วแปลงเป็น ดาวดึงสา

         นัยที่สอง หมายถึงพื้นแผ่นดินของภูมินี้ปรากฏขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกก่อนพื้นแผ่นดินอื่น ๆ คือ

       ในยุคที่จักรวาลหรือเรียกให้เข้าใจโดยง่ายว่า โลกถูกทำลายจนหมดสิ้นจนมีลักษณะที่เหลืออยู่คือความว่างเปล่า ต่อจากนั้นจึงมีการสร้างโลกขึ้นใหม่ โดยมีฝนตกลงมาอย่างหนักในอากาศอันว่างเปล่านั้น ในชั้นแรกน้ำฝนที่ตกรวมตัวกันอยู่ในอากาศนั้นใสสะอาด ต่อมาเป็นเวลานานเข้า ๆ นั้นค่อยเกิดเป็นตะกอนขุ่นข้นขึ้นทุกที ครั้นแล้วค่อยแห้งเข้าจนกลายเป็นก้อนดิน เป็นพื้นดินโผล่ขึ้น ทีที่โผล่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกนี้คือยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวภูมิชั้นที่ ๒

        ต่อจากนั้นจึงงวดลงมาเรื่อย ๆ จนถึงพื้นแผ่นดินที่เป็นโลกมนุษย์ จากยอดเขาสิเนรุลงมาถึงตอนกลางของภูเขา ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวภูมิชั้นที่ ๑ จาตุมหาราชิกา มีระยะห่างกัน ๔๒,๐๐๐ โยชน์ จากสวรรค์ชั้นที่หนึ่งนั้นลงมาจนถึงโลกมนุษย์ มีระยะห่างเท่ากัน

          ส่วนเทวภูมิชั้นที่ ๓ ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ ๖ อยู่สูงจากยอดเขาสิเนรุขึ้นไป มีระยะห่างเท่า ๆ กันคือ ชั้นละ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ตามลำดับ

          บนยอดภูเขาสิเนรุเป็นที่ราบพื้นที่เป็นวงกลม เทวภูมิชั้น รวมทั้งอาณาเขตที่อยู่ในอากาศด้วยแล้ว มีลักษณะกลม กว้าง ยาว สูง หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ตรงกลางพื้นที่มีพระนครซื้อสุทัสสนะ มีความกว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน ด้านหนึ่ง ๆ มีประตู ๒๕๐ ประตู รวมสี่ด้านมี ๑๐๐๐ ประตู

        พื้นแผ่นดินบนยอดเขาสิเนรุ ไม่เหมือนในโลกมนุษย์ สำเร็จไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ ตามไหล่เขาทั้ง ๔ ทิศก็เป็นรัตนะอย่างดังที่กล่าวมาแล้ว แสงรัตนะที่ไหลเขาฉายส่องจับพื้นมหาสมุทร ท้องฟ้าอากาศ ตลอดจนต้นไม้ต่าง ๆ เป็นสีต่างกันออกไป คือ ด้านทิศเหนือ ไหล่เขาเป็นทองคำ น้ำในมหาสมุทร ท้องฟ้า ต้นไม้ใบไม้ในอุตตรกุรุทวีป จึงเป็นสีทอง ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก สะท้อนแสงเป็นสีเงิน เพราะไหล่เขาสิเนรุทิศนี้เป็นเงิน ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ ตรงกับไหล่เขาสิเนรุที่เป็นมรกต โลกมนุษย์เรา
จึงได้รับแสงสะท้อน สีเขียว อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งสะท้อนออกเป็นสีแก้วผลึก เพราะไหล่เขาสิเนรุทิศนี้เป็นแก้วผลึก

       เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์มีอยู่ ๒ พวก คือ ภุมมัฏฐเทวดา และอากาสัฏฐเทวดาภุมมัฏฐเทวดาได้แก่พวกที่มีวิมานตั้งอยู่บนพื้นดินของภาพ เช่น พระอินทร์ และเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ และบริวาร รวมทั้งเทวะอสุรา ๕ จำพวกที่อยู่ใต้เขาสิเนรุด้วย

       ส่วนอากาสัฏฐเทวดา ได้แก่เทวดาที่มีวิมานลอยกลางอากาศ ตั้งแต่ยอดเขาสิเนรุตลอดไปจนจรดขอบเขาจักรวาล บางวิมานก็เป็นวิมานว่าง เทวดาที่เป็นเจ้าของยังไม่มาอยู่ในพระนคร

        ปราสาทเวชยันต์ อันเป็นที่อยู่ของพระอินทร์ตั้งอยู่กลางพระนครสุทัสสนะ มีสวนดอกไม้ เป็นสถานที่พักผ่อนรื่นเริงของเทวดาทั้งหลาย อยู่ ๔ แห่ง คือ

        ทิศตะวันออก ชื่อ สวนนันทวัน กว้าง ๑,๐๐๐ โยชน์ ภายในสวนมีสระโบกขรณีอยู่ ๒ สระ ชื่อ มหานินทา และจูฬนันทา รอบบริเวณสระ และขอบสระปลาดด้วยแผ่นศิลา เป็นที่สําหรับนั่งพักผ่อน

          ทิศตะวันตก ชื่อสวนจิตรลดา กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระ ๒ แห่งซื้อ วิจิตรา และจูฬจิตรา

          ทิศเหนือ ชื่อสวนมิสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระชื่อธัมมาและสุธัมมา

          ทิศใต้ ชื่อสวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีชื่อ ภัททาและสุภัททา

         ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสวน ๒ แห่ง แห่งหนึ่งชื่อ สวนปุณฑริกะ อีกแห่งซื้อ สวนมหาวัน ที่สวนปุณฑริกะมีต้นปาริฉัตร หรือปริชาต สูง ๑๐๐ โยชน์ กิ่งก้านสาขาแผ่กว้าง ๕๐ โยชน์ เมื่อถึงคราวมีดอกส่งกลิ่นไปได้ไกล ๑๐๐ โยชน์ ภายใต้ต้นปาริฉัตรมีแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีสีแดงเหมือนดอกชะบา พื้นแท่นมีลักษณะหยุ่นนิ่ม เวลานั่งยุบตัวลงได้ เวลาลุกขึ้นเป็นปกติ

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

         ส่วนสวนมหาวันเป็นที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถของท้าวสักกเทวราช สวนกว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณีกว้าง ๑ โยชน์ ชื่อ สุนันทา

         ในสวนปุณฑริกะ ยังมีศาลาเป็นที่ประชุมฟังธรรม ชื่อ ศาลาสุธัมมา มีเจดีย์แก้วมรกต ที่เรียกกันว่า พระจุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ ภายในพระเจดีย์บรรจุพระเขี้ยวแก้วข้างขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระเกษาที่พระองค์ทรงตัดทิ้งขณะเสด็จออกบรรพชา

           อารมณ์อันเป็นที่น่าเพลิดเพลินยินดี (อิฏฐารมณ์) ต่าง ๆ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีดังนี้คือ

          เทพยดาทั้งหลายที่มาบังเกิดในสวรรค์ชั้นที่ ๒ นี้ แต่ละองค์ล้วนมีทิพยสมบัติอันเป็นผลที่ได้รับมาจากกุศลกรรมในอดีตภพ อารมณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจึงล้วนแต่ดีงามทั้งสิ้น ไม่มีความแก่ชราปรากฏ เทพบุตรจะมีรูปร่างลักษณะอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๒๐ ปีเทพธิดาจะดูราวอายุ ๑๖ ปี ทุก ๆ องค์ ความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่มี ความแก่ชรา เช่น ผมหงอก ฟันหัก ตามัว หูตึง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เหล่านี้ไม่มี เห็นแต่ความเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดกาล ตราบจนเวลาจุติ ร่างจะหายไป ไม่มีซากศพเหลืออยู่ให้เห็น ทั้งนี้เพราะ
อาหารเป็นสุขาโภชน์คือ อาหารทิพย์ เป็นอาหารละเอียด ร่างกายจึงไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทพธิดาไม่มีประจําเดือน ไม่ต้องตั้งครรภ์

       การมีบุตรธิดา มิใช่เหมือนมนุษย์ เกิดแล้วโตทันที (โอปปาติกะ) บนตักแห่งเทวดา ส่วนนางฟ้าที่เกิดเป็นบาทบริจาริกา บังเกิดขึ้นในที่นอน เทวดาที่เกิดเป็นผู้รับใช้หรือบริวารจะเกิดภายในวิมาน เทวดานางฟ้าที่เกิดเป็นบริวารของเจ้าของวิมานใดแล้วเทพบุตรเจ้าของวิมานอื่น ๆ จะมาวิวาทแย่งชิงเอาไปมิได้เลย หากบังเกิดขึ้นภายนอกระหว่างเขตแดนติดต่อกันแล้วก็ถือว่าอยู่ในเขตวิมานใดเป็นบริวารของวิมานนั้น ถ้าระยะทางห่างเท่ากัน ให้ดูว่าหันหน้าไปทางวิมานใด ถ้ายังตัดสินไม่ยุติ จะเป็นหน้าที่ของท้าวสักกเทวราชคือพระอินทร์ เป็นผู้ตัดสิน บางทีตัดสินไม่ได้ พระอินทร์จึงทรงรับเอาเสียเอง

         เทวดาบางองค์มีนางฟ้าเป็นบริจาริกา ๕๐๐ บ้าง ๗๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง เทวดาบางองค์ ไม่มีวิมานอยู่ ที่เป็นมิตรสหายกันก็ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน เรื่องคู่ครองบางองค์ก็มี บางองค์ก็ไม่มี มีการรักใคร่ชอบพอกันเช่นเมืองมนุษย์ และมีรักที่ไม่สมหวังเพราะอีกฝ่ายไม่รักตน แต่ไปรักผู้อื่นก็มี เช่น เทพบุตรนักดนตรีเอกของสวรรค์ชั้นชื่อ ปัญจสีขะ ชำนาญในการดีดพิณที่ชื่อว่า เพลุวะ และชำนาญการขับร้อง เกิดพอใจรักใคร่เทพธิดาชื่อ สุริยวัจฉสา ซึ่งเป็นธิดาของเทวดาผู้ใหญ่องค์หนึ่งชื่อ ติมพรเทพบุตรแต่นางเทพธิดาสุริยวัจฉสามีได้รักตอบ เพราะนางรักใคร่ชอบพออยู่กับสีขันติเทพบุตร ซึ่งเป็นบุตรของมาตุลีเทพบุตร

         แต่เนื่องจากพระอินทร์ต้องการเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเอิญเป็นเวลาพระพุทธองค์ทรงอยู่ในสมาบัติ ปัญจสีขะเทพบุตรได้ดีดพิณและขับร้องอย่างไพเราะพระพุทธเจ้าทรงออกจากสมาบัติและตรัสชมเชย พระอินทร์ถือว่าปัญจสีขะทำคุณประโยชน์ให้แก่พระองค์ ทรงตัดสินยกนางสุริยวัจฉสาเทพธิดาให้ปัญจสีขะ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ในภูมินี้มีความสมหวัง ความผิดหวังเรื่องความรักคล้ายเมืองมนุษย์ เทพธิดาบางองค์มีวิมานอยู่โดยเฉพาะของตนแล้ว แต่ขาดคู่ครอง ทำให้เบื่อหน่ายความเป็นอยู่ของตนก็มีส่วนที่มีคู่ครองก็พากันไปหาความสุขสำราญในสวนทั้ง ๔ แห่งพร้อมด้วยบริวาร

         ความแตกต่างกันในเรื่องทิพยสมบัติ ทำให้เทพบุตรเทพธิดาบางองค์ไม่มีความสุขเต็มที่ ทั้งนี้เพราะกุศลกรรมที่สร้างสมไว้ไม่เท่ากัน ทำให้ความสวยงามประณีตของสมบัติ เครื่องประดับร่างกายและวิมาน เครื่องใช้ รัศมีที่ออกมาจากร่างกายและวิมานขนาดของวิมาน ฯลฯ ยิ่งหย่อนไม่เท่ากัน รัศมีของบางองค์สว่าง ๑๒ โยชน์ แต่บางองค์สว่างถึง ๑๐๐ โยชน์

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

          สถานที่ต่าง ๆ ในดาวดึงส์ ที่นับว่าให้ความสุขรื่นรมย์ได้มากที่สุด คือที่สวนนันทวัน ถ้าเทพบุตร เทพธิดาองค์ใดมีความทุกข์โศก เช่นกลัวตายก็ดี เมื่อเข้าไปในสวนนี้แล้ว จะหายทุกข์ไปสิ้น สวนลักษณะดังนี้มีอยู่ในเทวโลกทุกชั้น และจะเรียกชื่อเดียวกันว่า สวนนันทวัน แปลว่า สถานที่อันเป็นที่น่ายินดีเหลือเกิน

          ในสวนทั้ง ๖ แห่งที่สวรรค์ชั้นนี้ มีต้นไม้ทิพย์อยู่ทุกสวน สวนละ ๑,๐๐๐ ต้น เช่นที่สวนจิตรลดา มีต้นไม้เครือเถาชื่อ อาสาวตี ๑,๐๐๐ ปีของชั้นดาวดึงส์จึงจะมีผลครั้งหนึ่ง ข้างในมีน้ำเรียกว่าน้ำทิพย์ คือสุราของพวกเทวดา ผู้ใดดื่มแล้วจะเกิดความมึนเมาทำให้หลับไปถึง ๔ เดือน จึงจะสร่างเมา

         เทวดาทั้ง ๖ ชั้น ชั้นที่อยู่สูงกว่าร่างกายละเอียดกว่าชั้นต้น ดังนั้นเทวดาที่อยู่ชั้นต่ำกว่าไม่สามารถมองเห็นเทวดาชั้นสูง แต่ชั้นสูงสามารถมองเห็นชั้นต่ำกว่าได้ เช่นเดียวกันกับที่มนุษย์มองไม่เห็นเทวดา แต่เทวดามองเห็นมนุษย์

           ร่างกายของมนุษย์บริโภคอาหารหยาบ ทำให้มีเหงื่อไคล อุจจาระ ปัสสาวะ ซึ่งปฏิกูลต่าง ๆ ไหลออกจากทวารทั้ง ๔ เทวดาแม้ได้กลิ่นมนุษย์ ถึงจะอยู่ไกลห่างถึง ๑๐๐ โยชน์ ก็จะรู้สึกเหมือนได้กลิ่นสุนัขเน่า ไม่ว่ามนุษย์จะเป็นเช่นพระเจ้าจักรพรรดิ สรงน้ำวันละ 2 ครั้ง เปลี่ยนฉลองพระองค์ ๓ ครั้ง และทรงลูบไล้วรกายด้วยสุคนธรสอันดีเลิศเพียงใด ก็ยังมีกลิ่นเหมือนสุนัขเน่าเช่นเดิม

 

เรื่องของพระอินทร์ หรือท้าวสักกะ หรือท้าวโกสีย์อมรินทร์

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

            คำว่า สักกะ มีความหมาย ๒ นัย คือ

            นัยหนึ่ง เรียกว่าท้าวสักกะ เพราะมีการบริจาคทานโดยเคารพ

            อีกนัยหนึ่ง เรียกว่าท้าวสักกะ เพราะสามารถเอาชัยชนะต่อพวกอสุราได้

         ท้าวสักกะเป็นผู้ปกครองเทพยดาทั้งชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราชิกา ปราสาททองของพระอินทร์อยู่ที่ดาวดึงส์ สูง ๑,๐๐๐ โยชน์ มีเสาธงปักอยู่โดยรอบ เสาสูง ๓๐๐โยชน์ ประดับด้วยรัตนะ ๗ ราชรถทรงชื่อเวชยันตร์เช่นเดียวกับชื่อปราสาท ราชรถตอนหน้ายาว ๕๐ โยชน์ เป็นที่นั่งของสารถีคือมาตุลีเทพบุตร ตอนกลางยาว ๕๐ โยชน์ เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์ ตอนท้ายยาว ๕๐ โยชน์ รวมความยาวของราชรถ ๑๕๐ โยชน์ ความกว้าง ๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบตัวราชรถ ๔๐๐ โยชน์ บัลลังก์ที่ประทับภายในราชรถ สำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ กันด้วยเศวตฉัตรใหญ่ ๓ โยชน์ มีสินธพอาชาไนยพร้อมด้วยเครื่องประดับสำหรับเทียมราชรถ ๑๐๐๐ ตัว ซึ่งไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน แต่เป็นเทพยดาในชั้นดาวดึงส์นั้นเองเนรมิตกายขึ้น

          บางครั้งท้าวสักกะเทวราชก็ทรงช้างเป็นพาหนะ เป็นช้างเนรมิตรกายของเทวดาเช่นเดียวกัน ชื่อเอราวัณ มีร่างกายใหญ่โต ๑๕๐ โยชน์ มีเศียร ๓๓ เศียร เศียรหนึ่งมีงางาหนึ่ง ๆ ยาว ๕๐ โยชน์ ในงาข้างหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณี ๗ สระ สระหนึ่ง ๆ มีกอบัว ๗ กอ บัวกอหนึ่ง ๆ มีดอกบัว ๗ ดอก ดอกหนึ่ง ๆ มี ๗ กลีบ กลีบหนึ่ง ๆ มีเทพธิดา ๗ องค์ รวมเป็นเทพธิดา ๓,๘๘๒,๕๑๗ องค์ กำลังฟ้อนรำถวายให้ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตร

          บนกระพองหัวช้างเอราวัณหัวกลาง มีมณฑปสูง ๑๒ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ในมณฑปมีบัลลังก์แก้วมณีกว้าง ๑ โยชน์ เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ รอบ ๆ มณฑปมีธงปักไว้ในระยะชิดกัน ธงผืนหนึ่งยาว ๑ โยชน์ มีกระดิ่งใบโพธิ์แขวนไว้ที่ปลายคันธงทุก ๆ คัน เวลาต้องลมปรากฏเหมือนเสียงพิณดังกังวาน

            ท้าวสักกเทวราชมีจักษุที่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไกลกว่าเทพยดาอื่น ๆ

            เหมือนมีดวงตา ๑,๐๐๐ ดวง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสหัสสมัย (สหัสสะ แปลว่า ๑,๐๐๐ นัย แปลว่า ตา)

            คุณธรรมของผู้ที่จะเป็นพระอินทร์ได้ ต้องสร้างกุศลกรรมดังนี้

                   ๑. เลี้ยงบิดามารดา

                   ๒. เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล

                   ๓. กล่าววาจาอ่อนหวาน

                   ๔. ไม่กล่าว ส่อเสียด

                   ๕. ไม่มีความตระหนี่

                   ๖. มีความสัตย์

                   ๗. ระงับความโกรธไว้ได้

             คุณธรรม ๗ ประการ ปฏิบัติได้ตลอดชีวิต

        หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของท้าวสักกเทวราชเทพธิดาฟังในศาลาสุธัมมา ในเวลาที่พรหมชื่อสุนังกุมาระ ไม่ได้ลงมาแสดง และเทพบุตรองค์ที่มีความรู้ทางธรรมดีก็ไม่ได้แสดง คือการแสดงธรรมให้เทพบุตร

         ศาลาสุธัมมาตั้งอยู่ในสวนปุณฑริกะ อันเป็นส่วนพิเศษ มีปูชนียสถานสำคัญต่าง ๆ ตั้งอยู่ เช่น พระจุฬามณี พระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์พากันมา

      ศาลาสุธัมมาเป็นสถานที่ที่เทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายที่สนใจในธรรมประชุมฟังธรรมและสนทนาธรรม โดยมีท้าวอมรินทราธิราชเป็นประธาน ศาลานี้สูง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบศาลาได้ ๑๒๐๐ โยชน์ สําเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ พื้นศาลาเป็นแก้วผลึก เสาเป็นทอง หลังคามุงด้วยแก้วอินทนิล บนเพดานและตามเสาสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ เครื่องบน มีชื่อ คาน ระแนง หลังคา เพดาน เป็นรัตนะ
ช่อฟ้า สำเร็จด้วยเงิน ตรงกลางมีศาลา มีธรรมาสน์สำหรับผู้นั่งแสดงธรรมสูง ๑ โยชน์สำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ เช่นเดียวกัน กั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้าง ๆ ธรรมมาสน์เป็นที่ประทับของพระอินทร์และเทวดาชั้นผู้ใหญ่อื่น ๆ ศาลานี้ตั้งอยู่ข้างต้นปาริฉัตร

          ต้นปาริฉัตรออกดอกปีละ ๑ ครั้ง เมื่อเวลาใกล้จะมีดอก ใบมีสีนวล เมื่อเทพยดาทั้งหลายเห็นใบมีสีนวลแล้ว ก็พากันยินดี จะพากันเวียนมาเฝ้าดูอยู่เสมอ เมื่อดอกออกแล้ว ใบจะร่วงลงหมดสิ้น มีแต่ดอกสีแดงสะพรั่งไปทั้งต้น ฉายแสงเป็นรัศมีแผ่เป็นปริมณฑลกว้าง ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ ดอกไม้นี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นไปเก็บมีลมชนิดหนึ่งชื่อลมกันตนะ ทําหน้าที่พัดให้ดอกหล่นลงมา และมีลมชื่อ ลมสัมปฏิจฉนะ ทำหน้าที่รองรับดอกปาริฉัตรไว้ไม่ให้ร่วงถึงพื้นแล้วจึงมีลมชื่อลมปเวสนะพัดเอาดอกไม้นี้เข้าไปประดับตกแต่งในศาลาสุธัมมา ดอกเก่าที่ต้องถูกเก็บไปทิ้งมีลมชื่อสัมมิชชนะพัดออกไป ส่วนลมที่มีหน้าที่ประดับตกแต่งชื่อ ลมสันถกะ

         เมื่อถึงเวลาจะประชุมฟังธรรม ท้าวอมรินทราธิราชทรงเป่าสังข์ชื่อว่า วิชยุตตระ ซึ่งมีความยาว ๑๖๐ ศอก เสียงสังข์ดังก้องกังวานทั่วไปทั้งภายในภายนอกพระนครสุทัสสนะ เสียงที่เป่าครั้งหนึ่ง ๆ ปรากฏดังนานอยู่ถึง ๔ เดือนของมนุษย์

        เทพบุตรเทพธิดาผู้ปรารถนาฟังธรรม เมื่อได้ยินเสียงสังข์ก็จะพากันมา รัศมีที่ออกจากร่างกายและเครื่องทรงเครื่องประดับส่องสว่างไปทั่ว พระอินทร์เมื่อทรงเป่าสังข์แล้วก็เสด็จพร้อมมเหษีทั้ง ๔ องค์ แวดล้อมด้วยเทพยดาตามเสด็จ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ องค์ทรงช้างเอราวัณไปสู่ศาลาสุธัมมา โดยปกติแล้วพรหมที่ชื่อ สุนังกุมาระเป็นผู้แสดงธรรม บางครั้งท้าวโกสีย์ และเทพยดาที่มีความรู้ทางธรรมเป็นผู้แสดง

          อนึ่ง ศาลาฟังธรรมลักษณะดังนี้ แม้ในเทวโลกเบื้องบนอีก ๖ ชั้น ก็มีอยู่ประจำทุกชั้น

        ความจริงท้าวสักกเทวราช ในสมัยเมื่อเป็นมาฆะมานพอยู่ในเมืองมนุษย์ ไม่ได้ประกอบการกุศลในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นสมัยที่พระศาสนาของพระสมณโคดมยังไม่อุบัติขึ้น เมื่อตายแล้วมาเสวยทิพยสมบัติเป็นพระอินทร์ ยังมีความสวยงาม รัศมีของวิมานและอื่น ๆ ด้อยกว่าของเทวดาผู้ใหญ่หลายองค์ที่เคยสร้างกุศลในสมัยพระพุทธเจ้า ทำให้พระอินทร์พยายามแสวงหาโอกาส ที่จะทรงสร้างกุศลในพระพุทธศาสนาให้จงได้ วันหนึ่งทรงเล็งทิพยเนตรเห็นพระมหากัสสปเถระเจ้าออกจากนิโรธสมาบัติ กำลังจะไปโปรดคนยากจนที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พระอินทร์จึงชวนนางสุชาดามเหษีองค์หนึ่ง เนรมิตตนเป็นคนชราสองคนผัวเมีย ทอผ้าอยู่ในกระท่อมต้นทางที่พระเถระเจ้าจะผ่านมา ในชั้นแรกพระมหาเถระเจ้าไม่ได้พิจารณาจึงไม่ทราบว่าเป็นเทวดาแปลงกายลงมา ต่อเมื่อรับอาหารลงไปในบาตร กลิ่นอาหารทำให้รู้ว่าเป็นอาหารทิพย์ จึงต่อว่าที่พระอินทร์มาแย่งบุญของคนจน พระอินทร์ทรงสารภาพว่าพระองค์ก็ทรงเป็นเทวดาที่จนมาก เพราะรัศมีก็ดี วิมานก็ดี ยังด้อยกว่าเทวดาที่เคยสร้างกุศลในพระพุทธศาสนาในการประกอบการกุศลครั้งนี้ เมื่อพระอินทร์กลับไปยังพิภพของตน ปรากฏว่ารัศมีกายและรัศมีวิมานปรากฏสว่างรุ่งโรจน์ สวยงามบริบูรณ์เต็มที่ไม่น้อยหน้าเทวดาองค์อื่นอีก
ต่อไป

        นอกจากนั้นท้าวอินทราธิราชยังเสด็จลงมาฟังพระธรรมเทศนาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนือง ๆ และได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระโสดาบัน เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องพรหมชาลสูตรจบลงไป ต่อไปภายหน้าเมื่อจุติจากชั้นนี้ จะมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษย์โลก ในครั้งนั้นจะบรรลุเป็นพระสกทาคามี และจะไปบังเกิดดาวดึงสพิภพอีก จะบรรลุเป็นพระอนาคามีในภพนั้น จึงไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาสตั้งแต่ชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐาและปรินิพพาน

       ในเทวภูมิชั้นนี้ยังมีเทวดาที่ร่างกายโตใหญ่มากผู้หนึ่ง ชื่อ อสุรินทราหู เป็นอุปราชอยู่ในพิภพอสูรใต้เขาพระสุเมรุ (สำเนา) มีร่างกายสูงใหญ่กว่าเทพยดาทั้งมวล กายสูง ๔๘๐๐ โยชน์ ไหล่ทั้งสองกว้าง ๑๒๐๐ โยชน์ รอบตัวใหญ่ ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าใหญ่ ๒๐๐ โยชน์ จมูกใหญ่ ๓๐๐ โยชน์ ปากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ องคุลีหนึ่ง ๆ ยาว ๕๐ โยชน์ ระหว่างลูกตาทั้งสองห่างกัน ๕๐ โยชน์ หน้าผากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ ศีรษะใหญ่ ๔๐๐ โยชน์ ความสูงของอสุรินทราหู ถ้าลงไปยืนในมหาสมุทร น้ำจะท่วมเพียงแค่เข่า

   เทวดาองค์นี้ได้สดับพระกิตติคุณของพระพุทธเจ้า ใครจะไปเข้าเฝ้าบ้าง แต่ไม่กล้า เพราะคิดว่าตนเองตัวสูงใหญ่ จะไปก้มตัวมองพระพุทธเจ้าไม่สมควร พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัย ดังนั้นเมื่ออสุรินทราหูอดรนทนไม่ได้ต่อพระกิตติศัพท์ของพระองค์เดินทางมาเข้าเฝ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเนรมิตพระวรกายสูงใหญ่กว่าอสุรินทราหูทรงอยู่ในพระอิริยาบถบรรทม เมื่ออสุรินทราหูมาถึงต้องเงยหน้าขึ้นดูพระพุทธเจ้าเหมือนทารกแหงนดูดวงจันทร์ในอากาศ พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์เมื่อทรงบำเพ็ญบารมีทั้งปวง มิได้ก้มหน้าย่อท้อในการบำเพ็ญ มิได้หดหู่ย่อท้อ เงยหน้าขึ้นแล้วบำเพ็ญบารมีทั้งปวง ดังนั้นผู้ใดปรารถนาแลดูตถาคต จึงไม่ต้องก้มหน้าลงดู อสุรินทราหูได้ฟังพระธรรมเทศนาในครั้งนั้นแล้ว ถึงพระพุทธองค์เป็นที่พึ่ง

 

    คนตระหนี่ไม่ได้ไปเกิดในเทวโลกแน่นอน คนพาลไม่สรรเสริญการทํางาน
แต่นักปราชญ์สรรเสริญ ผู้ทำทานจะมีความสุขในโลกหน้า


                                 

เทวภูมิชั้นที่ ๓ ยามาภูมิ

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

       ชั้นนี้เรียกชื่อว่า ยามา แปลว่า ปราศจากความลำบาก หรือ ถึงซึ่งความสุขด้วยดีเป็นที่อยู่ของเทวดาทั้งหลายที่ปราศจากความลำบาก และถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ ท้าวเทวราชที่ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อสยามะ หรือยามะ

          สวรรค์ชั้นนี้ตั้งอยู่ในอากาศ ภูมินี้จึงไม่มีภุมมัฏฐเทวดา มีแต่อากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว ร่างกาย วิมาน และทิพยสมบัติของเทวดาชั้นยามานี้ ประณีต สวยงามมากกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ทั้งอายุขัยก็ยืนยาวมากกว่า บริเวณของสวรรค์ยามาน แผ่กว้างออกไปเสมอด้วยกำแพงจักรวาล วิมานของเทวดามีอยู่ตลอดทั่วไป อายุของเทวดายามามีประมาณ ๔ เท่า ของอายุเทวดาชั้นดาวดึงส์เรื่องอายุจะกล่าวรวมตอนท้ายของเทวภูมิอีกครั้งหนึ่ง

 

เทวภูมิชั้นที่ ๔ ดุสิตาภูมิ

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

       ชื่อดุสิตา เพราะแปลว่า ทำให้เทวดาทั้งหลายที่เกิดอยู่ในภูมินี้มีความยินดีและแช่มชื่นอยู่เป็นนิจ เทวโลกชั้นนี้เป็นสถานที่ที่ปราศจากความร้อนใจ มีแต่ความยินดีและความชื่นบานให้แก่ผู้ที่อยู่ในภูมินี้ทั้งหมด จัดเป็นภูมิประเสริฐ

        พระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์ก่อนที่จะได้สำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นภพสุดท้าย ย่อมบังเกิดอยู่ในชั้นดุสิตาภูมินี้ทั้งหมด แม้ในขณะนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย พร้อมด้วยผู้ที่จะมาเกิดเป็นอัครสาวก ก็กำลังเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ ภูมินี้

         ในทางธรรมปฏิบัติเชื่อกันว่าเป็นภพภูมิสำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานสถิตย์อยู่ มีแต่เทพบุตร ไม่มีเทพธิดา และเป็นอากาสัฏฐเทวดาทั้งสิ้น รูปร่างวิมาน และทิพยสมบัติประณีตมากกว่าชั้นยามา ชั้นนี้อยู่ห่างจากสวรรค์ชั้นที่ ๓  ๔๒,๐๐๐ โยชน์

            ท้าวเทวราชผู้ปกครอง คือ สันตุสสตะ

 

เทวภูมิชั้นที่ ๕ นิมมานรดีภูมิ

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

            ชื่อว่า นิมมานรดี เพราะมีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณ ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้น

     ในเทวโลกตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา มีเทพบุตรเทพธิดาเมื่อต้องการมีคู่ครองก็ต้องแสวงหา แต่ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ไม่ต้องแสวงหา เมื่อต้องการก็เนรมิตเอาเอง ดังนั้นจึงไม่มีคู่ครองประจำ เมื่อต้องการก็เนรมิตขึ้น เมื่อไม่ต้องการก็ให้หายไป

         นิมมานรดีภูมิอยู่ห่างจากดุสิตาภูมิ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีอากาสัฏฐเทวดาพวกเดียวความประณีตสวยงามของวิมานและทิพยสมบัติต่าง ๆ และรัศมีกายของเทวดาล้วนประเสริฐกว่าดุสิตาภูมิ อายุขัยยืนกว่า ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อว่า สุนิมมิตะ หรือนิมมิตะ

 

เทวภูมิชั้นที่ ๖ ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

            ปรนิมมิตวสวัตดี หมายถึง การได้เสวยกามคุณทั้ง ๕ ที่เทวดาอื่นรู้ความต้องการของตนแล้วเนรมิตให้

        เทพบุตรเทพธิดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้เมื่อต้องการเสวยกามคุณ ๕ อย่างใดเวลาใด เทวดาที่เป็นผู้รับใช้จะทราบความประสงค์และจัดการเนรมิตให้ เทวดาชั้นนี้จึงไม่มีคู่ครองประจำเช่นเดียวกับในเทวภูมิชั้นที่ ๕ ชั้นนี้คงมีแต่อากาสัฏฐเทวดาระยะห่างจากนิมมานรดีภูมิ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ความประณีตสวยงามของทิพยสมบัติต่าง ๆ ประเสริฐยิ่งขึ้น อายุขัยยืนกว่า

          ท้าวเทวราชที่ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ชื่อ ปรนิมมิตะ คือ วสวัตติมารเทวบุตร เป็นผู้ปกครองเทวดาทั่วทั้ง ๖ ชั้น แต่เดิมมารเทวบุตรองค์นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้คอยขัดขวางงานของพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ นับตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์ จนกระทั่งปรินิพพาน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้ว ๓๐๐ ปี ในสมัยนั้นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นพระราชาครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองปาตลีบุตร ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ทรงให้สร้างปูชนียสถาน คือเจดีย์และวัดขึ้นอย่างละ ๘๔,๐๐๐ เพื่อบูชาพระธรรมขันธ์ซึ่งมีจำนวน ๘๔,๐๐๐ และสร้างมหาเจดีย์บรรจุพระสรีธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับเป็นที่สักการบูชา เมื่อสร้างเสร็จแล้ว โปรดให้มีงานเฉลิมฉลอง ๗ เดือน ๗ วัน ในขณะทำการฉลองอยู่นั้นพระยามารเทวบุตรได้มาแกล้งทำลายพิธีด้วยอิทธิฤทธิ์ประการต่าง ๆ แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระมหาเถรอุปคุตต์ทำการขัดขวาง และทรมานจนสิ้นพยศ ละมิจฉาทิฏฐิได้ กลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนถึงปรารถนาพุทธภูมิในกาลภายหน้า

          พวกเทวดากามาวจรทั้ง ๖ ชั้นดังกล่าวแล้ว บังเกิดขึ้นได้ด้วยการประกอบสุจริตทางกาย วาจา ใจ สูงขึ้นไปตามลำดับชั้นในขณะเมื่อสมัยยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่าเป็นภูมิที่ยังเสวยกามคุณทั้ง ๕ อยู่ ยกเว้นผู้ที่เป็นพระอรหันต์และพระอนาคามี

 

 

อายุขัยในเทวภูมิทั้ง ๖

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

         ชั้นจาตุมหาราชิกา มีอายุขัยของเทวดา ๕๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์ (วันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาจาตุมหาราชิกาเท่ากับ ๕๐ ปีมนุษย์นับจำนวนวันเดือนปีเหมือนกัน)

           ชั้นดาวติงสา มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับสี่เท่าของจาตุมหาราชิกาคือ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์เท่ากับ ๓๖ ล้านปีมนุษย์

           ชั้นยามา มีกำหนด ๒๐๐๐ ปีทิพย์เป็นสี่เท่าของดาวดึงสา เทียบได้ ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์

           ชั้นดุสิตา มีกำหนด ๔๐๐๐ ปีทิพย์ เป็น 4 เท่าของยามาเทียบได้ ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์

           ชั้นนิมมานรดี มีกำหนด ๘๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นสี่เท่าของดุสิตา เทียบได้ ๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีกำหนด ๑๖,000 ปีทิพย์ เทียบได้ ๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์

           (๑ ชั่วโมงในจาตุมหาราชิกาประมาณได้ ๒ ปี 9 เดือน ในมนุษย์

          การเสวยกามคุณของเทวดาทั้ง ๖ ชั้น บางแห่งกล่าวว่า “เสวยเมถุนธรรมด้วยอำนาจแห่งการเป็นคู่ๆ กัน เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย แต่ไม่มีการหลั่งน้ำตามออกมา

          บางแห่งกล่าวว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาและดาวติงสา ประพฤติเป็นไปทำนองเดียวกับมนุษย์

          ชั้นยามา ใช้การจุมพิตและสัมผัสกอดรัดร่างกายซึ่งกันและกัน

          ชั้นดุสิตา ใช้มือต่อมือสัมผัสกันก็สำเร็จกิจ

          ชั้นนิมมานรดี ใช้แลดูและยิ้มให้กันและกัน

          ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ใช้สายตาจ้องดูกันก็สำเร็จกิจ

      ผู้ที่ไม่สร้องเสพอสัทธรรมดังนี้ นอกจากพระอรหันต์และพระอนาคามีดังที่กล่าวไว้แล้ว ก็มีพวกพรหมขมราคะไว้ได้ ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ พวกสัตว์นรกและพวกนิชฌามตัณหักเปรตทั้งหลาย เพราะพวกนี้ถูกไฟลุกเผาไหม้ร่างกายอยู่ตลอดเวลาเสวยทุกขเวทนาแรงกล้าสาหัส ไม่มีโอกาสคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ได้เลย

        บรรดาเทวดาทั้งหลาย บางองค์ก็ไม่ยินดีเสวยทิพยสมบัติจนสิ้นอายุขัย จึงจุติลงมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อสร้างบารมีต่อก็มี บางองค์จุติก่อนหมดอายุขัย เพราะหมดบุญเสียก่อนก็มีเทวดาที่จะจุติจากเทวโลก จะมีนิมิต ๕ ประการปรากฏขึ้นคือ

                  ๑. ดอกไม้ที่มีอยู่ในทิพยวิมานเหี่ยวแห้ง

                  ๒. เครื่องทรง เครื่องประดับภูษา อาภรณ์เศร้าหมอง

                  ๓. เหงื่อไคลออกจากรักแร้

                  ๔. ผิวพรรณตลอดจนรัศมีกายเศร้าหมอง

                  ๕. เบื่อหน่ายไม่ยินดีในทิพยสมบัติของตน

         เมื่อเทวดาองค์อื่น ๆ รู้เข้า จะพากันมาแสดงความยินดี กล่าวว่าเมื่อจากไปแล้วขอให้ไปสู่สุคติ คือหมายถึงให้ได้ไปบังเกิดในแดนมนุษย์ เป็นคนที่มีศรัทธาอย่างยิ่งใน

       พระสัทธรรมที่พระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว ได้เป็นผู้ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตอย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่น อันประกอบด้วยโทษ ให้กระทำแต่กุศลกรรมทั้งกาย วาจา ใจ หาประมาณมิได้ เมื่อมีสมบัติก็จงให้ทาน แล้วชักชวน ช่วยเหลือให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ประพฤติพรหมจรรย์อีกด้วย

         เทวดาเป็นสัตว์ประเภทที่มีกำเนิดแบบโอปปาติกะ คือเกิดแล้วโตเต็มที่ทันที เมื่อเวลาตายคือจุติ รูปร่างกายทั้งสิ้นย่อมดับ โดยไม่มีอะไรเหลือปรากฏ ไม่มีซากศพ หายวับไปเหมือนแสงไฟที่ดับวูบลง ยกเว้นเทวดาชั้นต่ำที่มีกำเนิดโดยคัพเลยยกะ หรือสั่งเสทชะ (เกิดในครรภ์หรือเกิดในที่ชื้นแฉะ พวกนี้เวลาตายมีซากศพเหลืออยู่ได้ ส่วนเทวดายักษ์เปรตยักษ์ที่เป็นพวกเกิดโดยกำเนิดทั้งสองที่กล่าวนี้ เมื่อเวลาตายร่างกายปรากฏเหลืออยู่ได้ แต่จะเปลี่ยนสภาพจากร่างเดิม เป็นร่างของสัตว์อื่น ๆ เช่น กลายเป็นร่างของตุ๊กแก จิ้งจก งู นก เหล่านี้เป็นต้น)

          โดยปกติการตายของสรรพสัตว์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใด มีสาเหตุอยู่ ๔ ประการคือ

                  ๑. อายุกฺขย เพราะสิ้นอายุ

                  ๒. กลุ่มกฺขย เพราะสิ้นกรรม

                  ๓. อุทยกฺขย เพราะสิ้นทั้งอายุและกรรม

                  ๔. อุปจฺเฉทก เพราะประสบอุปัทวเหตุ ยังไม่สิ้นกรรมและอายุ

        เหล่าเทวดาทั้งปวงเมื่อเวลาตาย ก็ตายด้วยเหตุทั้ง ๔ เหล่านี้ แต่สำหรับประการสุดท้าย การประสบอุบัติเหตุนั้น มิใช่เหมือนการตายของมนุษย์ที่ตายเพราะอุบัติเหตุ เช่น รถชน ถูกระเบิด ของหล่นทับ ฯลฯ แต่อุบัติเหตุของเทวดามีดังนี้ เช่น

         ๑. ถูกทำลายที่อยู่อาศัย เช่นเทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ (โดยเฉพาะที่เป็นเทวดาเด็ก)เมื่อมนุษย์ตัดต้นไม้ จึงไปตัดถูกอวัยวะของเทวดานั้นก็มี

          ๒. มัวเพลิดเพลินในการเล่นจนลืมบริโภคอาหาร เมื่อนึกขึ้นได้ก็บริโภคไม่ทันเสียแล้ว เทวดาที่ตายเพระมัวเพลิดเพลินในความสนุกสนานจนลืมบริโภคอาหารเรียกว่า "ขิฑฑาปโทสิกะ"

       ร่างกายของเทวดาเป็นกายทิพย์ ซึ่งเป็นของประณีตละเอียด ไม่แข็งแรงเท่ากายที่บริโภคอาหารหยาบ ดังเช่นร่างกายของมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งสามารถอดทนต่อความหิวได้นานกว่า โดยที่ร่างยังไม่ทันเหี่ยวแห้งแตกสลาย เหมือนต้นไม้ดอกไม้บางชนิดทีเด็ดจากต้นวางทิ้งไว้จนเหี่ยว แต่พอถูกแช่น้ำกลับสดชื่น แข็งแรงดังเดิมส่วนร่างของเทวดา เมื่อขาดการบริโภคอาหารตามกำหนดเวลา จนร่างกายถูกเตโชธาตุเผาผลาญเสียแล้ว แม้จะบริโภคอาหารตามในภายหลัง ก็ไม่สามารถทำให้ร่างที่เป็นอันตรายไปแล้วกลับคืนมาได้ เหมือนต้นไม้ ดอกไม้บางอย่างที่บอบบาง เด็ดจากต้นวางทิ้งไว้เหี่ยวแห้ง แม้จะนำไปแช่น้ำใหม่ก็ไม่คืนสดชื่นได้ดังเดิม

         ๓. ถูกเทวดาด้วยกันทำให้โกรธ ทำให้เสียใจ ในเทวภูมิแม้จะมีทิพยสมบัติที่ล้วนแต่เป็นอิฏฐารมณ์ทั้งนั้น แต่ในหมู่เทวดาด้วยกันเอง ยังมีนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน เพราะล้วนแต่ยังมีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีการขัดใจขุ่นเคืองกันด้วยเรื่องต่าง ๆ เทวดาองค์ใดที่มีความอดกลั้นน้อย เมื่อเกิดความโกรธรุนแรง หัวใจจะถูกเผาจนถึงตายได้ ความเสียใจก็เป็นในทำนองเดียวกัน พวกที่ตายดังนี้เรียก “มโนโทสึกะ

        ๔. อธิษฐานให้ตายเองทั้งที่ยังไม่สิ้นอายุและสิ้นกรรม เพื่อไปเกิดสร้างบารมีในภูมิอื่น เทวดาหรือพรหมที่เป็นพระโพธิสัตว์มักกระทำดังนี้ เพราะที่ภูมิเดิมสร้างบารมีเพิ่มไม่ได้ ประเภทนี้เรียกว่า "อธิมุตติกาลังกิริยะ" แปลว่า ชีวิตดับลงด้วยการอธิษฐานใจ (เทวดาทั่วไปกระทำไม่ได้)

        เรื่องทิพยสมบัติในเทวภูมินั้นแตกต่างกันไปตามระดับชั้นของสวรรค์ สวรรค์ชั้นสูง ร่างกาย ความเป็นอยู่ และสมบัติต่าง ๆ ก็ประณีตกว่าสวรรค์ชั้นต่ำกว่า แต่จะอย่างไรก็ตามในสวรรค์ทุกชั้น แทบทุกสิ่งทุกอย่างมีคุณสมบัติพิเศษกว่าในเมืองมนุษย์ทั้งสิ้น พอจะยกตัวอย่างกล่าวได้โดยย่อ เช่น

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

     ในทางรูปร่างกาย เทพบุตรเทพธิดา มีรูปร่างผิวพรรณและลักษณะอันเป็นส่วนประกอบรวมทั้งอวัยวะน้อยใหญ่ ได้รูปทรงสวยงามเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีการพิกลพิการ ไม่สมประกอบแต่อย่างใด ทั้งแข็งแรง และมีความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เปรียบกับมนุษย์แล้วเหมือนคนอายุประมาณ ๒๐ ปี สำหรับเทพบุตร ส่วนเทพธิดาเหมือนสตรีอายุ ๑๖ ปี เป็นอยู่ดังนี้จนกว่าจะจุติเพราะสิ้นบุญหรือสิ้นอายุขัย ปราศจากการแก่ชราอ่อนกำลัง หรือเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายไม่มีเหงื่อไคล ไม่มีความสกปรกหรือสิ่งปฏิกูลใด ๆ จะมีเหงื่อไคลออกจากรักแร้เพียงครั้งเดียวเมื่อใกล้จุติ ในวิมานของเทวดาจึงไม่มีห้องน้ำห้องส้วม ห้องครัวเหมือนมนุษย์

       เมื่อร่างกายไม่มีความสกปรกอยู่เป็นนิจ เครื่องแต่งกายก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคงเป็นของที่เกิดประดับตนขึ้นด้วยบุญเฉพาะที่ได้กระทำเอาไว้ ส่วนจะสวยงามประณีตมากน้อยเพียงใดอาจมีแตกต่างกันไป สำหรับเทพบุตร อาภรณ์ที่ใช้เหมือนใส่เสื้อคอกลมแต่มีเครื่องประดับสวยงามมากปกปิดรอบคอ จึงเหมือนปิดคอเสื้อไปด้วย มีเครื่องประดับที่ทรวงอกพร้อมสายสังวาลย์ห้อยพาดไขว้สลับ ปลายแขนเสื้อซึ่งอยู่เหนือข้อศอกก็ตกแต่งสวยงาม ศีรษะขมวดมุ่นผมไว้บนกระหม่อม สวมด้วยเครื่องประดับในลักษณะมงกุฎอันงดงาม เครื่องทรงท่อนล่างเป็นทรงแบบกางเกงแต่ยาวเพียงแข็ง มีเครื่องประดับทั้งที่เอวและขอบขากางเกง

         ส่วนเทพธิดา เกล้ามวยผมไว้คล้อยต่ำไปเบื้องหลัง มงกุฎเป็นแบบลักษณะกระบังหน้าล้อมมาถึงใบหู เสื้อแขนยาวสามส่วน ผ้าถุงยาวเลยแข้งลงไป เครื่องประดับประดามีทั้งที วมือ ข้อมือ ล่าแขน คอ ทรวงอก ข้อเท้า

         ที่เรียกว่า เสื้อผ้านั้น เพียงอาศัยคำในภาษามนุษย์เรียก แต่ความจริงแล้วเป็นวัสดุที่สวยงาม อ่อนนิ่ม มีประกายใสสว่างอยู่ในตัว เครื่องประดับที่กล่าวว่าเป็นเพชรนิลจินดาหรืออัญญมณีใดก็ตาม ล้วนอาศัยของในโลกมนุษย์พูดเปรียบ สำหรับของในเทวโลก สิ่งเหล่านั้นมีลักษณะสวยงามอย่างเทียบกันมิได้ มีรัศมีสว่างไสวออกมาได้จากตัวเอง ทั้งไม่มีลักษณะแข็งกระด้าง หรือมีน้ำหนักให้น่ารำคาญแต่ประการใด

          การเดินทางไปไหนมาไหนของเทพบุตรเทพธิดาเป็นได้ ๓ ประการคือ โดยเหาะไป คือไม่ต้องก้าวเท้าเหมือนยืนอยู่นิ่ง ๆ ตัวลอยไปถึงที่หมายได้เอง โดยยานพาหนะ เมื่อนั่งบนยานพาหนะแล้ว ไม่ต้องใช้แรงจักรกลหรือแรงสัตว์ ยานนั้นลอยไปได้เอง และโดยวิธีนึกเมื่อจะไปที่ใดก็นึกถึงสถานที่นั้น กายก็ปรากฏยังที่นั่นได้เอง

         สิ่งของเครื่องใช้ในวิมาน เช่นเตียงตั้ง ที่นั่งที่นอน ไม่ต้องมีขาตั้งให้ดูเกะกะ เมื่อประสงค์ใช้สิ่งใด เวลาใด ของนั้นจะลอยไปให้ได้ดังปรารถนา เมื่อนั่งหรือนอนลง สิ่งของเครื่องใช้ย่อมให้สุขสัมผัสตามต้องการ ในทิพยวิมานมิต้องมีเสาค้ำยันพื้นหลังคาให้รกรุงรัง ทุกอย่างทรงตัวอยู่เองได้ เพราะเป็นของไม่มีน้ำหนัก ไม่มีแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงอย่างโลกมนุษย์ ไม่มีแดดร้อน ลมแรง ฝนตกชื้นแฉะเป็นที่เดือดร้อน อุณหภูมิกำลังพอดีอยู่สม่ำเสมอตลอดเวลา จากรัศมีร่างกายของบรรดาเหล่าเทพและความสว่างไสวของทิพยวิมาน เทวภูมิจึงไม่มีเวลากลางคืน และเนื่องจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรอยู่เพียงแนวยอดเขายุคันธร อันอยู่ต่ำกว่าเขาสิเนรุถึงครึ่งหนึ่ง แสงอาทิตย์จึงไม่แรงกล้าเพียงให้รู้ว่าขณะนี้โลกมนุษย์เป็นเวลากลางวันกลางคืน ข้างขึ้นข้างแรมเท่านั้น

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

        อาหารทิพย์ทั้งปวงเกิดขึ้นจากทานบารมี ที่เจ้าของวิมานสร้างสมไว้ครั้งเกิดในมนุสสภูมิ เมื่ออยู่ในสวรรค์จะนึกรับประทานเพียงอย่างเดียวแต่ให้มีรสที่ต้องการก็ได้หรือจะให้มีอาหารหลาย ๆ อย่างก็ได้ตามแต่ปรารถนา อาหารสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นสุธาโภชน์หรือขนม ผลไม้ เมื่อรับประทานไปแล้ว สิ่งของเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นใหม่แทนที่ตามเดิมทันที ไม่มีสูญหาย ส่วนที่เหลือทิ้งไม่ต้องการก็จะหายไป เป็นอยู่ดังนี้แม้แต่ดอกไม้ ผลไม้ที่มีอยู่ในสวนประจำวิมานหรือสวนสาธารณะ เมื่อถูกตัดก็จะมีใหม่เกิดแทนทันที

         เรื่องต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ในเทวภูมิจะมีแต่ของที่สวยงามกำลังดี ไม่สูงไป เตี้ยไป อ่อนไป แก่ไป ไม่มีของเหี่ยวแห้ง ของเน่าเสีย ถ้าเป็นไม้ดอกก็จะเบ่งบานกำลังงาม ไม่มีดอกตูมอ่อนเกินไปหรือบานเกินไป ผลไม้ก็จะมีผลกำลังน่ารับประทาน และคงอยู่

       สภาพดังนั้น เมื่อถูกเก็บก็จะมีดอก มีผลใหม่ในลักษณะเดิมแทนที่ ต้นไม้ใดที่สูงเกินไปเมื่อต้องการเด็ด กิ่งจะน้อมลงให้เอง ต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ขึ้นกันเองอย่างสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีส่วนเกินที่รกรุงรัง หรือไม่น่าชมเกิดขึ้น สีของดอกไม้ ผลไม้เหมือนมีชีวิต เป็นประกายส่องแสงสุกใส เป็นที่ชื่นตาตื่นใจ ถ้ามีลมโชยอ่อน ยังกระทบกันเกิดเป็นเสียงดนตรีอันไพเราะ

           พื้นของเทวภูมิอันเป็นที่ตั้งของต้นไม้ ไม่เหลวไม่แข็ง อ่อนนุ่มกำลังดี ไม่มีฝุ่นละอองให้สกปรก

         ตรงที่เป็นน้ำ เช่น สระน้ำ บ่อน้ำ จะให้ความรู้สึกชุ่มชื่นเยือกเย็นเป็นพิเศษ น้ำใสสะอาดละเอียด โปร่งเบา เมื่อลงไปในน้ำ น้ำไม่เปียกเปื้อน แม้จะอยู่ใต้น้ำนาน ๆ ก็ไม่สําลักอึดอัดเหมือนน้ำในพื้นมนุษย์ กลับได้ความสบายเย็นกายเย็นใจ

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

         ขนาดวิมาน บริเวณอาณาเขตต่าง ๆ ในเทวภูมิไม่มีการจับจอง หรือต้องแบ่งสรรในส่วน หากมีบุญกุศลเพิ่ม ดังเช่นพระอินทร์ลงมาฟังพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือใส่บาตรพระมหากัสสปเถระเจ้าขณะออกจากนิโรธสมาบัติ ทิพยวิมานก็ขยายได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่เขตแดนเทวดาองค์อื่น

        เรื่องบริวารรับใช้ที่เกิดขึ้นภายในวิมาน เป็นเพราะเมื่อเวลากระทำการกุศลขณะเกิดเป็นมนุษย์ ได้ช่วยชักชวนให้ผู้อื่นได้มีโอกาสร่วมบุญด้วย บริวารจึงเกิดขึ้นด้วยบุญประเภทนี้ แต่มิใช่ว่าคนที่ถูกเราชักชวนจะไปเกิดเป็นบริวารของเรา เขาก็มีวิถีทางการเกิดตามบุญตามบาปของเขาเอง แต่ถ้ามีกุศลเสมอ ๆ กัน อาจไปเกิดเป็นสหายในเทวภูมิเดียวกันได้

 

เราคือใคร, Who we are, ถวิล วัติรางกูล, เกิดมาทำไม, ตายแล้วไปไหน, ภูมิมนุษย์, มนุษย์, เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ภพภูมิ, กิเลส, ตัวเรา, รูปธรรม, นามธรรม, ดวงจิต, สรรพสัตว์, จักรวาลและภูมิ ๓๑, เวียนว่ายตายเกิด, จักรวาล , อบายภูมิ ๔ , นรก , เดรัจฉาน , เปรต , อสุรกาย, เรื่องของพระยายมราชและนายนิรยบาล , พญายม , นายนิรยบาล, เทวภูมิ ๖, เทวดา, สวรรค์, เทวภูมิ, จาตุมหาราชิกาภูมิ, ดาวดุงส์, นิมมานรดี, ดุสิต, ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ, อายุเทวดา

      ทิพยวิมานบางแห่งพร้อมบริการบังเกิดรอคอยอยู่ที่เทวภูมิก่อน ทั้งที่เจ้าของยังเป็นมนุษย์อยู่ในโลกและยังไม่ตายก็มี หรือบางวิมานเจ้าของยังไม่สิ้นบุญแต่ปรารถนาจะสร้างบารมีเพิ่มเติม จึงจุติลงไปเกิดในโลกมนุษย์ วิมานพร้อมบริวารยังคงมีอยู่คอยเจ้าของอยู่ ณ เทวภูมินั้น ๆ ยกเว้นเจ้าของเกิดประมาทแทนที่จะได้สร้างบารมีเพิ่มเติมกลับสร้างอกุศลกรรมที่จะเป็นเหตุให้ไปอบายภูมิ ถ้าเป็นดังนี้ทิพยวิมานพร้อมบริวารนั้นย่อมหายไปเอง ในทางตรงข้ามถ้าเจ้าของสร้างกุศลกรรมอันไพบูลย์ เมื่อถึงคราวตายจะต้องได้เกิดในเทวภูมิที่สูงกว่าเดิมแล้ว ทิพยวิมานเดิมจะหายไป แต่บังเกิดทิพยวิมานใหม่ในเทวภูมิที่สมควรต่อกุศลกรรมนั้น ๆ

         ที่กล่าวนี้เป็นเพียงทิพยสุขในเทวภูมิโดยย่อ หากท่านใดปฏิบัติธรรมสมควรต่อเหตุแล้ว ย่อมสามารถพบเห็นและพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง แม้ในขณะยังมีชีวิตอยู่นี้

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020118633906047 Mins