ความจริง ตัวเรา นั้นไม่มี

วันที่ 18 กค. พ.ศ.2566

 18-07-66-b-01.jpg                    

๔. ความจริง ตัวเรา นั้นไม่มี
 

         ภาพภูมิทั้ง ๓๑ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คือค่าตอบคำถามที่ถามว่า "เราคือใคร" ในฐานะที่ผู้ตอบยังรู้สึกว่า มีตัวตนอยู่ เราก็คือ ชีวิต ชีวิตหนึ่งที่สามารถเวียนว่ายตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย เกิด ๆ ตาย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ยังภูมิใดภูมิหนึ่งใน ๓๑ ภูมินั้น เป็นอยู่ดังนี้ไม่รู้จักสิ้นสุด จนกว่าจะมีโอกาสพบ และปฏิบัติตามหลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบรรลุคุณธรรมขั้นสูง สิ้นอาสวกิเลสได้มรรคผลนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ จึงจะเลิกเกิดอีกต่อไป
 

          แต่สําหรับในกรณีค่าตอบประการที่สอง ที่ตอบว่า "ความจริง ตัวเรานั้น ไม่มีจำต้องใช้ปัญญาอีกระดับหนึ่ง จำแนกแจกแจงแตกแยกองค์ประกอบของ “ตัวเรา” ให้เห็น "ความไม่มี" โดยถ่องแท้
 

          ตามปกติปัญญาสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ๓ ประการคือ
 

        ๑. สุตตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง (รวมทั้งการรับสัมผัสด้วยประสาททั้งห้า มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วย อนุโลมเข้าในปัญญาระดับนี้ต่าง ๆ
 

          ๒. จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด คือรู้จักพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล
 

          ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา
 

        เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ อันเป็นเรื่องเนื่องมาจากคำตอบที่ว่า “ไม่มีตัวเรา” เป็นเพียงคำตอบที่ใช้ปัญญาระดับที่ ๑ และที่ ๒ คือสุตตมยปัญญาและจีนตมยปัญญา เท่านั้น สำหรับภาวนามยปัญญานั้นอยู่ในขั้นของการปฏิบัติทางจิต ซึ่งผู้ปรารถนาจำต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะได้รับประโยชน์โดยสมบูรณ์เต็มที่ (จะกล่าวถึงในตอนท้าย)
 

           ข้อความที่ว่า “ไม่มีแม้แต่ตัวเรา” นั้นอันที่จริงหมายถึงการ “ไม่ยึดถือ” ตราบใดที่ยังมีการยึดมั่นถือมั่น ว่าสิ่งนั้นเป็นเราเป็นของเรา ตราบนั้นย่อมเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นคนเป็นสัตว์ เป็นตัว เป็นตน เป็นเขา เป็นเรา แยกหรือดับความยึดถือทิ้งไปไม่ได้
 

            ยกตัวอย่างเช่น เราสร้างของใช้นั่งขึ้นหนึ่งชิ้น ทำด้วยไม้กับตะปู เมื่อทำเสร็จเราเรียกของใช้ชิ้นนี้ว่า “เก้าอี้” ยึดถือกันว่าเป็นของที่มีไว้สำหรับนั่ง เป็นของคนนั้นคนนี้ใครนำไปให้ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใครมาทำลายให้หักเสียหาย ย่อมมีการเสียใจโกรธเคือง ดังนี้เป็นต้น แต่ถ้าเราย้อนพิจารณาให้จริงแท้ถึงกำเนิดเดิมของมัน ให้เห็นว่าของสิ่งนี้มาจากไม้กับตะปูประกอบกันขึ้น ไม้มาจากต้นไม้ ต้นไม้มาจากดิน ตะปูมาจากเหล็ก เหล็กมาจากแร่ธาตุที่มาจากพื้นดิน เดิมจริงๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงของมาจากดินไม่ใช่ของที่มีอยู่จริง เพียงประกอบเหตุให้ถูกส่วนเข้า ของสิ่งนี้จึงบังเกิด และด้วยการประกอบเหตุอีกอย่างที่แตกต่างกันของสิ่งนี้ก็สลายไป เป็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอ้นเป็นเหตุการณ์ธรรมดาของธรรมชาติทั้งปวง ไม่เห็นมีสิ่งใดควรยึดถือจริงจัง เมื่อไม่ยึดถือ จิตใจย่อมคงอยู่ในสภาพปกติไม่แปรปรวน
 

            อุปมาที่ยกอ้างเปรียบเทียบให้เป็นตัวอย่างดังนี้ย่อมเห็นได้ว่า
            คำว่า “เก้าอี้” เกิดได้เพราะมีสาเหตุ ๒ ประการ มาประกอบกันขึ้นคือ
            ๑. อุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการปรุงแต่ง มี ไม้และตะปู
            ๒. ความยึดถือ

 

            ฉันใดก็ดี เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเรื่องของคนและสัตว์แล้ว ก็เปรียบได้ทำนองเดียวกัน ประกอบด้วยเหตุ ๒ ประการคือ
 

           ๑. ธรรมชาติที่จะต้องนํามาผสมเข้าด้วยกัน คือ สภาพทางรูปร่างกาย และสภาวธรรมทางจิตใจ
 

           ๒. ความยึดถือ ว่าเป็นตัวเป็นตน

           เมื่อรวมของ ๒ ประการนี้เข้าด้วยกัน "ความเป็นเรา” อันเป็นตัวตนจึงบังเกิดขึ้นเป็นเหตุแห่งการเกิดของมวลทุกข์ทั้งปวง
 

         อันคุณสมบัติของรูปร่างกายและสภาวธรรมทางด้านจิตใจนั้น มีลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ๆ แต่ที่พากันเห็นแตกต่างกันออกไป เพราะเกิดการยึดถือ โดยการเอาการสมมติ การบัญญัติ การกำหนดกฎเกณฑ์ มาเป็นเครื่องแบ่งแยก
 

           เหมือนคุณสมบัติของน้ำที่อยู่ในที่ทุกแห่ง ถ้าเป็นน้ำที่สะอาดแท้แล้ว จะเป็นของที่มีลักษณะเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ฯลฯ เหมือนกันทั้งสิ้นแต่เมื่อเอาภาชนะต่าง ๆ กันไปใส่น้ำ เช่น แก้ว ขวด ขัน กระป๋อง ใบ แท้งค์ จึงเกิดการยึดถือว่าเป็นนาทีนั่ม ทีนี่ เรียกเป็นชื่อนั้น ชื่อนี้
 

           คนหรือสัตว์ ธรรมชาติที่แท้มีเพียงสภาวะทางรูปร่างกาย และธรรมชาติฝ่ายจิตใจเหมือนกันทั้งสิ้น เพียงตั้งชื่ออันเป็น "คำบัญญัติใช้" ใส่ไว้ให้เท่านั้น ทำให้เกิดการยืดถือเป็นเรา เป็นเบา เป็นตัว เป็นตน เป็นของเรา เป็นของเขาขึ้นมา
 

             หากเราจะเลิกยึดถือการสมมุติบัญญัติในเรื่องนี้แล้ว สภาพของชีวิตจะเป็นเพียงความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเท่านั้น ไม่น่ายึดถือแต่ประการใด เช่นเดียวกับสิ่งของคือเก้าอี้นั่นเอง

 

    ๔.๑ กายกับจิตใจ     ชีวิตคืออะไร
   


ในที่นี้เราหมายความเอาแต่เพียงเรื่องของตัวเราเอง ดังนั้น ชีวิตในที่นี้จึงหมายเอาเรื่องของคนหรือเรียกด้วยสรรพนามทั่วไปว่า “สัตว์” ในภาษาทางธรรม
 

             ธรรมชาติที่ประกอบขึ้นเป็นตัวสัตว์ มี ๑. ธรรมชาติฝ่ายรูปร่างกาย และ ๒. ธรรมชาติฝ่ายจิตใจ (ฝ่ายจิตใจ แยกออกได้ ๔ ประการ มี เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)สรรพสัตว์ที่ประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ฝ่ายมารวมกันเข้าดังนี้ เรียกว่าสัตว์ที่มีขันธ์ห้า (ขันธ์ แปลว่า กอง พวก หมวด หมู่
  

  ธรรมชาติทางรูปร่างกาย
 

               ร่างกาย หรือรูปขันธ์ ประกอบด้วยรูปใหญ่ ๒ รูป คือ
 

            ๑. มหาภูตรูป หมายถึงรูปที่เป็นใหญ่ และมีลักษณะปรากฏชัดเจน ซึ่งมีอยู่ประจำทั้งในสิ่งมีชีวิต และ ไม่มีชีวิต มี ๔ อย่างคือ ปถวี (ธาตุดิน) อาโป (ธาตุน้ำ) เตโช (ธาตุไฟ) และ วาโย (ธาตุลม)
 

               ๒. อุปาทายรูป หมายถึงรูปที่ต้องอาศัยมหาภูตรูปเกิด มี ๒๔ อย่าง บางอย่างปรากฏชัด บางอย่างปรากฏไม่ชัด แต่รู้หรือสังเกต หรือเห็นได้ด้วยอำนาจสมาธิจิต คือประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาททางผิวหนังร่างกาย สีต่าง ๆเสียงต่าง ๆ กลิ่นต่าง ๆ รสต่าง ๆ ความเย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย รูปที่เกิดอยู่ในหัวใจ รูปที่ทำให้คงชีวิตอยู่ รูปที่หล่อเลี้ยงร่าง อากาสรูปที่คั่นระหว่างส่วนต่าง ๆ การเคลื่อนไหวของร่างกาย การเคลื่อนไหวของวาจา ความเบาของรูป ความอ่อน ความควรแก่การงาน การเกิดขึ้นครั้งแรกและต่อ ๆไปของรูปจนครบ ความเกิดขึ้นสืบต่อของรูปจนกระทั่งถึงตาย ความแก่ของรูป และความดับของรูป
 

            สามารถอธิบายสภาวะของรูปแต่ละอย่างได้ดังนี้
 

 มหาภูตรูป ๔
 

        ๑. ปถวี เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกกันว่าธาตุดิน เมื่อเทียบกับอีก ๓ ธาตุที่เหลือธาตุดินนี้มีลักษณะแข็งกว่า ของสิ่งใดก็ตามถ้ามีธาตุดินปนอยู่มาก ของสิ่งนั้นจะแข็งมากกว่าสิ่งอื่น เช่น เหล็ก หิน ไม้ กระดูก ฯลฯ ถ้ามีธาตุดินปนอยู่น้อย ของนั้นจะมีลักษณะอ่อน แต่จะแข็งหรืออ่อนก็ตาม แสดงว่าสิ่งนั้นมีธาตุดินอยู่ เพราะธาตุดินเพียงอย่างเดียวทำให้สัมผัสรู้ถึงความแข็งหรืออ่อนได้

              ปถวีธาตุนี้เป็นธาตุสำคัญมาก เป็นที่ให้รูปอื่น ๆ ตั้งขึ้นได้ เหมือนหนึ่งพื้นดินเป็นที่ให้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดขึ้นและตั้งอยู่
 

        ๒. อาโป เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่า ธาตุน้ำ มีลักษณะไหลหรือเกาะกุม สิ่งใดมีอาโปธาตุมาก สิ่งนั้นย่อมไหลไปได้ และมีลักษณะเหลว เป็นเหมือนยางเหนียวที่ทำให้ของเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน ส่วนน้ำที่เรารู้จักอยู่ ไม่ใช่เรียกว่าธาตุน้ำ คำว่าธาตุหมายเอาเพียงคุณสมบัติเท่านั้น ดังนั้น ธาตุน้ำ คือ คุณสมบัติที่เป็นยางเหนียวให้สิ่งอื่นเกาะกุมตัวอยู่ หรือคุณสมบัติที่ทำให้ไหลได้ และสิ่งที่ธาตุน้ำเกาะกุมมากที่สุดคือเกาะกุมปรมาณูของปถวี อาโปธาตุเป็นของที่เห็นด้วยตาหรือสัมผัสด้วยกายไม่ได้ เพียงแต่รู้ได้ว่ามีอยู่ในทีนั้น ๆ
 

             วัตถุใดมีอาโปธาตุมากกว่าปถวีธาตุแล้ว วัตถุนั้นจะอ่อนเหลว และสามารถไหลไปมาได้ แต่แม้ของที่ไหลไม่ได้ เช่น เหล็ก หิน ไม้ กระเบื้อง ฯลฯ ก็มีอาโปธาตุผสมอยู่เพราะสิ่งดังกล่าวรวมตัวยืดกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนได้ (คุณสมบัติความเกาะกุม นั่นคือ ธาตุน้ำ)
 

           ๓. เตโช เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน หรือ เย็น ลักษณะร้อนเรียกอุณหเตโช ลักษณะเย็นเรียก สีตเตโช สภาวะลักษณะของเตโชธาตุ คือมีสภาพเป็นไอ มีทั้งไอร้อน และไอเย็น และมีสภาพทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก บางอย่างสุกด้วยความร้อน บางอย่างสุกด้วยความเย็น เมื่อสุกแล้วก็ทำให้ละเอียดนุ่มนวล เช่น ทำให้อาหารสุก เป็นต้น
 

              เฉพาะในร่างกายสัตว์ เตโชธาตุมี ๕ อย่างคือ
 

              ๓.๑ เตโชธาตุที่มีอยู่ประจำในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย (ไออุ่นที่มีประจำร่างกายสัตว์)
 

              ๓.๒ เตโชาตุที่มีความร้อนสูง เกิดได้เองเป็นครั้งคราว เช่นเวลาเป็นไข้สูงตัวร้อนจัด
 

              ๓.๓ เตโชธาตุที่มีความร้อนสูงจัด ร้อนวิปริตมากกว่า ๓.๒ จนถึงร่างกายพิกลพิการได้
 

              ๓.๔ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง เกิดขึ้นในผู้ที่มีโรคภัยเบียดเบียนหรือแก่ชรา
 

              ๓.๕ เตโชธาตุที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร
 

             ๔. วาโย เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึง หรือเคลื่อนไหวธาตุลมในร่างกาย ทำให้รูปร่างกายตั้งมั่น ไม่คลอนแคลน ในร่างกายของคนเราถ้าธาตุผมไม่ปกติ จะรู้สึก ตึง ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย หรือเมื่อเวลาเราพยายามเกร็งข้อ แขนขา หรือเพ่งตาอยู่นาน ๆ จะรู้สึกเมื่อย หรือเคือง เพราะธาตุลมภายในร่างกายไม่ปกติสําหรับธาตุลมภายนอกร่างกายสัตว์ ก็สามารถทำให้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง หรือตึงขึ้นได้ เช่น ลูกบอลที่ถูกอัดลมเข้าไป หรือ ธมกรก (ทะ-มะ-กะ-หนก) ที่พระภิกษุใช้กรองน้ำ เมื่อเอานิ้วมือปิดรูธมกรกแล้ว วาโยธาตุที่อยู่ภายนอกหนุนรองน้ำไม่ให้ไหลออกจากธมกรก หรือโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ (ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) พื้นดินตั้งอยู่เหนือน้ำ น้ำตั้งอยู่เหนือลม วาโยธาตุของเหฏฐิมอัชฎากาศ (ลมหนุนใต้โลก) รองน้ำไว้ทำให้ทั้งน้ำและพื้นดินตั้งมั่นอยู่ได้
 

            ธาตุลมนอกจากมีคุณสมบัติให้ตั้งมั่นแล้ว ยังมีคุณสมบัติให้เคลื่อนไหวได้ เช่นสัตว์ทั้งหลายที่เปลี่ยนแปลงอิริยาบถต่าง ๆ ได้ มีกระดูกมือเท้า ย่างก้าว เหยียดแขนขากระพริบตา กลอกตา คลอดบุตร ถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่าง ฯลฯ ล้วนเป็นไปด้วยอำนาจวาโยธาตุในตัวทั้งสิ้น ส่วนวาโยธาตุนอกตัวทำให้วัตถุต่าง ๆ เคลื่อนไหวไปจากที่เดิมได้พร้อมกับตน เช่น ลมธรรมดา ตลอดจนลมพายุ ต่าง ๆ
 

           วาโยธาตุในร่างกายสัตว์มี 5 อย่าง คือ
                   

                    ๔.๑ วาโยธาตุที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน
                    ๔.๒ วาโยธาตุที่พัดลงสู่เบื้องล่าง
                    ๔.๓ วาโยธาตุที่อยู่ในช่องท้อง
                    ๔.๔ วาโยธาตุที่อยู่ในลำไส้ใหญ่
                    ๔.๕ วาโยธาตุที่อยู่ทั่วร่างกาย
                    ๔.๖ วาโยธาตุลมหายใจเข้าออก

 

         อุปาทายรูป ๒๔
 

             ๔ รูปที่กล่าวมาแล้ว เรียกว่ามหาภูตรูป เป็นรูปใหญ่เป็นประธานแก่รูปอื่น ๆ สำหรับอุปาทายรูป ๒๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปเกิด ประกอบด้วย
 

                       - ปสาทรูป ๕
                       - วิสยรูปหรือโคจรรูป ๗
                       - ภาวรูป ๒
                       - หทยรูป ๑
                       - ชีวิตรูป ๑
                       - อาหารรูป ๑

                       - ปริจเฉทรูป ๑
                       - วิญญัตติรูป ๒
                       - วิการรูป ๓
                       - ลักขณรูป ๔


                                                           

ปสาทรูป ๕

ประกอบด้วย


๑. จักขุปสาท ดวงตาทั้งหมดไม่ใช่จักขุปสาท ที่เรียกว่าจักขุปสาทคือสิ่งที่ทำให้เกิดการเห็น เป็นทางนำให้คิดตามเรื่องที่เห็นนั้น ลักษณะของจักขุปสาทเป็นวัตถุรูปชนิดหนึ่งเกิดขึ้นจากอำนาจของกรรม มีความใสดุจกระจกเงา เป็นเครื่องรับรู้เกี่ยวกับสีสรรต่าง ๆ ตั้งอยู่ในระหว่างกลางตาดำ มีเยื่อตา ๗ ชั้นซับอยู่ เหมือนปุ๋ยสำลีอาบซุ่มอยู่ด้วยน้ำมันทั้ง ๗ ชั้น มีขนาดโตประมาณเท่าหัวของเหา
 

๒. โสตปสาท  คือรูปที่เป็นเหตุแห่งการได้ยิน และเป็นทางนำให้คิดตามเรื่องที่ได้ยินนั้น ลักษณะของโสตปสาทเป็นวัตถุรูปชนิดหนึ่งเกิดจากอำนาจของกรรม มีความใสบริสุทธิ์ เป็นเครื่องรับเสียงต่าง ๆ ตั้งอยู่ภายในช่องหูที่มีสัณฐานเหมือนวงแหวน มีขนแดงเส้นละเอียดงอกอยู่ โสตปสาทแผ่อยู่ทั่วบริเวณ มีหน้าที่ทำให้รู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการได้ยิน และเป็นที่ให้คิดตามสิ่งที่ได้ยินนั้น ๆ
 

๓. ฆานปสาท   คือรูปอันเป็นเหตุแห่งการรู้กลิ่น และเป็นทางนำให้ติดตามเรื่องที่ได้รู้กลิ่นนั้น ลักษณะของฆานปสาท เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์ เป็นเครื่องรับกลิ่นต่าง ๆ ตั้งอยู่ภายในช่องจมูกที่มีสัณฐานดังกับเท้าแพะ มีหน้าที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการได้กลิ่นและคิดตาม
 

๔. ชิวหาปสาท เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับรสต่าง ๆ ตั้งอยู่ในท่ามกลางลิ้นที่มีสัณฐานเหมือนปลายกลีบดอกอุบล มีหน้าที่ ๒ อย่างคือ เป็นที่ให้สามารถรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดทางลิ้น และเป็นทางให้คิดตามเรื่องที่ได้รู้รสนั้นได้
 

๕. กายปสาท เป็นธรรมชาติรูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เกิดอยู่ในร่างกายทั่วไป เป็นเครื่องรับส่งสัมผัสต่าง ๆ (ยกเว้นปลายผม ขน เล็บ หนังที่หนา และที่รวมแห่งอาหารใหม่ใต้ไส้ใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของเตโชธาตุที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร) มีรับสัมผัส รู้ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง หน้าที่ของกายปสาทคือ เป็นวัตถุที่ทำให้เกิดการรับรู้อารมณ์ที่ได้จากการสัมผัส และเป็นทางให้รู้จักคิดตาม

 

จักขุ โสตะ มานะ ชิวหา กายะ ทั้ง ๕ รูปนี้ชื่อว่า ปสาทรูป เพราะมีสภาพใส สามารถรับอารมณ์ของตน ๆ ตามหน้าที่ได้

 


วิสยรูปหรือโคจรรูป ๗
 

            ต่อจากปสาทรูป ๕ แล้ว เป็นวิสัยรูป หรือโคจรรูป ๗ อันหมายถึงรูปอันเป็นที่โคจรคือท่องเที่ยวไปของจิต ได้แก่
 

         ๑. รูปารมณ์ คือสีต่าง ๆ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ หรือรูปร่างสัณฐานทั้งของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งหมดทั้งสิ้น จะปรากฏให้รู้จักกันได้ เพราะอาศัยที่สิ่งเหล่านั้นล้วนมี “สี”อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าสิ่งใดปราศจากสีเสียแล้ว จะไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ เช่นอากาศ เป็นต้น
 

         ๒. สัททารมณ์ ได้แก่เสียงต่าง ๆ สิ่งที่จะทำให้เกิดการได้ยิน ทั้งที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
 

         ๓. คันธารมณ์ ได้แก่กลิ่นต่าง ๆ เพราะกลิ่นเป็นรูปชนิดหนึ่งที่สามารถแสดงให้เห็นถึงวัตถุสิ่งของที่กลิ่นนั้นอาศัยอยู่ ให้ปรากฏรู้ได้ กลิ่นนี้ถ้าได้แผ่ไปร่วมกับวาโยธาตุแล้ว จะฟุ้งกระจายให้ผู้รับสัมผัสรู้ที่มา
 

         ๔. รสารมณ์ ได้แก่รสต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการรับรู้อารมณ์ทางลิ้น ไม่ว่าจะเป็นรสดีที่น่าพอใจหรือรสไม่ดีไม่ชอบใจ
 

         ๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ มหาภูตรูป ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เพราะทั้ง ๓ สิ่งนี้กายปสาทสามารถกระทบสัมผัสได้ ส่วนอาโปนั้นกายปสาทไม่สามารถกระทบสัมผัสได้จึงเว้นเสีย

           ปถวี เมื่อกระทบสัมผัสแล้ว ย่อมสามารถรับรู้อารมณ์ได้ว่า อ่อน หรือแข็ง
           เดโช ย่อมรู้ว่า เย็น หรือ ร้อน
           วาโย ย่อมทำให้รู้ว่า หย่อน หรือ ตึง
           โผฏฐัพพารมณ์ จึงแบ่งออกไปได้รวม ๓ ชนิด รวมเป็นวิสัยรูป หรือโคจรรูป ๗


ภาวรูป ๒


           ภาวรูป คือรูปที่แสดงให้รู้ภาวะว่าเป็นชายหรือหญิง ได้แก่
           ๑. อิตถีภาวะ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง
           ๒. ปุริสภาวะ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย
           เครื่องแสดงให้รู้ว่าร่างกายของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นเพศหญิงหรือชายนั้น ดูได้จาก

           ๑. สิงคะ รูปร่างสัณฐาน มีแขน ขา หน้าตา อวัยวะเพศ เป็นต้น
           ๒. นิมิตตะ เครื่องหมาย เช่น หนวด เครา เป็นต้น
           ๓. กุตตะ นิสัย เช่นการเล่น การกระท่าต่างๆ
           ๔. อากัปปะ กิริยาอาการ เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอน การกิน การพูด เป็นต้น
         

             เครื่องแสดงให้รู้ถึงเพศทั้ง ๔ ประการนี้ ย่อมปรากฏเป็นไปตามภาวรูปทั้งสอง ถ้าร่างกายนั้นอาศัยอิตถีภาวรูปเป็นผู้ปกครองแล้ว ทั้ง ๔ ประการนี้ก็ย่อมแสดงความเป็นเพศหญิง ถ้าปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครอง รูปร่างสัณฐานกิริยาอาการก็จะเป็นเพศชาย
 

หทยรูป ๑


           หายรูป เป็นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย กระทำสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ได้ การงานของสัตว์ทั้งหลายที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ งานนั้นเรียกว่า กุศลกรรม ถ้าเป็นสิ่งไม่ดีไม่มีประโยชน์ งานนั้นเรียก อกุศลกรรม
 

            จะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมอย่างใดก็ตาม จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยว่าสัตว์นั้น มี หทยรูปเกิด ในภพภูมิ ๓๑ ภูมิ เฉพาะภูมิที่สัตว์มีขันธ์ ๕ เกิดขึ้น เช่นในอบายภูมิมนุสสภูมิ เทวภูมิ รูปพรหมภูมิ ถ้าสัตว์ที่เกิดในภูมินั้น ๆ ไม่มีหายรูป และไม่มีหทยวัตถุรูปเกิดแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่สามารถนึกคิด รู้เรื่องราวต่าง ๆ หรือทำการงานใด ๆ ได้เลย จะมีลักษณะคล้ายเป็นรูปหุ่นไป
 

            หทยรูป มี ๒ อย่างคือ
 

            ๑. ยังสหายรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่เป็นก้อนเนื้อ ลักษณะคล้ายรูปดอกบัวตูม
 

            ๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่เกิดจากกรรมชนิดหนึ่งที่เกิดอยู่ในยังสหายรูป
 

            คำว่าหายรูป หมายเอาวัตถุหทยรูปข้อที่ ๒ นี้ อันมีที่ตั้งอยู่ในช่องมีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ดดอกบุนนาค ภายในยังสหายรูป ในช่องนี้มีของเหลวหล่อเลี้ยงอยู่จํานวนประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่อาศัยเกิดของการรับรู้อารมณ์ทางจิตใจ น้ำที่หล่อเลี้ยงหายรูปนี้สามารถเปลี่ยนสีสรรได้ตามอำนาจการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ
 

ชีวิตรูป


            รูปทั้งหลายที่เกิดมาจากกรรม และมาประชุมรวมพร้อมกันอยู่เป็นรูปร่างกาย คงรูปติดต่อกันอยู่ได้ เจริญได้ ตั้งอยู่ได้ เพราะมีรูปชนิดหนึ่งเรียกว่า ชีวิตรูป เป็นผู้รักษารูปที่เกิดจากกรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นอันเสร็จ กรรมมิใช่ผู้รักษา กรรมเป็นเพียงสมุฏฐานให้รูปเกิด แต่ไม่มีอำนาจในการดูแลรักษารูปที่เกิดจากตน ดังนั้นชีวิตรูปจึงทำหน้าที่รักษาต่อ
 

            ตรงข้าม รูปที่เกิดจากจิต รูปที่เกิดจากอากาศ สิ่งแวดล้อม และรูปที่เกิดจากอาหารไม่ต้องมีรูปอื่นใดมารักษา คงมีสมุฏฐานของตน ๆ นั่นเองเป็นผู้รักษา ให้เกิดติดต่อกันทั้งให้ตั้งอยู่จนสิ้นอายุ
 

อาหารรูป


             อาหาร คือ โภชนะที่บุคคลกลืนกิน
             อาหารรูป คือ โอชาที่อยู่ในอาหาร ได้แก่คุณค่า หรือในปัจจุบันเรียกว่า ไวตามินในอาหารโอชานี้เป็นธรรมชาติสร้างรูปให้เกิดขึ้นติดต่อกันนับตั้งแต่การเกิดขึ้นของรูป
ทันทีที่โอซาของอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้อาหารชรูป(รูปที่เกิดขึ้นเพราะมีอาหารเป็นสมุฏฐาน) เกิดขึ้น โอชารูปทำให้ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายมีกำลัง และเจริญเติบโตขึ้นได้เมื่อใดที่ร่างกายนั้น ๆ เจริญเติบโตเต็มที่ถึงขีดสุดแล้ว ไม่สามารถโตต่อไปได้อีก โอชานี้ก็ทำหน้าที่ให้เกิดอาหารชรูป ทำให้ร่างกายสมบูรณ์และมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขต่อไป

 

ปริจเฉทรูป
 

             ปริจเฉทรูป ได้แก่อากาศหรือความว่าง ทั้งที่คั่นอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคั่นอยู่ระหว่างเซลล์เล็ก ๆ จนกระทั่งระหว่างอวัยวะน้อยใหญ่
 

             และแม้ในภายนอกร่างกาย ในสรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมมีปริจเฉทรูปอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น อากาศ แยกออกไปได้เป็น ๔ อย่างคือ
 

            ๑. อัชฎากาส ได้แก่อากาศที่ว่างเปล่า ข้างล่างนับตั้งแต่ใต้พื้นแผ่นดินและน้ำที่รองรับพื้นแผ่นดินลงไป ข้างบนนับตั้งแต่อรูปภูมิขึ้นไป
 

         ๒. ปริจฉินนากาส ได้แก่ช่องว่างที่มีขอบเขตกำหนดไว้ เช่น ท้องฟ้า ช่องประตูหน้าต่าง ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก เป็นต้น
 

         ๓. กสิณคฆาฏิมากาส ได้แก่อากาศที่เล็กแล้วจากกสิณทั้ง ๔ คือในการเจริญสมาธิภาวนา โดยวิธีกำหนดเอากสินอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง (เว้นอากาสกสิณ) เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้ว ก็เพิก คือไม่สนใจในปฏิภาคนิมิตนั้น คงเหลือแต่สิ่งหนึ่งมีลักษณะเป็นอากาศว่างเปล่าภายในบริเวณที่ปฏิภาคนิมิตแผ่ไป นี่เป็นอากาศที่กำหนดรู้กำหนดเห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตาภายนอก เรียกว่า กสินคฆาฏิมากาส
 

         ๔. ปริจเฉทากาส ได้แก่ช่องว่างที่คั่นระหว่างรูปที่เป็นหมวดเป็นหมู่ของร่างกายคือปริจเฉทรูป
 

            ในอากาศทั้ง ๔ ชนิดข้างต้น ย่อมมีปริจเฉทรูปอยู่ด้วยเสมอ ปริจเฉทรูปมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวง ถ้าไม่มีช่องว่างคือปรัจฉินนากาสแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะติดต่อกันเป็นพืดไปหมด ย่อมไม่สามารถทำให้รู้ถึงจำนวนและสัณฐานของอะไร ๆ ได้เลย ที่เรารู้ถึงรูปร่างสิ่งต่าง ๆ รู้ลักษณะสัณฐาน ทั้งยังนับจํานวนได้ เพราะมีปริจจินนากาสเป็นเครื่องช่วยให้รู้ถึงที่สุดของรูป ให้รู้เขตแดนของรูป จนที่สุดสามารถรู้ความเกิดดับของรูปได้ ถ้าทุกอย่างไม่มีปริจจีนนากาส ติดเป็นพืดไปเสีย จะไม่สามารถฝึกฝนจิตให้เกิดญาณปัญญาเห็นความเกิดดับของรูป
 

วิญญัติรูป ๒
 

             วิญญัติรูป คือ อาการพิเศษที่เกิดอยู่ในการเคลื่อนไหวทางร่างกาย และการพูดของสัตว์ทั้งหลาย เป็นรูปที่ทำให้ผู้อื่นรู้ถึงความประสงค์ของผู้แสดง เช่น เมื่อต้องการให้อีกฝ่ายเข้ามาหาก็แสดงกิริยากวักมือ หรือเปล่งวาจาเรียก อาการพิเศษที่รวมอยู่ในความเคลื่อนไหวทั้งกายและวาจา เรียกว่า วิญญัติรูป คือ รูปที่ทำการสื่อความหมายให้รู้ความประสงค์ ได้นั่นเอง
 

              ถ้าไม่มีวิญญัติรูป การเคลื่อนไหวทางกายจะไม่ผิดแปลกไปจากการเคลื่อนไหวของวัตถุสิ่งของ ต้นไม้ ใบไม้ที่ลมพัด และเสียงที่เปล่งออกมาก็จะไม่แตกต่างไปจากเสียงกระทบของวัตถุ เสียงฝนตก ฟ้าร้อง หากไม่มีวิญญัติรูป สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่สามารถรู้ใจของอีกฝ่าย
 

              อาการเคลื่อนไหวทางกายให้รู้ความประสงค์ได้ เรียกว่า กายวิญญัติรูป
 

              อาการพิเศษในการเปล่งเสียงเพื่อให้รู้ถึงความประสงค์ เรียกว่า วจีวิญญัติรูป
 

              วิญญัติรูป มี ๒ อย่าง คือ
 

          ๑. โพธนวิญญัติ หมายถึงการเคลื่อนไหวทางร่างกายหรือวาจา ที่ทำให้ผู้อื่นรู้ถึงความประสงค์ของตน
 

          ๒. ปวัตตนวิญญัติ หมายถึงการเคลื่อนไหวทางกายและวาจาที่เป็นปกติ มิได้มุ่งให้สื่อความหมายอย่างใด
 

วิการรูป ถ
 

              วิการรูปเป็นอาการพิเศษของรูปที่เกิดจาก กรรม จิต อุตุ และอาหาร เป็นสมุฏฐานรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิปปผันนรูป

               วิการรูป ไม่มีรูปโดยเฉพาะ เป็นอาการพิเศษของนิปปผันนรูปที่เกิดขึ้นนั่นเองได้แก่

 

           ลหุตารูป หมายถึง อาการเบา
 

           มุทุตารูป หมายถึง อาการอ่อน
 

           กัมมัญญตารูป หมายถึง อาการควรต่อการงาน

             ทั้ง ๓ รูปนี้เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดพร้อมกัน เกิดแล้วย่อมทำให้การเคลื่อนไหวอิริยาบถน้อยใหญ่ของร่างกายหรือการพูดจา เป็นไปโดยสะดวกสบาย ไม่มีอย่างหนึ่งอย่างใดขัดข้อง
 

            อันที่จริงถ้าจะนับกันแล้ว วิญญัติรูป ๒ ก็นับเข้าเป็นวิการรูปเหมือนกัน รูปทั้ง ๕ นี้ไม่มีรูปเฉพาะของตนเอง อาศัยนิปปผันนรูปเป็นเครื่องแสดงออก
 

ลักขณะรูป ๔
 

             ลักขณะรูป คือรูปที่เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ถึงสภาพนั้น ๆ
 

             โดยปกติแล้ว บรรดาธรรมทั้งหลายแบ่งออกได้เป็น ๒ ประการ คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ประการ มี กรรม จิต อุตุ อาหาร ได้แก่ รูปร่างกาย จิตและธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตเรียกว่าเจตสิก
 

              ธรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยทั้ง ๔ ได้แก่ นิพพานและบัญญัติ
 

              ธรรมประการแรกนั้น เนื่องจากอยู่ในอำนาจของการปรุงแต่ง ดังนั้นจึงมีลักษณะหรือ อาการพิเศษเฉพาะตัวเกิดกำกับประจำอยู่ด้วย นั่นคือ มีลักษณะ
 

                      การเกิดขึ้น เรียกว่า ชาติ
                      การตั้งอยู่ เรียกว่า ชรตา
                      การดับไป เรียกว่า อนิจจา

 

              อาการทั้ง ๓ นี้ เป็นเครื่องหมายของธรรมที่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ (สังขตธรรม)ส่วนธรรมทั้งหลายที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ (อสังขตธรรม) ไม่มีเครื่องหมายทั้งอย่าง ดังกล่าวนี้

              อาการทั้ง ๓ หรือเครื่องหมายบอกให้รู้ถึงสภาพของธรรม เรียกว่า ลักขณะ

 

             สําหรับลักขณะของนามธรรม มี ๓ ประการดังกล่าว ส่วนลักขณะของรูปธรรมแบ่งอาการเกิด คือ ชาติออกเป็น ๒ อย่าง คือ อุปจยะ และสันตติ ส่วนชรตาและอนิจจายังมีอยู่เหมือนเดิม
 

          ๑. อุปจยรูป เป็นการเกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ครั้งแรก และเกิดครั้งหลังตามมาอยู่เรื่อย ๆ จนครบรูปของนิปปผันนรูปที่ควรเกิดได้
 

          ๒. สันตติรูป คือการเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปปผันนรูป
 

              ยกตัวอย่างเช่น ในการเกิดขึ้นของสัตว์ประเภทเกิดในครรภ์มารดา นับตั้งแต่ปฏิสนธิ รูปที่เกิดจากกรรมอุบัติเริ่มต้นขึ้น และเกิดต่อมาเรื่อย ๆ จนครบเป็นตัวตนบริบูรณ์ ไม่มีขาดตกบกพร่อง อวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์หมด การเกิดของกัมมชรูปนับแต่ปฏิสนธิมาจนเสร็จสิ้นนั้น เรียกว่า อุปจยะ เมื่อเกิดขึ้นครบแล้ว รูปที่เกิดต่อ ๆ จากนั้นไปจนถึงตลอดชีวิตเรียกว่า สันตติรูป การเกิดของ จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารรูป ก็เป็นไป
ในทํานองเดียวกัน


          ๓. ชรตารูป หมายถึงภาวะแห่งการตั้งอยู่และการแก่ของนิปปผันนรูป
 

          ๔. อนิจจตารูป เป็นภาวะแห่งความดับของนิปปผันนรูป
 

              รูปทั้งสองนี้ คือ ชรดารูปและอนิจจตารูป มีประจำอยู่ในนิปปผันนรูปของบรรดาสัตว์ทั้งหลาย นับตั้งแต่ปฏิสนธิ เป็นต้นไป จนกระทั่งสัตว์นั้นตายลง
 

              ที่กล่าวถึง ชาติ ชรา มรณะ ทำนองดังนี้ เป็นการกล่าวตามความจริงโดยแท้ (ปรมัตถสัจจะ) แต่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันอยู่เรียกว่า ความจริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ) คือเข้าใจว่า ชาติได้แก่ การออกจากครรภ์มารดา ชรา หมายถึงพ้นวัยหนุ่มสาว มีอาการผมหงอกฟันหัก และมรณะหมายเอาขณะสิ้นชีวิตลง ดังนี้เรียกว่าเป็นการเข้าใจอย่างผิวเผินโดยสมมติให้เข้าใจกันโดยง่าย
 

              ความจริง ชรา มี ๒ ประการ คือ ความชราที่ไม่ปรากฏให้เห็น และความชราที่ปรากฏเห็นได้ชัดเจน
 

             ความชราที่ไม่ปรากฏชัด (ปฏิจฉันนะชรา) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตต่าง ๆ ตลอดเวลา ต้องตกอยู่ในภาวะอันหนึ่งด้วยกันทั้งสิ้น นั่นคือ การเสื่อม แต่เป็นความเสื่อมที่มากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพ อันที่จริง คำว่า แก่ ชรา เสื่อม ลดความคงทน สลาย ล้วนมีความหมายเดียวกัน คือเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพที่เลวกว่า ด้วยคุณค่ากว่าเดิม
 

            ความชราที่ไม่ปรากฏชัดและรู้ได้โดยยาก เช่นความชราของ ดิน น้ำ หิน ภูเขาพระอาทิตย์ เพชร ทอง แร่ต่าง ๆ เรียกว่า อวีจิตรา
 

           ความชราที่ปรากฏชัด เรียก ปากฎชราของบางอย่างมีความชราทั้งสองอย่างอยู่รวมกัน คือบางระยะไม่ปรากฏชัด บางระยะก็เห็นได้ชัดเจน รู้ได้ง่าย เรียกความชราประเภทนี้ว่า สวีจิชรา

 

           ในบรรดารูปทั้ง ๒๘ นี้ มีอยู่ 4 รูปที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้เรียกว่า อวินิพโภครูป ประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ และ สี (รูปารมณ์) กลิ่น (คันธารมณ์) รส (รสารมณ์)และอาหารรูป บรรดารูปทั้งหมดในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตประการใดก็ตาม สิ่งเหล่านั้นแม้จะแบ่งย่อยให้แหลกละเอียดเป็นฝุ่นธุลี ให้เป็นรูปที่เล็กที่สุดที่เรียกกันว่า ปรมาณู ในปรมาณูเม็ดหนึ่งนั้นจะต้องมีอวินิพโภครูป ๘ เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอไป
 

           และในรูปร่างกายของคนของสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้ มีธรรมอันเป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปอยู่ ๔ ประการ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร

           ๑. กรรม หมายถึงการกระทำที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ได้ทำมาแล้วทั้งในภพก่อนและภพนี้ ถ้าพูดให้เข้าใจชัดเจนลงไปอีก กรรมนั้นก็คือ ตัว“เจตนา” ที่เกิดขึ้นในจิตขณะกระทำกรรมนั้น ๆ กรรมที่ได้กระทำไว้เหล่านี้เองเป็นเครื่องทำให้ กัมมชรูป เกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นทุก ๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา
 

        ๒. จิต ได้แก่ธรรมชาติที่สามารถรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ สามารถนึกคิดได้ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่าจิตบ้าง ใจบ้าง หรือเรียกรวมกันว่า จิตใจ รวมทั้งธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เรียกกันว่า เจตสิกด้วย จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย
 

         ๓. อุตุ ได้แก่ ความเย็น (สีตเตโช) ความร้อน (อุณหเตโช) ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกสัตว์ทั้งหลาย นับตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นมา อุตุนี้ทำให้เกิดอุตุชรูปขึ้นได้เรื่อย ๆไปไม่ขาดสาย
 

         ๔. อาหาร ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ทำให้อาหารชรูปเกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย นับแต่โอชาของอาหารแผ่เข้าไปในร่างกายของสัตว์นั้นเรียบร้อย
 

             ในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ก็ตาม อวัยวะต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างสัณฐานขึ้นได้ ย่อมต้องอาศัยกัมมชรูปเป็นพื้นก่อน แล้วรูปอื่น ๆ จึงเข้าช่วยปรุงแต่งให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น สัณฐานและอวัยวะต่าง ๆ จึงปรากฏได้ชัดเจน ถ้าไม่มีกัมมชรูปเป็นพื้นรองรับอยู่แล้ว ร่างกายก็ไม่ผิดอะไรกับท่อนไม้หรือต้นไม้ รูปที่ช่วยปรับปรุงให้รูปร่างสัณฐานอวัยวะปรากฏได้ชัดเจนได้แก่ อุตุชรูป และอาหารชรูป
 

             สำหรับเรื่องอุตุชรูปนั้น มีปกคลุมอยู่ทั่วไปในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายและจะมีอยู่ตลอดไป แม้สัตว์นั้นจะตายลง อุตุชรูปก็ยังปรากฏอยู่ไม่หายไป
 

             ส่วนกัมมชรูปและอาหารชรูป จะปรากฏอยู่ได้เฉพาะในระหว่างที่สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ตายลงเมื่อใด รูปทั้งสองนี้ก็ดับสิ้นตามไป
 

            ฝ่ายจิตตชรูปนั้น ไม่สามารถปรากฏขึ้นด้วยตนเองโดยเฉพาะ ต้องอาศัยรูปทั้ง ๓คือ กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป เป็นที่ตั้ง จิตตชรูปจึงเกิดขึ้นได้ กล่าวโดยง่ายคือจิตตชรูปต้องอาศัยร่างกายของสัตว์เป็นที่เกิด ถ้าไม่มีร่างกายแล้ว จิตตชรูปเกิดไม่ได้
 

           อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรูปชนิดใด ทุกรูปนั้น ๆ ล้วนต้องมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงสลายไป เมื่อต้องกระทบถูกกับสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กัน สิ่งที่เป็นข้าศึกของรูปก็คือ ความเย็น ความร้อน ถ้าเป็นรูปของสรรพสัตว์ด้วยแล้ว มีเพิ่มอีกหลายเรื่อง เช่น ความหิว ความกระหาย ถูกลม ถูกแดด และสัตว์ร้ายขบกัด เหล่านี้เป็นต้น
 

          จึงเห็นได้ชัดเจนว่า แม้จะจำแนกแจกย่อยรูปออกเป็น ชื่อ ชนิด ประเภทใด ๆก็ตาม ทั้งหมดล้วนตกอยู่ในสภาพเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลายด้วยกันทั้งสิ้น
 

          ที่กล่าวเรื่องการจำแนกรูปมาทั้งหมด เป็นการกล่าวให้เห็นธรรมชาติฝ่ายรูปร่างกายอันเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของความเป็นคนเป็นสัตว์
 

           องค์ประกอบที่เหลือคือเรื่อง ธรรมชาติฝ่ายจิตใจ องค์ประกอบทั้งสองนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ถ้าขาดออกจากกันสภาพความเป็นคนหรือสัตว์ก็เป็นอันสิ้นสุดลง เปรียบเหมือนเครื่องจักรที่ทำงานได้โดยใช้กระแสไฟฟ้ารูปร่างกายเปรียบเสมือน ตัวเครื่องจักร ฝ่ายจิตใจเปรียบเสมือนกระแสไฟ เครื่องจักรจะลงมือทำงานให้สำเร็จได้ต้องร่วมมือกัน คือต้องมีของทั้งสองสิ่งประกอบกัน
 

            ส่วนคนที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและกระแสไฟนั้น อุปมาได้กับความยึดมั่นถือมั่นที่เรียกว่า "อุปาทาน” ในขันธ์ห้า คือยึดถือการทำงานของเครื่องจักรนั่นเอง
 

            ต่อไปนี้ เป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมชาติฝ่ายนามธรรมคือ จิตใจ
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039067800839742 Mins