๔.๒ ขันธ์ ๕
(ที่อุปทานเข้าไปยึด)
คำว่า “ขันธ์" หมายความว่า สิ่งที่เป็น กลุ่ม เป็นกอง หรือเป็นพวก ๆ
ขันธ์ ๕ จึงหมายถึง สิ่งที่แยกกันไว้เป็นกลุ่ม เป็น กอง หรือเป็นพวก ๆ จำนวน ๕ อย่าง
๑. รูปขันธ์ รูป หมายถึงสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลาย ส่วนใหญ่แล้วในความเข้าใจโดยทั่วไปหมายถึงรูปร่างกาย ทั้งที่เกิดภายในตัวและภายนอกตัวเรารวมถึงรูปที่กำลังเกิดอยู่ รูปที่ดับไปแล้ว และรูปที่จะเกิดต่อไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นรูปที่รู้ได้ง่าย หรือรูปที่รู้ได้ยาก เรียกว่ารูปขันธ์ทั้งสิ้น คือรูป ๒๘ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งทุกรูปมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความดับสลายตลอดเวลา
๒. เวทนาขันธ์ ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย ดีใจ เสียใจ เฉย ๆ เรียกว่าเวทนาขันธ์ (เวทนาเจตสิก)
๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำสิ่งต่าง ๆ ได้ (สัญญาเจตสิก)
๔. สังขารขันธ์ คือ อาการปรุงแต่งภายในจิตสันดาน เช่น ความอยากได้ ความโกรธ ความหลง ความเลื่อมใส ความพยายาม เหล่านี้เป็นต้น ได้แก่เจตสิกธรรมทั้งปวงยกเว้น เวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก
๕. วิญญาณขันธ์ คือความรู้ในอารมณ์ต่าง ๆ (ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นทั้ง ๑๒๑ อย่าง)
ขันธ์ทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นธรรมที่ถูกทุกข์ทั้งหลายเคี้ยวกัน เป็นที่เกิดแห่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นต้น ขันธ์ชนิดแรกเป็นรูป (ร่างกาย) อีก ๔ ชนิดหลังเป็นนาม (จิตใจ)การแบ่งออกเป็นประเภทๆ เพื่อหาให้เข้าใจได้ชัดเจน มิได้มุ่งหมายว่าแบ่งจำนวนมากน้อย
ขันธ์ ๕ จะกลายเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขาขึ้นมา จนเป็นที่ตั้งของความทุกข์ได้ เพราะมีอุปาทานเข้าครอบงำจิตใจ ทำให้เข้าใจว่า ความเป็นอยู่ต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่ตน เช่นการทำ การพูด การคิดนึก ความสบาย ไม่สบาย ความดีใจความเสียใจ และการเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเรื่องของตัวเรา หรือสิ่งที่เนื่องกับตัวเรา เราจึงใช้คำพูดกันจนชินว่า เราทำ เราคิด เราพูด เราสบาย เราไม่สบาย เราดีใจ เราเสียใจ เราแก่ เราหนุ่ม เราสวย เราไม่สวย และถ้าเรื่องเหล่านี้เกิดกับผู้อื่น เราก็ใช้คำว่า ผู้นั้น ผู้นี้ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ รวมความแล้วทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีเรา มีเขา ล้วนแต่เป็นอัตตทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีตัวตน อันเป็นความเห็นผิด) ไปทั้งสิ้น กลายเป็น โมหะ ความโง่หลง ขาดปัญญา ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง
ผู้ประกอบด้วยสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา เท่านั้นจึงทราบตามความจริงว่า บรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้นอกจากขันธ์ ๕ แล้ว ไม่มีอะไรอื่นนอกเหนือจากนั้น และของเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเป็น อนัตตา คือความว่างเปล่าจากตัวตนทั้งหมด
ส่วนการจะรู้เห็นได้ชัดเจน ปฏิบัติถูกต้องเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับกำลังปัญญาที่บังเกิดขึ้นนั้น ๆ ว่ากล้าแข็งเด็ดขาดเพียงใด
ขันธ์ ๕ ที่เป็นอุปาทานักขันธ์ ได้นั้น เป็นขันธ์ ๕ ของผู้ที่เป็นโลกีย์ จึงจะเป็นอารมณ์ของอุปาทานได้ ส่วนขันธ์ ๕ ของผู้ที่เป็น โลกุตตระ ไม่ใช่อารมณ์ของอุปาทาน เพราะอุปาทานทั้ง ๔ มี กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยโลกุตรธรรมนั้น ย่อมไม่มี
การเข้าใจว่า การตายเป็นการสลายแต่ร่างกาย ส่วนวิญญาณไม่ตาย ออกจากร่างเก่าไปอยู่ยังร่างใหม่ ก็เป็นการเข้าใจผิด เป็นอัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในอัตตะ ความจริงนั้น เวลาตาย ทุกสิ่งดับไปด้วย เวลาเกิด สิ่งเหล่านั้นจึงเกิดใหม่ แต่อาศัยสาเหตุจากกรรมเติมส่งผลเท่านั้น เหมือนกองไฟ เมื่อเราตับเสียแล้ว เปลวไฟทั้งสิ้นย่อมหายไปหมด ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่าเปลวไฟนั้นไปอยู่เสียที่ใด ค้นหาอย่างไรย่อมไม่สามารถพบได้ แต่เมื่อมีเหตุประจวบเหมาะ ส่วนประกอบอันเป็นสาเหตุให้เกิดกองไฟอุบัติขึ้น คือมีเชื้อเพลิง มีไม้ขีด มีผู้จุดทำการขีดไม้ขีดจุดเชื้อเพลิงนั้น เปลวไฟย่อมบังเกิดขึ้นได้ดุจเดิมเปลวไฟใหม่กับเปลวไฟเดิมมิใช่เปลวเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่กองไฟกองเก่ามีเถ้าถ่านที่ยังร้อนๆอยู่ แต่เปลวไฟดับไปสิ้นแล้ว บังเอิญมีผู้โยนเชื้อเพลิงใหม่ลงไป ความร้อนจากกองไฟเดิมเป็นชนวนให้เกิดเปลวไฟใหม่ได้
ร่างกายของคนเรา เมื่อตายลง มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ และจักขุธาตุเป็นต้นที่เป็นกัมมชรูป (รูปที่เกิดจากกรรม) ดับ เมื่อเวลาเกิด มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ และจักขุธาตุเป็นต้น ที่เป็นของมาจากกัมมชรูปก็บังเกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดดับเหล่านี้จึงเป็นเพียงความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปของธรรมชาติเท่านั้น เป็น "นิชชีวะ" คือมิใช่ ชีวะมิใช่ อัตตะ (ชีวะ คือ ชีวิต อัตตะ คืออัตตา)
อย่างไรก็ดี นอกจากชีวิตของสรรพสัตว์ จะสามารถแยกออกเป็นรูปนาม แยกออกเป็นขันธ์ ๕ แยกออกเป็นกายและใจ ดังที่เรารู้จักกันแล้ว ด้วยพระปัญญาคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ยังทรงแยกเป็นอย่างอื่น ๆ ได้ เช่นแยกเป็น อายตนะ๑๒ แยกเป็น ธาตุ ๑๘ เป็นอินทรีย์ ๒๒ เป็นอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ดังจะกล่าวพอสังเขปได้ดังนี้
๔.ต อายตนะ ๑๒
อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ เครื่องติดต่อ แดนต่อความรู้ เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่นตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้ หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นต้น อายตนะจัดเป็น ๒ ประเภท คืออายตนะภายใน และอายตนะภายนอก มีอย่างละ ๖
อายตนะภายใน อายตนะภายนอก
(เครื่องติดต่อภายใน เครื่องรับรู้) (เครื่องติดต่อภายนอก สิ่งที่ปรากฏให้รู้
๑. จักขุ (ตา) ๑. รูป (สีต่าง ๆ)
๒. โสตะ (หู) ๒. สัททะ (เสียง)
๓. ฆานะ (จมูก) ๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. ชิวหา (ลิ้น) ๔. รสะ (รส)
๕. กายะ (กาย) ๕. โผฏฐัพพะ (สิ่งที่สัมผัสถูกต้องกับกาย)
๖. มโน (ใจ) ๖. ธัมมะคือธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดกับใจ
หรือสิ่งที่ใจรู้ เรียกว่า อารมณ์ ๖
อายตนะภายในทั้ง ๖ นี้เรียกว่า อินทรีย์ ๖ ก็ได้
อายตนะ จึงมีความหมายในลักษณะที่ว่า เป็นธรรมที่มีสภาพคล้าย ๆ กับพยายามเพื่อให้เกิดผลตามคุณสมบัติของตน เช่นเมื่ออายตนะที่เรียกว่า ตา กระทบหรือเชื่อมต่อกับ อายตนะที่เรียกว่าสี จึงมีการเห็นสีเกิดขึ้น
อายตนะที่เรียกว่า หู เชื่อมต่อกับ อายตนะที่เรียกว่า เสียง จึงมีการได้ยินเกิดขึ้น
อายตนะที่เรียกว่า จมูก เชื่อมต่อกับอายตนะที่เรียกว่า กลิ่น จึงมีการรู้กลิ่นเกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น
หรืออาจกล่าวได้ว่าอายตนะภายในและภายนอก เป็นเหตุให้มีผลเกิดขึ้น เช่น
จักขายตนะกับรูปายตนะ เป็นเหตุ การเห็นเป็นผล
โสตายตนะกับสัททายตนะ เป็นเหตุ การได้ยินเป็นผล
ฆานายตนะกับคันธายตนะ เป็นเหตุ การได้กลิ่นเป็นผล
ชิวหายตนะกับรสายตนะ เป็นเหตุ การรู้รสเป็นผล
กายายตนะกับโผฏฐัพพายตนะ เป็นเหตุ การรู้สัมผัสเป็นผล
มนายตนะกับธัมมายตนะ เป็นเหตุ การรู้เรื่องราวต่าง ๆ เป็นผล
เหตุกับผลที่กล่าวมานี้ เป็นไปตามสภาวะอนัตตา อายตนะต่าง ๆ เหล่านั้น แท้ที่จริงมิได้มีความพยายามขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด แต่สภาพความเป็นไปของอายตนะต่าง ๆเหล่านั้น ดูคล้ายกับว่ามีการขวนขวายพยายาม เพื่อให้ผลของตนเกิด
สิ่งเชื่อมต่อเหล่านี้ ทำให้จิตและเจตสิกธรรมกว้างขวางเจริญขึ้น คือเมื่ออายตนะภายในและภายนอกมากระทบกันเข้า เกิดการรู้อารมณ์ทางทวารนั้น ๆ วิถีจิตต่าง ๆ มีจักขุทวารวิถีย่อมเกิดขึ้น วิถีจิตนั้นเมื่อเกิด มิใช่เกิดเพียงวิถีเดียว แต่จะเกิดจำนวนนับไม่ถ้วน ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ นั้นมีจิตหลายชนิดเกิดขึ้น ทั้งกุศลและอกุศล ทั้งวิบาก ทั้งกิริยาอาการที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้เรียกว่า จิต เจตสิก เจริญกว้างขวาง
นอกจากนี้ กุศลธรรม มีศรัทธา สติ ปัญญา และอกุศลธรรม มีโลภะ โทสะ เป็นต้นเมื่อเกิดในระยะแรกยังมีกำลังอ่อน แต่เมื่อวิถีจิตเกิดวนเวียนซ้ำซากหลายรอบเข้า กำลังแห่งกุศล และอกุศลเหล่านั้นก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ กระทั่งสำเร็จเป็นสุจริต ทุจริต ได้ลักษณาการดังนี้ก็เรียกว่าจิต เจตสิกมีความเจริญกว้างขวางเพราะอาศัยการกระทบเชื่อมต่อของอายตนะภายในภายนอกนี้เอง
อายตนะ มีคุณสมบัติอยู่ ๕ อย่าง ได้แก่
๑. อายตนะภายใน เป็นที่เกิดแห่งวิถีจิตอยู่เสมอ จะเกิดในชาติใดภพใดก็ตามวิถีจิตไม่เกิดที่อื่น ต้องเกิดตามอายตนะเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๒. อายตนะภายในเหล่านี้ มีลักษณะเหมือนเป็นที่อยู่ของวิถีจิต เหมือนพิณเมื่อมีผู้ใดดีดขึ้น ก็จะมีเสียงดัง คล้ายกับว่าเสียงอยู่ในสายพิณ วิถีจิตก็เช่นเดียวกัน เมื่ออายตนะกระทบกันขึ้น วิถีจิตจึงเกิด
๓. อายตนะภายในเหล่านี้ เกิดขึ้นอยู่ในสัตว์ทั่วไป ไม่เลือกชั้นสูง ต่ำ สัตว์เล็กใหญ่ คือไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา สัตว์เดรัจฉาน ก็ต้องมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยกันทั้งสิ้น
๔. อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) เป็นที่ประชุมของวิถีจิตทั้งหลาย คือ วิถีจิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องมีการรับอารมณ์เสมอ การรับอารมณ์คล้ายกับว่าเข้าไปประชุมอยู่ในอายตนะภายนอกเหล่านั้น
๕. อายตนะทั้งภายในและภายนอกจำนวนอย่างละ ๖ นี้ เป็นเหตุให้วิถีจิตเกิดถ้าไม่มีอายตนะเหล่านี้เสียแล้ว วิถีจิตย่อมเกิดไม่ได้
ดังที่กล่าวเรื่องอายตนะมาแล้วนี้ ย่อมสามารถพอเห็นได้ว่า แท้ที่จริงเมื่อแยกชีวิตนี้ออกเป็นอายตนะต่าง ๆ แล้ว ตัวตนย่อมไม่มีไปเอง
๔.๔ ธาตุ ๑๘
ธาตุ แปลว่า สิ่งที่เป็นต้นเดิม เป็นมูลเดิม สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุ ของปัจจัย คือ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน เป็นสภาวะแท้ๆ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใชชีวะ
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ย่อมมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นการรู้รส การสัมผัสถูกต้อง การคิดนึก อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งกิจต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะมีการประชุมร่วมกันระหว่างของ ๓ อย่าง คือ ทวาร อารมณ์ วิญญาณ
ทวาร โดยปรกติแปลว่า ประตู ทาง ช่องตามร่างกาย แต่ในที่นี้หมายถึง ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ ทางคือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ อันเป็นอายตนะภายใน
อารมณ์ หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิตใจ สิ่งที่จิตยึดหน่วง สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (โผฏจุ๊พพะได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง)
วิญญาณ หมายถึงความรู้แจ้งในอารมณ์ คือความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายนอกและภายในกระทบมี ๖ อย่าง เหมือนกัน คือ การรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ รวม ๑๘ นี้เอง เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ดังนั้นความเป็นไปทั้งมวลในสรรพสิ่งที่มีชีวิต จึงเป็นเพียงการประชุมพร้อมกันของธาตุทั้ง ๑๘ เรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ไม่มี สภาพความเป็นอยู่ของธาตุ ๑๘ เหล่านี้กล่าวได้ว่าเป็น “นิสสัตตะ”คือไม่ใช่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
โดยธรรมดาธาตุทั้ง ๑๔ นั้น ย่อมเป็นไปตามสภาพของตน ๆ ไม่ขึ้นกับใคร ไม่อยู่ในอำนาจของผู้ใดทั้งสิ้น สภาพของตนมีคุณสมบัติเช่นใด ก็รักษาสภาพของตนไว้อย่าง
นั้นเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลง เช่นจักขุธาตุ มีสภาพใสสมควรให้สีต่าง ๆ มาปรากฏขึ้นได้เมื่อได้รับการกระทบ เมื่อจักขุธาตุนี้เกิดอยู่กับใครก็ตาม ไม่ว่าคน สัตว์ เทวดา จักขุธาตุย่อมคงสภาพใสเป็นปกติรับสีต่าง ๆ ได้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเอาจักขุธาตุไปรับเสียงแทนโสตธาตุ หรือรับกลิ่นแทนมานธาตุได้ ความใสของจักขุธาตุรับสีได้เพียงอย่างเดียวตลอดเวลา ไม่ว่าเป็นจักขุธาตุที่เกิดกับผู้ใด
หรือ รูปธาตุ (สี) มีสภาพแสดงสีให้ปรากฏได้ในทางตา ก็คงทรงสภาพแสดงสีอยู่ดังนั้นไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถแสดงสีให้ปรากฏในทางหู หรือ จมูกได้
หรือ จักขุวิญญาณธาตุ ทรงไว้ซึ่งสภาพ "เห็น" จักขุวิญญาณธาตุจะเกิดขึ้นกับใครก็ตาม ย่อมทำหน้าที่ได้ประการเดียวเท่านั้น คือ การเห็น จะบังคับไม่ให้เห็น บังคับให้ไปได้ยิน ได้กลิ่นแทน เป็นไปไม่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าสภาพความเป็นอยู่ของธาตุทั้ง ๑๘ เหล่านี้ เป็นธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเป็นธรรมชาติอันเป็นปรกติของตนเอง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาแต่ประการใด ธาตุทั้ง ๑๘ มีชื่อเรียกดังนี้
๑. จักขุธาตุ ๑๐. โผฏฐัพพธาตุ
๒. โสตธาตุ ๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ
๓. ฆานธาตุ ๑๒. โสตวิญญาณธาตุ
๔. ชิวหาธาตุ ๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ
๕. กายธาตุ ๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๖. รูปธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๗. สัททธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๘. คันธธาตุ ๑๗. มโนวิญญาณธาตุ
๙. รสธาตุ ๑๘. ธัมมธาตุ
๑. จักขุธาตุ จักขุได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รูปารมณ์ (สี) มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตธาตุ โสตะ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่สัททารมณ์(เสียง) มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓. พานธาตุ มานะ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่คันธารมณ์(กลิ่น) มากระทบได้ องค์ธรรม ได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาธาตุ ชิวหา ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รสารมณ์ (รส)มากระทบได้ องค์ธรรม ได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายธาตุ กายะ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่โผฏฐัพพารมณ์ (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง) องค์ธรรม ได้แก่ กายปสาท
๖. รูปธาตุ รูปารมณ์ (สี) ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความสามารถกระทบกับจักขุปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ สีต่าง ๆ
๗. สัททธาตุ สัททารมณ์ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความสามารถกระทบกับโสตปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ เสียงต่าง ๆ
๘. คันธธาตุ คันธารมณ์ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความสามารถกระทบกับฆานปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ กลิ่นต่าง ๆ
๙. รสธาตุ รสารมณ์ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความสามารถกระทบกับชิวหาปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ รสต่าง ๆ
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความสามารถกระทบกับกายปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ สัมผัสต่าง ๆ
๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการเห็นองค์ธรรม ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒ (การเห็นสิ่งที่ดีและการเห็นสิ่งไม่ดี)
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการได้ยินองค์ธรรม ได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒ (การได้ยินสิ่งที่ดีและไม่ดี)
๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่น องค์ธรรม ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒ (การได้กลิ่นที่ดี และไม่ดี)
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รส องค์ธรรม ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ (การรู้รสที่ดี และไม่ดี)
๑๕. กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัส องค์ธรรม ได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒ (การสัมผัสที่ดี และไม่ดี)
๑๖. มโนธาตุ จิต ๓ ชนิดคือ
๑. จิตที่พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕ ทั้งฝ่ายดีและไม่ดี
๒. จิตที่รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่เป็นฝ่ายดี
๓. จิตที่รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่เป็นฝ่ายไม่ดี
จิตทั้ง ๓ นี้ ได้ชื่อว่า มโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้อารมณ์ทั้ง ๕ อย่างสามัญธรรมดา
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ จิต ๗๖ ชนิด ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้อารมณ์เป็นพิเศษ องค์ธรรม ได้แก่ จิตทั้งหมด ๗๖ อย่าง ที่นอกเหนือจาก มโนธาตุ ๓ และจิตที่รับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ฝ่ายดี ๕ อย่าง ฝ่ายไม่ดี ๕ อย่าง รวมเป็นจิตอีก ๑๐ ชนิด
๑๘. ธัมมธาตุ สภาพธรรม ๖๙ ชนิด ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตน องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป (รูปที่ไม่ปรากฏชัด ๑๖) นิพพาน ๑ (รูปปรากฏชัด มี ๑๒ คือ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๗)
๔.๔ อินทรีย์ ๒๒
อินทรีย์ คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๆ สิ่งอื่นทำหน้าที่แทนไม่ได้ มีอยู่ ๒๒ อย่าง ได้แก่
๑. จักขุนทรีย์ ความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็น รูปธรรม
๒. โสตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของหู มีหน้าที่รับเสียง ได้แก่โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม
๓. ฆานินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของจมูก มีหน้าที่รับกลิ่น ได้แก่ฆานปสาทรูปเป็นรูปธรรม
๔. ชิวนินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของลิ้น มีหน้าที่รับรส ได้แก่ชิวหาปสาทรูป เป็นรูปธรรม
๕. กายินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของกาย มีหน้าที่รับสัมผัส ได้แก่กายปสาทรูปเป็นรูปธรรม
๖. อิตถินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของหญิง มีหน้าที่แสดงลักษณะกิริยาอาการของหญิง ได้แก่อิตถีภาวรูป เป็นรูปธรรม
๗. ปุริสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชาย มีหน้าที่แสดงลักษณะกิริยาอาการของชาย ได้แก่ปุริสภาวรูป เป็นรูปธรรม
๘. ชีวิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชีวิต มีหน้าที่รักษารูปและนาม ได้แก่ชีวิตรูปชีวิตนาม เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม
๙. มนินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของใจ มีหน้าที่รู้อารมณ์ ได้แก่จิตทั้งหมด เป็นนามธรรม
๑๐. สุขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสุขเวทนา มีหน้าที่สบาย ได้แก่สุขเวทนาเจตสิกเป็นนามธรรม
๑๑. ทุกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของทุกขเวทนา มีหน้าที่ไม่สบาย ได้แก่ทุกขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสมนัสเวทนา มีหน้าที่ดีใจ ได้แก่โสมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโทมนัสเวทนา มีหน้าที่เสียใจ ได้แก่โทมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๕. ลัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของศรัทธา มีหน้าที่เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ควร ได้แก่ศรัทธาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๖. วีริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่เพียรพยายามในสิ่งที่ควร ได้แก่วิริยเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๗. สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่รู้ทันปัจจุบันหรือระลึกในสิ่งที่ควร ได้แก่สติเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๘. สมาธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสมาธิ มีหน้าที่ตั้งมั่นแน่วแน่ ได้แก่เอกัคคตาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๙. ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ปัญญาเจตสิก(โลกีย์) เป็นนามธรรม
๒๐. อัญญัติตัญญัสสามิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติมรรคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพาน ติดอกุศลได้ ๕ ชนิด ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
๒๑. อัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมรรคญาณมีหน้าที่รู้พระนิพพาน ติดอกุศลไปตามลำดับญาณ ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของอรหัตตผลญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานและติดอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ชนิดทิ้งโดยสิ้นเชิง ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
๔.๖ อริยสัจ ๔
อริยะ แปลว่า ประเสริฐ สัจจะ แปลว่า ความจริง
อริยสัจ จึงแปลว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มี ๔ อย่าง คือ
๑. ทุกขสัจ ความจริงคือทุกข์ อันเป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ เป็นสภาวะบีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจที่แท้จริง เช่น ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสั่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง เป็นต้น ได้แก่ โลกียจิตทั้งหมด ๘๑ ชนิด เจตสิก ๕๑ ชนิด (เว้นโลภเจตสิก) รูปทั้ง ๒๘ หน้าที่ที่เราควรกระทำต่อ ทุกข์ คือการ "รู้" รู้ว่าทุกข์คืออะไรบ้าง
๒. ทุกขสมุทัยสัจ ความจริงคือ สาเหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด ได้แก่ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คือโลภเจตสิก หน้าที่ที่เราควรกระทำต่อสมุทัย ก็คือ “การละ"
๓. ทุกขนิโรธสัจ ความจริงคือ ภาวะที่ทุกข์ดับไป ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน หน้าที่ที่ควรทำต่อ นิโรธ คือ “ทำให้แจ้ง"
๔. ทุกขนิโรธคามนีปฏิปทาสัจ ข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่าทางสายกลางมีองค์ ๘ ได้แก่เจตสิกอันเป็นองค์มรรค ๘ คือ
๔.๑ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ได้แก่ปัญญาเจตสิก เช่นผลของกรรมมีจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง
๔.๒ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ เช่นดำริออกจากกาม ออกจากความพยาบาทออกจากความเบียดเบียน ได้แก่วิตกเจตสิก
๔.๓ สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่วจีสุจริต ๔
๔.๔ สัมมากัมมันตะ กระทําชอบ ได้แก่กายสุจริต ๓
๔.๕ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่การประกอบสัมมาชีพ
๔.๖ สัมมาวายามะ พยายามชอบ ได้แก่วิริยะเจตสิก มีสัมมัปปธาน ๔
๔.๗ สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติเจตสิก มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
๔.๘ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ เป็นเอกัคคตาเจตสิก
มรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในเรื่องที่สุดทั้งสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยคการประกอบตนพัวพันอยู่ในกาม และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานตน
สภาวะทุกอย่างในชีวิตของสรรพสัตว์เมื่อพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารให้คุณประโยชน์เท่าอริยสัจ ๔
๔.๗ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
ความหมายของคำว่า ปฏิจจสมุปปบาท มีดังนี้ คือ
หมู่แห่งธรรมอันเป็นเหตุอันใด มีอวิชชาเป็นต้น จนถึงชาติ ย่อมทำให้เกิดผลธรรมมีสังขาร เป็นต้น จนถึงอุปายาส เกิดขึ้นสม่ำเสมอพร้อมกัน โดยอาศัยความพร้อมเพรียงของปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุนั้น ๆ ฉะนั้นหมู่แห่งธรรมอันเป็นเหตุอันนั้น ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปบาท
หรือ ผลธรรมมีสังขารเป็นต้น เมื่อได้อาศัยการประชุมร่วมกันของปัจจัยแล้วย่อมเกิดขึ้นสม่ำเสมอพร้อมเพรียงกัน เพราะอาศัยเหตุต่าง ๆ มีอวิชชาเป็นต้น ฉะนั้นเหตุต่าง ๆ มีอวิชชาเป็นต้น เหล่านั้น จึงชื่อว่า ปฏิจจสมุปปบาท ได้แก่อวิชชาเป็นต้น จนถึงชาติ
ถ้ากล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ปฏิจจสมุปบาทธรรม คือธรรมทั้งหลายที่อาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้นตามลำดับ มีดังนี้
๑. อวิชชา ได้แก่โมหเจตสิก คือความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความเผลอ ความหลง ความโง่ ความมืดมนในธรรมที่ควรรู้ควรได้ กลับไม่ได้ ส่วนธรรมที่ไม่ควรได้กลับได้ ไม่รู้ปรมัตถ์แต่ไปรู้เอาบัญญัติ
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
๒. สังขาร คือธรรมที่ปรุงแต่ง ได้แก่สังขาร ๓ หรือ สังขาร ๖
สังขาร ๓ มีกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร หรือมโนสังขาร
สังขาร ๖ มี ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขารวจีสังขาร และจิตตสังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
๓. วิญญาณ คือความรู้สึกในอารมณ์ ความรู้แจ้งในอารมณ์ ได้แก่จิต
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
๔. นามรูป นาม คือธรรมชาติที่น้อมไปในอารมณ์ต่าง ๆ (คือธรรมชาติฝ่ายความรู้สึกนึกคิด) ส่วนรูป คือ ธรรมชาติที่สลายไปได้ เพราะปัจจัยที่เป็นปฏิปักษ์มากระทบ มีความเย็น ความร้อนเป็นต้น รูปได้แก่ รูป ๒๘ ทั้งหมด นามได้แก่ จิต เจตสิกทั้งหมด
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
๕. สฬายตนะ คือ อายตนะภายในทั้ง ๖ มีปสาทรูปทั้ง ๕ และจิตทั้งหมด
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
๖. ผัสสะ คือธรรมชาติที่เกิดการกระทบกัน ระหว่างปสาทรูปทั้ง ๕ จิต กับอารมณ์ ได้แก่ผัสสะเจตสิก
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
๗. เวทนา คือธรรมชาติเสวยอารมณ์ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉย ๆ บ้าง เกิดจากผัสสะเป็นปัจจัย ได้แก่เวทนาเจตสิก
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
๘. ตัณหา คือความอยากได้ ได้แก่โลภเจตสิก
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
๙. อุปาทาน คือสภาพที่ยึดมั่น ถือมั่น ยึดถืออารมณ์ไว้ด้วยอำนาจแห่งตัณหาที่หนาแน่นขึ้นนั่นเองได้แก่โลภเจตสิก
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
๑๐. ภพ คือกัมมภพ ซึ่งเป็นเจตนาของกุศลและอกุศล ที่ทำให้เกิดวิบากและกัมมัชชรูป เกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ได้แก่อุปปัตติภพทั้งหมด มีกามภพเป็นต้น ค่าว่า ภพ จึงได้แก่ “กรรม” ใน ๓๑ ภูมินั่นเอง
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
๑๑. ชาติ คือความเกิด ความเป็น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่นิปผันนรูป ๑๘ (รูปชาติ) วิปากจิต ๑๙ (นามชาติ)
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
๑๒. ชรามรณะ คือความแก่และความตาย อันเป็นผลของชาติ ชาติมีผลรวม ๕ อย่าง คือ ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โสกะ ความโศกเศร้า ปริเทวะ ความร้องไห้ทุกขะ ความทุกข์กาย โทมนัสสะ ความทุกข์ใจ อุปายาสะ ความคับแค้นใจจนพูดไม่ออกซึ่งหมายเอา ฐิติ ตั้งอยู่ ภังคะ ดับไป ตามความปรวนแปรของจิต เจตสิก และรูป อันไม่มีที่สิ้นสุด
ชรามรณะ เป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชา
ถ้าละอวิชชาได้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีชาติชราสิ้นแล้ว เพราะเหตุที่ประชุมพร้อมของ
ปัจจัยดับ คือ
เมื่ออวิชชาดับ สังขารก็ดับ
เมื่อสังขารดับ วิญญาณก็ดับ
เมื่อวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ
เมื่อนามรูปดับ อายตนะก็ดับ
เมื่ออายตนะดับ ผัสสะก็ดับ
เมื่อผัสสะดับ เวทนาก็ดับ
เมื่อเวทนาดับ ตัณหาก็ดับ
เมื่อตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ
เมื่ออุปาทานดับ ภพก็ดับ
เมื่อภพดับ ชาติดับ
เมื่อชาติดับ ชรามรณะก็ด้บ
เมื่อชรา มรณะดับแล้ว ก็ไม่ต้องเกิดอีก ไม่ต้องโศกเศร้า ร้องไห้ ทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นบรมสุขอย่างเยี่ยม การแยกตัวตนออกตามสภาวะธรรมดังกล่าวมาแล้ว จึงเห็นได้ว่า "ตัวเรา" นั้นไม่มี
ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวงเล่ม ๑๐ หน้า ๖๓ มหานิทานสูตร ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท กล่าวไว้ว่า เพราะหมู่สัตว์ ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทอันลึกซึ้ง จึงยุ่งเหยิงเหมือนกระจกด้ายของช่างหูก
ชรามรณะ ฯลฯ มี ชาติเป็นปัจจัย
ชาติ มี ภพเป็นปัจจัย
ภพ มี อุปาทานเป็นปัจจัย
อุปาทาน มี ตัณหาเป็นปัจจัย
ตัณหา มี เวทนาเป็นปัจจัย
เวทนา มี ผัสสะเป็นปัจจัย
ผัสสะ มี นามรูปเป็นปัจจัย
นามรูป มี วิญญาณเป็นปัจจัย
วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงเกิด นามรูป นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ (ย้อนเป็นปฏิโลม) นามรูป และวิญญาณต่างเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
ถ้าไม่มีชาติ เช่นไม่เกิดเป็นมนุษย์ สัตว์ ยักษ์ คนธรรพ์ เทพ ฯลฯ ชรามรณะก็จะไม่ปรากฏ
ถ้าไม่มีภพ ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ ชาติย่อมไม่มี
ถ้าไม่มีอุปาทาน ทั้งกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ภพย่อมไม่มี
ถ้าไม่มีตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐพพตัณหา ธัมมตัณหา อุปาทานย่อมไม่มี
ถ้าไม่มีเวทนาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตัณหาย่อมไม่มี
เพราะมีเวทนา ทำให้เกิดตัณหา อาศัยตัณหา ทำให้เกิดการแสวงหา การแสวงหาทำให้เกิดลาภ ลาภทำให้เกิดการตกลงใจ การตกลงใจทำให้เกิดการรักใครพึงใจ การรักใคร่พึงใจทำให้เกิดการพะวง การพะวงทำให้เกิดการยึดถือ การยึดถือทำให้เกิดความตระหนี่ความตระหนี่ทําให้เกิดการป้องกัน การป้องกันทำให้เกิดอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เช่น การทะเลาะแก่งแย่ง กล่าวคำหยาบ การใช้อาวุธ พูดเท็จ พูดส่อเสียด ฯลฯ
ในทำนองเดียวกัน (ย้อนเป็นปฏิโลม)
ถ้าไม่มีการป้องกัน อกุศลธรรมต่าง ๆ ก็ไม่เกิด
ถ้าไม่มีความตระหนี การป้องกันก็ไม่ต้องเกิด
ถ้าไม่ยึดถือ ความตระหนี่ก็ไม่เกิด
ฯลฯ
การแยกให้เป็นเพียง รูป กับ นาม ในธรรมหมวดต่าง ๆ ทั้ง ๖
หมวดขันธ์ ๕
รูปขันธ์ นับเป็นรูป ขันธ์อีก ๔ ชนิด นับเป็นนาม
หมวดอายตนะ ๑๒
อายตนะภายใน ๕ อายตนะภายนอก ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย เสียง กลิ่น รส เครื่องกระทบสัมผัสทางกาย) เป็น รูป มนายตนะ เป็นนาม ส่วนธัมมายตนะเป็นทั้งรูปและนาม
หมวดธาตุ ๑๘
จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ รวม ๑๐ ชนิด เป็นรูป ธัมมธาตุเป็นทั้งรูปและนาม ธาตุที่เหลืออีก ๗ เป็นนามทั้งหมด
หมวดอินทรีย์ ๒๒
จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสสินทรีย์ เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ เป็นทั้งรูปและนาม อินทรีย์ที่เหลืออีก ๑๔ เป็นนาม ทั้งหมด
หมวดอริยสัจ ๔
ทุกขสัจ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่เหลืออีก ๓ เป็นนามธรรมทั้งหมด
หมวดปฏิจจสมุปบาท ๑๒
อวิชชา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๓ นี้เป็นนาม
นามรูป สฬายตนะ ทั้ง ๒ นี้เป็นทั้งรูปและนาม
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ทั้ง ๕ นี้เป็น นาม
ชาติเป็นทั้งรูปและนาม
ชรา มรณะ เป็นอาการของรูปนาม
ธรรมทั้ง ๖ หมวดนี้เป็นพื้นภูมิในการนำไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ปัญญาที่สามารถแยกความเป็นตัวตนเราเขา ความเป็นสัตว์ บุคคลออกได้ ต้องเป็นปัญญาที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุวิปัสสนาญาณ
ธรรมดาการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ต้องอาศัยเพาะปลูกลงในที่ดิน ฉันใดการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็จำต้องมีภูมิพื้นที่ให้ทำการเพาะปลูก หรือปฏิบัติด้วยเหมือนกันฉันนั้น ภูมิพื้นที่ของวิปัสสนา ถ้ากล่าวโดยย่อ คือของเพียง ๒ สิ่ง ได้แก่ รูปธรรมและนามธรรม ถ้าว่าโดยขยาย คือ หมวดธรรมทั้ง ๖ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
วิปัสสนา
- เอารูปธรรมนามธรรม เป็นภูมิพื้นที่เพื่อกระทำให้เห็นแจ้งแทงตลอด
- เอารูปนาม เป็นกรรมฐาน
- เอารูปนาม เป็นอารมณ์
- เอารูปนาม เป็นทางเดิน ในการเพ่งให้รู้ ก็เพื่อถึงซึ่งสภาวะ "ความปราศจากตัวตน” (วิธีวิปัสสนากล่าวไว้ในตอนท้ายของเรื่อง)
• เมื่อใดบัณฑิตเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสภาพมิใช่ตัวใชตน
ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ เบื่อหน่ายในสุข ย่อมเป็นหนทางไปสู่ความบริสุทธิ์ •
พุทธพจน์