พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๔ ที่ตรัสพุทธพยากรณ์แก่พระโพธิสัตว์ของเรานี้
สมัยต่อมาได้มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมเด็จพระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้น
พระสรีระสูง ๙๐ ศอก
อายุขัยของมนุษย์ในยุคนั้น ๙ หมื่นปี
พระพุทธบิดาทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระพุทธมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมา แห่งเมขลนคร
ทรงครองฆราวาสเสวยโลกียสุขอยู่ ๙ พันปี เมื่อพระนางวฏังสิกาพระชายาประสูติพระโอรสอนูปมะแล้ว ในวันเดียวกับที่ทรงพบเทวทูต ๔ จึงทรงช้างราชพาหนะ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวช ๓๐ โกฏิ
ทรงใช้เวลาบ้าเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน
ผู้ถวายข้าวมธุปายาส คือนางอนุปมา ธิดาของอโนมเศรษฐี แห่งอโนมนคร
นิสีทนสันถัต กว้าง ๓๐ ศอก ท่าด้วยหญ้าคา ๘ กำมือ ถวายโดยอนุปมาชีวก ประทับนั่งใต้ต้นนาคะ(กากะทิง)
พระอัครสาวกคือ พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากคือ พระอุเทน
ทรงแสดงธรรม ๓ ครั้ง
ครั้งแรก ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระภิกษุ ๓๐ โกฏิ ที่บวชตามเสด็จวางรากฐานพระศาสนา
ครั้งที่สอง ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความมัวเมาและมานะของเหล่าเดียรถีย์
ครั้งที่สาม ทรงตอบปัญหาเรื่องการเข้านิโรธ มีจำนวนผู้ตรัสรู้ธรรมตาม ๙ หมื่นโกฏิ
มีสาวกสันนิบาตเกิดขึ้น ๓ ครั้ง
เสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๙ หมื่นพรรษา ที่พระวิหารอังคาราม พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสูงถึง ๔ โยชน์
พญานาคอตุละ
ในพระพุทธกาลนี้ พระโพธิสัตว์ของเราเกิดเป็นพญานาคชื่อ อตุละ เมื่อได้ทราบข่าวการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ดีใจยิ่งนัก รีบพาประยูรญาติและบริวารทั้งหลายออกจากเมืองนาคมาเข้าเฝ้า กระทำอธิการอันยิ่งใหญ่ ได้แก่ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวนถึงหนึ่งแสนโกฏิ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายผ้าจีวรรูปละ ๑ คู่ ขอถือ พระพุทธองค์เป็นสรณะ พร้อมกล่าวคำขอเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต
พระบรมศาสดาสุมนะพุทธเจ้าตรัสพุทธพยากรณ์ว่าอีก ๒ อสงไขยแสนกัป จะได้เป็นสมปรารถนา อตุลนาคราชมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง พากันกลับเมืองนาค มีความปีติด้วยคำพยากรณ์ จนสิ้นชีวิต
ชาตินี้พระโพธิสัตว์มิได้ออกบวชเป็นภิกษุเพราะไม่ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ และไม่ได้บำเพ็ญเพียรเจริญภาวนา ให้ได้ฌาน อภิญญา สมาบัติ อันใด เพราะเป็นการกระทำที่ยากเกินวิสัย คงบำเพ็ญความดีอันเป็นบุญกุศลที่พอเหมาะกับอัตภาพของตน เช่น เรื่องทาน
เรื่องศีล เท่านั้น
การศึกษาเล่าเรียน และการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ไม่เหมาะกับสัตว์ที่เกิดในภพภูมิอื่น ที่ทำได้ผลดีที่สุด มากที่สุด คือสัตว์ที่เกิดเป็นมนุษย์ เพราะมีสภาพเหมาะสมหลายประการ เช่นมีความเป็นอยู่ที่มีโอกาสพบเห็นความทุกข์ต่างๆ ทําให้เบื่อหน่ายการเกิด มีร่างกายและจิตใจเข้มแข็ง พอจะฝึกฝนอบรมตน โดยไม่
ย่อท้อต่ออุปสรรค